Spiga

จอห์น แมคเคนว่าที่ตัวแทนพรรครีพับลิกันแน่นอนแล้วส่วนฮิลลารี่กับโอบามายังต้องขับเคี่ยวกันต่อ

Ohio, Texas to Clinton, McCain Sweeps

หลังจากที่นางฮิลลารี คลินตัน วุฒิสมาชิกจากรัฐนิวยอร์กพ่ายแพ้รวดถึง 12 รัฐให้กับนาย บารัค ฮุสเซ็น โอบาม่า วุฒิสมาชิกจากรัฐอิลลินอยส์ตั้งแต่หลังศึก Super Tuesday เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เมื่อวันอังคารที่ 4 มี.ค. ที่ผ่านมาซึ่งถือเป็นศึก “ซุปเปอร์ทิวส์เดย์ย่อมๆ” มีการหยั่งเสียงขั้นต้นทั้งหมด 4 รัฐได้แก่ รัฐเวอร์มอนต์, โอไฮโอ, เท็กซัส และโรดไอส์แลนด์ ในวันนี้ฮิลลารีจึงไม่มีทางเลือกอื่นอีกแล้วนอกจากจะต้องชนะให้ได้อย่างน้อยหนึ่งรัฐในถึงจะมีสิทธิลุ้นต่อและต้องชนะที่เพนซิลเวเนียในวันที่ 22 เมษายนที่จะถึงนี้ จึงจะมีโอกาสได้ต่อกรกับนายบารัค โอบามาจนถึงเดือนมิถุนายนและบางที่อาจยาวไปจนถึง ช่วงconvention เลยก็ได้ ในการแข่งขันเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐปลายปีนี้ต่อไป

แต่ฮิลลารีก็ยังไม่ลาโรงไปง่ายๆ เธอสามารถเอาชนะโอบามาในรัฐสำคัญๆที่เธอจำเป็นต้องชนะ อย่าง โอไฮโอและเท็กซัสได้สำเร็จ รวมถึงกวาดชัยชนะในรัฐโรดไอส์แลนด์มาตุนด้วย ส่วนโอบามาได้รับชัยชนะไปในรัฐเวอร์มอนต์ แต่เนื่องจากพรรคเดโมแครตใช้ระบบสัดส่วน มิใช่ระบบ ผู้ชนะกินรวบหรือ Winner-take-all อย่างพรรครีพลับลิกันนางฮิลลารี เลยได้คะแนนคณะผู้แทนการเลือกตั้งตีตื้น โอบามาขึ้นมาอีกไม่มากนัก เคยมีนักวิเคราะห์การเมืองกล่าวไว้ว่าหากเดโมแครตใช้ระบบ Winner-take-all อย่างรีพลับลิกันแล้ว ฮิลลารี่คงสามารถเอาชนะโอบามาไปได้ตั้งแต่ศึกซุปเปอร์ ทิวส์เดย์แล้วเพราะเธอสามารถเก็บชัยชนะได้ในรัฐใหญ่ๆและมีร่ำรวยจำนวน delegate

สรุปผลล่าสุดจนถึงวันอังคารที่ 4 มี.ค. ที่ผ่านมาโอบามาได้จำนวน delegate ไปทั้งสิ้น 1,569 delegates ส่วนฮิลลารีได้ไป 1,462 delegates จากที่ต้องการจำนวน delegate 2,025 delegates ขึ้นไป

อย่างไรก็ตามเริ่มมีเสียงเรียกร้องให้ฮิลลารียอมยกธงขาวถอนตัวออกจากการแข่งขันหากปราชัยในสนามเลือกตั้งครั้งนี้ โดยนายบิล ริชาร์ดสัน ผู้สมัครชิงประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากพรรคเดโมแครตที่ประกาศถอนตัวไปก่อนหน้ากล่าวว่า หลังวันที่ 4 มี.ค. พรรคเดโมแครตควรจะเริ่ม รณรงค์หาเสียงชูตัวแทนพรรคได้แล้ว หากปล่อยให้นางคลินตันและนายโอบามาแข่งกันยืดเยื้อก็รังแต่จะสร้างความเสียหายแก่พรรคและยังทำให้นายจอห์น แมคเคน ว่าที่ตัวแทนพรรครีพับลิกันได้เปรียบ.

