Spiga

Fact checking the first presidential debate

By CALVIN WOODWARD and JIM KUHNHENN, Associated Press Writers
Sat Sep 27, 1:11 AM ET

WASHINGTON - Democrat Barack Obama and Republican John McCain stretched the facts in accusing each other of kowtowing to the oil industry and sprinkled other dubious assertions across the landscape of public policy in their first presidential debate.

McCain's plan to cut the corporate tax rate to 25 percent from 35 percent across the board so as to spur job creation was boiled down by Obama into a $4 billion tax break for Big Oil, as if no other companies or workers would benefit.

McCain similarly cut corners with context when he accused Obama of voting for huge subsidies for the oil industry. Obama voted to strip away those subsidies and, when that failed, backed broad energy legislation that contained them.

So it went during 90 minutes of debate, a reality warp at times.

Some examples:

OBAMA: "Sen. McCain mentioned Henry Kissinger, who is one of his advisers, who along with five recent secretaries of state just said we should meet with Iran — guess what? — without preconditions."

MCCAIN: "Dr. Kissinger did not say that he would approve face-to-face meetings between the president of the United States and (Iranian President Mahmoud) Ahmadinejad. He did not say that. He said there could be secretary-level and lower-level meetings. I've always encouraged that."

THE FACTS: Obama was right that Kissinger called for meetings without preconditions. McCain was right that Kissinger did not call for such meetings to be between the two presidents.

In a foreign policy forum on Sept. 15, Kissinger said: "I am in favor of negotiating with Iran." He went on to say, "I actually have preferred doing it at the secretary of state level" and the U.S. should go into the talks with "a clear understanding of what is it we're trying to prevent. What is it going to do if we can't achieve what we're talking about? But I do not believe that we can make conditions for the opening of negotiations. We ought, however, to be very clear about the content of negotiations and work it out with other countries and with our own government."

UPDATE**

The McCain camp sends along the following statement from Henry Kissinger: "Senator McCain is right. I would not recommend the next President of the United States engage in talks with Iran at the Presidential level. My views on this issue are entirely compatible with the views of my friend Senator John McCain. We do not agree on everything, but we do agree that any negotiations with Iran must be geared to reality.

___

OBAMA: "John, you want to give oil companies another $4 billion" in tax breaks.

THE FACTS: The $4 billion in tax breaks for the oil companies is simply part of McCain's overall corporate tax reduction plan and does not represent an additional tax benefit. In other words, the corporate tax reduction applies to all corporations, oil companies included. Both Obama and McCain have proposed eliminating oil and gas tax loopholes.

___

MCCAIN: Said the country has lost the sense of accountability exemplified by Allied commander Dwight Eisenhower on the eve of D-Day. He said Eisenhower wrote one letter to be released in the event of victory, which praised the troops, "and he wrote out another letter, and that was a letter of resignation from the United States Army for the failure of the landings at Normandy."

THE FACTS: Eisenhower prepared to take responsibility in the note to be delivered in the event of D-Day disaster but did not offer to resign.

The full text:

"Our landings in the Cherbourg-Le Havre area have failed to gain a satisfactory foothold and I have withdrawn the troops. My decision to attack at this time and place was based on the best information available. The troops, the air and the navy did all that bravery and devotion to duty could do. If any blame or fault attaches to the attempt, it is mine alone."

___

OBAMA: Said he would make sure that the health care system "allows everyone to have basic coverage."

THE FACTS: If that sounds like universal health coverage, it's not. Obama picked his words carefully — stopping short of claiming outright that his plan provides health care for all. He promises to make health insurance affordable but would only require that children, not adults, have coverage. Estimates of how many would remain without insurance vary. Sen. Hillary Rodham Clinton said during the primaries that Obama's plan would leave 15 million people uninsured.

___

MCCAIN: "We had an energy bill before the United States Senate. It was festooned with Christmas tree ornaments. It had all kinds of breaks for the oil companies, I mean, billions of dollars worth. I voted against it; Sen. Obama voted for it."

THE FACTS: Obama did vote for a 2005 energy bill supported by President Bush that included billions in subsidies for oil and natural gas production. McCain opposed the bill on grounds it included unnecessary tax breaks for the oil industry. Obama voted to strip the legislation of the oil and gas industry tax breaks. When that failed, he voted for the overall measure. Obama has said he supported the legislation because it provided money for renewable energy.

___

OBAMA: "We're also going to have to look at, how is it that we shredded so many regulations? We did not set up a 21st-century regulatory framework to deal with these problems. And that in part has to do with an economic philosophy that says that regulation is always bad."

THE FACTS: Some of the abuses that occurred stemmed from the 1999 repeal of a Depression-era law that separated banks from brokerages. In legislation supported by former President Clinton and Robert Rubin, now a top Obama adviser and treasury secretary in the Clinton administration, this separation was ended — allowing banks and insurance companies to sell securities.

But while regular banks were strictly regulated by the government, Wall Street banks and other non-bank institutions — many of the same institutions whose abuses led to the current crisis — were allowed to operate with less regulation.

___

MCCAIN: McCain said Obama voted to cut off money for the troops in Iraq.

THE FACTS: Despite opposing the war, Obama has, with one exception, voted for Iraq troop financing. In 2007, he voted against a troop funding bill because it did not contain language calling for a troop withdrawal. The Illinois senator backed another bill that had such language — and money for the troops.

___

MCCAIN: In a discussion of how the government could shrink spending, he said: "Look, we are sending $700 billion a year overseas to countries that don't like us very much."

THE FACTS: The comment echoes one he made in his acceptance speech at the Republican National Convention earlier this month, when he was talking about money the U.S. spends on foreign oil. FactCheck.org says the U.S. this year is on track to spend $536 billion on imported oil — not $700 billion — and nearly one-third of that comes from friendly nations: Canada, Mexico and Britain.

___

MCCAIN: "Sen. Obama twice said in debates he would sit down with Ahmadinejad, (Venezuelan President Hugo) Chavez and (Cuban President) Raul Castro without precondition."

OBAMA: "Now, understand what this means, 'without preconditions.' It doesn't mean that you invite them over for tea one day. ... There's a difference between preconditions and preparation. Of course we've got to do preparations, starting with low-level diplomatic talks, and it may not work, because Iran is a rogue regime."

THE FACTS: Obama was asked in a July 2007 debate whether he would be willing to meet "without precondition" with the leaders of Iran, Syria, Cuba and other countries the U.S. regards as rogue nations. Obama replied, "I would," adding that it was ridiculous to think that America is punishing such nations by refusing to speak with them. Time and again since then he has been forced to defend the statement, both by Democrats during the primaries and by Republicans.

Obama has tried to draw a distinction between a precondition and preparation. He has argued that he wouldn't demand that a foreign leader give in on some fundamental issue before the two sides met to discuss the dispute. But he has said "preparations" would require diplomatic contacts to gauge whether a formal meeting would be useful and to lay the groundwork for those talks.

___

MCCAIN: "You know, we spent $3 million to study the DNA of bears in Montana. I don't know if that was a criminal issue or a paternal issue, but the fact is that it was $3 million of our taxpayers' money. And it has got to be brought under control."

THE FACTS: A study regularly mocked by McCain as pork barrel spending could help ease restrictions on logging, development and even the oil and gas drilling that McCain wants to expand. Montana ranchers, farmers and Republican leaders pushed for the study as a step toward taking the grizzly bear off the endangered species list. Former Montana Gov. Judy Martz, a Republican and a McCain supporter, said the bear had been used to block the use of the state's abundant natural resources, when all along the animal was plentiful. "If it is going to remove it from the list, it is money well spent," Martz said.


”พรรคเดโมแครต”สร้างวิกฤติการเงินในอเมริกาขึ้นอย่างไร?

"พรรคเดโมแครต" สร้างวิกฤติการเงินในอเมริกาขึ้นอย่างไร?

