Spiga

U.S. congratulates new Thai PM

WASHINGTON, Feb. 4 (Xinhua) -- U.S. President George W. Bush telephoned Thai Prime Minister Samak Sundaravej on Monday to congratulate him on becoming prime minister, White House spokeswoman Dana Perino said.

"They briefly discussed the importance of U.S.-Thai relations, and President Bush said he looks forward to seeing the Prime Minister in the future," she told reporters.

Thailand's newly elected House of Representatives or Lower House in late January voted People Power Party (PPP) leader Samak Sundaravej as the country's new prime minister.

Samak, 72, is an outspoken veteran politician. He is Thailand's25th prime minister after the military top brass toppled the former elected government led by Thaksin Shinawatra in a military coup on September 19, 2006 and appointed an interim government led by a retired general Surayud Chulanont.

The United States has been in good relations with Thailand, which is believed a key U.S. diplomatic and non-NATO ally.


ประธานาธิบดีบุชกล่าวแสดงความยินดีกับนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทย

โฆษกทำเนียบขาวเผย ผู้นำสหรัฐโทรศัพท์แสดงความยินดีกับสมัคร นายกฯคยใหม่ของไทย
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานอ้างคำกล่าวของ ดานา เปริโน โฆษกทำเนียบขาว กล่าวว่า ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุชของสหรัฐฯ ได้โทรศัพท์มาแสดงความยินดีกับนายสมัคร สุนทรเวช ในโอกาสที่เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนใหม่ของไทย โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับความสำคัญในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ อย่างคร่าวๆ ขณะที่ผู้นำสหรัฐฯ ยังได้แสดงความหวังว่าจะได้พบหารือกับนายกรัฐมนตรี ของไทยในอนาคต

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานด้วยว่า พรรคพลังประชาชนของนายสมัครชนะการเลือกตั้งเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ซึ่งทำให้ประเทศไทยกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มีผู้นำเป็นพลเรือนอีกครั้ง หลังการรัฐประหารโค่นล้มอำนาจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เมื่อเดือนกันยายนปี 2006 ขณะที่ก่อนหน้านี้นายสมัครได้ประกาศตัวเป็นนอมินีของ พ.ต.ท.ทักษิณอย่างชัดเจน พร้อมให้คำมั่นว่าจะนำอดีตนายกฯ ของไทยกลับประเทศไทยหลังลี้ภัยอยู่ในอังกฤษในช่วงที่ผ่านมา.
------------------------

อ่านข่าวนี้แล้วก็รู้สึกเรียกรอยยิ้มให้กับผู้เขียนได้ยิ้มกว้างๆอีกครั้งค่ะ... หลังจากที่ประเทศไทยต้องตกอยู่ภายใต้สถานการณ์รัฐประหารมายาวนานถึง 16 เดือนเต็ม เป็นที่อับอายขายหน้าไปทั่วโลก - โลกในยุคศตวรรษที่21 ที่ประชาธิปไตยได้รับการยอมรับและเชิดชูว่าเป็นระบบการปกครองที่ดีที่สุดในโลก - โลกในยุคศตวรรษที่ 21 ที่การปฏิวัติรัฐประหารถือเป็นสิ่งที่แปลกปลอมและน่ารังเกียจเดียจฉันท์ในประชาคมโลก เพราะสถานการณ์การเมืองโลกวันนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าอุดมการณ์ทางการเมืองประชาธิปไตย เป็นความหวังของมนุษย์ทุกผู้ทุกนามในการที่จะสร้างกรอบทางการเมืองที่ให้มนุษย์แก้ปัญหาด้วยเหตุผลในรัฐชาติตน การยึดอำนาจการปกครองมาจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งด้วยการปฏิวัติรัฐประหารจึงเท่ากับเป็นการทำลายความเชื่อที่ว่าการแก้ปัญหาทางการเมืองที่เป็นอารยะต้องดำเนินไปสันติภาพและยึดหลักในอำนาจอธิปไตยของปวงชน