แต่ผู้เขียนคิดว่าฮิลลารี่เธอก็มีสิทธิที่จะสู้ต่อไปได้ตราบใดที่โอบามายังไม่สามารถกวาดชัยชนะได้อย่างเด็ดขาด การชิงตัวแทนพรรคในครั้งนี้คงทำให้ฮิลลารี่รู้ซึ้งถึงสัจจธรรมที่เป็นจริงข้อหนึ่งว่าเมื่อตอนที่พรรครีพลับลิกันถูกโจมตีจากเดโมแครตรวมถึงตัวเธอด้วยเหมือนที่เธอเผชิญอยู่ในตอนนี้นั้นเป็นอย่างไร เพราะสื่อลิเบอร์รัลทั้งหลายในตอนนี้ล้วนให้พื้นที่กับโอบาม่ามากกว่าเธอเมื่อเปรียบเทียบแล้ว

ส่วนจอห์น แมคเคนก็ชนะขาดไมค์ ฮัคคาบีแทบทุกรัฐเมื่อวันที่ 4 มีนาคมที่ผ่านมาซึ่งจริงๆแล้วหลังศึกซุปเปอร์ ทิวสเดย์ที่ผ่านมาก็เป็นที่แน่อนอนแล้วว่าจอห์น แมคเคนคือตัวแทนของพรรครีพลับลิกันอย่างไม่เป็นทางการหลังจากที่มิท รอมนีย์ แสดงสปิริตถอนตัวจากการแข่งขันออกไปหลังทราบผล

ผู้เขียนจึงขอลุ้นให้ฮิลลารี่ชนะในรัฐเพนซิลเวเนียก็แล้วกันค่ะ พรรคเดโมแครตจะได้ต่อสู้กันไปนานๆ….คิก คิก ให้คุณปู่จอห์น แมคเคนได้มีเวลาพินิจพิเคราะห์เลือกผู้ที่จะมาเป็นรองประธานาธิบดีอย่างละเอียดถี่ถ้วนรวมไปถึงสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในระหว่างกลุ่มอนุรักษ์นิยมด้วยกันเพราะ conservative grassroots ถือเป็นพลังสำคัญที่จะทำให้รีพับลิกันได้ครองทำเนียบขาวอีกครั้ง

ศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีในครั้งนี้มีสิ่งที่น่าสนใจอยู่อย่างคือ มีการสำรวจในกลุ่มผู้สนับสนุนนางคลินตันว่า บิล คลินตันผู้เป็นสามีของเธอมีส่วนช่วยให้เธอได้รับคะแนนนิยมมากขึ้นหรือน้อยลง ซึ่งผู้สนับสนุนนางคลินตันส่วนใหญ่เห็นว่าการออกมาพูดหาเสียงช่วยนางคลินตันของบิลกลับส่งผลด้านลบให้กับตัวเธอมากกว่า

ส่วนโอบามานั้นจะได้รับความนิยมในคนรุ่นหนุ่มสาวในมหาวิทยาลัยเหมือน มาร์ค ม. 7 นั่นเลยค่ะ โอบามามีความโดดเด่นอยู่ที่ความเป็นคนผิวสี อายุยังน้อยและน้ำเสียงทุ้มๆของเขาเวลาปราศรัย ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ใหม่เพราะอเมริกายังไม่เคยมีประธานาธิบดีคนผิวสี (*แต่อเมริกาในปัจจุบันนี่คนผิวดำนะที่ออกจะเหยียดผิวมากกว่าใครอื่น*) แต่โดยส่วนตัวไม่คิดว่าอเมริกาจะต้อง Change อะไรอีกเพราะที่เป็นอยู่ปัจจุบันก็ถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจและก็ไม่คิดว่าโอบามามีไหวพริบปฎิภานที่โดดเด่นในระดับที่จะเป็นผู้นำได้นอกจากสโลแกน Change and Hope สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับเด็กๆปีหนึ่ง ปีสองในมหาวิทยาลัยเท่านั้น