วีดีโอ คลิปชุดนี้เป็นการกล่าวถึง "รากเหง้าแห่งการเกิดวิกฤติซับไพรม์จนนำไปสู่วิกฤติการเงินในสหรัฐอเมริกา" ที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่อยู่ในขณะนี้ ได้อย่างครอบคลุมมากที่สุดอันหนึ่ง

ปรัชญาเศรษฐกิจที่เชื่อในตลาดเสรีของพรรครีพับลิกันไม่ได้ล้มเหลวอย่างที่บารัค โอบามา ผู้เชื่อในระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (socialism) กล่าวหรอก แต่นโยบายที่สนับสนุนเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมแบบ Big government โดยหย่อนยานในเรื่องกฎระเบียบของภาคการเงินและการประกันภัยในอดีตต่างหากที่นำเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบัน

หรือหากจะกล่าวให้แฟร์ที่สุดทั้งรีพับลิกันและเดโมแครตต้องมีส่วนรับผิดชอบในวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ แต่หากจะมาบอกว่าเป็นความผิดของพรรครีพับลิกันและรัฐบาลบุชแต่เพียงฝ่ายเดียวเป็นเรื่องที่กล่าวเท็จอย่างน่าตกใจที่สุด นี่ไม่ใช่แบบฉบับของคนที่จะมา shake up Washington ได้



ขณะที่นายบารัค โอบามา ตัวแทนจากพรรคเดโมแครตชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้กล่าวโจมตีจอห์น แมคเคนตัวแทนจากพรรครีพับลิกันในศึกชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐ 2008 อย่างเผ็ดร้อนระหว่างการหาเสียงว่า แม้แม็คเคนครั้งหนึ่งเคยประกาศจะผ่อนปรนกฎระเบียบของภาคการเงินและการประกันภัยแต่แม้แม็คเคนจะเปลี่ยนท่าทีในช่วง 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา แต่ก็ไม่สามารถบดบังจุดยืนแท้จริงที่เขายึดติดมาตลอด 26 ปีที่ทำหน้าที่วุฒิสมาชิกได้ นอกจากนี้ โอบาม่ายังออกโฆษณาหาเสียงโดยใช้วิธีพูดกับกล้องโดยตรงแบบเดียวกับการกล่าวสุนทรพจน์ของประธานาธิบดี ย้ำว่า ประเทศกำลังต้องการการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงเพื่อแก้ไขวิกฤติครั้งนี้

แน่นอนว่าในช่วงฤดูกาลเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐนั้น "เกมการกล่าวโทษหรือ blame game" ดูเหมือนจะเป็นกลยุทธที่ง่ายที่สุดที่แต่ละฝ่ายนำออกมาใช้โดยเฉพาะจากพรรคเดโมแครตที่จ้องเก้าอี้ทำเนียบขาวตาเป็นมันในเวลานี้หลังจากที่ถูกพรรครีพับลิกันยึดเก้าอี้ในทำเนียบขาวมานานถึง 8 ปี

แต่การที่พรรคเดโมแครตและบารัค โอบามาต้องการชี้นิ้วไปที่พรรครีพับลิกันและรัฐบาลบุชว่าสมควรเป็นผู้รับผิดอย่างเดียวกับวิกฤติการเงินในตลาดหุ้นวอลสตรีทจนกระทบเมนสตรีทในครั้งนี้พร้อมยกความดีความชอบให้กับตนเองแต่เพียงฝ่ายเดียวนั้น ดูเหมือนจะเป็นการกล่าวโทษที่ง่ายเกินไป ในขณะที่พรรคเดโมแครตครองเสียงข้างมากในสภาคองเกรสและตัวบารัค โอบามาเองที่กล่าวโจมตีรัฐบาลบุชและพรรครีพับลิกันว่าเป็นแชมเปี้ยนในการผ่อนปรนกฎระเบียบของภาคการเงินและการประกันภัย ตัวเขาเองและพรรคเดโมแครตกลับโหวตคัดค้าน "ร่างกฎหมายที่เพิ่มกฎระเบียบแก่การเงินเพื่อเคหการที่มีอสังหาริมทรัพย์จำนองเป็นประกันอันดับสอง(The regulation of secondary mortgage market enterprises, and for other purposes - Federal Housing Enterprise Regulatory Reform Act of 2005) หรือ S.190" ที่เสนอโดย ชัค เฮเกล วุฒิสมาชิกรัฐเนบราสก้าจากพรรครีพับลิกัน และได้รับการสนับสนุนโดย จอห์น แมคเคน วุฒิสมาชิกจากรัฐเอริโซนา อลิซาเบธ โด วุฒิสมาชิกจากรัฐนอร์ธ แคโรไลนาและจอห์น ซูนูนู่ วุฒิสมาชิกจากรัฐนิวแฮมเชียร์ แต่ในที่สุดแล้วร่างกฏหมายฉบับนี้ก็ไม่ผ่านสภาคองเกรส

อีกทั้งวุฒิสมาชิกคริสโตเฟอร์ ดอดจ์ซึ่งมีตำแหน่งเป็นถึงประธาน คณะกรรมาธิการการธนาคารแห่งวุฒิสภาสหรัฐและบารัค โอบามาก็รับเงินสนับสนุนจากบริษัทแฟนนี เม(Fannie Mae)และเฟรดดี แมค(Freddie Mac) สองสถาบันการเงินเสาหลักในการแปลงสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้เป็นหลักทรัพย์ (Mortgage-Backed Securities) ซึ่งประสบกับปัญหาความเพียงพอของเงินกองทุนจนรัฐบาลสหรัฐฯเข้าไปให้ความช่วยเหลือและเป็นสาเหตุหลักต่อวิกฤติการเงินในครั้งนี้ด้วย

บารัค โอบามาและพรรคเดโมแครตไม่สามารถเดินออกจากวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นในครั้งได้โดยบอกว่าตนไม่มีส่วนรับผิดชอบกับวิกฤติการเงินในครั้งนี้ได้หรอก เพราะเรื่องรากเหง้าแห่งการเกิดวิกฤติซับไพรม์นี้ต้องมองย้อนไปในอดีตหลายสิบปีอย่างที่เฮนรี่ พอลสัน รัฐมนตรีคลังได้กล่าวไว้ ต้องกลับไปดูสมัยพรรคเดโมแครตภายใต้รัฐบาลจิมมี่ คาเตอร์ที่บริหารในสไตล์สังคมนิยมแบบ Big Government โน่นเลยที่ต้องการอุ้มคนจน คนที่มีรายได้น้อยให้มีบ้านเป็นของตัวเองจนนำไปสู่ การออกกฏหมายที่เรียกว่า The Community Reinvestment Act จริงๆก็เป็นไอเดียที่ดีแต่ก็ช่วยคนจนได้น้อยมาก

ทว่าเมื่อมาถึงสมัยรัฐบาลคลินตันเมื่อปี 1995 กฏหมายฉบับนี้ถูกแก้ไขอีกครั้งเพื่อปล่อยเงินกู้จำนวนมหาศาลให้กับธุรกิจขนาดเล็กและสินเชื่อบ้านให้กับผู้มีรายได้ต่ำ จนธนาคารต้องถูกบังคับให้ปล่อยเงินกู้เป็นจำนวนเงินกว่า หนึ่งแสนล้านดอลล่าร์สำหรับ "Subprime loans" จนก่อให้เกิดหลักทรัพย์ที่ค้ำประกันด้วยสินเชื่อที่อยู่อาศัยคุณภาพต่ำ(subprime mortgage securities) และ Bear Stern ก็เป็นสถาบันการเงินรายแรกที่มีความเกี่ยวข้องกับการออกสินเชื่อซับไพรม์

ในทางตรงกันข้ามรัฐบาลบุชและจอห์น แมคเคนกลับเป็นผู้ที่สนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขกฏหมาย The Community Reinvestment Act ให้มีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้นแต่เดโมแครตกลับคัดค้านโดย Representative Barney Frank (D-MA) ประธาน House Financial Services Committee กล่าวว่า

"These two entities -- Fannie Mae and Freddie Mac -- are not facing any kind of financial crisis, the more people exaggerate these problems, the more pressure there is on these companies, the less we will see in terms of affordable housing."

"สองสถาบันการเงินนี้ แฟนนี่ เมย์และเฟรดดี้ แมค ไม่มีทางเจอกับวิกฤติการเงินหรอก ยิ่งคนตื่นตูมกับปัญหาเหล่านี้มากเท่าไหร่ ยิ่งสร้างแรงกดดันให้กับสถาบันการเงินเหล่านี้มากยิ่งขึ้น เรายิ่งเห็นบ้านในโครงการเคหะแห่งชาติน้อยลง "

นี่เป็นเพียงการกล่าวโโยย่อถึงรากเหง้าแห่งการเกิดวิกฤติการเงินในอเมริกาเท่านั้น ในครั้งหน้าผู้เขียนจะขอกล่าวเพิ่มเติมโดยละเอียดถึงรากเหง้าแห่งการเกิดวิกฤติการเงินที่มาจากวิกฤตสินเชื่อที่อยู่อาศัยคุณภาพต่ำ (Sub-Prime Mortgages) ในคราวต่อไป


ปธน.บุชแถลงศก.สหรัฐอันตราย ย้ำให้สภาเร่งอนุมัติแผนอุ้มภาคการเงิน

(25ก.ย.) ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช แถลงต่อชาวอเมริกันทั่วประเทศในเวลาไพรม์ไทม์เมื่อคืนวานนี้ เพื่อหวังโน้มน้าวให้ชาวอเมริกันสนับสนุนแผนการกอบกู้สถาบันการเงินมูลค่า 7 แสนล้านดอลลาร์หรือราว 23 ล้าน 8 แสนล้านบาท ที่ยังมีเสียงคัดค้านจากสมาชิกสภาคองเกรส โดยบอกว่า ตามสัญชาติญาณแล้วเขาไม่เห็นด้วยที่จะให้รัฐบาลแทรกแซงธุรกิจภาคการเงิน และเชื่อว่าบริษัท

ที่ตัดสินใจผิดพลาดก็ควรต้องปล่อยให้ล้มไป แต่ขณะนี้ประเทศไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ปกติทำให้ต้องใช้วิธีการที่ต่างออกไป

เขาบอกว่า ขณะนี้สหรัฐกำลังอยูท่ามกลางวิกฤติการเงินที่หนักหนาสาหัส และเศรษฐกิจทั้งระบบของประเทศกำลังอยู่ในอันตราย ซึ่งแผนกอบกู้สถาบันการเงินด้วยงบมหาศาลอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ยาวนานและเจ็บปวด

คำแถลงของบุชมีขึ้นในขณะที่สภาคองเกรสวิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับแผนกอบกู้สถาบันการเงินที่ให้อำนาจกระทรวงการคลังอย่างกว้างขวางในการดำเนินการช่วยกำจัดหนี้เสียของสถาบันการเงินต่างๆ และพรรคเดโมแครตต้องการให้เพิ่มมาตรการคุ้มครองผู้เสียภาษี และประชาชนที่เสี่ยงถูกยึดบ้านด้วย แต่สมาชิกสภาก็ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องอนุมัติแผนนี้ และคาดว่าจะตกลงกับฝ่ายรัฐบาลเรื่องเนื้อหาได้สำเร็จ และอาจลงมติเห็นชอบได้ในสัปดาห์หน้า

ขณะที่ผลสำรวจความคิดเห็นของบลูมเบิร์กและลอสแองเจลิส ไทมส์ ระบุว่า ผู้ตอบคำถาม 55% เห็นว่า ไม่ใช่หน้าที่ของรัฐบาลที่จะใช้เงินภาษีของประชาชนเข้าไปโอบอุ้มสถาบันการเงิน


สหรัฐทุ่มงบมหาศาลแก้วิกฤติการเงิน

สหรัฐอาจต้องทุ่มเงินมหาศาลถึง 500,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อแก้วิกฤติการเงินที่กำลังลุกลามในประเทศ

หนังสือพิมพ์นิวยอร์ก ไทมส์ รายงานว่า แผนการแก้วิกฤติการเงินที่เสนอโดยรัฐบาลสหรัฐ อาจใช้งบประมาณในการแก้ปัญหาสูงถึง 500,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 17 ล้านล้านบาท ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญบางคนคาดว่างบประมาณที่ใช้อาจสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 34 ล้านล้านบาท โดยแผนการแก้วิกฤติการเงินที่รัฐบาลสหรัฐวางไว้ ประกอบไปด้วยการเข้าซื้อทรัพย์สินจากสถาบันการเงินในสหรัฐ และการจ้างที่ปรึกษามาช่วยงานกระทรวงการคลัง เพื่อควบคุมให้แผนการที่วางไว้บรรลุผล

รายงานข่าวยังระบุว่า เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นายเฮนรี่ พอลสัน รัฐมนตรีคลัง พร้อมด้วยนายเบน เบอร์นันกี ประธานธนาคารกลางสหรัฐ ได้ขึ้นชี้แจงต่อรัฐสภายืนยันว่าระบบการเงินของสหรัฐใกล้จะล้มละลายแล้ว และเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา นายพอลสัน ยืนยันกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐว่า ระบบการเงินในสหรัฐจะพังพินาศ ถ้าไม่รีบออกมาตรการช่วยเหลือครั้งใหญ่ ขณะที่นายเบอร์นันกี ก็เตือนสมาชิกรัฐสภาว่า ถ้าไม่รีบหาทางแก้ไข ท้ายสุดแม้แต่กองทุนที่บริหารเงินอย่างระมัดระวังก็จะได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน

ด้านประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ก็ออกมายืนยัน จะใช้มาตรการที่ไม่เคยใช้มาก่อน เข้าคลี่คลายวิกฤติการเงินในขณะนี้ เพื่อพลิกฟื้นความเชื่อมั่นให้กลับคืนมา แต่เตือนว่า มาตรการดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อเงินภาษีของประชาชน เพราะเป็นการใช้งบประมาณแผ่นดินหลายแสนล้านดอลลาร์ไปซื้อหนี้เสียของระบบธนาคาร

ประธานาธิบดีบุชยังถือโอกาสนี้ เรียกร้องให้พรรครีพับลิกันและเดโมแครตร่วมมือกัน เพื่อช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากวิกฤติสินเชื่อจนลามไปยังระบบการเงินทั้งหมดของสหรัฐ ส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน ระบบการจ่ายเบี้ยบำนาญ และการดำเนินการของบริษัท.


โกลด์แมน-มอร์แกนยิ้มร่า เฟดไฟเขียวเปลี่ยนสถานะ

ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อนุมัติคำร้องของ 'โกลด์แมน แซคส์' และ 'มอร์แกน สแตนลีย์' สองวาณิชธนกิจรายใหญ่สองแห่งสุดท้ายของประเทศ


ที่ต้องการเปลี่ยนสถานะบริษัทใหม่เป็น 'bank holding company' หรือบริษัทโฮลดิ้งธนาคารแล้วเมื่อวันอาทิตย์ นับเป็นการปรับโครงสร้างสถาบันการเงินครั้งใหญ่ที่สุดในตลาดวอลล์สตรีทตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรง (Great Depression) เมื่อราว 80 ปีก่อน

เฟดระบุว่า การเปลี่ยนแปลงสถานะของโกลด์แมน แซคส์ และมอร์แกน สแตนลีย์ จะเปิดทางให้สถาบันการเงินสองแห่งนี้สามารถจัดตั้งธนาคารพาณิชย์รับฝากเงินเพื่อส่งเสริมรายได้ของสองบริษัทฃ

นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังจะส่งผลให้ทั้งโกลด์แมน แซคส์ และมอร์แกน สแตนลีย์ ต้องเปลี่ยนมาดำเนินงานอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของเฟดโดยตรง ส่วนบริษัทลูกของสถาบันการเงินทั้งสองแห่งจะต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบที่เคร่งครัดเช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ทั่วไป แตกต่างจากเดิมที่โกลด์แมนและมอร์แกนดำเนินการอยู่ภายใต้กฎของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เป็นหลัก

ราคาหุ้นของสถาบันการเงินสองแห่งนี้ ทรุดลงอย่างมากนับตั้งแต่เลห์แมน บราเธอร์ส ยื่นล้มละลายเมื่อสัปดาห์ก่อน ขณะที่เมอร์ริล ลินช์ วาณิชธนกิจอีกแห่ง ประสบปัญหาขาดทุนหนักจนต้องขายกิจการให้แบงก์ออฟอเมริกา ทำให้นักลงทุนหวั่นวิตกกับสถานการณ์ของสถาบันการเงินสหรัฐที่เหลือ

เฟดระบุด้วยว่าจะสนับสนุนเงินกู้ระยะสั้นให้แก่โกลด์แมนและมอร์แกนในช่วงระหว่างการเปลี่ยนสถานะ แต่มาตรการนี้ยังต้องรอการอนุมัติอีก 5 วัน

นับตั้งแต่ธนาคารแบร์สเติร์นส์ล่มสลายและขายกิจการในราคาถูกให้กับเจพีมอร์แกนเชส เมื่อเดือน มี.ค. เฟดก็เริ่มหันมาใช้อำนาจที่ได้รับมาเมื่อช่วง Great Depression ในการเพิ่มวงเงินกู้ฉุกเฉินให้แก่บรรดาวาณิชธนกิจและธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ขณะเดียวกันล่าสุดรัฐบาลสหรัฐก็กำลังผลักดันให้สภาคองเกรสเร่งอนุมัติงบ 7 แสนล้านดอลลาร์เพื่อจัดการหนี้เสียสถาบันการเงิน ซึ่งคาดว่าน่าจะผ่านความเห็นชอบภายในสัปดาห์นี้.


เฟดฉีด 1.8 แสนล้านเหรียญกู้วิกฤติการเงิน

ทุ่ม 1.8 แสนล้านเหรียญกู้วิกฤติ! [20 ก.ย. 51 - 04:06]

หลังวิกฤติ “แฮมเบอร์เกอร์” ที่ลุกลามไปยังตลาดหุ้นตลาดทุนทั่วโลกส่งผลให้ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ต้องงัดมาตรการฉุกเฉินในการอัดฉีดเงินเข้าสู่ตลาดเงินขนานใหญ่เพื่อปกป้องผลกระทบของความปั่นป่วนที่เกิดขึ้นล่าสุดตลาดหุ้นทั่วโลกได้ผ่อนคลายความกังวลกับวิกฤติการเงินของสหรัฐฯแล้ว หลังสหรัฐฯเตรียมตั้งกองทุนเพื่อดูแลหนี้เสียในภาคการเงินซึ่งคาดว่าจะช่วยบรรเทาวิกฤติการเงินที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายสิบปีลงได้

ปัดฝุ่นมาตรการเก่าดับวิกฤติ

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่สภาคองเกรส สหรัฐฯเปิดเผยว่านายเฮนรี พอลสัน รมว.คลังสหรัฐฯกำลังเตรียมมาตรการรับมือกับความผันผวนในระบบการเงินของสหรัฐฯที่กำลังแผ่ขยายไปทั่วโลกด้วยการยื่นข้อเสนอต่อวุฒิสภาเพื่อจัดตั้งองค์กรแห่งหนึ่งขึ้นมาเพื่อจัดการกับหนี้เสียหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯที่ยังคงมีอยู่ในระบบการเงิน

ทั้งนี้ แนวทางการจัดตั้งองค์กรจัดการกับหนี้เสียดังกล่าว เป็นแนวคิดเดียวกับบรรษัท Resolution Trust Corp หรือ RTC ที่สหรัฐฯเคยจัดตั้งขึ้นในช่วงปี 1989 เพื่อจัดการกับหนี้เสียที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจจากการทรุดตัวลงของอุตสาหกรรมเงินออมและเงินกู้ของสหรัฐฯ

นายบารัก โอบามา ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯได้ออกโรงเรียกร้องให้ ธนาคารกลางสหรัฐฯหรือเฟด และกระทรวงการคลังสหรัฐฯดำเนินมาตรการฉุกเฉินเพื่อให้สินเชื่อไหลเข้าสู่ตลาดที่อยู่อาศัยที่ประสบปัญหา โดยระบุว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยหยุดยั้งวิกฤตการณ์ที่ลุกลามในตลาดการเงินได้

เฟดฉีด 1.8 แสนล้านเหรียญ

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ได้อัดฉีดเงินกว่า 2 ล้านล้านเยนเข้าสู่ตลาดเงินในเช้าวันนี้และนับเป็นวันที่ 4 ที่มีการอัดฉีดเงินเข้าสู่ตลาดเงินเพื่อหยุดยั้งผลกระทบที่เกิดขึ้น

ขณะที่ธนาคารกลางออสเตรเลียได้เพิ่มวงเงินอีก 2,000 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียหรือกว่า 1,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯในการทำธุรกรรมข้อตกลงซื้อคืนพันธบัตร พร้อมทำการระบายเม็ดเงินอีกกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียผ่านการสวอปอัตราแลกเปลี่ยน ส่งผลให้ดุลบัญชีของธนาคารพาณิชย์กับธนาคารกลางอยู่ใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 6,970 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย

ด้านธนาคารกลางของสหรัฐฯ (เฟด) ได้อัด ฉีดเงินเงินสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 180,000 ล้านเหรียญฯเพื่อคลี่คลายวิกฤตการณ์ในตลาดหุ้นดังกล่าว ทั้งนี้ นายเฮนรี พอลสัน รมว.คลังสหรัฐฯ และนายเบน เบอร์นันเก ประธานเฟดได้ร่วมกันเปิดเผยว่าจะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการพิจารณาแผนการจัดการสินทรัพย์ที่ขาดสภาพคล่อง

“สิ่งนี้สร้างความผ่อนคลายในตลาดซึ่งจะทำให้สามารถจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพได้อย่างเป็นระบบและช่วยเหลือภาคธนาคารในการกลับมาดำเนินธุรกิจได้อีกครั้ง”


นางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯได้ออกโรงเรียกร้องให้ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ดำเนินการอย่างเป็นระบบอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อรับมือกับภาวะผันผวนในตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยนางเพโลซีระบุในจดหมายที่มีไปถึงประธานาธิบดีบุชว่าวิกฤติเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ของสหรัฐฯขณะนี้จำเป็นต้องได้รับความพยายามอย่างยิ่งยวดในการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากความร่วมมือทั้งพรรคเดโมแครต และรีพับลิกัน และสภาคองเกรสพร้อมจะพิจารณาร่างกฎหมายที่สำคัญหลังกำหนดพักสมัยประชุมในวันที่ 26 ก.ย.นี้

ขณะที่หน่วยงานควบคุมกฎระเบียบของสหรัฐฯได้มีการหารืออย่างใกล้ชิดกับอังกฤษในการปราบปรามการทำช็อตเซลที่สร้างความเสียหายต่อตลาด โดยคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือ ก.ล.ต.ของสหรัฐฯได้ออกคำสั่งฉุกเฉินระงับการทำช็อตเซลเป็นการชั่วคราวสำหรับหุ้นของสถาบันการเงิน 799 แห่ง เพื่อปกป้องนักลงทุนและตลาดการเงิน เช่นเดียวกับสำนักงานบริการการเงินของอังกฤษ (FAS) ก็ได้ ประกาศห้ามการทำช็อตเซลหุ้นกลุ่มการเงินเป็นการชั่วคราว โดยจะมีผลบังคับใช้เป็นเวลา 4 เดือน

หุ้นทั่วโลกขานรับพุ่งกระฉูด

ส่วนรัฐบาลจีนกำลังพยายามสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดโดยเข้าซื้อหุ้นของธนาคารขนาดใหญ่สุด 3 แห่งของรัฐและยกเลิกภาษีการซื้อหุ้นส่งผลให้ดัชนีคัมโพสิตของตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้พุ่งขึ้นกว่า 9.3% ในวันนี้หลังจากที่ก่อนหน้าปรับลดลงในระดับต่ำสุดในรอบ 22 เดือน

ด้านราคาหุ้นในตลาดเอเชีย และตลาดหุ้นทั่วโลกรวมต่างขานรับมาตรการฉุกเฉินในการแก้ ปัญหาวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ครั้งนี้ โดยดัชนีฮั่งเส็งของตลาดหุ้นฮ่องกงพุ่งขึ้น 7.1% จากแรงหนุนของหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงินที่ฟื้นตัว ขณะนี้หุ้นของธนาคารอินดัสเตรียลแอนด์คอมเมอร์เชียลแบงก์ออฟไชน่า ซึ่งเป็นธนาคารใหญ่ที่สุดของจีน และมีหุ้นจดทะเบียนในฮ่องกงพุ่งขึ้นถึง 15%

ส่วนดัชนีนิเคอิ ของตลาดหุ้นญี่ปุ่นทะยานขึ้น 2.65% หลังจากดิ่งลงสู่จุดต่ำสุดในรอบ 3 ปี วันก่อน โดยหุ้นมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไพแนนเชียลซึ่งเป็นธนาคารอันดับ 1 ของญี่ปุ่นพุ่งขึ้น 9.2% หลังจากผันผวนมาตลอดห้วงสัปดาห์

หุ้นไทยเด้งตามต่างชาติแห่ซื้อ

ขณะที่ตลาดหุ้นไทยวันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมาดัชนีหุ้นไทยดีดตัวขึ้นอย่างรุนแรงจากแรงซื้อที่กลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มหลักๆของตลาดนำโดยหุ้นแบงก์และพลังงานส่งผลให้ดัชนีพุ่งขึ้นไปสูงสุดที่ 628.64 จุด ก่อนมาปิดตลาดที่ระดับ 624.83 จุด บวก 24.45 จุด หรือเพิ่มขึ้น 4.07% ขณะที่มีมูลค่าการซื้อขาย 18,183 ล้านบาท ต่างชาติพลิกกลับมาเป็นผู้ซื้อสุทธิ 1,406 ล้านบาท

ทั้งนี้ นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ กล่าวว่า เหตุที่ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นแรงซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นต่างประเทศ เป็นการตอบรับข่าวดีในการร่วมมือกันของธนาคารกลางทั่วโลกในการอัดฉีดเม็ดเงินเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดเงิน รวมทั้งการที่สหรัฐฯมีการจัดตั้งองค์กรเพื่อดูแลหนี้เสียของสถาบันการเงินจึงเป็นปัจจัยบวกให้กับตลาดหุ้นทั่วโลก อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ ตลาดหุ้นไทยขณะนี้มีความอ่อนไหวเหวี่ยงตัวตามตลาดหุ้นต่างประเทศโดยหากมีข่าวดีหุ้นก็จะขึ้นหรือมีข่าวร้ายหุ้นก็จะปรับตัวลง โดยนักลงทุนส่วนใหญ่ยังคงติดตามการแก้ปัญหาซับไพร์มรวมถึงผลกระทบต่อสถาบันการเงินสหรัฐฯ และทั่วโลกอย่างใกล้ชิด

นางภัทรียายังได้ชี้แจงว่า เมื่อวันที่ 18 ก.ย.51 ที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์ฯไม่ได้มีการหยุดการซื้อขายแต่อย่างไร โดยมีการเปิดการซื้อขายเป็นไปตามปกติ.


รบ.บุชวางแผนตั้งสถาบันซื้อสินทรัพย์บ.ขาดสภาพคล่อง

เผยรัฐบาลบุชวางแผนจะเสนอรัฐสภาอนุมัติการสร้างสถาบันซื้อสินทรัพย์ขาดสภาพคล่องเพื่อคุ้มครองเศรษฐกิจสหรัฐ

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 19 ก.ย.ว่า รัฐบาลสหรัฐได้หารือกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสภาคองเกรสเพื่อเสนอแผนสร้างสถาบันซื้อสินทรัพย์ขาดสภาพคล่องเพื่อคุ้มครองเศรษฐกิจสหรัฐ โดยนายบาร์เนย์ แฟรงคต์ส.ส.อาวุโสสหรัฐ บอกว่ามีการตกลงกันว่าจะออกกฎหมายให้ออกสถาบันดังกล่าว แต่ยังวิตกว่าสถาบันดังกล่าวอาจจะคลอดออกมาช้าเกินไป ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวรวมทั้งนายเฮนรี่ พอลสัน รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง,นายเบน เบอร์นานกี ประธานเฟด,นายคริสโตเฟอร์ค๊อก ประธานคณะกรรมการหลักทรัพย์และการแลกเปลี่ยนทางการเงิน และนางแนนซี่ เพโปลซี่ ประธานสภาผู้แทนราษฎร์สหรัฐ

มติชน


ดาวโจนส์พุ่ง 410 จุด หลังรัฐบาลสหรัฐเตรียมตั้งกองทุนดูแลหนี้เสียภาคการเงิน

ดาวโจนส์พุ่ง 410 จุด หลังรัฐบาลสหรัฐเตรียมตั้งกองทุนดูแลหนี้เสียภาคการเงิน นิวยอร์ก 19 ก.ย.-ตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งทะยานกว่า 410 จุด หลังนักลงทุนพอใจที่รัฐบาลสหรัฐเตรียมจัดตั้งกองทุนเข้ามาดูแลหนี้เสียของภาคการเงิน

ดัชนีปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงท้ายของการซื้อขาย หลังสหรัฐกำลังพิจารณาจัดตั้งกองทุนเพื่อรองรับและดูแลหนี้เสียจากภาคการเงิน เหมือนช่วงทศวรรษหลังปี 2523 และ 2533 ซึ่งคาดว่าจะช่วยบรรเทาวิกฤติการเงินที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายสิบปีลงได้ ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด ก็ประกาศอัดฉีดเงินเข้าสู่ภาคการเงินในประเทศเพิ่มอีก 55,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเสริมสภาพคล่อง ด้านราคาน้ำมันดิบตลาดไนเม็กซ์ปรับขึ้น 72 เซนต์ ไปปิดที่ 97.88 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล หลังปิดตลาด ดัชนีดาวโจนส์ ปิดที่ 11,019.69 จุด ปรับขึ้น 410.03 จุด หรือ 3.86% ดัชนีแนสแดค ปิดที่ 2,199.10 จุด ปรับขึ้น 100.25 จุด หรือ 4.78% และดัชนีเอสแอนด์พี ปิดที่ 1,206.60 จุด ปรับขึ้น 50.01 จุด หรือ 4.32%

ด้านตลาดหุ้นสำคัญของยุโรปยังปรับลดลงต่อเนื่องเป็นส่วนใหญ่ แม้ธนาคารกลางชั้นนำในยุโรปจะผนึกกำลังอัดฉีดเงินดอลลาร์เข้าสู่ภาคการเงินแล้วก็ตาม ดัชนี FTSE 100 ตลาดลอนดอน ปิดที่ 4,880 จุด ลดลง 32.40 จุด หรือ 0.66% ดัชนี DAX ตลาดแฟรงก์เฟิร์ต ปิดที่ 5,863.42 จุด ปรับขึ้น 2.44 จุด หรือ 0.04% และดัชนี CAC 40 ตลาดปารีส ปิดที่ 3,957.86 จุด ลดลง 42.25 จุด หรือ 1.06% ส่วนน้ำมันดิบเบรนต์ ตลาดลอนดอน ปิดที่ 95.19 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ปรับขึ้น 35 เซนต์

ขณะที่ราคาทองคำตลาดนิวยอร์ก ปิดที่ 892.70 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ปรับขึ้น 46.10 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนตลาดลอนดอน ปิดที่ 898.20 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ปรับขึ้น 59.30 ดอลลาร์สหรัฐ นักวิเคราะห์ในสหรัฐมองว่า การพุ่งขึ้นของราคาทองคำในช่วงนี้ เกิดจากนักลงทุนที่ผิดหวังกับตลาดหุ้นหันมาลงทุนตลาดทองคำแทน พร้อมคาดราคาทองคำตลาดนิวยอร์กจะปรับตัวขึ้นไปอยู่ที่ 950 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ อีกครั้ง.-สำนักข่าวไทย


Sarah Palin ผู้เขย่าการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ’ 08



เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้วหลังจบการประชุมใหญ่พรรคเดโมแครต(DNC)ที่เดนเวอร์ บารัค โอบามา ลูกผสมอเมริกัน-เคนยา ตัวแทน จากพรรคเดโมแครตในการชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ2008 ยังคงยึดตำแหน่งดาวจรัสแสงในหน้าสื่อลิเบอร์รัลได้อย่างเหนียวแน่นมานานหลายเดือนติดต่อกัน เพราะปัญญาชนฝ่ายซ้าย นักคอลัมนิสต์ฝ่ายซ้าย ลิเบอร์รัล มีเดียและหลายๆคนต่างเชื่อกันว่าปีนี้เป็นปี Democratic Year หากพูดกันในภาษาการเมืองที่เข้าใจง่ายก็ต้องบอกว่าจอห์น แมคเคนเป็น “มวยรอง” นั่นเองในปีนี้

แต่เมื่อมาถึงวันที่ จอห์น แมคเคนประกาศตัว running mate ของเขาตั้งแต่ศุกร์ที่แล้ว ดูเหมือนว่า ซาร่าห์ เพ ลิน(Sarah Palin) ผู้ว่าการรัฐอลาสก้าซึ่งกลายมาเป็นคู่ชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีสหรัฐจะกลายเป็น “agent of change” เป็น "game changer" ตัวจริง เสียงจริงที่เป็นผู้เปลี่ยนโฉมการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ 2008 ไปเสียแล้วเพราะช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ไม่ว่าจะเปิดทีวีช่องไหนไม่ว่าจะเป็น CNN, Fox News, MSNBC, NBC, CBS และ ABC และช่องข่าวที่เป็น public service อย่าง C-SPAN 1 & 2 ต่างก็หนีไม่พ้นเรื่องของ “ซาร่าห์ เพลิน” ผู้ว่าการรัฐอลาสก้าวัย 44 ปี เรียกว่าเธอดังเป็นพลุแตกในเวลาเพียงแค่หนึ่งสัปดาห์ ทำเอาบารัค โอบามาและโจ ไบเดนหายไปจากหน้าจอทีวีทันที

และหลังจากจบการกล่าวสุนทรพจน์ตอบรับการเสนอชื่อเข้าชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีของเธอในการประชุมใหญ่พรรครีพลับลิกันที่เซนต์ พอล มินเนโซต้า ซาร่าห์ เพ ลินได้กลายเป็นดาวจรัสแสงดวงใหม่กลบความร้อนแรงของโอบามาไปในบัดดล จนนักคอลัมนิสต์หลายคนเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “ดาวดวงใหม่เกิดแล้วในแกรนด์ โอล ปาร์ตี้(GOP)” นั่นเพราะสุนทรพจน์อันแหลมคมของเธอที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นการกล่าวสุนทรพจน์ที่ยอดเยี่ยมและประทับใจผู้ฟังอย่างยิ่ง แม้แต่แดนเซล วอชิงตัน ดาราฮอลลีวู้ดผิวหมึกชื่อดังที่ให้การสนับสนุนโอบามายังต้อง “ยกนิ้ว” ให้เธอ เรียกว่าสุนทรพจน์ของซาร่าห์ เพลินคืนวันพุธที่ผ่านมาประสพความสำเร็จอย่างงดงามในการเปิดตัวของเธอต่อชาวอเมริกัน 37.4 ล้านคนในฐานะ “ม้านอกสายตาจากเมืองเล็กในอเมริกา” ที่สำคัญเธอพูดได้อย่างชัดถ้อยชัดคำและด้วยบุคคลิกที่ดูเป็นธรรมชาติแต่มีความแข็งแกร่งอยู่ในที

เธอเป็น “Maverick” ที่จอห์น แมคเคนค้นหามานานหลายเดือนและเป็น “Right Wingman” ที่เป็น”ผู้หญิง” ที่พรรครีพลับลิกันรอคอยมานาน และเธอเป็น “Change Agent” ผู้สร้างความสั่นสะเทือนมาสู่การเลือกตั้งประธานาธิบดี 2008 โดยแท้จริง

แต่เนื่องจากพรรครีพลับลิกัน “ไม่ใช่” และ “ไม่เคย” เป็น “หวานใจของ Liberal media” ซึ่งเป็น mainstream media ในอเมริกา ข่าวของซาร่าห์ เพลิน ที่ออกมาตามหน้าสื่อ Liberal media และ Left-wing bloggers ทั้งหลายจึงเป็นไปในทางลบมากกว่าที่จะยกย่อง ชื่นชมเธอเหมือนที่พวกเขาปฎิบัติต่อบารัค โอบามาเพราะผู้สื่อข่าวกว่า 80 % นั้นไม่สนับสนุนพรรคเดโมแครตก็เป็นลิเบอร์รัล ซึ่งก็ตรงกับโพลล์สำรวจที่เปิดเผยโดยพิว รีเสิร์ช เซ็นเตอร์เมื่อไม่นานมานี้ว่า ชาวอเมริกันกว่า 48% เริ่มเบื่อฟังเรื่องราวของโอบามาเพราะได้ยินได้ฟังเรื่องราวของบารัค โอบามามากเกินไป จนเริ่มรู้สึกเบื่อ

มีคำกล่าวหนึ่งในแวดวงการเมืองอเมริกันที่บรรยายความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับสื่อได้ชัดเจนที่สุดคือ “เดโมแครต ‘เกลี่ยด’ รีพลับลิกัน รีพลับลิกัน ‘ไม่ชอบ’ เดโมแครตแต่ ‘เกลียด’ สื่อ”

เมื่อจอห์น แมคเคนทำการเปิดตัวคู่ชิงรองประธานาธิบดีของเขา ซาร่าห์ เพลินก็ถูกตราหน้าจากนักวิเคราะห์การเมืองฝ่ายซ้ายว่าเธอเป็น พวกขวาจัดหัวรุนแรง ทันทีและเป็นตัวแทน Richard Bruce Dick Cheney ที่เป็นผู้หญิง (...ฮา ฮา)

เท่านั้นยังไม่พอยังมีข่าวลืออันสกปรกออกมาจาก left-wing website อย่าง DailyKos ว่า ลูกชายคนเล็กของซาร่า เพลินที่เป็นดาวน์ ซินโดรม จริงๆ ไม่ใช่ลูกของเธอแต่เป็นลูกของลูกสาวคนโตของเธอ “บริสตอล” ซึ่งมาถึงตอนนี้ความจริงก็ปรากฏออกมาแล้วว่าเป็นเท็จทั้งเพ ผู้เขียนได้อ่านข่าวลือนี้วันแรกเลยที่ออกมาเพราะ Left-wing bloggers(ส่วนใหญ่สนับสนุนเดโมแครต) มักจะมีเรื่องราว “แฟนซี” ที่สามารถนำไปขายให้แก่ฮอลลีวู้ดสร้างเป็นหนังได้สบายๆ

และข่าวการตั้งครรภ์ของลูกสาววัย 17 ปีของเธอก็ถูกนำมาออกข่าวเป็นเรื่องราวใหญ่โตตามสื่อลิเบอร์รัล มีเดียเพื่อดิสเครดิตเธอ แต่ซาร่าห์ เพลิน หญิงแกร่งจาก small town ในอเมริกาเธอก็ออกแถลงการแจ้งสื่อว่า ลูกสาวของเธอตั้งครรภ์จริง

เธอตอบเรื่องนี้กับชาวอเมริกันที่นั่งชมอยู่หน้าจอทีวีในวันตอบรับการเสนอชื่อเข้าชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดี “ครอบครัวของเรามีทั้งช่วงขาขึ้นและขาลงเหมือนกับครอบครัวอื่นๆ มีช่วงเวลาท้าทายที่เหมือนกัน มีช่วงเวลาแห่งความสุขเหมือนกัน บางครั้งแม้แต่ช่วงเวลาแห่งความสุขที่สุดก็นำความท้าทายมาให้เช่นเดียวกัน และเด็กที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษส่งเสริมให้เกิดความรักที่พิเศษด้วย”

เป็นเรื่องที่อ่านไม่ยากเลยว่า เป้าหมายของลิเบอร์รัล มีเดียที่ตีข่าวเรื่องนี้ไม่ใช่เพราะว่าซาร่าห์ เพลินได้กลายเป็นบุคคลสาธารณะแล้วต้องถูกสื่อตรวจสอบเรื่องส่วนตัวอย่างที่พวกเขาอ้างแต่อย่างใดเพราะเป้าหมายที่แท้จริงของพวกเขาคือ ต้องการโจมตีว่าลูกสาววัย 17 ปีของครอบครัว Christian Evangelical ตั้งครรภ์นั่นเอง เพราะพวกเขารู้ดีว่า Evangelical เป็นฐานเสียงใหญ่ของพรรครีพลับลิกัน ลิเบอร์รัล มีเดียต้องการบอกว่าครอบครัวของซาร่าห์ เพลินได้นำความอับอายมาสู่ Christian Evangelical แต่ลิเบอร์รัล อาจไม่เข้าใจหรือไม่เข้าถึงความเป็น Evangelical Protestant ดีพอพวกเขาจึงไม่ได้เห็น Christian Evangelical โกรธแค้นครอบครัวซาร่าห์ เพลินแต่อย่างใดในทางตรงกันข้ามกลุ่ม Evangelical ยิ่งรักและสนับสนุนเธอมากขึ้น ซาร่าห์ เพลินคือตัวปลุก conservative base ที่กำลังหลับไหลให้ตื่นขึ้นมานั่นเอง

การเป็น Christian Evangelical ไม่ได้หวังว่ามนุษย์จะต้องเพรียบพร้อมสมบูรณ์แบบไม่เคยทำผิดในชีวิตเลย แต่ประสงค์เพียงให้ผู้ที่ประพฤติผิดแก้ไขในสิ่งที่ได้ทำลงไปให้ถูกต้องและรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองเท่านั้น เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาโบสถ์ของอีแวนเจลิคัลในหลายที่ได้ให้การสนับสนุนคุณแม่ที่ยังอยู่ในวัยรุ่นและส่งเสริมให้ครอบครัวยืนอยู่เคียงข้างอย่าทอดทิ้งพวกเขา

ซึ่งการนำเรื่องสมาชิกครอบครัวมาโจมตีทางการเมืองนี้บารัค โอบามาเองก็พยายามยืนระยะห่างจากข่าวนี้โดยเขากล่าวว่า ไม่ควรนำเรื่องส่วนตัวของสมาชิกครอบครัวผู้สมัครเข้ามายุ่งกับเรื่องการเมือง อย่างตัวเขาเองเขาก็บอกว่า “แม่ของผมคลอดผมเมื่อเธออายุได้เพียง 18 ปีเท่านั้น” ที่สำคัญตากับยายของโอบามาเองก็เป็นคอนเซอร์เวทีฟเหมือนกัน โอบามาอาจพูดจากใจจริงแต่ผู้สนับสนุนเขานั้นคงไม่หยุดง่ายๆ แต่ข่าวเช่นนี้จะเป็นผลลบต่อตัวโอบามาเอง

การเลือกตั้งในอเมริกานั้นบางครั้งนอกจากจะเป็นการต่อสู้ทางการเมืองแล้วยังเป็นสงครามวัฒนธรรมด้วยคือเป็นการต่อสู้กันระหว่าง กลุ่มหัวเสรีนิยมในเมืองใหญ่กับคนชนบทในต่างจังหวัด เดโมแครตคือพรรคที่เป็นตัวแทนของกลุ่มหัวเสรีนิยมในเมืองใหญ่ ส่วนรีพลับลิกันนั้นคือพรรคที่เป็นตัวแทนของคนท้องถิ่นในต่างจังหวัด หรือ small-town USA

ซาร่าห์ เพลินก็เหมือนกับมาร์กาเรต แธตเชอร์ อดีตนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของอังกฤษจากพรรคอนุรักษ์นิยม ทั้งแธตเชอร์และ เพ ลินเป็นที่รังเกียจของกลุ่มการเมืองฝ่ายซ้ายและได้รับการดูถูกจากกลุ่ม Left-wing ที่มีพฤติกรรมหรือทัศนคติของคนหัวสูง ก่อนที่เธตเชอร์จะกลายมาเป็นฝันร้ายของปัญญาชนฝ่ายซ้ายในอังกฤษ เธอถูกมองข้ามจากพวกที่เรียกตัวเองว่า “ผู้รักความเสมอภาคเท่าเทียมกัน” ว่าเป็นแค่ “ลูกสาวของคนขายของชำ” เท่านั้น ซาร่าห์ เพ ลินเองก็ได้รับคำสพประมาทและดูถูกจาก Obama campaign และผู้ที่สนับสนุนเขาซึ่งเรียกตัวเองว่า “คนติดดิน” ว่าเป็น “คนกระจอกที่มาจากเมืองเล็กๆ” เท่านั้นเช่นกัน

แต่สิ่งที่กลุ่มปัญญาชนเสรีนิยมในเมืองหลวงล้มเหลวที่จะเข้าใจในช่วงทศวรรษ 1980 ก็เมื่อมาร์กาเรต แธตเชอร์ชนะการเลือกตั้งครั้งแล้วครั้งเล่า สามารถนำพรรคอนุรักษ์นิยมครองอำนาจได้ยาวนานต่อเนื่องถึง 12 ปี

ในอเมริกาก็เช่นกันพวกกลุ่มหัวเสรีนิยมในเมืองใหญ่ที่มักเรียกตัวเองว่าเป็น “คนติดดิน” นั้นพวกเขาไม่เข้าใจว่า แท้จริงแล้วคนท้องถิ่นในเมืองเล็กกลางประเทศนั้นพวกเขาเชื่อในพื้นฐานของความซื่อสัตย์ ความประพฤติที่ถูกทำนองคลองธรรม คุณค่าของครอบครัวในสังคมชนบท การซื่อสัตย์ต่อชีวิตคู่และความรับผิดชอบต่อตนเอง พวกเขาเชื่อในสิ่งนี้และเทิดทูนมันแม้บางครั้งพวกเขาจะไม่สามารถค้ำจุนคุณค่าเหล่านี้ได้เป็นผลสำเร็จก็ตามและมองว่าความผิดพลาดทางศีลธรรมที่เกิดขึ้นให้เห็นอยู่ทุกบ่อยเป็นบททดสอบในการต่อสู้เพื่อการดำรงตนเป็นคนดีในที่สุด

ชีวิตของผู้คนในเมืองเล็กอเมริกามีรากฐานยาวนานมาจากกลุ่มผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอาณานิคมนิกายโปรแตสแต้นท์ซึ่งเป็น "ผู้ก่อตั้งประเทศอเมริกา": พวกเขาเหล่านี้เป็นกลุ่มคนที่ทำงานหนัก พัฒนาตนเอง มีความศรัทธาในศาสนาและอุทิศตนให้กับครอบครัวเป็นที่ตั้ง

ซาร่าห์ เพ ลินคือผู้ที่พูดสื่อสารกับพวกเขาได้อย่างเข้าใจและพูดแทนพวกเขาในหนทางที่ทำให้ “ปัญญาชนเสรีนิยมผู้จองหอง” ถึงกับโกรธเกรี้ยวอย่างหนักเมื่อเธอพูดบนเวทีใน RNC ว่า

“..ก่อนที่ดิฉันจะกลายมาเป็นผู้ว่าการรัฐอลาสก้าที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้ ดิฉันเคยเป็นนายกเทศมนตรีที่บ้านเกิดของดิฉันมาก่อน และเนื่องจากคู่ต่อสู้ของเราในการเลือกตั้งประธานาธิบดีดูเหมือนจะดูแคลนประสบการณ์ที่ดิฉันมีอยู่ ดิฉันขออธิบายต่อพวกเขาหน่อยว่างานตรงนี้มันเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ดิฉันคิดว่าตำแหน่ง “นายกเทศมนตรีเมืองเล็กๆ” นี่ก็เป็นเหมือนกับ “ผู้จัดการชุมชนหนึ่ง” เลยนะเว้นแต่ว่าคุณมีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบอย่างแท้จริง

ดิฉันอยากกล่าวเพิ่มเติมอีกนิดว่าในเมืองเล็กๆนั้น พวกเราไม่ค่อยรู้ว่าอะไรทำให้ผู้สมัครฯ กล่าวยกย่องสรรเสริญคนทำงานเมื่อพวกเขาเห็นด้วยกับผู้สมัครฯและจากนั้นไปพูดอีกแบบหนึ่งว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองเล็กๆ แสดงออกอย่างเคียดแค้นขมขื่นต้องหันไปพึ่งพาปืนและศาสนาเมื่อเขาเหล่านั้นไม่เห็นด้วยในสิ่งที่ผู้สมัครฯพูด เราอยากได้ผู้สมัครฯที่ไม่พูดถึงพวกเราแบบหนึ่งที่สแครนตันและไปพูดถึงพวกเราอีกแบบหนึ่งที่ซานฟรานซิสโก(ไม่ชอบผู้สมัครฯที่ตีสองหน้า)...”

สุนทรพจน์ท่อนนี้ของเพ ลินนอกจากจะย้ำเตือนให้โอบามาและฝ่ายหาเสียงของเขาการเคารพ "American Values ของคนในเมืองเล็ก" แล้วยังเป็นการโต้ตอบโอบามาและฝ่ายหาเสียงของเขาคืนว่า ประสบการณ์ของโอบามาที่สาธยายว่าเคยทำงานเป็น “ผู้จัดการชุมชนแห่งหนึ่ง” ในนครชิคาโก้นั้น มันเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนว่า การเป็น “ผู้จัดการชุมชนแห่งหนึ่ง” กับการเป็น“นายกเทศมนตรีเมือง” นั้นใครมีประสบการณ์ด้านการบริหารที่แท้จริงมากกว่ากันในเรื่อง “การเป็นนักบริหาร” เพราะทีมงานโอบามาดูถูกประสบการณ์ของเพลินไว้ว่าเธอเคยเป็นแค่นายกเทศมนตรีเมืองเล็กๆที่มีประชากรแค่ 9000 คนเท่านั้นงบประมาณนิดเดียวจะเปรียบกับโอบามา(ผู้จัดการชุมชน) ได้อย่างไร(...ฮา ฮา)

การกล่าวปรามาสซาร่าห์ เพ ลินว่าเธอมีประสบการณ์เป็นเพียงแค่นายกเทศมนตรีเมืองเล็กๆนั้น มันหมายถึงการดูถูก "คนในเมืองเล็ก" ด้วยว่าพวกเขาไม่มีความสำคัญเท่ากับ "คนในเมืองใหญ่"

เธอยิงตรงและเธอก็ทำแต้มค่ะ ช็อตนี้ เพราะมันเป็นความจริงที่ปฎิเสธไม่ได้ว่า "ตำแหน่งนายกเทศมนตรีและผู้ว่าการรัฐนั้นคือตำแหน่งบริหารอย่างแท้จริง"

การเลือกซาร่าห์ เพลินมาเป็นคู่ชิงรองประธานาธิบดีครั้งนี้ของจอห์น แมคเคนหลายคนบอกว่าเขาหมดหวังแล้ว หลายคนบอกว่าเป็นการเลือกที่เสี่ยงและบ้าบิ่นแต่ผู้เขียนมองว่า นี่คือการต้ดสินใจของคนที่มีกึ๋น กล้าหาญและแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความมั่นใจในภาวะที่กดดันอย่างหนัก เมื่อเทียบกับบารัค โอบามา ที่เขาขาดในสิ่งนี้เมื่อเขาไม่ยอมเลือกฮิลลารี่ คลินตันเป็น running mate


ชีวประวัติโดยย่อของผู้ว่าการรัฐอลาสก้า ซาร่าห์ เพลิน

ชีวประวัติโดยย่อของผู้ว่าการรัฐอลาสก้า ซาร่าห์ เพลิน คู่ชิงรองประธานาธิบดี 2008



เรียกว่าสุนทรพจน์ของซาร่าห์ เพลินคืนวานนี้ ประสพความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมในการเปิดตัวของเธอต่อชาวอเมริกันที่นั่งชมเกือบ 40 ล้านคนในฐานะ “ม้านอกสายตาจากเมืองเล็กในอเมริกา” ที่สำคัญเธอพูดได้อย่างชัดถ้อยชัดคำและด้วยบุคคลิกที่ดูเป็นธรรมชาติแต่มีความแข็งแกร่งอยู่ในทีเมื่อคืนนี้เธอสามารถโต้คำสพประมาทของโอบามาและพรรคเดโมแครตที่มีต่อตัวเธอได้ทุกช็อต โดยเธอกล่าวว่า

"Before I became governor of the great state of Alaska, I was mayor of my hometown"

"And since our opponents in this presidential election seem to look down on that experience, let me explain to them what the job involves. I guess a small-town mayor is sort of like a 'community organizer,' except that you have actual responsibilities."

"ก่อนที่ดิฉันจะกลายมาเป็นผู้ว่าการรัฐอลาสก้าที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้ ดิฉันเคยเป็นนายกเทศมนตรีที่บ้านเกิดของดิฉันมาก่อน"

"และเนื่องจากคู่ต่อสู้ของเราในการเลือกตั้งประธานาธิบดีดูเหมือนจะดูแคลนประสพการณ์ที่ดิฉันมีอยู่ ดิฉันขออธิบายต่อพวกเขาหน่อยค่ะว่างานตรงนี้มันเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ดิฉันคิดว่าตำแหน่ง "นายกเทศมนตรีเมืองเล็กๆ" นี่เป็นเหมือนกับ "ผู้จัดการชุมชนหนึ่ง" เลยนะยกเว้นแต่ว่าคุณมีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบอย่างแท้จริง "

สุนทรพจน์ท่อนนี้ของเพลินไม่เพียงแต่เป็นการโต้ตอบโอบามาเท่านั้นแต่ยังเป็นการกระทุ้งโอบามาคืนว่า ประสพการณ์ของโอบามาที่สาธยายว่าเคยทำงานเป็นผู้จัดการชุมชนแห่งหนึ่งในนครชิคาโก้นั้น มันเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนว่า การเป็น "ผู้จัดการชุมชนแห่งหนึ่ง" กับการเป็น "นายกเทศมนตรีเมือง" นั้นใครมีประสพการณ์ด้านการบริหารที่แท้จริงมากกว่ากันในเรื่อง การเป็นนักบริหาร เพราะโอบามดูถูกประสพการณ์ของเพลินไว้ว่าเธอเคยเป็นแค่นายกเทศมนตรีเมืองเล็กๆที่มีประชากรแค่ 9000 คนเท่านั้น จะเปรียบกับเขา(ผู้จัดการชุมชน) ได้อย่างไร ...ฮ่าๆ

เธอยิงตรง และเธอก็ทำแต้มค่ะ ช็อตนี้

เรียกว่าเป็นการตอบโต้ที่แหลมคมมาก เล่นเอาเดโมแครตโต้ไม่ออกเพราะมันเป็นความจริงที่ปฎิเสธไม่ได้ว่า ตำแหน่งนายกเทศมนตรีและผู้ว่าการรัฐนั้นคือตำแหน่งบริหารอย่างแท้จริง


ผลสำรวจชี้คนดู"แม็คเคน"สปีชมากกว่า"โอบาม่า"

ดูเหมือน จอห์น แม็คเคน จะชนะยกแรก เมื่อสุนทรพจน์ของเขาเรียกคนดูทางโทรทัศน์ได้มากกว่าคู่แข่งรุ่นลูก บารัค โอบาม่า

(6ก.ย.) ผลสำรวจของบริษัทจัดอันดับ เนลเซ่น มีเดีย รีเสิร์ช พบว่า มีผู้ชมแม็คเคนกล่าวสุนทรพจน์รับการรับรองอย่างเป็นทางการเพื่อเป็นตัวแทนพรรครีพับลิกันชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐในวันสุดท้ายของการประชุมใหญ่พรรคเมื่อวานนี้ 38 ล้าน 9 แสนคน ขณะที่มีผู้ชมโอบาม่า กล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมใหญ่พรรคเดโมแครตเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว 38 ล้าน 4 แสนคน

ขณะที่มีผู้ชมการกล่าวสุนทรพจน์เมื่อวันพุธของนางซาราห์ เพ-ลิน คู่หูชิงรองประธานาธิบดีของแม็คเคน 37 ล้าน 2 แสนคน มากกว่าจำนวนคนที่ติดตามสุนทรพจน์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วของโจเซฟ ไบเดน คู่ชิงรองประธานาธิบดีของโอบาม่า ซึ่งอยู่ที่ 24 ล้านคน

แต่ผลสำรวจของเนลเซ่น มีเดีย รีเสิร์ช ต่างจากของสถานีโทรทัศน์ พีบีเอส ซึ่งคาดว่ามีผู้ชมแม็คเคน3 ล้าน 5 แสนคน น้อยกว่าโอบาม่าซึ่งมีผู้ติดตามมากถึง 4 ล้านคน

คม ชัด ลึก


แมคเคนแรงพลิกนำคะแนนนิยมแซงโอบามา

นายจอห์น แมคเคน ตัวแทนพรรครีพับลิกันเริ่มมาแรงคะแนนนิยมแซงหน้าคู่แข่งนายบารัค โอบามา แห่งพรรคเดโมแครต ภายหลังการประชุมใหญ่ของพรรครัฐบาล

การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานา ธิบดีสหรัฐทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่สำนักทำโพลสำรวจความเห็นสองแห่งระบุเมื่อ วันจันทร์ นายแมคเคน ตัวแทนพรรครีพับลิกัน มีคะแนนนิยมขึ้นนำนายโอบามา คู่แข่งจากพรรคเดโมแครตแล้ว

หนังสือพิมพ์ยูเอสเอทูเดย์และแกลลัพโพล สำรวจความเห็นชาวอเมริกันที่เป็นผู้ใหญ่จำนวน 1,022 คนช่วงวันศุกร์-เสาร์ที่ผ่านมา พบว่า นายแมคเคนมีคะแนนนิยมนำนายโอบามา ร้อยละ 50 ต่อ 46 ซึ่งเป็นการพลิกกลับขึ้นมาอย่างมาก หลังจากที่นายแมคเคนมีคะแนนตามหลังนายโอบามาถึงร้อยละ 7 ในการสำรวจ ก่อนการประชุมใหญ่พรรครีพับลิกันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์แกลลัพ เดลี ยังทำการสำรวจความเห็นชาวอเมริกันก็พบว่า นายแมคเคนมีคะแนนนิยมนำนายโอบามาแล้วร้อยละ 48 ต่อ 45 ก่อนที่การเลือกตั้งจะมีขึ้นในวันที่ 4 พ.ย. ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า การประชุมใหญ่ของพรรครีพับลิกัน และการเลือกนางซาราห์ พาลิน ผู้ว่าการรัฐอะแลสกา เป็นคู่หูชิงรองประธานา ธิบดี ทำให้คะแนนนิยมของนายแมคเคนพุ่งขึ้น

นายลาร์รี ซาบาโต นักรัฐศาสตร์มหา วิทยาลัยเวอร์จิเนียกล่าวว่า การประชุมใหญ่พรรครีพับลิกันประสบความสำเร็จ อีกทั้งการเลือกนางพาลิน เป็นผู้สมัครคู่ชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีได้สร้างความแตกต่างอย่างมาก ขณะนี้นายแมคเคนอยู่ในจุดที่ดีเหนือความคาดหมาย อย่างไรก็ตาม ผู้ตอบแบบสำรวจร้อยละ 29 ระบุว่า อยากเลือกนายแมคเคนเป็นประธานาธิบดีมากขึ้น เพราะนางพาลิน ส่วนร้อยละ 14 อยากเลือกนายโอบามามากขึ้นเพราะนายโจเซฟ ไบเดน เป็นผู้สมัครคู่ชิงรองประธานาธิบดี

ทั้งนี้ นายแมคเคนและนางพาลิน กำลังหาเสียงอยู่ในรัฐมิสซูรี และจัดงานเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อระดมเงินทุนในเมืองชิคาโก บ้านเกิดของนายโอบามา ส่วนนายโอบามา กับนายไบเดน หาเสียงอยู่ในรัฐมิชิแกน และรัฐเวอร์จิเนีย.

เดลินิวส์