และย่อมเป็นธรรมดาค่ะที่ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุชจากพรรครีพลับลิกันในฐานะผู้นำอเมริกันที่ยืนหยัดในนโยบายส่งเสริมเสรีภาพและประชาธิปไตยในฐานะเมล็ดพันธุ์แห่งความหวัง( seeds of hope) ในการส่งเสริมสันติภาพโลก โดยเน้นการต่อสู้กับระบอบเผด็จการซึ่งถือว่าไม่ชอบธรรมอันเป็นแก่นสำคัญของพรรคอนุรักษ์นิยมอเมริกันและรัฐบาลบุชแต่ไหนแต่ไรมา จนมาถึงสงครามอิรัคโค่นล้มเผด็จการซัดดัม ฮุสเซ็นเพื่อเสริมสร้าง “ประชาธิปไตยในตะวันออกกลาง” อันเป็นสุดยอดอาวุธที่ผู้ก่อการร้ายอย่างมือขวาของบินลาเดนมีความประหวั่นพรั่นพรึงถึงกับกล่าวว่า “ประชาธิปไตยคือปีศาจร้าย” จะต่อสายแสดงความยินดีกับนายกฯที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนอย่างท่านนายกฯสมัคร สุนทรเวช เพราะเป็นการพิสูจน์ให้ผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ท่านบุชอย่างหนักตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเห็นประจักษ์ชัดถึงคำพูดที่ประธานาธิบดีบุชได้เคยพูดไว้อย่างชัดเจนว่า


"Freedom is not America's gift to the world, it is the Almighty God's gift to every man and woman in this world." -- George W. Bush

"เสรีภาพหาใช่ของขวัญที่อเมริกามอบให้กับโลกแต่ เสรีภาพคือของขวัญอันล้ำค่าที่พระผู้เป็นเจ้าประทานให้กับมนุษย์ชาย-หญิงทุกคนบนโลกนี้ต่างหากเล่า" -- จอร์จ บุช


นั้นเป็นจริงเสมอ

เพราะที่ผ่านมาท่านบุชมักจะถูกนักวิจารณ์การเมืองที่ต่อต้านสงครามอิรัคทั้งในและนอกบ้านตนโจมตีอยู่เสมอว่า “รัฐบาลอเมริกันชอบยัดเยียดประชาธิปไตยให้กับประเทศอื่น” ซึ่งหากเรามองด้วยใจที่ปราศจากอคติ หรือ มองประวัติศาสตร์การเมืองที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ตั้งแต่อดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันจะเห็นได้ชัดเจนว่า สถานการณ์โลกมีความเปลี่ยนแปลง มีความท้าทายใหม่ๆเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาในลักษณะที่เป็นไดนามิค จาก feudal obligation มาเป็น representative institutions หรือจาก ภัยคอมมิวนิสต์(เผด็จการ) มาเป็น ภัยจากการก่อการร้าย(ถือเป็นเผด็จการอีกรูปแบบหนึ่ง) แต่ "เสรีภาพและประชาธิปไตย" ที่เหล่าผู้เผด็จการหวาดกลัวหาใช่ของขวัญที่อเมริกายัดเยียดให้กับประชาคมโลกไม่ แต่เสรีภาพและประชาธิปไตยเป็น "คุณค่าสากล" ที่มนุษย์ทุกคนพึงปรารถนา ดังที่บุชกล่าวว่า เสรีภาพคือของขวัญอันล้ำค่าที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานให้กับมนุษย์ชาย-หญิงทุกคนบนโลกนี้ นั่นเอง

ระบอบประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่มีค่าและพึงปรารถนาสำหรับประชาชนทุกแห่งในโลก ดังประจักษ์ชัดให้เห็นชัดเจนแล้วที่ “ประเทศไทย” หลังเกิดรัฐประหาร 19 กันยา ที่อเมริกามิได้เข้ามาแทรกแซงหรือยัดเยียดความเป็นประชาธิปไตยให้แก่คนไทย แต่คนไทยส่วนใหญ่อยากเห็นการหวนคืนของระบอบประชาธิปไตยกลับคืนสู่ประเทศไทยด้วยตนเองเป็นสำคัญ ซึ่งก็ไม่ต่างจาก ที่เราได้เห็นพัฒนาการทางการเมืองในตะวันออกกลาง เช่นการเดินขบวนขับไล่ผู้นำของเลบานอน การเลือกตั้งในอียิปต์ การปฎิรูประบบการเมืองในซาอุดีอาระเบีย การเดินขบวนเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า และการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยของชาวปากีสถานและการเลือกตั้งในอิรัคที่ผ่านมาซึ่งถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ แม้การเลือกตั้งจะไม่ได้แปลว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจะสิ้นสุดลงในชั่วพริบตาแต่มันก็เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า กำลังมีประชาธิปไตยที่ถูกต้องตามหลักรัฐธรรมนูญในใจกลางดินแดนตะวันออกลางเกิดขึ้นและการเลือกตั้งที่ผ่านมาหมายความว่าประชาคมโลกได้มีพันธมิตรที่เข้มแข็งในการร่วมกันต่อสู้กับการก่อการร้ายเกิดขึ้นแล้ว