ความเป็นผู้นำนั้นไม่ใช่มีอยู่ง่ายๆในตัวทุกคนแต่มันจะถูกทดสอบด้วยสถานการณ์ที่บีบคั้นว่าผู้นำคนนั้นมีกึ๋นแค่ไหนที่จะสามารถนำพาประเทศก้าวต่อไปได้พร้อมกับให้ความคุ้มครองต่อประชาชนของตนได้ด้วย

ในความเป็นผู้นำตรงนี้สำหรับผู้เขียนแล้วมองเห็นได้ชัดเจนในตัว จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ประธานาธิบดีคนปัจจุบันเขาเป็นประธานาธิบดีที่ต้องเผชิญกับภัยคุกคามโลกแบบใหม่ตั้งแต่เหตุการณ์ 9-11 และต้องรับมือกับสงครามทั้งในอาฟกานิสถานและอิรัค และสถานการณ์โลกที่อเมริกาในฐานะประเทศมหาอำนาจทางทหารและเศรษฐกิจต้องเผชิญกับการกับเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย การเปลี่ยนแปลงนี้หาใช่หยุดนิ่งอยู่กับที่

สำหรับผู้เขียนแล้วคิดว่าอเมริกาในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา Bush is the right man for the job ค่ะ คนอเมริกันเลือกประธานาธิบดีได้ไม่ผิดและเหมาะสมกับสถานการณ์ด้วย

อีกเรื่องที่ทำให้กลุ่ม antiwar voters ชอบโอบามาอยู่ไม่น้อยก็คือ คนเริ่มเบื่อ The Clintons นั่นเองเห็นว่าจุดยืนของโอบามาที่ต่อต้านสงครามอิรัคตั้งแต่แรกอาจทำให้สู้กับตัวแทนจากรีพลับลิกันได้เพราะนางฮิลลารี่ คลินตันก็เป็นคนหนึ่งที่โหวตสนับสนุนสงครามอิรัคที่ผ่านมา

แต่ผู้เขียนก็ไม่แปลกใจนะที่ฮิลลารี่โหวตสนับสนุนสงครามอิรัคเพราะบิล คลินตันผู้เป็นสามีของเธอยังเคยพูดว่าหากเขาเป็นประธานาธิบดี เขาก็คงจะบุกอิรัคเหมือนบุชและก็เป็นเขาคลินตันผู้นี้แหละที่เชื่อมโยงระหว่างอัลไคด้าและซัดดัม ฮุสเซ็น

คือตอนหาเสียงกันแรกๆนักวิเคราะห์หลายคนก็พูดกันว่าเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้ประเด็นเรื่องเศรษฐกิจจะเป็นประเด็นร้อนที่สุด แต่พอมาถึงตอนนี้ประเด็น National Security และสงครามต่อต้านก่อการร้ายหาด้อยความสำคัญลงไปอย่างที่วิเคราะห์กันไว้แต่แรกรวมไปถึงประเด็นเศรษฐกิจก็ไม่ได้ทำให้เดโมแครตดูโดดเด่นเกินรีพลับลิกันแต่อย่างใด ในช่วง 8 ปีของรัฐบาลบุชนี่จำนวนคนตกงานมีน้อยกว่าสมัยรัฐบาลคลินตันเสียด้วยซ้ำ แม้ตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคชะลอตัวลงแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเศรษฐกิจกำลังเผชิญวิกฤตรุนแรง สถานการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐในขณะนี้แตกต่างกับภาวะถดถอยที่สหรัฐเคยเผชิญในอดีตเป็นอย่างมากเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงจากภาวะถดถอยได้และนายวิลเลียม พูล ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์ได้แสดงความคิดเห็นว่ามาตรการการเงินและการคลังของเฟดในขณะนี้อยู่ในสถานะที่เหมาะสมที่จะรับมือกับเศรษฐกิจในระยะยาวและจะสามารถลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความผันผวนในตลาดการเงินได้

ล่าสุดนี่เฟดได้ทำนายไว้ว่าเศรษฐกิจของอเมริกาจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งหลังของปีนี้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะโตขึ้นอยู่ระหว่าง 1.3 – 2 % อัตราการว่างงานอาจสูงถึง 5 % แต่โดยถัวเฉลี่ยถือว่ายังต่ำกว่าอัตราการว่างงานหลังสงครามโดยปกติที่เกิดขึ้นกัน

Allan Meltzer ศาสตราจารย์ทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองจาก Carnegie Mellon ได้กล่าวว่าในตอนนี้เม็ดเงินหลายพันล้านดอลล่าร์กำลังไหลเข้าสู่ private equity firms ซึ่งตรงนี้แสดงให้เห็นว่าโอกาสในการทำเงินได้ปรากฏขึ้นแล้วและในฤดูร้อนที่จะถึงนี้มาตรการ lower interest rates และ แผนกระตุ้นเศรษฐกิจ (stimulus package)ของรัฐบาลบุชจะเริ่มทำงานและเลี่ยงภาวะถดถอยท่ามกลางความวิตกของทั่วโลกได้

ในประเด็น National Security นั้นในช่วงแรกๆทางเดโมแครตนี่จะไม่ให้ความสำคัญเท่าไหร่(เพราะเป็นจุดอ่อนของเดโมแครตแต่ไหนแต่ไรมาอยู่แล้ว) ฝ่ายสนับสนุนก็เฮโลบอกว่าเลือกตั้งครั้งนี้เป็นเรื่องเศรษฐกิจล้วนๆเลย แต่ตอนนี้ทางเดมเริ่มตื่นกันแล้วค่ะ เพราะตอนนี้ฮิลลารี่ คลินตันเล็งเห็นแล้วว่าจุดอ่อนของโอบามาก็คือเรื่อง National Security นั่นเองที่เขายังอ่อนด้อยประสบการณ์อยู่เลยชี้ให้ชาวเดโมแครตเห็นว่า โอบามาเห็นที่จะสู้แมคเคนไม่ได้แน่ๆหากไปโต้วาทีในประเด็นนี้ที่คนอเมริกันให้ความสำคัญไม่แพ้เศรษฐกิจหรืออาจจะเหนือกว่าด้วยซ้ำ เรื่อง National Security จึงคืออาวุธอันใหม่ที่สำคัญของฮิลลารี่ที่จะใช้โจมตีจุดอ่อนของโอบามา TV spot เกี่ยวกับประธานาธิบดีต้องรับโทรศัพท์ฉุกเฉินในตอน 3 a.m. จึงถูกนำมาฉายอันแสดงถึงความเป็น Commander in Chief ของเธอที่เหนือกว่ามิสเตอร์โอบามานั่นเอง เรียกว่าฮิลลารี่เธอต้องการเน้นนำเรื่อง “experience” มาสยบ “mantra of change” ของโอบามานั่นเอง

ซึ่งโอบามาก็สวนออกไปว่า “3.00 a.m. phone call” TV spot ชุดนี้ของคลินตันออกมาเพื่อกลบเรคคอร์ดของเธอที่โหวตสนับสนุนสงครามอิรัคแต่นักวิเคราะห์หลายคนก็พูดว่า campaign manager ของฮิลลารีคนก่อนที่เธอเพิ่งไล่ออกนั้นไม่ฉลาดเลยที่พยายามใช้กลยุทธ์แก้ตัวเรื่องสงครามอิรัคปล่อยให้โอบามานวดเรื่องนี้ตลอดและไม่เน้นเรื่อง national security credentials ของโอบามา

หลังจากทราบผลการหยั่งเสียงขั้นต้นพิธีกรรายการร่วมที่เป็นผู้หญิงในรายการ Morning Joe ทางช่อง MSNBC ได้ถามตั้งคำถามกับผู้วางแผนหาเสียงให้กับฮิลลารี่ไปในทำนองว่า ดูๆไปแล้วสปอตโฆษณา 3.00 a.m. phone call ของฮิลลารี่ก็เริ่มให้ความสำคัญกับ National Security ไม่ต่างจากรีพลับลิกันเลยนี่ ซึ่งผู้วางแผนหาเสียงให้กับฮิลลารี่ก็ไม่ปฏิเสธและแถมยังบอกด้วยว่า ฮิลลารี่เธอประสบการณ์สูงในเรื่อง National Security ด้วย.

จริงๆนี่น่าตรวจสอบนะว่า ความมีประสพการณ์สูงที่ฮิลลารี่เธออวดอ้างนั้นได้นับความเป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งเป็นประสพการณ์ด้วยรึเปล่า?


0 ความคิดเห็น: