Spiga

ประธานาธิบดีบุชกล่าวแสดงความยินดีต่อชัยชนะของบารัค โอบามา



President Bush Discusses Presidential Election
Rose Garden

10:20 A.M. EST

THE PRESIDENT: Good morning. Last night, I had a warm conversation with President-elect Barack Obama. I congratulated him and Senator Biden on their impressive victory. I told the President-elect he can count on complete cooperation from my administration as he makes the transition to the White House.

I also spoke to Senator John McCain. I congratulated him on a determined campaign that he and Governor Palin ran. The American people will always be grateful for the lifetime of service John McCain has devoted to this nation. And I know he'll continue to make tremendous contributions to our country.

No matter how they cast their ballots, all Americans can be proud of the history that was made yesterday. Across the country, citizens voted in large numbers. They showed a watching world the vitality of America's democracy, and the strides we have made toward a more perfect union. They chose a President whose journey represents a triumph of the American story -- a testament to hard work, optimism, and faith in the enduring promise of our nation.

Many of our citizens thought they would never live to see that day. This moment is especially uplifting for a generation of Americans who witnessed the struggle for civil rights with their own eyes -- and four decades later see a dream fulfilled.

A long campaign has now ended, and we move forward as one nation. We're embarking on a period of change in Washington, yet there are some things that will not change. The United States government will stay vigilant in meeting its most important responsibility -- protecting the American people. And the world can be certain this commitment will remain steadfast under our next Commander-in-Chief.

There's important work to do in the months ahead, and I will continue to conduct the people's business as long as this office remains in my trust. During this time of transition, I will keep the President-elect fully informed on important decisions. And when the time comes on January the 20th, Laura and I will return home to Texas with treasured memories of our time here -- and with profound gratitude for the honor of serving this amazing country.

It will be a stirring sight to watch President Obama, his wife, Michelle, and their beautiful girls step through the doors of the White House. I know millions of Americans will be overcome with pride at this inspiring moment that so many have awaited so long. I know Senator Obama's beloved mother and grandparents would have been thrilled to watch the child they raised ascend the steps of the Capitol -- and take his oath to uphold the Constitution of the greatest nation on the face of the earth.

Last night I extended an invitation to the President-elect and Mrs. Obama to come to the White House. And Laura and I are looking forward to welcoming them as soon as possible.

Thank you very much.

END 10:23 A.M. EST

Whitehouse


สุนทรพจน์ของผู้พ่ายแพ้ที่ยิ่งใหญ่ จอห์น ซิดนี่ย์ แมคเคน

การต่อสู้ในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงได้แสดงให้คนทั่วโลกเห็นแล้วเมื่อวานนี้ที่สหรัฐอเมริกาเมื่อผู้นำพรรคการเมืองที่เป็นฝ่ายแพ้อย่างจอห์น แมคเคน ตัวแทนจากพรรครีพับลิกันได้แสดงสิปิริตของการเป็นนักการเมืองออกมากล่าวยอมรับความพ่ายแพ้และบอกกับผู้สนับสนุนที่ยืนฟังสุนทรพจน์ของเขาอยู่ให้สนับสนุนบารัค โอบามาและโจเซฟ ไบเดน คู่หูชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีเพื่อให้อเมริกาสามัคคีอย่างแข็งขันภายหลังได้ผู้นำทำเนียบขาวคนใหม่และกล่าวปิดท้ายสุนทรพจน์ด้วยประโยคที่กินใจว่า:

“We never hide from history. We make history.”
“เราไม่เคยหลบซ่อนตัวจากประวัติศาสตร์ หากแต่เราสร้างประวัติศาสตร์”




ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ผู้เขียนต้องเสียน้ำตาอีกวาระหนึ่งให้กับผู้ที่ตนสนับสนุนอีกครั้งแม้การเสียน้ำตาครั้งนี้จะต่างกับเมื่อสี่ปีที่แล้วเพราะเป็นน้ำตาแห่งความเศร้าเสียใจก็ตามแต่ความภูมิใจในฐานะผู้ให้การสนับสนุน พรรคของอับราฮัม ลินคอล์น แห่งนี้ไม่เคยเหือดแห้งและจางหายแม้รีพับลิกันในปี2008 จะแวดล้อมด้วยความไม่เป็นมิตรจากสื่อกระแสหลักและฝ่ายที่เรียกตัวเองว่าปัญญาชนเสรีนิยมก็ตามเพราะตลอดช่วง 8 ปีที่ผ่านมารีพับลิกันก็ไม่เคยได้รับดอกไม้ที่แสดงถึงความมีน้ำใจเป็นนักกีฬาแม้ผู้ที่ทำงานด้วยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยอย่างประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช จะทำเพื่อคนอเมริกันมากเพียงใดก็ตามแต่พวกเขาก็จะชี้นิ้วและโยนความผิดมาให้ท่านอย่างไร้ความปราณีการเมืองมันเป็นเรื่องโหดร้ายแบบนี้แหละ ไม่ว่าจะเป็นการเมืองอเมริกันหรือการเมืองไทย เพียงแต่ความต่างมันอยู่ที่ว่าการเมืองอเมริกันต่อสู้กันในระบอบประชาธิปไตยแต่การเมืองไทยต่อสู้กันโดยมี “ประชาธิปไตย” และ “เผด็จการ” เป็นเดิมพัน

แต่ในวันนี้ประธานาธิบดีบุชท่านเป็นชายที่มีความสุขที่สุดแล้วเพราะหมดภาระหน้าที่ที่ได้ทำมาตลอด 8 ปีแล้วไม่ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งไว้บนบ่าในการรับใช้ประชาชนและปกป้องประเทศชาติอีกต่อไป

ก็เป็นหน้าที่ของประธานาธิบดีคนใหม่ที่จะต้องแสดงให้ประชาชนและชาวโลกเห็นว่า เขาเป็นประธานาธิบดีที่เข้มแข็งและสร้างผลงานได้ดีกว่า จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ผู้ที่เขาใช้เป็นจุดโจมตีตลอดการหาเสียงที่ผ่านมา การเดินทางของกาลเวลานั้นมันไม่ช้าหรอกและในอนาคตไม่ไกลจากนี้กาลเวลาจะพิสูจน์เองว่าเขาจะเป็น “ผู้เปลี่ยนแปลงโลก” หรือ “โลกจะเป็นผู้เปลี่ยนแปลง” เขา

เพราะเมื่อ 8 ปีที่แล้วเหตุการณ์ 11 กันยาฯได้ "change" อเมริกาและ "change" โลกใบนี้ไปเรียบร้อยแล้ว

จอห์น แมคเคนเมื่อคืนวันที่ 4 ที่ผ่านมาเป็นห้วงเวลาที่เขาเป็นตัวเขาเองมากที่สุดนี่แหละจอห์น แมคเคน วีรบุรุษอเมริกัน เขากล่าวสุนทรพจน์ได้อย่างสง่างามมาก

ไม่รู้ว่าจอห์น แมคเคนจะสังเกตุเห็นหรือเปล่าว่ามีผู้หญิงวัยรุ่นอยู่ 2-3 คนในกลุ่มผู้ฟังแถวเวทีเริ่มร่ำให้ ผู้หญิงคนหนึ่งที่เป็นทีมงานหาเสียงที่ยืนอยู่ใกล้เวทีไม่สามารถระงับเสียงสะอื้นของเธอออกมาด้วยความเสียงดังได้ จนกลุ่มผู้ฟังต้องหันหน้าหันหลังมองรอบตัวว่าเสียงมาจากไหน ด้วยกังวลว่าเสียงร้องให้อย่างหนักของเธออาจทำให้แมคเคนได้ยินได้แต่ดูเหมือนแมคเคนไม่ได้สังเกตุ แถลงการณ์ยอมรับความพ่ายแพ้ของแมคเคนนั้นยอดเยี่ยมมากและเขาส่งมันออกไปได้อย่างตรึงใจต่อผู้ฟังที่อยู่หน้าสนามหญ้า Biltmore hotel ฟีนิกซ์ อริโซน่าและทางหน้าจอทีวี

และผู้เขียนก็เข้าใจความรู้สึกที่มีผู้สนับสนุนบางคนส่งเสียง Boo! ออกมาเมื่อแมคเคนพูดถึงโอบามาเพราะการต่อสู้ครั้งนี้มันเป็นการต่อสู้กันด้วยการตอบโต้ข้อมูลด้านลบออกมาโจมตีกันซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของการต่อสู้ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย บารัค โอบามามิได้เป็นผู้ถูกกระทำเสมอไปอย่างที่ออกตามหน้าสื่อ แต่แมคเคน-เพลินเองก็ตกเป็น “เป้าสังหาร” ของโอบามาแคมเปญผนึกกำลังกับลิเบอร์รัลมีเดียที่เป็นกองหนุนอยู่ข้างหลังด้วยจำนวนที่มากกว่าเท่าตัวอย่างเทียบไม่ติดตั้งแต่วันเปิดตัวซาร่าห์ เพ-ลินแล้ว

รีพับลิกันในวันนี้อาจพ่ายแพ้แต่อีก 4 ปีข้างหน้าเราจะกลับมาสร้างประวัติศาสตร์อีกครั้ง ไม่แน่อีก 4 ปีข้างหน้าเราอาจจะได้เห็น “อเมริกันเชื้อสายอินเดีย” เป็นประธานาธิบดีสหรัฐที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาตร์ด้วยวัยเพียง 40 ปีก็เป็นได้

คำปราศรัยยอมรับความพ่ายแพ้ ของวุฒิสมาชิกแม็คเคน
November 6, 2008

มิตรสหายของผม, เรามาถึงจุดสิ้นสุดของการผจญภัยอันยาวนาน คนอเมริกันได้พูดออกมาแล้ว และพวกเขาพูดอย่างชัดเจน เมื่อสักครู่นี้ ผมได้โทรศัพท์เพื่อเป็นเกียรติแด่วุฒิสมาชิกโอบามา เพื่อแสดงความยินดีกับเขา เต็มใจยินดีกับเขาในฐานะที่ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีของประเทศที่เราทั้งคู่รัก

ในการแข่งขันที่ยากลำบากและยาวนาน ดังที่การรณรงค์ครั้งนี้ได้ดำเนินไป ไม่เพียงแต่ความสำเร็จของเขาเพียงประการเดียว ที่ทำให้ผมต้องยอมรับในความสามารถและความอุตสาหะของเขา แต่ยังเป็นความสามารถในการสร้างแรงบันดาลใจในการให้ความหวังแก่คนอเมริกันนับล้าน ซึ่งครั้งหนึ่งได้เชื่ออย่างผิดๆว่า พวกเขามีส่วนเพียงเล็กน้อย หรือมีบทบาทเพียงเล็กน้อยต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา นี่เป็นอะไรที่ผมรู้สึกเลื่อมใสจากส่วนลึก และชื่นชมสิ่งที่เขาได้ทำไป
นี่เป็นการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ และผมจดจำความหมายพิเศษในฐานะแอฟริกัน-อเมริกัน และสำหรับความภาคภูมิใจเป็นพิเศษที่ตกเป็นของพวกเขาในค่ำคืนนี้

ผมเชื่อเสมอว่าอเมริกาได้ให้โอกาสแก่ทุกคนที่เป็นเจ้าของอุตสาหกรรม และผู้ที่สร้างมันขึ้นมา วุฒิสมาชิกโอบามาก็เชื่อเช่นนั้นด้วยเช่นกัน แต่เราทั้งคู่ก็จดจำได้ว่าเราได้เดินทางอย่างยาวไกลจากความอยุติธรรมในอดีต ซึ่งครั้งหนึ่งเคยทำให้ชื่อเสียงชาติเรามัวหมอง และปฏิเสธคนอเมริกันบางคนจากการได้รับการอวยพรให้เป็นพลเมืองอเมริกันเต็มตัว ความทรงจำเหล่านั้นยังคงมีพลังที่ทำให้เกิดบาดแผลได้

ร้อยปีก่อน ประธานาธิบดีธีโอดอร์ รูสเวลต์ได้เชิญให้ บู๊คเกอร์ ที วอชิงตัน (Booker T. Washington, นักการศึกษาและผู้นำสิทธิมนุษยชนอเมริกันผิวดำ ในวัยเด็กเขาเคยเป็นทาสมาก่อน — ผู้แปล) ไปเยี่ยม เพื่อรับประทานอาหารค่ำที่ทำเนียบขาว เรื่องตอนนั้นเป็นที่โกรธแค้นเป็นเวลานานนับเดือน อเมริกาในวันนี้เป็นโลกที่ห่างไกลจากความโหดร้าย และความทรนงในความรั้นอันไม่มีเหตุผล จากเวลานั้นมากนัก ไม่มีอะไรที่จะเป็นประจักษ์พยานได้ดียิ่งกว่าการเลือกคนแอฟริกัน-อเมริกันให้เป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา มันจะไม่มีเหตุผล มันจะไม่มีเหตุผลในตอนนี้เลยสำหรับคนอเมริกัน ที่จะไม่ชื่นชมความเป็นพลเมืองของประเทศนี้ ชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในพิภพ


สุนทรพจน์ของบารัค โอบามาว่าที่ประธานาธิบดีผิวสีคนแรกของสหรัฐอเมริกา

สวัสดีชิคาโก

หากยังคงมีใครยังสงสัยอยู่ว่าอเมริกาเป็นประเทศที่ทุกอย่างเป็นไปได้จริงหรือไม่ หากยังมีคนที่ยังสงสัยว่าความฝันของผู้สถาปนาประเทศยังคงดำรงอยู่ในห้วงเวลาของพวกเราหรือไม่ ใครที่ยังสงสัยถึงพลังประชาธิปไตยของเรา คืนนี้คือคำตอบของคุณ

มันคือคำตอบที่ถูกบอกเล่าด้วยแถวของผู้คนที่ยาวเหยียดอยู่รอบโบสถ์และโรงเรียนซึ่งเป็นจำนวนของคนที่ประเทศชาติไม่เคยได้เห็นมาก่อน เป็นคำตอบที่บอกโดยประชาชนผู้เฝ้ารอเวลากว่า 3-4 ชั่วโมง และเป็นครั้งแรกของหลายๆ คนเพราะพวกเขาเชื่อว่าครั้งนี้ความแตกต่าง ซึ่งเสียงของพวกเขาคือความแตกต่างนั้น


มันคือคำตอบที่บอกเล่าโดยคนหนุ่มสาวและผู้อาวุโส คนรวยและคนจน เดโมแครต และรีพับลิกัน คนดำ คนขาว คนเชื้อสายเสปน คนเอเชีย ชนพื้นเมือง เพศทางเลือก คนปกติ ผู้พิการหรือไม่พิการ ชาวอเมริกันผู้ส่งสารต่อโลกว่าเราเราไม่เพียงเป็นการรวมตัวของปัจเจกชน หรือการรวมตัวระหว่างรัฐสีแดงกับรัฐสีน้ำเงินเท่านั้น

แต่ที่เป็นอยู่ตลอดมา และจะเป็นต่อไป เราคือการรวมตัวของสหรัฐอเมริกา (United state of America)

มันคือคำตอบที่ชี้นำประชาชนซึ่งถูกบอกให้ เย้ยหยัน ขลาดกลัว ระแวงสงสัย ถึงการแตะมือลงบนจุดสำคัญแห่งประวัติศาสตร์และดัดมันให้ไปสู่ความหวังถึงวันที่ดีกว่า

มันคือการเดินทางบรรลุเป้าหมายด้วยเวลายาวนาน แต่สิ้นสุดลงในคืนนี้, ด้วยสิ่งที่พวกเราได้กระทำลงไปในวันเลือกตั้งวันนี้ ในวาระแห่งการห้วงเวลาแห่งการกำหนดความเปลี่ยนแปลงของอเมริกา

ก่อนหน้านี้เล็กน้อย ในช่วงเย็นวันนี้เพียงเล็กน้อย ผมได้รับโทรศัพท์อันทรงเกียรติจากวุฒิสมาชิกแมคเคนผู้ซึ่งต่อสู้อย่างยาวนานและยากลำบาก และเขาก็ต่อสู้มาอย่างยาวนานกว่าเพื่อประเทศที่เขารัก เขายืนหยัดอุทิศตนเพื่ออเมริกาอย่างที่พวกเราหลายคนไม่อาจจะจินตนาการถึง พวกเราจะได้รับโอกาสที่ดีเช่นกันจากผู้นำซึ่งกล้าหาญและไม่เห็นแก่ตัวผู้นี้.

ผมแสดงความยินดีกับเขา และผมแสดงความยินดีกับผู้ว่าการฯ แพลิน ผมแสดงความยินดีกับทุกๆ สิ่งที่พวกเขาได้บรรลุเป้าหมาย และผมตั้งตารอที่จะร่วมงานกับพวกเขาเพื่อการพลิกฟื้นอนาคต

ผมขอขอบคุณหุ้นส่วนในการเดินทางครั้งนี้ ชายผู้ซึ่งรณรงค์หาเสียงด้วยหัวใจของเขาและพูดเพื่อชายหญิงที่เติบโตขึ้นมาพร้อมกับเขาบนถนนสแครนตัน รวมถึงผู้ที่ร่วมขบวนรถไฟมุ่งหน้าสู่บ้านในเดลาแวร์...รองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา โจ ไบเด็น

ผมจะไม่มายืนอยู่ตรงนี้ในคืนนี้ หากปราศจากการสนับสนุนอย่างเข้มแข็งของเพื่อที่ดีที่สุดของผมในช่วง 16 ปีที่ผ่าน คนที่คอยดูแลครอบครัวของเรา คนรักแห่งชีวิต และคนที่กำลังจะเป็นสตรีหมายเลข 1 ของสหรัฐอมริกา, มิเชล โอบามา


ซาชา และมาลีอา พ่อรักลูกทั้งสองเกินกว่าที่ลูกจะจินตนาการได้ และลูกได้ลูกหมาตัวใหม่ซึ่งจะย้ายไปไปอยู่กับเราที่บ้านสีขาวหลังใหม่(The new White House) ด้วย

และแม้ว่าคุณยายของผมจะไม่อยู่กับพวกเราอีกต่อไปแล้ว ผมรู้ว่าท่านกำลังเฝ้าดูอยู่ รวมไปถึงครอบครัวของผมซึ่งสร้างให้ผมเป็นอย่างที่ผมเป็น ผมคิดถึงพวกเขาในคืนนี้ ผมรู้ว่าผมเป็นหนี้พวกเขาอย่างมหาศาล

มายาและอัลมา น้องสาวของผม พี่ชายและพี่สาวของผมทั้งหลาย ขอบคุณอย่างยิ่งสำหรับการสนับสนุน ผมซาบซึ้งในบุญคุณของพวกเขา

ผู้จัดการการรณรงค์หาเสียงของผม เดวิด พลูฟเฟ่ วีรบุรุษไร้นามของการหาเสียงครั้งนี้ ซึ่งผมคิดว่าเป็นเป็นผู้สร้างการรณรงค์ที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา

ขอบคุณหัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์ เดวิด แอ็กเซลรอด ซึ่งอยู่เคียงข้างผมทุกๆ จังหวะก้าว

ขอบคุณ ทีมหาเสียงที่ดีที่สุดที่กำเนิดขึ้นในประวัติศาสตร์ทางการเมือง พวกคุณได้สร้างให้มันเกิดขึ้นแล้ว และผมซาบซึ้งต่อสิ่งที่พวกท่านอุทิศให้ผมตลอดไป

แต่เหนือสิ่งอื่นใด ผมจะไม่มีวันลืมบุคคลที่เป็นเจ้าของชัยชนะครั้งนี้ ชัยชนะครั้งนี้เป็นของพวกคุณ ชัยชนะเป็นของพวกคุณ

ผมไม่ใช่ผู้สมัครที่มีโอกาสมากที่สุด เราไม่ได้เริ่มต้นด้วยเงินหรือการให้การสนับสนุนจำนวนมาก การหาเสียงของเราได้ได้เกิดขึ้นในที่ประชุมในวอชิงตัน แต่มันเริ่มต้นขึ้นที่สวนหลังบ้านของเดส มอยเนส และห้องนั่งเล่นของคอนคอร์ด และระเบียงหน้าบ้านชารลส์ตัน มันก่อร่างขึ้นโดยคนงานชายหญิงที่ทำงานหนักเพื่อเงินสะสมเล็กน้อยซึ่งเขาเจียดมาให้ 5 เหรียญบ้าง 10 เหรียญ หรือ 20 ตามแต่ความสามารถ

มันงอกงามขึ้นจากประชาชนหนุ่มสาวผู้ปฏิเสธความเฉื่อยชาอันน่าพิศวงในรุ่นของตัวเอง ละทิ้งบ้านและครอบครัวมาเพื่อหางานซึ่งตอบแทนพวกเขาด้วยค่าจ้างและการพักผ่อนที่น้อยนิด

มันถูกขีดวาดขึ้นโดยกลุ่มคนที่พ้นวัยหนุ่มสาว ซึ่งต้องกล้าต่อสู้กับความหนาวเหน็บขอบและร้อนอบอ้าวของอากาศ ไปเคาะประตูบ้านของคนแปลกหน้า และเกิดขึ้นจากชาวอเมริกันนับล้านที่อาสา จัดตั้ง และพิสูจน์ให้เห็นว่า รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ซึ่งดำรงมากว่า 200 ปีไม่ได้สูญสลายไปจากโลกนี้

นี่คือชัยชนะของพวกคุณ

และผมรู้ว่า ที่พวกคุณไม่ได้ทำเพื่อชนะการเลือกตั้งเท่านั้น และก็ไม่ได้ทำเพื่อผม

พวกคุณทำ เพราะคุณเข้าใจในพันธกิจที่ยิ่งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นต่อไปข้างหน้า แม้ว่าพวกเราจะร่วมกันเฉลิมฉลองในวันนี้ แต่เราต่างก็รู้ถึงความท้าทายอย่างใหญ่ยิ่งซึ่งจะมาในวันพรุ่งนี้ สงคราม 2 ประการ นั่นคือ ภาวะที่โลกที่ตกอยู่ท่ามกลางภัยพิบัติ และสถานการณ์การเงินที่ตกต่ำที่สุดในรอบศตวรรษ

แม้พวกเราจะรวมตัวกันอยู่ ณ ที่นี้ ในคืนนี้ แต่เรารู้ว่ายังมีชาวอเมริกันผู้หาญกล้ายังคงตื่นอยู่ในทะเลทะเลทรายอิรัก บนภูเขาของอัฟกานิสถาน เสี่ยงภัยเพื่อพวกเรา

ยังมีแม่และพ่อที่ยังนอนลืมตาตื่นคอยดูแลลูกๆ ซึ่งหลับใหล และครุ่นคิดถึงการจำนองบ้าน หรือการชำระค่ารักษาพยาบาล หรือการออมเงินเพื่อการศึกษาในระดับวิทยาลัยของลูกๆ

ยังคงมีพลังงานในรูปแบบใหม่ๆ ที่รอการใช้ประโยชน์ งานใหม่ๆ ที่รอการสรรสร้าง โรงเรียนใหม่ๆ รอการปลูกสร้าง การคุกคามใหม่ๆ ที่ยังต้องเผชิญ ความร่วมมือที่รอการเยียวยา

หนทางข้างหน้ายังอีกยาวไกล การป่ายปีนของเรานั้นสูงชัน เราไม่สามารถได้มาในเวลาเพียงหนึ่งปี หรือแม้แต่หนึ่งวาระ แต่ อเมริกา...ผม ไม่เคยมีความหวังมากไปกว่าที่คืนนี้ ว่าเราจะทำได้

ผมสัญญากับพวกคุณว่า พวกเราในฐานะประชาชนจะไปถึงซึ่งจุดหมาย

จะมีความพ่ายแพ้และผิดพลาดเกิดขึ้น และจะมีคนจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วยกับหลายนโยบายซึ่งผมตัดสินใจในฐานะประธานาธิบดี และเรารู้ว่ารัฐบาลไม่สามารถแก้ไขได้ทุกปัญหา

แต่ผมจะซื่อสัตย์ต่อพวกคุณเสมอในทุกๆ ความท้าทายที่พวกเราต้องเผชิญ จะรับฟังคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่เราไม่เห็นพ้องต้องกัน และ เหนือสิ่งอื่นใด ผมจะขอให้พวกคุณร่วมในการทำงานเพื่อสร้างชาติขึ้นอีกครั้ง ด้วยหนทางเดียวกับที่เราเคยทำมาแล้วเมื่อ 221 ปีก่อน ช่วงตึกหนึ่งไปยังอีกช่วงตึกหนึ่ง อิฐก้อนหนึ่งสู้อิฐอีกก้อนหนึ่ง และมืออันแข็งกร้านสู่มืออันแข็งกร้าน

สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ 21 เดือนก่อนในช่วงหนาวที่สุดของฤดูหนาว จะไม่จบลงในคำคืนแห่งฤดูใบไม้ร่วงนี้

ชัยชนะครั้งนี้เพียงอย่างเดียวไม่ใช่ความเปลี่ยนแปลงที่เรามองหา มันเป็นแค่โอกาสของเราที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงนั้น และไม่สามารถเกิดขึ้นหากเรากลับไปสู่สิ่งที่เราเคยเป็น

มันจะเกิดขึ้นไม่ได้โดยปราศจากพวกคุณ โดยปราศจากจิตวิญญาณของการรับใช้ จิตวิญญาณใหม่ของการอุทิศตน

ฉะนั้น ขอพวกเราจงหลอมรวมจิตวิญญาณใหม่แห่งความรักชาติ และสำนึกรับผิดชอบซึ่งเราได้ตกลงใจเข้าร่วม ทำงานหนัก และเฝ้าดู ไม่เฉพาะเพื่อตัวเราเองแต่เพื่อคนอื่นๆ ด้วย

ของพวกเราจงจดจำว่า หากวิกฤตการณ์การเงินครั้งนี้จะสอนอะไรบางอย่างแก่เรา นั่นก็คือการที่เราไม่สามารถจะอยู่กับความเฟื่องฟูของวอลสตรีท ในขณะที่ถนนสายหลักยังคงทนทุกข์

ในประเทศแห่งนี้ เรารุ่งโรจน์และร่วงโรยในฐานะที่เป็นประเทศเดียวกัน เป็นคนๆ เดียวกัน ขอให้พวกเรร่วมกันต่อต้านความพยายามที่กลับไปสู่การแบ่งพรรคแบ่งพวก ความน่าเวทนา และความไม่มีวุฒิภาวะซึ่งเป็นพิษต่อการเมืองของเรามายาวนาน

โปรดจดจำว่า ชายคนหนึ่งจากรัฐนี้เคยแบกป้ายของพรรครีพับลิกันเข้าสู่ทำเนียบขาวเป็นครั้งแรก พรรครีพับลิกันซึ่งก่อตั้งอยู่บนฐานคุณค่าของความเชื่อมั่นในตนเอง เสรีภาพในปัจเจกชนและความเป็นหนึ่งเดียวกันของประเทศ

นั่นคือสิ่งที่เราเชื่อร่วมกัน และเมื่อพรรคเดโมแครตชนะการเลือกตั้งครั้งยิ่งใหญ่ในคืนนี้ เราก็จะทำเช่นเดียวกันนั้นด้วยความอ่อนน้อมและมุ่งมั่นที่จะเยียวยาความแตกแยกซึ่งสกัดกั้นความเจริญก้าวหน้าของเรา

ดังที่ลินคอล์นได้กล่าวว่าประเทศแตกแยกมากกว่าตัวเรา เราไม่ใช่ศัตรูแต่เราคือเพื่อน แม้ความไม่พึงพอใจจะยังคงตึงเขม็ง แต่มันจะต้องไม่ทำลายสายใยแห่งความสมัครสมานของเรา

และสำหรับชาวอเมริกันที่ให้ความสนับสนุนผม ผมจะไม่เพียงแค่ได้คะแนนเสียงของพวกคุณในคืนนี้ แต่ผมจะฟังเสียงของพวกคุณ ผมต้องการความช่วยเหลือจากคุณ และผมจะเป็นประธานาธิบดีของพวกคุณ

สำหรับทุกท่านที่เฝ้าดูอยู่ในคืนนี้ ผู้ที่อยู่ไกลออกไปจากชายฝั่งของประเทศเรา ไม่ว่าจากรัฐสภาหรือพระราชวัง ผู้ที่รวมตัวกันอยู่เพื่อฟังวิทยุในมุมใดมุมของโลกซึ่งถูกหลงลืม เรื่องราวของประเทศเราเป็นเรื่องเฉพาะ ทว่าชะตากรรมนั้นเป็นสิ่งที่เราต้องร่วมแบ่งปัน และอรุณรุ่งวันใหม่แห่งความเป็นผู้นำของอเมริกาก็ใกล้จะมาถึงแล้ว

และถึงท่านทั้งหลายผู้ซึ่งปรารถนาจะทำลายโลกลง เราจะ เอาชนะพวกคุณ ท่านทั้งหลายผู้แสวงหาสันติภาพและความมั่นคง เราสนับสนุนคุณ และสำหรับคนที่ยังคงสงสัยว่าแสงไฟนำทางของสหรัฐจะยังคงโชติช่วงหรือไม่นั้น: คืนนี้เราได้พิสูจน์อีกครั้งหนึ่งแล้วว่า ความเข้มแข็งที่แท้จริงของเราไม่ได้มาจากอาวุธ หรือระดับของความมั่งคั่ง แต่มาจากการความคงมั่นของอุดมการณ์ ประชาธิปไตย เสรีภาพ โอกาส และ ความหวังอันมั่งแข็งแกร่ง

อัจฉริยภาพที่แท้จริงของอเมริกาคืออเมริกาสามารถเปลี่ยนแปลง การรวมตัวกันของเราสามารถสัมฤทธิ์ผลสมบูรณ์ สิ่งที่เราได้บรรลุแล้วนั้นได้มองความหวังแก่เราเพื่อให้เราบรรลุผลสำเร็จที่มากกว่าในวันพรุ่ง

การเลือกตั้งครั้งนี้ได้ก่อให้เกิด ‘ครั้งแรก’ ในหลายๆ เรื่อง และก่อให้เกิดเรื่องราวมากมายที่เราจะบอกเล่าสู่คนรุ่นต่อไป แต่เรื่องหนึ่งที่อยู่ในใจของผมในคืนนี้เป็นเรื่องของหญิงผู้หนึ่งซึ่งออกมาลงคะแนนเสียงที่แอตแลนตา เธอก็เหมือนกับคนอื่นๆ อีกนับล้านซึ่งเข้าแถวรอเพื่อจะลงคะแนน เว้นแต่ว่า แอน นิกสัน คูเปอร์ หญิงผู้นั้นอายุ 106 ปีแล้ว

เธอเกิดขึ้นมาในยุคของทาส ในห้วงเวลาที่ยังไม่มีรถยนต์วิ่งอยู่บนถนน ไม่มีเครื่องบินอยู่บนท้องฟ้า ในยุคที่คนเช่นเธอไม่สามารถลงคะแนนเสียงได้ด้วย 2 เหตุผล คือ เพราะเธอเป็นผู้หญิงและเพราะสีผิวของเธอ

และคืนนี้ ผมคิดว่าทุกสิ่งในอเมริกาที่เธอได้เห็นมา 1 ศตวรรษ ความร้าวรานใจและความหวัง การต่อสู้และความก้าวหน้า ช่วงเวลาที่พวกเราถูกบอกว่าเราไม่สามารถทำได้, กับผู้คนผลักดันความเชื่อของอเมริกา,ใช่ เราทำได้

ณ ห้วงเวลาที่เสียงของผู้หญิงเงียบงัน และความหวังของพวกเธอถูกละเลย เธอดำรงชีวิตอยู่เพื่อมองหญิงเหล่านั้นลุกขึ้น เปล่งเสียง และเรียกร้องสิทธิเลือกตั้ง, ใช่ เราทำได้

เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำไปทั่วประเทศ เธอเคยมองเห็นประเทศชาติต่อสู้กับความกลัวด้วยข้อตกลงใหม่ งานใหม่ และด้วยสำนึกใหม่, ใช่ เราทำได้

เมื่อลูกระเบิดหล่นลงบนอ่าวของเรา และทรราชย์คุกคามโลก เธออยู่ที่นั่น เป็นพยานของคนในรุ่นนั้นซึ่งเติบโตขึ้นสู่ความยิ่งใหญ่ และประชาธิปไตยที่พวกเราพิทักษ์รักษา, ใช่ เราทำได้

เธออยู่ที่นั่นเพื่อได้เห็นรถเมล์ในมอนท์โกเมอรี่ บ้านในเบอร์มิงแฮม ถนนในเซลมา และบทหลวงจากแอตแลนตาผู้บอกกับประชาชนว่า “เราจะได้ชัยชนะ”, ใช่ เราทำได้

ชายซึ่งได้เหยียบดวงจันทร์ กำแพงที่สลายลงในเบอร์ลิน และโลกซึ่งเชื่อมโยงถึงกันด้วยวิทยาศาสตร์และจินตนาการของเรา

และในปีนี้ ในการเลือกตั้งครั้งนี้ เธอแตะนิ้วของเธอลงบนจอคอมพิวเตอร์ ออกเสียงเลือกตั้ง เพราะหลังจากผ่านประสบการณ์ 106 ปี ในอเมริกา ทั้งในยามรุ่งเรืองที่สุดและในโมงยามที่มืดมิดที่สุด เธอย่อมรู้ว่าอเมริกาสามารถเปลี่ยนแปลงได้

ใช่ พวกเราทำได้!!!

อเมริกา เราเดินมาไกลแล้ว เราพบพานมามาก แต่ก็ยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่เราต้องทำ คืนนี้ ผมขอให้พวกเราทั้งหลายถามตัวเราเองว่า หากเด็กๆ ของเราจะต้องอยู่ไปถึงศตวรรษหน้า ถ้าหากลูกสาวของผมสามารถมีชีวิตยืนยาวได้เหมือน แอน นิกสัน คูเปอร์ เราต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงในลักษณะใด เราจะสร้างสรรค์ความก้าวหน้าแบบใด

นี่คือโอกาสที่จะให้คำตอบต่อเสียงเพรียก นี่คือห้วงเวลาของเรา

นี่คือห้วงเวลาของพวกเรา ทีจะนำประชาชนกลับสู่การงาน เปิดประตูแห่งโอกาสให้เด็กๆ ของพวกเรา ฟื้นฟูความรุ่งเรืองและส่งเสริมสันติภาพ ฟื้นคืนความฝันของอเมริกันชน และยืนยันรากฐานแห่งความจริง เราคือหนึ่งจากจำนวนหลากหลาย ขณะที่เราหายใจ เรามุ่งหวัง และจากที่ซึ่งเราพบการเย้ยหยันและข้อกังขา และจากผู้คนที่บอกเราว่าเราทำไม่ได้ เราจะตอบด้วยความเชื่ออันเป็นนิรันดร์ซึ่งหลอมรวมเป็นจิตวิญญาณของประชาชนว่า ใช่ เราทำได้

ขอบคุณ ขอให้พระเจ้าอวยพรแก่พวกคุณ และขอให้พระเจ้าอำนวยพรแก่สหรัฐอเมริกา

ประชาไท

Remarks of President-Elect Barack Obama : Election Night
Chicago, IL November 04, 2008

If there is anyone out there who still doubts that America is a place where all things are possible; who still wonders if the dream of our founders is alive in our time; who still questions the power of our democracy, tonight is your answer.


It's the answer told by lines that stretched around schools and churches in numbers this nation has never seen; by people who waited three hours and four hours, many for the very first time in their lives, because they believed that this time must be different; that their voice could be that difference.


It's the answer spoken by young and old, rich and poor, Democrat and Republican, black, white, Latino, Asian, Native American, gay, straight, disabled and not disabled - Americans who sent a message to the world that we have never been a collection of Red States and Blue States: we are, and always will be, the United States of America.

It's the answer that led those who have been told for so long by so many to be cynical, and fearful, and doubtful of what we can achieve to put their hands on the arc of history and bend it once more toward the hope of a better day.

It's been a long time coming, but tonight, because of what we did on this day, in this election, at this defining moment, change has come to America.

I just received a very gracious call from Senator McCain. He fought long and hard in this campaign, and he's fought even longer and harder for the country he loves. He has endured sacrifices for America that most of us cannot begin to imagine, and we are better off for the service rendered by this brave and selfless leader. I congratulate him and Governor Palin for all they have achieved, and I look forward to working with them to renew this nation's promise in the months ahead.


I want to thank my partner in this journey, a man who campaigned from his heart and spoke for the men and women he grew up with on the streets of Scranton and rode with on that train home to Delaware, the Vice President-elect of the United States, Joe Biden.


I would not be standing here tonight without the unyielding support of my best friend for the last sixteen years, the rock of our family and the love of my life, our nation's next First Lady, Michelle Obama. Sasha and Malia, I love you both so much, and you have earned the new puppy that's coming with us to the White House. And while she's no longer with us, I know my grandmother is watching, along with the family that made me who I am. I miss them tonight, and know that my debt to them is beyond measure.


To my campaign manager David Plouffe, my chief strategist David Axelrod, and the best campaign team ever assembled in the history of politics - you made this happen, and I am forever grateful for what you've sacrificed to get it done.


But above all, I will never forget who this victory truly belongs to - it belongs to you.


I was never the likeliest candidate for this office. We didn't start with much money or many endorsements. Our campaign was not hatched in the halls of Washington - it began in the backyards of Des Moines and the living rooms of Concord and the front porches of Charleston.


It was built by working men and women who dug into what little savings they had to give five dollars and ten dollars and twenty dollars to this cause. It grew strength from the young people who rejected the myth of their generation's apathy; who left their homes and their families for jobs that offered little pay and less sleep; from the not-so-young people who braved the bitter cold and scorching heat to knock on the doors of perfect strangers; from the millions of Americans who volunteered, and organized, and proved that more than two centuries later, a government of the people, by the people and for the people has not perished from this Earth. This is your victory.


I know you didn't do this just to win an election and I know you didn't do it for me. You did it because you understand the enormity of the task that lies ahead. For even as we celebrate tonight, we know the challenges that tomorrow will bring are the greatest of our lifetime - two wars, a planet in peril, the worst financial crisis in a century. Even as we stand here tonight, we know there are brave Americans waking up in the deserts of Iraq and the mountains of Afghanistan to risk their lives for us. There are mothers and fathers who will lie awake after their children fall asleep and wonder how they'll make the mortgage, or pay their doctor's bills, or save enough for college. There is new energy to harness and new jobs to be created; new schools to build and threats to meet and alliances to repair.


The road ahead will be long. Our climb will be steep. We may not get there in one year or even one term, but America - I have never been more hopeful than I am tonight that we will get there. I promise you - we as a people will get there.


There will be setbacks and false starts. There are many who won't agree with every decision or policy I make as President, and we know that government can't solve every problem. But I will always be honest with you about the challenges we face. I will listen to you, especially when we disagree. And above all, I will ask you join in the work of remaking this nation the only way it's been done in America for two-hundred and twenty-one years - block by block, brick by brick, calloused hand by calloused hand.


What began twenty-one months ago in the depths of winter must not end on this autumn night. This victory alone is not the change we seek - it is only the chance for us to make that change. And that cannot happen if we go back to the way things were. It cannot happen without you.


So let us summon a new spirit of patriotism; of service and responsibility where each of us resolves to pitch in and work harder and look after not only ourselves, but each other. Let us remember that if this financial crisis taught us anything, it's that we cannot have a thriving Wall Street while Main Street suffers - in this country, we rise or fall as one nation; as one people.


Let us resist the temptation to fall back on the same partisanship and pettiness and immaturity that has poisoned our politics for so long. Let us remember that it was a man from this state who first carried the banner of the Republican Party to the White House - a party founded on the values of self-reliance, individual liberty, and national unity. Those are values we all share, and while the Democratic Party has won a great victory tonight, we do so with a measure of humility and determination to heal the divides that have held back our progress. As Lincoln said to a nation far more divided than ours, "We are not enemies, but friends... though passion may have strained it must not break our bonds of affection." And to those Americans whose support I have yet to earn - I may not have won your vote, but I hear your voices, I need your help, and I will be your President too.


And to all those watching tonight from beyond our shores, from parliaments and palaces to those who are huddled around radios in the forgotten corners of our world - our stories are singular, but our destiny is shared, and a new dawn of American leadership is at hand. To those who would tear this world down - we will defeat you. To those who seek peace and security - we support you. And to all those who have wondered if America's beacon still burns as bright - tonight we proved once more that the true strength of our nation comes not from our the might of our arms or the scale of our wealth, but from the enduring power of our ideals: democracy, liberty, opportunity, and unyielding hope.


For that is the true genius of America - that America can change. Our union can be perfected. And what we have already achieved gives us hope for what we can and must achieve tomorrow.


This election had many firsts and many stories that will be told for generations. But one that's on my mind tonight is about a woman who cast her ballot in Atlanta. She's a lot like the millions of others who stood in line to make their voice heard in this election except for one thing - Ann Nixon Cooper is 106 years old.


She was born just a generation past slavery; a time when there were no cars on the road or planes in the sky; when someone like her couldn't vote for two reasons - because she was a woman and because of the color of her skin.


And tonight, I think about all that she's seen throughout her century in America - the heartache and the hope; the struggle and the progress; the times we were told that we can't, and the people who pressed on with that American creed: Yes we can.


At a time when women's voices were silenced and their hopes dismissed, she lived to see them stand up and speak out and reach for the ballot. Yes we can.


When there was despair in the dust bowl and depression across the land, she saw a nation conquer fear itself with a New Deal, new jobs and a new sense of common purpose. Yes we can.


When the bombs fell on our harbor and tyranny threatened the world, she was there to witness a generation rise to greatness and a democracy was saved. Yes we can.


She was there for the buses in Montgomery, the hoses in Birmingham, a bridge in Selma, and a preacher from Atlanta who told a people that "We Shall Overcome." Yes we can.


A man touched down on the moon, a wall came down in Berlin, a world was connected by our own science and imagination. And this year, in this election, she touched her finger to a screen, and cast her vote, because after 106 years in America, through the best of times and the darkest of hours, she knows how America can change. Yes we can.


America, we have come so far. We have seen so much. But there is so much more to do. So tonight, let us ask ourselves - if our children should live to see the next century; if my daughters should be so lucky to live as long as Ann Nixon Cooper, what change will they see? What progress will we have made?


This is our chance to answer that call. This is our moment. This is our time - to put our people back to work and open doors of opportunity for our kids; to restore prosperity and promote the cause of peace; to reclaim the American Dream and reaffirm that fundamental truth - that out of many, we are one; that while we breathe, we hope, and where we are met with cynicism, and doubt, and those who tell us that we can't, we will respond with that timeless creed that sums up the spirit of a people:


Yes We Can. Thank you, God bless you, and may God Bless the United States of America.


ปัจจัยที่เอื้อโอกาสให้โอบามามีชัยเหนือแมคเคน

วันนี้วันที่ 4 พฤศจิกายนเป็นวันเลือกตั้งสหรัฐ ไม่ว่าใครได้เป็นประธานาธิบดีในวันนี้จะสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับการเมืองอเมริกันไม่ว่าจะเป็นประธานาธิบดีผิวสีคนแรก หรือ ประธานาธิบดีที่มีอายุมากที่สุดหรือรองประธานาธิบดีหญิงตนแรกของอเมริกา

เหลืออีกเวลาไม่ถึง 10 ชั่วโมงก็จะปิดหีบการเลือกตั้งแล้ว การเลือกตั้งครั้งนี้ส่วนตัวผู้เขียนในฐานะอิงการเมืองอนุรักษ์นิยมและรักรีพับลิกันไม่เสื่อมคลายขอสนับสนุนจอห์น แมคเคนนั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐต่อจากประธานาธิบดีบุชแม้การเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็น Democratic Year โอกาสที่แมคเคนจะเอาชนะโอบามาไม่มากก็ตามแต่เพื่อให้อุดมการณ์ของ conservatism ได้ถูกนำมาปฎิบัติใช้ในรูปของนโยบายเพื่อสนองตอบชาวอนุรักษ์นิยม อย่างไรเสียวันนี้ก็ต้องลุ้นแมคเคนเพราะยังไงแมคเคนก็ยังเป็นกระแสหลักอนุรักษ์นิยมอยู่

ยอมรับว่าจริตทางการเมืองของผู้เขียนนั้นกลืนอดุมการณ์เสรีนิยม(Liberal) และนโยบายของเดโมแครตไม่ลงจริงๆ โดยเฉพาะทัศนคติของพวกสื่อและนักวิชาการหัวเสรีนิยมสุดโต่งที่สนับสนุนเดโมแครตนั้นหากเทียบกับการเมืองไทยแล้ว ไม่ต่างจากสื่อและพวกนักวิชาการไทยหัวเสรีนิยมที่ส่วนใหญ่สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ยังไงยังงั้น นักวิชาการไทยหัวเสรีนิยมพวกนี้ยังต้องเรียก “นักวิชาการหัวเสรีนิยมสุดโต่งในอเมริกา” ว่า “พี่” เลยแหละ แต่สิ่งที่ต่างกันคือ การเมืองในอเมริกาเป็นการต่อสู้กันในระบอบประชาธิปไตยและฝ่ายที่พ่ายแพ้การเลือกตั้งยอมรับผลที่ออกมา แม้จะมีพวกไม่เคารพการตัดสินใจของคนส่วนใหญ่อยู่บ้างก็ตามแต่ก็ไม่ได้จัดการประท้วงยืดเยื้อเพื่อล้มฝ่ายที่ชนะการเลือกตั้งเหมือนที่เมืองไทยแต่อย่างใดแต่เลือกอพยพไปอยู่แคนาดาแทน :D มีให้เห็นมาแล้วที่พวกเชียร์เดโมแครตผิดหวังการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อปี 2000 และ 2004 ทำใจไม่ได้และร้องให้คร่ำครวญอยากย้ายไปอยู่แคนาดา บางคนก็ทำจริงแต่บางคนก็พูดเฉยๆ

การต่อสู้ทางการเมืองของสหรัฐอเมริกานั้นเป็นการต่อสู้กันทางอุดมการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ และเป็นสงครามวัฒนธรรมด้วยคือเป็นการต่อสู้ระหว่าง

คนเมืองรวมไปถึงพวกชนกลุ่มน้อย ดาราฮอลลีวู้ดอีโก้สูง นักวิชาการหัวเสรีนิยมที่ส่วนใหญ่จะสิงสถิตย์อยู่ตามมหาวิทยาลัยต่างๆในอเมริกาและสื่อกระแสหลัก(ยกเว้นฟ็อกซ์ นิวส์) ที่นิยมพรรคเดโมแครต
VS.
คนชนบทในเมืองเล็กที่ไม่มีทั้งสื่อกระแสหลักและนักวิชาการในมหาวิทยาลัยเป็นพวกสนับสนุนแข็งขันที่นิยมพรรครีพับลิกัน


คำพูดที่ผู้เขียนมักจะได้ยินออกมาจากปากของพวกเสรีนิยมสุดโต่งที่นิยมพรรคเดโมแครตนั้นจะออกไปในแนวทางที่เป็นลบอย่างมากกับฝ่ายอนุรักษ์นิยมเป็นต้นว่า

พวกอนุรักษ์นิยมบ้าศาสนา งมงายในศาสนาต่อต้านวิทยาศาสตร์
พวกอนุรักษ์นิยมส่วนใหญ่ที่เลือกรีพับลิกัน การศึกษาน้อย และไง่
พวกอนุรักษ์นิยมบ้าสงคราม
พวกอนุรักษ์นิยมชอบลดภาษีให้กับคนรวย ไม่สนใจชนชั้นกลาง
พวกอนุรักษ์นิยมเป็นพวกเหยียดผิว
พวกอนุรักษ์นิยมส่วนใหญ่เป็นพวกบ้านนอก
รีพับลิกันชอบโกงการเลือกตั้ง
และอื่นๆอีกมากมาย

ความคิดเห็นและประเด็นที่กล่าวมาข้างต้นนี้ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่เห็นได้ตามเว็บไซท์ บล็อคหรือเว็บบอร์ดทั้วไปของพวกหัวเอียงซ้ายหรือหัวเสรีนิยมในอเมริกานี่คือความคิดเห็นของพวก “เสรีนิยมสุดโต่ง” คือ มองว่าตัวเองเรียนสูง เก่ง ฉลาด อยู่ฝ่ายเดียวแต่คนที่เลือกพรรครีพับลิกันนั้น “โง่” และ “ไม่ถูก” ทั้งหมด

ข้อกล่าวหาที่มีต่ออนุรักษ์นิยมจากปากของพวกเสรีนิยมสุดโต่งที่ผู้เขียนลิสต์มาให้ดูข้างต้นนั้นไม่ใช่เป็นความคิดเห็นของอเมริกันชนส่วนใหญ่ หากอเมริกันชนส่วนใหญ่คิดแบบนี้ทั้งหมดเราคงไม่ได้เห็นประธานาธิบดีที่มาจากรีพับลิกันเป็นแน่แท้

การเลือกตั้งประธานาธิบดีแทบทุกครั้งที่ผ่านมาจะมีจำนวนคนที่ลงทะเบียนเป็นเดโมแครตมากกว่ารีพับลิกันมากแต่นั่นไม่ได้การันตีว่าเดโมแครตจะเป็นฝ่ายชนะเสมอไปเพราะเมื่อครั้งที่รีพับลิกันชนะการเลือกตั้งจำนวนคนที่ลงทะเบียนสังกัดเดโมแครตก็มากกว่ารีพับลิกันมาตลอด แต่หากถามว่าเป็นอนุรักษ์นิยมหรือลิเบอร์รัลคนอเมริกันส่วนใหญ่จะบอกว่าตนเป็นอนุรักษ์นิยมมากถึง 57 % ขณะที่มีเพียง 37% เท่านั้นที่บอกว่าตัวเองเป็นลิเบอร์รัล

โดยธรรมชาติแล้ว คนอเมริกันส่วนใหญ่เป็น center-right

แต่กระนั้นก็ตาม การเลือกประธานาธิบดีแต่ละครั้งมันขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและสถานการณ์ด้วยเพราะบางครั้งวิกฤต หรือ สถานการณ์ก็สามารถสร้างความได้เปรียบให้กับผู้สมัครคนนั้นเช่นกัน ต้องบอกว่าในปีนี้บารัค โอมาบาโชคดีที่เกิดวิกฤตการเงินในอเมริกาก่อนจากที่คะแนนนิยมของเขายังไล่ตามแมคเคนอยู่ก็เบียดแซงหน้าไปได้เพราะวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นแค่ 4 สัปดาห์ที่ผ่านมานั่นเองหากไม่มีวิกฤตการเงินเกิดขึ้นในครั้งนี้ โอกาสที่โอบามาจะเอาชนะแมคเคนไปแบบง่ายๆนั้นแทบเป็นศูนย์

ด้วยเหตุนี้หากให้ผู้เขียนสรุปปัจจัยในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งที่ผ่านมาที่ทำให้โอบามาได้เปรียบแมคเคนอยู่มากคือ

1. ปัญหาวิกฤตการเงินในวอลสตรีทที่เมนสตรีทได้รับผลกระทบด้วย ดังนั้นความรู้สึกของประชาชนคือ ต้องลงโทษพรรคที่เป็นรัฐบาลไว้ก่อนแม้ในสภาฯคองเกรสที่เป็นฝ่ายนิติบัญญ้ติและเดโมแครตครองเสียงข้างมากในสภาฯจะมีบทบาทสำคัญมากที่สุดในการรับผิดชอบวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ก็ตาม แต่การกล่าวโทษฝ่ายบริหารนั้นง่ายที่สุด ตรงนี้ไม่จำเป็นว่ารัฐบาลที่มาจากพรรครีพับลิกันต้องถูกกล่าวโทษเสมอไป หากรัฐบาลชุดปัจจุบันมาจากพรรคเดโมแครตพวกเขาก็ต้องตกอยู่ในสภาวะที่ยากลำบากเช่นกัน เพราะประว้ติศาสตร์การเมืองอเมริกันพิสูจน์ให้เห็นมาแล้ว

แต่ที่น่าสนใจที่คนนิยมเดโมแครตต้องกลับไปถามตัวเองคือ ที่โอ่ว่า บิล คลินตัน บริหารประเทศดี เศรษฐกิจดี เหตุใด อัลเบิร์ต กอร์ จึงไม่สามารถเอาชนะจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช จากพรรครีพับลิกันไปได้อย่างขาดลอยในการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2000 ในทางตรงกันข้ามยังแพ้ให้กับท่านบุชเสียด้วยซ้ำ

หากบิล คลินตันบริหารประเทศได้เยี่ยมยอดจริงตามคำกล่าวยกยอของพวกเดโมแครตและลิเบอร์รัล มีเดียในอเมริกาเชียร์อย่างสุดลิ่มทิ้มประตู ทำไมผลงานของเขาจึงไม่ทำให้กอร์ได้รับอานิสงค์สามารถเอาชนะจอร์จ บุชไปได้อย่างถล้มทลายในปีนั้น?

2. ทุนทรัพย์ เรียกว่าในปีนี้โอบามามีทุนทรัพย์ในการหาเสียงเลือกตั้งมากกว่าแมคเคนหลายเท่าตัวอันเป็นผลมาจากการแข่งขันในระดับไพรมารีที่ยาวนานของพรรคเดโมแครตด้วยนั่นเอง โอบามาใช้เงินในการหาเสียงครั้งนี้มากกว่าแมคเคนเกือบ 4 เท่าตัว

3. McCain Campaign นั้นไม่เก่งและทำงานได้มีประสิทธิภาพไม่เท่าแคมเปญของโอบามา ต้องยอมรับว่าโอบามาบริหารแคมเปญได้เก่งกว่าแมคเคนและทำผิดพลาดน้อย รวมไปถึงกองทัพสื่อที่ให้สัญญาณไฟเขียวให้โอบามาผ่านตลอดในขณะที่แมคเคน-เพลิน ต้องเจอไฟอแดงอยู่ทุกสี่แยก แต่การที่บริหารแคมเปญมีประสิทธิภาพไม่ได้หมายความว่านี่คือ “หลักฐาน” ที่พิสูจน์ว่าจะสามารถเป็นประธานาธิบดีได้และไม่ได้บอกว่าการบริหารแคมเปญเก่งจะเป็นประธานาธิบดีที่ดีได้

ที่ผู้เขียนเห็นผลงานชัดๆของโอบามาที่สร้างความประทับใจมีอยู่แค่สองอย่างคือ 1.บริหารแคมเปญได้มีประสิทธิภาพ และ 2.บรรยายชีวประวัติตัวเองลงในหนังสือ เป็นการสร้างภาพปูทางเพื่อลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีไว้ก่อนนั่นเอง

เพราะจริงๆแล้วเรื่องเศรษฐกิจและIdeology ของโอบามามีจุดอ่อนให้โจมตีเยอะแยะโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพความเป็นเสรีนิยมและนโยบายเศรษฐกิจที่ออกไปในทางสังคมนิยมของเขา แต่น่าเสียดายว่า McCain Campaign เพิ่งมามองเห็นก็เมื่อช่วงใกล้เลือกตั้งแล้ว จริงๆแล้วหาก McCain Campaign ยอมฟังคำแนะนำของบิล คริสตัลมากสักนิด พวกเขาคงไม่อยู่ในสถานการณ์ที่เป็นรองขนาดนี้

4. แมคเคนผิดพลาดที่พยายามหาเสียงโดยยืนระยะห่างจากประธานาธิบดีบุช ตรงกันข้ามสิ่งที่เขาต้องทำคือ ต้องทำให้นโยบายบริหารของบุชนั้นได้รับความนิยมและสานต่อต่อไป เพราะนโยบายการบริหารของบุชโดยรวมแล้วคือแก่นสำคัญของ conservatism แมคเคนนั้นมีจุดยืนหลายอย่างที่ต่างจากบุชซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ฐานเสียงรีพับลิกันไม่สนับสนุนเขามากเท่ากับสมัยบุชเมื่อ 4 ปีที่แล้วและเรามองย้อนกลับไปดูผู้ที่โหวตให้แมคเคนในรอบไพรมารี่นั้นส่วนใหญ่จะเป็นผู้ออกเสียงอิสระและเดโมแครต แต่มิท รอมนีย์ และฮัคคาบีคือผู้ที่ได้เสียงจากอนุรักษ์นิยมมากที่สุด

หากแมคเคนต้องการมีชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ แคมเปญของเขาไม่ควรยืนระยะห่างจากนโยบายของบุชทุกเรื่องเพราะนโยบายส่วนใหญ่ของบุชคือแก่นกลางของอนุรักษ์นิยม การที่จะชนะเลือกตั้งให้ได้นั้นอย่างแรกคุณต้องยึดฐานเสียงอนุรักษ์นิยมไว้ก่อนแล้วจึงค่อยเอื้อมไปหาผู้ออกเสียงอิสระเพราะธรรมชาติของผู้ออกเสียงอิสระนั้นจะยืดหยุ่นกับทุกนโยบาย หากนโยบายไหนของเดโมแครตดีเขาก็เลือกผู้สมัครจากเดโมแครต แต่หากนโยบายไหนของรีพับลิกันที่เขาชอบใจ เขาก็เลือกรีพับลิกัน

แต่การที่แมคเคนแสดงตัวว่าเป็นมาเวอร์ริคนั้นเพราะนั่นคือคาแรคเตอร์ที่โดดเด่นของเขาเพราะเขาทำงานได้กับทั้งเดโมแครตและรีพับลิกัน แต่ทว่ามันก็มีจุดอ่อนคือถูกต่อต้านทั้งจากผู้สนับสนุนทั้งสองพรรค

ประธานาธิบดีบุชคือตัวอย่างที่ดีที่สุดในการขอร่วมทำงานกับทั้งสองพรรคเมื่อเขาได้รับการเลือกตั้งกลับเข้ามาใหม่ในปี 2004 ประธานาธิบดีบุชบอกกับผู้ไม่เลือกเขาและเลือกจอห์น เคอร์รี่ว่า

"วันนี้ ผมต้องการกล่าวกับทุกๆคนที่เลือกคู่ต่อสู้ของผมว่า เพื่อทำให้ชาติของเราแข็งแกร่งขึ้นและดีขึ้นกว่าเดิม ผมจำเป็นต้องการการสนับสนุนจากคุณทุกคนและผมจะทำงานเพื่อให้ได้มันมา ผมจะทำทุกอย่างที่ผมสามารถทำได้เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากพวกคุณ"

แต่ประธานาธิบดีบุชท่านต้องจ่าย "ความพยายามอย่างหนักในการทำงานร่วมกับสองพรรค" ด้วยราคาที่แสนแพงกับการได้รับการต่อต้านจากทั้งสองพรรค เพราะมันก็เหมือนกับ "คุณบอกรักผู้หญิงสองคน" ในเวลาเดียวกันนั่นเอง แต่นี่คือความเป็น compassionate conservative ของท่าน


ดังนั้นแมคเคนแคมเปญจึงผิดพลาดมากที่หาเสียงโดยตีตัวออกห่างจากประธานาธิบดีบุช ตรงกันข้ามเขาต้องชูโรงผลงานการบริหารที่ประสพความสำเร็จของบุช ไม่ใช่บอกว่ายืนตรงข้ามกับรัฐบาลบุชไปหมดทุกอย่างเพราะในความเป็นจริงนั้นการบริหารงานของบุชตลอด 8 ปีที่ผ่านมาถือว่าท่านทิ้งผลงานที่น่าประทับใจไว้ให้หลายชิ้นแต่อยู่ที่ว่าคนจะเลือกมองมุมไหนเท่านั้นเอง แม้จะมีนโยบายบางส่วนที่ทำแล้วไม่ประสพผลสำเร็จเท่าที่ควรแต่โดยรวมแล้วถือว่าใช้ได้เลยเพราะอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของอเมริกาในภาวะวิกฤตการเงินก็ยังโตกว่ายุโรปและแคนาดา

รัฐบาลบุชนี่เป็นรัฐบาลที่เจอบททดสอบอย่างหนักเรียกว่าเจอของแข็งทั้งจากภายในและนอกประเทศมากกว่ารัฐบาลคลินตันหลายเท่าตัวแต่อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก็ยังขยายตัวแม้จะไม่โตมาก อัตราการว่างงานก็ถือว่าต่ำแค่ 7 % ไม่อาจเรียกว่าเป็นภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ได้เลยเพราะเกรทดีเพรสชั้นนั้นอัตราการว่างงานสูงถึงเกือบ 30 % แม้จะถูกรุมเร้าด้วยภาวะฟองสบู่แตกของธุรกิจดอทคอมที่เริ่มก่อตัวสมัยปลายรัฐบาลคลินตันและมาแตกตอนปี 2001, ไหนจะเหตุการณ์ 9-11 ที่มาเกิดในสมัยเปลี่ยนผ่านรัฐบาล(เพราะรัฐบาลคลินตันเก็บของสกปรกไว้ใต้พรมเยอะด้วยนโนยบายด้านความมั่นคงที่อ่อนแอ) พอบุชเข้ามาไม่ถึง 5 เดือนก็เกิดเหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายถล่มอเมริกาเสียแล้ว รวมไปถึงสงครามอิรัคและอาฟกานิสถานและวิกฤตการเงินที่มีรากเหง่ามาจากนโยบาย “เอาใจผู้มีรายได้น้อยให้มีบ้านเป็นของตัวเอง” ของพรรคเดโมแครตแต่ไม่ยอมดูศักยภาพว่าคนจนที่อุ้มนั้นจะจ่ายได้หรือไม่

ชาวรีพับลิกันที่ส่วนใหญ่(แม้ไม่ทั้งหมด)นั้นไม่นิยมแมคเคนมากเท่าไหร่เพราะเขาดูไม่ใช่อนุรักษ์นิยมเต็มตัว ก่อนที่เขาจะเลือกซาร์ร่าห์ เพลินมาเป็นคู่รองประธานาธิบดีนั้นคะแนนนิยมเขาในหมู่อนุรักษ์นิยมนั้นต่ำกว่าคู่ชิงประธานาธิบดีที่มาจากรีพับลิกันในอดีตเกือบทั้งหมดแต่ซาร์ร่า เพลินได้เปลี่ยนใจอนุรักษ์นิยมหันมาสนับสนุนเขาอีกครั้งแม้จะเทียบไม่ได้กับที่อนุรักษ์นิยมสนับสนุนบุชเมื่อ 4 ปีที่แล้ว

ตัวผู้เขียนเองนั้นไม่เคยเชียร์แมคเคนเลยในตอนหยั่งเสียงขั้นต้นแต่คนที่ผู้เขียนเชียร์สุดๆคือ "มิท รอมนีย์" แต่น่าเสียดายว่า เขาไม่ชนะเพราะคะแนนถูกแบ่งไปให้ไมค์ ฮัคคาบีด้วยเพราะมิท รอมนีย์คือตัวแทนของอนุรักษ์นิยมจริงๆ แต่พื่อให้อุดมการณ์ของ conservatism ได้ถูกนำมาปฎิบัติใช้ในรูปของนโยบายเพื่อสนองตอบชาวอนุรักษ์นิยมในประเทศ อย่างไรเสียก็ต้องให้การสนับสนุนแมคเคนต่อไปเพราะยังไงแมคเคนก็ยังเป็นกระแสหลักอนุรักษ์นิยมอยู่

5. เนื่องด้วยโอบามาเป็นนักการเมืองหน้าใหม่(ถึงจะไม่ใหม่แบบถอดด้าม)และยังไม่มีผลงานอันโดดเด่นและไม่เคยบริหารประเทศมาก่อน ดังนั้นเมื่อประกอบเข้ากับสถานการณ์วิกฤติการเงินที่เกิดขึ้น เขาจึงอยู่ในฐานะได้เปรียบเพราะ “ไม่มีผลงาน ไม่มีความผิด” เหมือนพรรคประชาธิปัตย์ในเมืองไทยนั่นล่ะค่ะ...อิอิ ซึ่งต่างกับประธานาธิบดีบุชที่บริหารประเทศมาสองสมัยก็มีทั้งผลงานที่ประสพความสำเร็จและสำเร็จน้อยให้ฝ่ายตรงข้ามได้นำไปวิพากษ์วิจารณ์โจมตีได้

เหมือนอย่างที่แมคเคนตอกโอบามาให้หน้าหงายเมื่อตอนดีเบทครั้งที่สามนั่นแหละว่าหากโอบามาต้องการผูกโยงเขาเข้ากับประธานาธิบดีบุชแล้ว หากเขาต้องการโจมตีบุชหรือ ideology ของบุชเขาควรลงสมัครประธานาธิบดีตั้งแต่ 4 ปีที่แล้วแข่งกับบุช(ซึ่งหากโอบามาลงสมัคร 4 ปีที่แล้วก็ไม่มีทางชนะบุชหรอก) แต่ก็แปลกใจว่าทำไมค่ายแมคเคนถึงเพิ่งมานึกออกทั้งที่ประโยค “I'm not George Bush, if you wanted to run against George Bush, you should have run for President Four Years Ago” ทั้งที่ชาวคอนเซอร์เวทีฟเน็ตเรานึกการโต้ตอบโอบามาแบบนี้ออกมานานแล้ว

แต่หากโอบามาชนะอีก 4 ปีข้างหน้าเขาก็จะต้องตกอยู่ในสถานการณ์แบบที่เขาวิพากษ์วิจารณ์ประธานาธิบดีบุชในตอนนี้นั่นแหละเพราะได้บริหารประเทศไปแล้วจุดเด่น จุดด้อย และ Judgement ย่อมมีออกมาให้เห็นชัดเจน

6. แมคเคนสื่อสารเรื่องแผนการแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ไม่ชัดเจน ในเรื่องของการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจนั้นแผนเศรษฐกิจของโอบามาไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเลย เพราะผู้ที่เป็นมันสมองให้กับแผนเศรษฐกิจของเขาก็คือทีมเศรษฐกิจจากสมัยรัฐบาลคลินตันที่เน้น Big government เน้นมาตรการเพิ่มภาษี และเป็นพวกกีดกันทางการค้าตัวยง คือการปกป้องผลประโยชน์ตัวเองทางด้านภาษีและการค้า และต่อต้านการค้าเสรี (Freetrade)

รีพับลิกันอย่างแมคเคนที่มีจุดเด่นในเรื่องการลดภาษี(ทุกระดับชั้น) กลับไม่สามารถอธิบายจุดอ่อนของนโยบายเศรษฐกิจของโอบามาได้อย่างชัดเจนเท่าที่ควรจะเป็น แมคเคนควรเน้นให้ประชาชนอเมริกันเห็นว่านโยบายแผนลดภาษีให้กับคนชั้นกลางที่โอบามาบอกนั้น ในทางปฎิบัติมันเป็นไปได้จริงหรือไม่มากน้อยเพียงใดเพราะโครงการของโอบามาหลายอย่างต้องอาศัยเงินงบประมาณเป็นจำนวนเงินสูงถึงแสนล้านเหรียญฯ ดังนั้นเขาจะหาเงินมาจากไหนหากไม่ใช่การเพิ่มอัตราภาษีในที่สุด แต่จุดอ่อนของแมคเคนนั้นคือเขาสื่อสารเรื่องแผนการแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ไม่ชัดเจน ที่ผ่านมาเขายังไม่สามารถชี้ให้คนอเมริกันเห็นชัดถึง ข้อด้อยในนโยบายเศรษฐกิจของโอบามาได้เท่าที่ควรจะเป็น ซึ่งในสมัยจอร์จ บุชผู้พ่อนั้นที่เขาแพ้ให้กับบิล คลินตันก็เรื่องภาษีนี่แหละเพราะตอนหาเสียงไว้บอกว่าจะลดภาษีแต่บริหารไปได้สักระยะกลับเพิ่มภาษีซึ่งทำให้ฐานเสียงเสียงรีพับลิกันโกรธมากเพราะดูเหมือนว่าเขาไม่ได้ทำตามที่สัญญาไว้

เมือกล่าวถึงความเป็น Protectionist ของเดโมแครตนั้นจำได้ว่าเมื่อครั้งที่ประธานาธิบดีบุชมาเยือนไทยครั้งล่าสุดนี้ในสุนทรพจน์ของท่านความตอนหนึ่งกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า

“Unfortunately, our country sometimes sends mixed signals about the openness of our economy. Voices of economic isolationism do not represent the interests of the American people”

“โชคไม่ดีที่บางครั้งประเทศ(สหรัฐอเมริกา)ของเราก็ให้สัญญาณที่สับสนเกี่ยวกับการเปิดกว้างทางเศรษฐกิจ ความต้องการในลัทธิโดดเดี่ยวทางเศรษฐกิจไม่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนแห่งผลประโยชน์ของชาวอเมริกัน"

ตรงนี้ประธานาธิบดีบุชท่านกล่าวถึงนโยบายกีดกันทางการค้าของพรรคเดโมแครตที่ผ่านมาเพราะผลการเลือกตั้งกลางเทอมเมื่อปี 2006 ที่ทำให้พรรคเดโมแครตได้เสียงข้างมากเหนือพรรครีพับลิกันในสภาบนและสภาล่างนั้นทำให้รัฐบาลบุชเผชิญภาวะลำบากที่ไม่อาจจะเดินหน้าเรื่อง FTA ได้คล่องแคล่วเหมือนเดิม

และสุนทรพจน์ท่อนนี้เป็นการส่งสัญญาณล่วงหน้าว่าหากรัฐบาลอเมริกันในอนาคตมาจากพรรคเดโมแครตการเปิดกว้างทางเศรษฐกิจของสหรัฐก็จะลดน้อยลงเพราะ เพราะพรรคเดโมแครตหาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้ด้วยจุดยืนต่อต้านการค้าเสรีมาตลอด ทั้งในระดับทวิภาคี และระดับโลกเพราะปรัชญาการเมืองของเดโมแครตซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกเสรีนิยมนั้นแนวนโยบายทางการค้าคือ การปกป้องผลประโยชน์ตัวเองทางด้านภาษีและการค้าที่เรียกกันในภาษาการเมืองระหว่างประเทศว่า protectionist platforms นั่นเอง

หากแมคเคนตีเรื่อง spread the wealth around ของโอบามาซึ่งเป็นแนวความคิดพื้นฐานของพวกสังคมนิยมตั้งแต่ 2 เดือนที่ผ่านมานั้นแมคเคนจะไม่ดูเป็นรองมากขนาดนี้เพราะพื้นฐานประเทศและเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของประเทศอเมริกาไม่ใช่ การดำเนินนโยบาย spread the wealth around อย่างที่โอบามาพูดแต่เป็นการ Create new wealth อุดมการณ์ของพวกซ้ายและลัทธิเสรีนิยม(Liberalism) หรือ อุดมการณ์เสรีนิยมสมัยใหม่(Modern Liberalism) นี้ต้องการสังคมยูโธเปียหรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า นักคิดสังคมนิยมเพ้อฝัน ที่ต้องการให้คนทุกคนเท่าเทียมกันหมดแต่ผู้ก่อตั้งประเทศอเมริกานี้ไม่ได้ต้องการอย่างนั้นพวกเขาต้องการให้สหรัฐอเมริกาดินแดนแห่งความหวังและโอกาสแห่งนี้เป็นสถานที่ที่ซึ่งทุกคนได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกันในการประสพความสำเร็จซึ่งเป็นแก่นของลัทธิอนุรักษ์นิยม(conservatism) หรือ อุดมการณ์เสรีนิยมคลาสสิค(Classical Liberalism)

ดังนั้นนโยบายภาษีของโอบามาที่ต้องการเอาเงินของคนที่ทำงานหนักมีรายได้มากกว่าไปให้กับผู้ที่มีรายได้น้อยกว่าหรือผู้ที่ไม่ทำงานและเสียภาษีมันก็คือนโยบายเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมนั่นเองซึ่งต่างกับนโยบายภาษีของรีพับลิกันที่ลดภาษีทุกระดับชั้นเพื่อเป็นการขยายฐานภาษีให้มีขนาดใหญ่ ส่งเสริมอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและก่อให้เกิดการจ้างงานมากกว่านโยบายภาษีของโอบามาแต่เดโมแครตตีความการลดภาษีภาคธุรกิจนี้ว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับคนรวยนั่นเองซึ่งเป็นการกล่าวเท็จที่สุดเพราะภายใต้นโยบายภาษีของแมคเคนนั้นจะก่อให้เกิดการจ้างงานถึง 2.13 ล้านตำแหน่งต่อปีขณะที่ภายใต้นโยบายภาษีของโอบามานั้นจะทำให้เกิดการสูญเสียงานกว่า 1 ล้านตำแหน่ง

นโยบายรีพับลิกันคือ Create new wealth และทุกคนได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกันในการประสพความสำเร็จอันเป็นเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งประเทศแต่ไม่ใช่ spread the wealth around อันเป็นแนวคิดแบบสังคมนิยมซึ่งไม่ใช่พื้นฐานเศรษฐกิจของอเมริกา

7. แมคเคนต้องไม่สนับสนุนแผน Bailout ของประธานาธิบดีบุช เขาจึงจะได้รับความนิยมจากฐานเสียงอนุรักษ์นิยมเพิ่มมากขึ้นเพราะ Bailout Plan 700 พันล้านเหรียญสหรัฐนั้นมันขัดกับอดุมการณ์เรื่องกลไกตลาดเสรีของคอนเซอร์เวทีฟและสร้างความแตกต่างระหว่างเขาและโอบามาได้อย่างชัดเจน โอบามาจะยิ่งดูเป็น Socialist มากขึ้น แต่แมคเคนก็คือ แมคเคนเพราะเขาเชื่อว่าการสนับสนุน Bailout ก็คือ put country first นั่นเอง ขณะที่โอบามายังไม่ยอมแสดงท่าทีแต่รอดูสถานการณ์ก่อนซึ่งก็เป็นลักษณะเ)พาะตัวของโอบามาคือ "คลุมเคลือไว้ก่อนและสามารต่อรองได้ทุกนโยบาย" ดูแล้วเหมือนนายชวน หลีกภัยของไทยเล่นการเมืองยังไงยังงั้น

หากผลการเลือกตั้งในครั้งนี้ออกมาคนอเมริกันส่วนใหญ่เลือกเดโมแครต ผู้เขียนก็คงต้องเคารพเสียงส่วนใหญ่ค่ะ คงไม่ไปกล่าวหาว่าคนที่เลือกเดโมแครตโง่หรือวุฒิทางปัญญาต่ำแม้ “คนอเมริกันผิวดำ” ส่วนใหญ่ที่เลือกโอบามาเพียงเพราะว่าเป็น “คนดำ” เหมือนกันเท่านั้นเอง

เหมือนอย่าง 4 ปีที่แล้วที่พวกสนับสนุนเดโมแครตที่ต่อต้านบุชชอบพูดดูถูกคนเลือกหรือสนับสนุนบุชว่าการศึกษาน้อย โง่ บ้านนอก เนี่ยล่ะค่ะผู้นิยมพรรคเดโมแครตที่เรียกพรรคตัวเองว่าเป็นตัวแทนของชนชั้นล่าง เป็นตัวแทนของอเมริกันชนชั้นกรรมาชีพ ชนชั้นกลางแต่จริงๆแล้วซ่อนความ hypocrite ไว้มากค่ะพวกเดโมแครตที่ต่อต้านบุชนี้(ไม่ใช่ชาวเดโมแครตทั้งหมด ต้องย้ำค่ะ) ชอบพูดเป็นทำนองว่าตัวเองฉลาดกว่า มีความรู้สูงกว่าคนที่เลือกพรรครีพลับลิกัน นี่เมื่อ 4 ปีที่แล้วโดนพลเมืองชนชั้นกึ่งรากหญ้าถึงชนชั้นกลางสั่งสอนน่วมไปหมดแล้ว

หรือบางคนอกหักมากบอกว่าหากเคอร์รี่แพ้จะย้ายไปอยู่แคนาดา แต่ตอนนี้คงย้ายไปไม่ได้แล้วล่ะเพราะพรรคอนุรักษ์นิยมแคนาดาชนะเลือกตั้งรั้งตำแหน่งนายกฯอีกสมัยไปครอง

สำหรับผู้เขียนแล้วคนที่ไม่เคารพการตัดสินใจของเสียงส่วนใหญ่นั้นไร้ซึ่งเกียรติสิ้นดี


จอห์น แมคเคน-ซาร่าห์ เพลิน,บารัค โอบามา-โจ ไบเดนเข้าคูหากาบัตรเลือกตั้งเรียบร้อยแล้ว

ซาร่าห์ เพลิน(Sarah Palin)และทอด เพลิน(Todd)ผู้เป็นสามี ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งด้วยกันวันนี้ที่ Wasilla, Alaska เมืองที่เธอเคยเป็นนายกเทศมนตรีอยู่และพูดคุยทักทายกับนักข่าว


โจ ไบเดน(Joe Biden) ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่ Wilmington, Delaware


บารัค โอบามา(Barack Obama) และภรรยาออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่ Chicago เมื่อเช้านี้พร้อมพาลูกสาวไปสังเกตุการใช้สิทธิเลือกตั้งด้วย


แมคเคน,โอบามาเร่งหาเสียงโค้งสุดท้ายก่อนเลือกตั้งสหรัฐ 4 พย.นี้

วันที่ 3 พฤศจิกายนที่ผ่านมาเป็นวันสุดท้ายของการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี ในวันนี้ทั้งจอห์น แมคเคนและบารัค โอบามาต่างก็เร่งหาเสียงในรัฐที่เป็น battleground states ที่จะเป็นตัวตัดสินว่าระหว่างแมคเคนและโอบามาใครจะได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนต่อไปต่อจากประธานาธิบดีบุช

สำหรับผู้เขียนแล้วในฐานะอนุรักษ์นิยมคนหนึ่งและรักรีพับลิกันไม่เปลี่ยนแปลงขอสนับสนุนจอห์น แมคเคนเป็นประธานาธิบดีสหรัฐแม้การเลือกตั้งครั้งนี้โอกาสที่แมคเคนจะชนะจะมีไม่มากก็ตามแต่เพื่อให้อุดมการณ์ของ conservatism ได้ถูกนำมาปฎิบัติใช้ในรูปของนโยบายเพื่อสนองตอบชาวอนุรักษ์นิยม อย่างไรเสียวันนี้ก็ต้องลุ้นแมคเคนเพราะยังไงแมคเคนก็ยังเป็นกระแสหลักอนุรักษ์นิยมอยู่

จอห์น แมคเคนหาเสียงที่ Tampa, Florida ช่วงที่ 1


จอห์น แมคเคนหาเสียงที่ Tampa, Florida ช่วงที่ 2


จอห์น แมคเคนหาเสียงที่เมือง Blountville, Tennessee


จอห์น แมคเคนหาเสียงช่วงค่ำที่ Miami, Florida


บารัค โอบามาหาเสียงที่ Jacksonville, Florida



การหาเสียงที่แจคสันวิลล์ ฟลอริด้านี้โอบามาได้กล่าวโจมตีแมคเคนด้วยการย้ำว่าที่แมคเคนเคยมาหาเสียงที่เมืองนี้แล้วบอกว่า "U.S. economy is fundamentally sound " นั้นเป็นการกล่าวอย่างไม่เข้าใจสภาวะเศรษฐกิจของอเมริกาในตอนนี้ โอบามาเรียกแมคเคนว่าเป็นคนหลุดโลก แต่จริงๆแล้วคำพูดตรงนี้โอบามและพรรคเดโมแครตพูดบิดเบือนมาตลอดจริงๆแล้วแมคเคนกล่าวว่า

"there's been tremendous turmoil in our financial markets and Wall Street and it is -- people are frightened by these events. Our economy, I think, still the fundamentals of our economy are strong. But these are very, very difficult time. And I promise you, we will never put America in this position again. We will clean up Wall Street. We will reform government."

ในส่วนตรงนี้แมคเคนได้กล่าวตอบโต้คำกล่าวหาของโอบามาว่าคำว่า "fundamentals of our economy are strong" "รากฐานเศรษฐกิจของเรานั้นแข็งแกร่ง" นั้น คำว่า "รากฐาน" ในที่นี้เขาหมายถึง American worker โดยกล่าวว่า

"My opponents may disagree, but those fundamentals of America are strong, No one can match an American worker. Our workers sell more goods to more markets than any other on earth. Our workers have always been the strength of our economy, and they remain the strength of our economy today."

เพราะจริงๆแล้วประเทศก็เปรียบเหมือนบ้านหลังหนึ่ง foundation ยังแข็งแรงอยู่เพียงแต่มี ไม่กี่ห้องในบ้านเท่านั้นที่เละเทะ ตรงนี้ไม่ได้ทำให้บ้านพังไปได้ ในช่วงที่อเมริกาเกิดวิกฤตการเงินโอบามาจึงใช้โอกาสนี้หาเสียงโดยใช้ "ความกลัว" เข้าครอบงำคนอเมริกันนั่นเอง

จริงๆแล้วในภาวะเช่นนี้ การที่คนจะเป็น "ผู้นำที่ดี" ได้ สิ่งที่ดีที่สุดที่ควรกล่าวกับประชาชนในสถานการณ์ที่ยากลำบากคือ ต้องไม่สร้างความตื่นตระหนกขึ้นในสังคมแต่ให้ความเชื่อมั่นแทน ผู้เขียนคิดว่าการพูดของแมคเคนนั้นเป็นคำพูดที่จริงและเหมาะสมที่สุดแล้วในสภาวะเช่นนี้ ในขณะที่โอบามาเวลาหาเสียงโทนของเขาจะออกในแนวสร้างความหวาดวิตกกับภาวะเศรษฐกิจให้ดูน่ากลัวเกินจริงออกไปในทำนองว่า our economy is falling apart and soon there will be a depression and no more auto loans or student loans and millions of people are going to lose their homes. แม้มันออกจะดูเป็นลบอย่างมากแต่ในทางการเมืองแล้วมันใช้ได้ผลจริงๆ

ใครบอกว่าโอบามาดูซื่อ เขานี่แหละที่เป็นนักการเมืองที่เล่นการเมืองเก่งหาตัวจับยากคนหนึ่ง

ผู้เขียนจึงรู้สึกตลกและ "เอียน" มากที่ฟังหลายคนกล่าวว่า อเมริกาคงไม่เลือกโอบามาหรอกเพราะยังมีการเหยียดผิวอยู่ แน่นอนว่าการเหยียดผิวนั้นมันไม่หมดไปจากโลกหรอก แน่นอนว่าอเมริกาเองก็ยังมีการเหยียดผิวอยู่แต่เป็นการเหยียดผิวที่คนผิวดำเหยียดผิวขาวมากที่สุดมีการทำวิจัยออกมาแล้วว่า "อเมริกันผิวดำ" คือพวกที่เหยียดผิวมากที่สุดในอเมริกา ตัวอย่างง่ายๆก็ดูได้จากการเปรียบเทียบคะแนนที่คนผิวดำเลือกโอบามา กับ คนผิวขาวที่เลือกฮิลลารี่และแมคเคน มันต่างกันเยอะมาก คือ คนผิวดำเลือกโอบามามากกว่า 90 % ส่วนคนผิวขาวที่เลือกแมคเคนและฮิลลารี่คิดเป็นสัดส่วนแล้วไม่เกิน 60 % เลยด้วยซ้ำ

ผู้เขียนจึงไม่เคยเห็นด้วยกับคำพูดที่ว่า “คนอเมริกันยังไงก็ไม่ยอมรับประธานาธิบดีผิวดำเพราะอเมริกายังเหยียดผิวอยู่” หากไม่เป็นการโกหกกันเกินไปต้องบอกว่าเรื่องเหยียดผิว เหยียดชนชั้นนี่มันไม่หมดไปจากโลกหรอก คนผิวเหลืองที่เป็น "ชนชั้นสูงที่มีอภิสิทธิ์" และชนชั้นกลางในเมืองอย่างคนไทยยังดูถูก "คนรากหญ้า" ว่าการศึกษาต่ำ ไม่เข้าใจประชาธิปไตยดีพอเลย หรือที่เห็นได้ชัดอีกก็คือ หากหญิงไทยคนไหนได้สามีเป็นชาวต่างประเทศ(ฝรั่ง) ก็จะได้รับการมองอย่างดูถูกว่าเป็น "ผู้หญิงไม่ดี" ไปหมด ค่านิยมการดูถูกศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เหล่านี้ยังมีอยู่มากในสังคมไทย

แน่นอนว่าการเหยียดผิวในอเมริกานั้นยังมีอยู่จริงแต่ก็น้อยลงไปมากอย่างเทียบไม่ได้ในอดีตและไม่ใช่ "ขาวเหยียดดำ" อย่างเดียวเหมือนแต่ก่อนแล้วแต่เป็น "ดำที่เหยียดขาว" ด้วยแต่เมื่อเทียบระหว่างคนดำกับคนขาวแล้วอเมริกาในศตวรรษที่ 21 นี้ อาฟริกัน-อเมริกันคือพวกที่เหยียดผิวมากที่สุด ทัศนคติของคนเหล่านี้สอนกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษว่า "อย่าลืมว่าในอดีตเราถูกกระทำอย่างไร" ดังนั้น เวลาที่คนผิวขาวมีเรื่องกับคนผิวดำ จึงมักจะถูกตั้งข้อหาว่าเป็นพวกเหยียดผิวไปหมด การสอนเช่นนี้ไม่ผิดในแง่ของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์แต่การที่นำเรื่องที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์มาขอความเป็น "อภิสิทธิ์ชน" เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจอย่างยิ่ง

อเมริกาในปัจจุบันคนผิวดำมีสิทธิ มีเสียงหรืออาจมีสิทธิพิเศษมากกว่าคนผิวขาวในบางเรื่องเสียด้วยซ้ำ การเหยียดผิว(racial discrimination)ในอเมริกาถือเป็นเรื่องผิดกฏหมาย หากอเมริกันยังนิยมการเหยียดผิวอยู่เราคงไม่ได้เห็น กฏหมายที่ห้ามการเหยียดผิวออกมา เราคงไม่ได้เห็น African-Americans ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี ผู้ว่าการรัฐทั้งในรัฐทางเหนือและทางใต้ หรือในระดับชาติอย่างผู้พิพากษาศาลฏีกา สมาชิกชิกสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสมาชิกและในคณะรัฐมนตรี

และทีสำคัญเราคงไม่ได้เห็นโอบามามาถึงจุดนี้ คือ อาจจะได้เห็นประธานาธิบดีที่เป็นอาฟริกัน-อเมริกันคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกัน หากโอบามาไม่ได้รับคะแนนเสียงจากคนผิวขาวด้วย

ในทางตรงกันข้ามคำพูดที่ไม่ระมัดระวังของโอบามาที่ออกมาในเชิงดูหมิ่นคนถ้องถิ่น(ประกอบด้วยคนผิวขาวเป็นส่วนใหญ่) ระหว่างปราศรัยหาเสียงในช่วงไพรมารี่ว่า "ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองเล็กๆในเพนซิลเวเนียและที่อื่นๆกำลังแสดงออกอย่างเคียดแค้นขมขื่นเพราะตกงานเลยต้องหันไปพึ่งพาวัฒนธรรมแบบเดิมๆอย่างปืนและศาสนาและแสดงการต่อต้านผู้อพยพเข้าเมือง" ซึ่งคำพูดนี้ทำให้คนผิวขาวท้องถิ่นคนหนึ่งเปรยความรู้สึกออกมาว่าโอบามากำลังบอกพวกเขาว่า ประชาชนอ่อนแอ โง่และซื่อและต้องใช้หนทางศาสนาเพื่อเป็นแนวทางในการผ่านอุปสรรค เป็นคำพูดที่ดูถูกคนในเมืองเล็กมาก

ตลอดการหาเสียงของโอบามาและพรรคเดโมแครตในการเลือกตั้งครั้งนี้ แคมเปญหาเสียงของเขาและองค์กรที่สนับสนุนเขาชอบใช้เรื่อง “ผิว” มาเป็นประเด็นและข่มขู่ผู้ออกเสียงทุกครั้ง เช่นหากคนผิวขาวไม่เลือกโอบามาก็จะถูกกล่าวหาว่ากลายเป็นพวกเหยียดผิวไปในที่สุด อย่างนาย John Murtha คองเกรสแมนจากพรรคเดโมแครตก็ใช้ประเด็นเรื่องผิวมาข่มขู่ผู้ออกเสียงในเขตของตนว่า "ชาวเพนซิลเวเนียในเขตตะวันตกล้วนเป็นพวกเหยียดผิว"

ข้อกล่าวหาเรื่อง "เหยียดผิว" นี้มีแต่ออกมาจากคนรอบตัวของโอบามาและตัวโอบามาเองทั้งนั้น ไม่มีใครเขาไปปลุกหรอก

การเมืองสหรัฐก้าวข้ามพ้นเรื่อง "ผิว" มานานแล้ว ไม่มีนักการเมืองคนดำหรือนักการเมืองคนขาวหรอก มีแต่คำว่า "นักการเมือง" เท่านั้น


อาร์โนลด์ ชวาร์เซเนกเกอร์หาเสียงช่วยจอห์น แมคเคนที่โอไฮโอ

Schwarzenegger Rallies Support for McCain in Ohio

อาร์โนลด์ ชวาร์เซเนกเกอร์ ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนียหาเสียงช่วยจอห์น แมคเคนที่โอไฮโอเมื่อวัน ฮาโลวีน 31 ตุลาคมที่ผ่านมา


เมื่อได้ฟังชวาร์เซเนกเกอร์กล่าวปราศรัยหาเสียงช่วยจอห์น แมคเคนแล้ว ผู้เขียนคิดว่าน่าเสียดายที่ ชวาร์เซเนกเกอร์ ไม่ได้เกิดที่สหรัฐอเมริกาไม่อย่างนั้นเขาต้องมีโอกาสมากพอสมควรในการเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ เพราะชวาร์เซเนกเกอร์นับว่าเป็นนักปราศรัยที่เก่งมากคนหนึ่งทีเดียว คำพูดของเขามีพลังแม้สำเนียงอังกฤษของเขาจะไม่ใช่ native speaker เหมือนคนอเมริกันที่เกิดและเติบโตในอเมริกาดังที่เขาเคยกล่าวไว้ว่า "Naturally, when I came to this country, my accent was very bad, and my accent was also very strong, which was an obstacle as I began to pursue acting."

แต่ชวาร์เซเนกเกอร์นับเป็นตัวอย่างของผู้อพยพย้ายถิ่นฐาน(จากยุโรป)ที่ดีมากคนหนึ่งในเชิงสัญญลักษณ์ เพราะผู้ย้ายถิ่นฐานเช่นเขาที่ครั้งหนึ่งเคยได้ชื่อว่าเป็น ผู้ย้ายถิ่นฐานที่เคยอยู่ในอเมริกาแบบผิดกฎหมาย(illegal immigrant) ในศตวรรษที่ 20 เพื่อเสาะแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าเดิม สามารถสร้างเนื้อสร้างตัวเริ่มต้นจากการเป็นนักแสดงจนก้าวเข้ามาสู่แวดวงการเมืองอมริกันที่ประสพความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่ง

การปราศรัยของชวาร์เซเนกเกอร์มีเสน่ห์และดูมีพลัง มีเซนต์ของอารมณ์ขันเรียกเสียงหัวเราะและรอยยิ้มจากผู้ฟังได้ มีนักการเมืองไม่มากที่ทำแบบนี้ได้ ที่สำคัญมันมีแรงบันดาลใจอยู่ในตัวเหมือนเช่นที่เขาหาเสียงช่วยประธานาธิบดีบุชในการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อปี 2004 เพราะสิ่งที่เขาพูดมันมาจากประสพการณ์ตรงในชีวิตของเขาเมื่อเขายังอาศัยอยู่ในยุโรป ฟังแล้วมันจึงดูเป็นของจริงไม่ใช่โฆษณาชวนเชื่อหรือตีสำนวนโวหาร

ฟังชวาร์เซเนกเกอร์พูดถึงนโยบายเศรษฐกิจของโอบามาแล้วทำให้ผู้เขียนนึกถึงบทความชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า The Europeanization of America:What's ahead if Obama becomes president ที่ลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ เดอะ วอลสตรีท เจอร์นัลเมื่อเร็วๆนี้ บทความชิ้นนี้เป็นส่วนเสริมคำพูดของชวาร์เซเนกเกอร์ได้ชัดเจนที่สุดในแง่ที่ว่า อเมริกาในยุคโอบามาจะย้อนกลับไปสู่การเป็นรัฐสวัสดิการที่อิงระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมมากขึ้นที่คล้ายแนวทางแบบประเทศในแถบยุโรปสมัยก่อน(ปัจจุบันยุโรปมีการปรับเปลี่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจคล้ายกับอเมริกาบ้างบางส่วนในบางประเทศ) คือ

-มีการจัดเก็บภาษีรายได้เพิ่มขึ้นในส่วนของ ชนชั้นกลาง ชนชั้นกลางสูงและในภาคธุรกิจตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่และในระดับปัจเจกบุคคลจะต้องเสียภาษีประกันสังคม(Social Security Taxes) ที่สูงขึ้น มาตราการทางด้านภาษีใหม่ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้บรรลุเจตนารมณ์ "spreading the wealth around" คือนำเงินของคนที่ทำงานหนักไปโปะให้กับคนที่มีรายได้น้อยและไม่เสียภาษีของท่านประธานาธิบดีคนใหม่นั่นเอง

ซึ่งมาตราการการจัดเก็บภาษีของโอบามานี้ธุรกิจขนาดเล็กจะได้รับผลกระทบมาก และธุรกิจขนาดเล็กคือหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอเมริกาที่ครองสัดส่วนถึง 60% และก่อให่เกิดจ้างงานเกือบ 100 %

- ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของรัฐบาล(government spending) จะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลถึง 300 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปีภายใต้นโยบายของโอบามา เมื่อเทียบ government spending ของโอบามาและรัฐบาลในอดีตแล้วถือว่าเยอะกว่ามาก ภายใต้แผนของโอบามาต้องใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นกว่า 10% ต่อปีในขณะที่ government spending สมัยรัฐบาลบุชผู้พ่อเพิ่มขึ้น 6.7 สมัยคลินตัน 3.3% และสมัยจอร์จ บุชปัจจุบันที่หลายๆคนกล่าวหาเขาว่าใช้งบประมาณสิ้นเปลืองไปกับสงครามอิรัคเพิ่มขึ้นเพียง 6.4 %

-กฎระเบียบกลางของรัฐที่มีต่อภาคเศรษฐกิจจะขยายตัวกว้างขึ้นเข้าควบคุมในทุกส่วนตั้งแต่บริษัทบริหารด้านการเงินไปจนถึงสถานีผลิตไฟฟ้าและการใช้พลังงานส่วนบุคคล

และนอกเหนือจากนั้นลัทธิปกป้องผลประโยชน์ทางการค้า(Protectionism) จะกลับมาเป็นนโยบายทางการค้าหลักเหมือนเดิม และข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับชาติอื่นๆ(รวมถึงประเทศไทย)จะถูกจำกัดและลดลงตามมา

ยุโรปและแคนาดาพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า การมีรัฐบาลลิเบอร์รัลที่ปกครองประเทศอยู่เป็นเวลานานนั้นทำให้ประเทศเสื่อมถอยลงขนาดไหน และถูกจำกัดทั้งโอกาสการแข่งขันทางธุรกิจและการสร้างงาน ซึ่งในตอนนี้แคนาดาหลังจากที่พรรคอนุรักษ์นิยมสามารถรั้งเก้าอี้นายกฯไว้ได้อีกสมัยก็เปลี่ยนทิศทางการบริหารประเทศที่ออกห่างแนวคิดเสรีนิยม(ลิเบอร์รัล)มากขึ้น พรรคเดโมแครตใช้วิกฤตการเงินที่่เกิดขึ้นอยู่ในตอนนี้มาเป็นข้ออ้างในการผลักดันนโยบายรัฐสวัสดิการและระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมนั่นเองแม้รากเหง้าแห่งการเกิดวิกฤติการเงินนั้นจะมาจากนโยบายที่เน้นความเป็นสังคมนิยมและขาดกฎระเบียบควบคุมที่ดีนั่นเอง

และเมื่อได้ฟังชวาร์เซเนกเกอร์พูดถึง คาแรคเตอร์ของโอบามาและความเป็นเสรีนิยมของเขาเปรียบเทียบกับจอห์น แมคเคนที่ถือคติ "ประเทศชาติต้องมาก่อน(put country first)" ตลอดชีวิตของเขาแล้วแม้กระทั่งประกาศว่า "ผมยอมสูญเสียชัยชนะในการเลือกตั้งดีกว่าที่จะเห็นประเทศอเมริกาของผมต้องพ่ายแพ้ในสงครามอิรัค" นี่แหละคาแรคเตอร์ของแมคเคน เมื่อครั้งที่เขาในฐานะนักการเมืองรีพับลิกันอาจจะเรียกว่าเป็นสมาชิกสภาคองเกรสจากรีพับลิกันคนเดียวก็ได้ที่สนับสนุนนโยบาย Bush's surge strategy อย่างแข็งขันคู่กับ โจ ลิเบอร์จากพรรคเดโมแครต ขณะที่ Republican lawmakers คนอื่นๆไม่เห็นด้วย ผู้เขียนขอเรียกว่านี่คือ ความผิดพลาดของรีพับลิกันเองก็ได้ในเรื่องสงครามอิรัคที่ไม่ยอมยืนอยู่เคียงข้างประธานาธิบดีของตนให้ตลอดรอดฝั่ง เพราะในตอนนี้ความไม่สงบในอิรัคแทบจะไม่มีให้เห็นและระดับความรุนแรงลดลงไปน้อยมากหลังจากที่ "ยุทธศาสตร์การเพิ่มทหารในอิรัคของประธานาธิบดีบุช"หรือ Bush's surge strategy ถูกนำไปใช้ในทางปฎิบัติ ล่าสุดสำนักข่าวเอพีได้รายงานถึงสถานการณ์การรักษาความปลอดภัยในอิรัคว่าพัฒนาไปในทางทีดีขึ้นทั้วทัั้งประเทศโดยระบุว่า

"The sharp drop in American fatalities in Iraq reflects the overall security improvements across the country following the Sunni revolt against al-Qaida and the rout suffered by Shiite extremists in fighting last spring in Basra and Baghdad."

ซึ่งแม้แต่บารัค โอบามายังยอมรับว่า surge ประสพผลสำเร็จในหนทางที่ไม่มีใครเคยคาดหวังไว้ว่ามันจะได้ผลโดยกล่าวว่า "I think that the surge has succeeded in ways that nobody anticipated" แต่แน่อนอนว่านักการเมืองที่เล่นการเมืองเก่งแบบโอบามาคือ "คลุมเครือไว้ก่อนและพร้อมต่อรองได้ในทุกนโยบาย" ย่อมที่จะหลีกเลี่ยงใช้คำว่า "ชัยชนะ" ในสงครามอิรัคแต่ขอพูดว่าเขาจะเป็นผู้ "จบ" สงครามในอิรัคแทนตลอดแคมเปญหาเสียงของเขาเพื่อไม่ต้องการให้เครดิตกับประธานาธิบดีบุช(แม้มันจะเป็นเรื่องของชาติก็ตามแต่พรรคเดโมแครตต้องมาก่อน)

แต่ล่าสุดนี่โอบามากลับออกมาออกมาพูดยืนยันว่า
Throughout this campaign I’ve argued that we need more troops and more resources to win the war in Iraq. But we also need a new strategy that deals with Pakistan that deals with issues of corruption that deals with issues of narco-terrorism. We need a comprehensive strategy and approach to confront the growing threat from al Qaeda along the Pakistani border”

แล้วที่เคยหาเสียงบอกว่าหากได้เป็นประธานาธิบดีแล้วตนเองจะ “จบ” สงครามในอิรัค( "end" war in Iraq) และ “เอาชนะ” ในสงครามต่อต้านก่อการร้ายในอาฟกานิสถานมาตลอดล่ะหายไปไหน ผู้เขียนฟังแล้วรู้สึกแปลกใจว่า “จุดยืนเดิม” ของโอบามาเรื่องอิรัคและอาฟกานิสถานหายไปไหนแล้ว? เพราะผู้เขียนฟังเขาหาเสียงเรื่องอิรัคและอาฟกานิสถานทีไรเขาก็บอกว่า การเพิ่มกำลังทหารและทรัพยากรจะนำไปสู่ความสำเร็จในอาฟกานิสถาน แต่หากใช้นโยบายเดียวกันนี้คือเพิ่มกำลังทหารและทรัพยากรจะนำไปสู่ความล้มเหลวในอิรัค

แต่ในวันนี้มาบอกว่า “ตลอดการหาเสียงของผม ผมอภิปรายอยู่เสมอว่าเราต้องการกำลังทหารมากขึ้นและทรัพยากรมากขึ้นเพื่อให้ได้รับชัยชนะในอิรัค” แบบนี้เรียกว่าก็อปนโยบาย Bush's 'surge' strategy มาก็คงไม่ผิดนัก นี่อาจเป็นครั้งแรกในการหาเสียงของเขาที่ยอมใช้คำว่า “ชัยชนะ” ในอิรัคจากที่เคยใช้ต้อง “จบ” สงครามในอิรัค

หากโอบามาไม่พูดผิดก็คงเปลี่ยนจุดยืนกระทันหันแต่ลิเบอร์รัลมีเดียไม่กล้านำไปขยายความเพราะกลัวโอบามาจะถูกดิสเครดิตแต่หากเป็นแมคเคนพูดอย่างนี้เขาต้องถูกลิเบอร์รัลมีเดียเล่นข่าวนี้ไปอีกเป็นอาทิตย์

หากโอบามาไม่มุ่งชัยชนะในอิรัคเมื่อเป็นประธานาธิบดี อีก 4 ปีข้างหน้าเขาจะไม่สามารถป้องกันตำแหน่งได้แน่นอน ปีนี้ถือว่าโชคดีที่อเมริกาเกิดวิกฤตการเงินก่อน เขาเลยอยู่ในฐานะได้เปรียบแมคเคน แม้สื่อจะพยายามบอกว่าคนอเมริกันไม่ชอบ “war” แต่คนอเมริกันนั้นไม่ต้องการ “lose this war” แน่นอน ตรงนี้สิสำคัญ

เห็นนักต่อต้านสงครามอิรัคโดยเฉพาะพวกหัวเอียงซ้ายบอกว่าหากเลือกโอบามามาแล้ว คงไม่มีสงคราม แต่จริงๆแล้ว หากเราลองตรองดูสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นนั้น จะเห็นว่าประธานาธิบดีบุชไม่ได้เป็นฝ่ายที่นำสงครามมาให้อเมริกาแต่กลุ่มก่อการร้ายมุสลิมหัวรุนแรงต่างหากที่เป็นผู้นำสงครามมาให้อเมริกา อาจเรียกได้ว่าทั้งสงครามปราบผู้ก่อการร้ายในอาฟกานิสถานและอิรัคนี่คือ การ self defense นั่นเอง

โอบามาเองนั้นเมื่อตอนดีเบทเขาพูดชัดเจนว่า หากเขาพบว่ามีข่าวกรองที่แม่นยำและเชื่อถือได้ว่าอัลไคด้าต้องการโจมตีอเมริกาแต่ปากีสถานยังไม่ยอมดำเนินการ เขาจะส่งกองทัพอเมริกาไปถล่มผู้ก่อการร้ายในปากีสถานเองโดยไม่สนใจหลักอำนาจอธิปไตยของปากีสถานเพราะถือว่าเป็นการปกป้องชาวอเมริกันโดยตรง ตรงนี้มันก็ไม่ต่างจากการที่ประธานาธิบดีบุชนำกองทัพบุกอิรัคโค่นล้มซัดดัมเมื่อซัดดัมไม่ปฎิบัติตามมติสหประชาชาติและอาศัยข่าวกรองที่ได้รับจากสมัยรัฐบาลคลินตันนั่นเองและก็เป็นคลินตันนี่แหละที่เป็นผู้กล่าวว่า "อัลไคด้าเริ่มสานสัมพันธ์กับอดีตผู้นำอิรัคซัดดัม ฮุสเซ็น" แต่สิ่งที่ต่างกันระหว่างปากีสถานและอิรัคคือ รัฐบาลปากีสถานหาได้เป็นภัยคุกคามต่อสหรัฐอเมริกาแต่รัฐบาลอิรัคภายใต้การนำของซัดดัม ฮุสเซ็นนั้นนอกจากจะเป็นภัยคุกคามแล้วยังเคยรบกับอเมริกามาก่อนด้วย

เมื่อกล่าวถึงประธานาธิบดีบุช นักวิจารณ์หัวเสรีนิยมมักจะยกเรื่อง Job Approval Ratings ของประธานาธิบดีบุชที่ต่ำกว่า 35 เปอร์เซ็นในตอนนี้มาเป็นตัววัดว่านี่คือการบริหารงานที่ล้มเหลว ผู้เขียนขอเห็นตรงข้ามว่านี่คือการวิเคราะห์อย่างหยาบและสายตาสั้นในหมู่ที่เป็นอนุรักษ์นิยมนั้นประธานาธิบดีบุชก็ยังได้รับความนิยมมากกว่า 70 %

ไม่มี wartime president คนไหนหรอกที่ได้รับความนิยมสูงเกินกว่า 40 % ประธานาธิบดีเฮนรี่ ทรูแมนจากพรรคเดโมแครตเป็นผู้ที่ได้รับความนิยมหลังจบเทอมต่ำสุดเมื่อปี 1952 แต่เมื่อเวลาผ่านมาหลายปีผู้เขียนก็ยังเห็นคนอเมริกันโดยเฉพาะเดโมแครตชื่นชมและยกย่องทรูแมนอยู่ในหลายเรื่องมากเลยทีเดียว job approval ratings ใช้เป็นปัจจัยชี้ความนิยมเฉพาะช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น เพราะผลงานบางอย่างในการบริหารมันต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์และมีสิ่งที่เปรียบเทียบในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นคล้ายกัน

ประธานาธิบดีบุชก็เช่นกันในวันนี้ approval ratings อาจต่ำแต่ไม่เกิน 15 ปีหรอกกาลเวลาจะพิสูจน์เองว่าประธานาธิบดีบุชนี่แหละที่โลกจะต้องขอบคุณเขาในการสร้างประชาธิปไตยในอิรัคเพราะสถานการณ์ในอิรัคตอนนี้ เสรีภาพและประชาธิปไตย ค่อยๆก้าวย่างไปข้างหน้าในทางทีดีขึ้นทุกวันแม้จะเป็นก้าวที่ไม่โตนักแต่ถือว่าเริ่มต้นตั้งไข่และเดินได้แล้วและชาวอเมริกันจะต้องนึกถึงประธานาธิบดีบุชเหมือนที่พวกเขาต้องขอบคุณอับราฮัม ลินคอล์น(จากรีพับลิกัน)มาแล้ว

และใครจะไปรู้อีกไม่เกินยี่สิบปีข้างหน้าประชาธิปไตยในอิรัคอาจหยั่งรากลึกลงในสังคมอิรัคมากกว่าประชาธิปไตยในประเทศไทยก็เป็นได้เพราะอิรัคขาดซึ่ง "มือที่มองไม่เห็น" นั่นเอง ... คิก คิก :D