ซึ่งก็เป็นที่ประจักษ์ชัดขึ้นทุกวันว่าความรุนแรงในอิรัคได้ลดลงอย่างหน้ามือเป็นหลังมือในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมาหลังจาก Bush's Surge Strategy ถูกนำไปใช้จนเห็นผลทันตา ลิเบอร์รัลมีเดียแทบไม่มีการเสนอข่าวในอิรัคให้ได้เล่นโจมตีรัฐบาลบุชเหมือนเช่น2-3 ปีที่ผ่านมา ที่แม้กระทั่งในตอนนี้ฝ่ายที่ต่อต้าน Bush's Surge Strategy ต้องเงียบเสียงลงและเน้นมาให้ความสำคัญในประเด็นเรื่อง "เศรษฐกิจ" แทนในช่วงการรณรงค์หาเสียงของผู้สมัครเพื่อชิงชัยเป็นตัวแทนพรรคในการลงสู้ศึกเลือกตั้งทั่วไปเพื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในครั้งนี้

จึงเป็นที่เข้าใจได้ไม่ยากว่าประธานาธิบดีบุชย่อมให้ความสำคัญกับการหวนคืนสู่ระบอบประชาธิปไตยครั้งนี้ของไทย และนายกฯที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะมันเป็นแก่นของแนวความคิดอนุรักษ์นิยมอเมริกันและเป็นสิ่งที่บุชต่อสู้กับฝ่ายตรงข้ามที่โจมตีเขาเรื่องแนวคิดการส่งเสริมประชาธิปไตยทั่วโลกตลอดระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา

เมื่อมองกลับมาที่ประเทศไทย เห็นพ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหมฯที่ออกมาล่าสุด ยิ่งตอกย้ำให้เห็นชัดเจนว่าพ.ร.บ. ฉบับนี้คือ บทพิสูจน์หนึ่งของการปรากฏตัวของ 'อำนาจที่4'
แม้นว่าในตอนนี้ประเทศไทยจะมีรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งเรียบร้อยแล้วแต่ก้าวถัดไปที่ผู้เขียนอยากจะเห็นและคิดว่าเป็นสิ่งสำคัญที่คนไทยไม่ควรลืมก็คือ “การเรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปกองทัพขนานใหญ่” หลักความสูงสุดของพลเรือนเหนือทหาร (Supremacy of Civilian over Military Personnel) อย่างในประเทศที่มีประชาธิปไตยเข้มแข็งควรจะถูกผลักดันให้นำมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญของไทยซึ่งสมควรที่รัฐธรรมนูญไทยจะรับรองหลัก “พลเรือนเหนือทหาร” ด้วย เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกให้แก่วงการทหารว่า ทหารไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง แนวโน้มที่กองทัพไทยจะบ่ายหน้าพัฒนากองทัพไปสู่การเป็น “ทหารอาชีพ” และ “ทหารของประชาชน” จะค่อยๆพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นเป็นลำดับ เหมือนอย่างที่เกิดขึ้นในประเทศเกาหลีใต้ที่หลัก“ความสูงสุดของพลเรือนเหนือทหาร” ได้หยั่งรากลึกลงในวัฒนธรรมการเมืองของประเทศเกาหลีใต้ในชั่วเวลาเพียงสองทศวรรษ

เพราะตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมาประเทศไทยมีการปฏิวัติรัฐประหารรวมทั้งหมดประมาณ 17 ครั้งเฉลี่ยแล้วทำการรัฐประหาร 4 ปีครั้ง เห็นได้ชัดว่าการเมืองไทยไม่เคยสลัดอำนาจของทหารพ้นไปได้เลย การเมืองไทยไม่พัฒนาก็เพราะทหารชอบทำตัวเป็นผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติมาฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งทุกครั้งอยู่ร่ำไปนั่นเอง


0 ความคิดเห็น: