Spiga

ส.ว.อาวุโสแนะฮิลลารีถอนตัวชิงเดโมแครต

สมาชิกวุฒิสภาคนดังของสหรัฐ ออกโรงเรียกร้องให้นางฮิลลารี รอดแฮม คลินตัน หนึ่งในผู้สมัครเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครต เพื่อชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีในปลายปีนี้ ถอนตัวจากการแข่งขัน ขณะที่ นายบารัค โอบามา ได้รับการสนับสนุนเพิ่มขึ้นจากสมาชิกวุฒิสภาที่ทรงอิทธิพลแห่งรัฐเพนซิลเวเนีย ก่อนที่การชิงชัยในศึกเลือกตั้งขั้นต้นที่รัฐดังกล่าวเริ่มขึ้นในอีกสามสัปดาห์ข้างหน้า

โดย ส.ว.แพทริค ลีฮาย ผู้ซึ่งสนับสนุนนายโอบามา และเป็นประธานคณะกรรมาธิการยุติธรรมอันทรงอิทธิพลของวุฒิสภา อีกทั้งยังเป็นอดีต ส.ส. 6 สมัย แห่งรัฐเวอร์มอนต์ กลายเป็น ส.ว.อาวุโสคนแรกของสภาสูงสหรัฐ ออกมาแนะนำนางคลินตันให้ถอนตัวอย่างเปิดเผย ส.ว.ลีฮาย กล่าวว่า นางคลินตัน ควรถอนตัวออกจากการ ชิงชัย เพื่อเห็นแก่ประโยชน์ของพรรค ที่จะได้ระบุตัวแทนลงเลือกตั้งให้ชัดเจน และจะได้มีเวลาหาเสียงสำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดี

ขณะที่นางคลินตัน ย้ำชัดเจนว่า นางมีสิทธิที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งต่อไป และมีชาว อเมริกันอีกเป็นจำนวนมากที่พร้อมจะเทคะแนนให้นางได้เป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตลงเลือกตั้งผู้นำสหรัฐ อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่นางคลินตัน ถูกขอร้องให้ถอนตัว แต่นายโอบามาคู่แข่งสำคัญ กลับได้รับการสนับสนุนอย่างไม่คาดฝันจาก ส.ว. บ๊อบ เคซีย์ แห่งรัฐเพนซิลเวเนีย

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่รัฐเพนซิลเวเนีย จะเปิดศึกเลือกตั้งขั้นต้นแบบไพรมารีในวันที่ 22 เม.ย. ผลสำรวจของแกลลัพ โพลระบุว่า นายโอบามา มีคะแนนนิยมนำนางคลินตัน อยู่ร้อยละ 50 ต่อ 42 ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน ที่นายโอบามา มีคะแนนทิ้งห่างนางคลินตันถึงเพียงนี้

ด้าน นายโอบามา ระบุว่า หากได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี เขาจะนำนโยบายของนายจอร์จ เอช ดับเบิลยู บุช, นายจอห์น เอฟ เคนเนดี และนายโรนัลด์ เรแกน ซึ่งล้วนแต่เป็นอดีตประธานาธิบดีสหรัฐมาใช้ เพราะนโยบายต่างประเทศของอดีตผู้นำทั้งสาม เป็นนโยบายที่ชาญฉลาดสร้างความมีชื่อเสียง เกียรติยศและศักดิ์ศรีให้กับสหรัฐ.


"ฮิลลารี"ยืนกรานสู้ศึกชิงตัวแทนพรรคถึงนาทีสุดท้าย


ฮิลลารี คลินตัน ยืนกรานเดินหน้าสู้ศึกชิงตัวแทนพรรคเดโมแครตลงสมัครประธานาธิบดีสหรัฐจนถึงนาทีสุดท้าย แม้จะมีเสียงเรียกร้องให้เธอถอนตัวก็ตาม


(31มีค.) ฮิลลารีให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ ปฏิเสธเสียงเรียกร้องของหลายฝ่ายในพรรคเดโมแครตให้เธอรีบถอนตัวเพื่อประโยชน์ของพรรค เพราะตอนนี้ จอห์น แม็คเคน ว่าที่ตัวแทนพรรครีพับลิกันได้เริ่มหาเสียงการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนพฤศจิกายนแล้ว

โดยฮิลลารีประกาศจะไม่ล้มเลิกความพยายามจนกว่าจะมีการนับคะแนนในสนามเลือกตั้งขั้นต้นสุดท้าย ซึ่งยังเหลือสนามเลือกตั้งอีกถึง 10 สนามและจนกว่าพรรคจะแก้ปัญหาการไม่นับจำนวนคณะผู้แทนหรือdelegatesที่รัฐฟลอริด้าและมิชิแกนเพื่อลงโทษที่สองรัฐนี้จัดการเลือกตั้งขั้นต้นก่อนกำหนด ซึ่งเธอชนะในสองรัฐนั้น แม้ตอนนี้ บารัค โอบาม่า คู่แข่งคนสำคัญจะเป็นฝ่ายนำทั้งในแง่จำนวน delegates และในแง่ของจำนวนคะแนนเสียง (popular vote)

เสียงเรียกร้องให้ฮิลลารีถอนตัวชัดเจนขึ้น หลังโฮเวิร์ด ดีน ประธานคณะกรรมการแห่งชาติของพรรคเดโมแครต ออกมาเรียกร้องเมื่อวันศุกร์ให้พรรคหาทางยุติการแข่งขันระหว่างฮิลลารีกับบารัค โอบามา เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะสร้างความแตกแยกในพรรค ซึ่งจะกลายเป็นการส่งมอบชัยชนะให้กับแมคเคน โดยเฉพาะกลุ่มผู้อวุโสของพรรค หรือ Superdelegates 795 เสียงซึ่งควรขีดเส้นตายแสดงจุดยืนที่ชัดเจนภายในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ โดยไม่ต้องรอให้ถึงวันประชุมใหญ่ของพรรคในเดือนสิงหาคม

ด้านอดีตประธานาธิบดี บิล คลินตัน สามีของนางฮิลลารี ยืนยันการแข่งขันและแสดงวิสัยทัศน์ของผู้สมัครเป็นประโยชน์ต่อพรรคและการแข่งขันก็ยังคู่คี่สูสีกันมา จึงไม่มีความจำเป็นที่ฮิลลารีจะต้องรีบถอนตัวในตอนนี้ เช่นเดียวกับโอบาม่าซึ่งอยู่ระหว่างการหาเสียงที่รัฐเพนซิลเวเนียซึ่งจะเป็นสนามเลือกตั้งขั้นต้นนัดต่อไปในวันที่ 22 เมษายนนี้ก็ยืนยันยังอยากเห็นฮิลลารีอยู่ในสนามเลือกตั้งต่อไป


ฮิลลารีเมินเสียงเรียกร้องให้ลาออกเชลซีมองแม่เป็นผู้นำประเทศได้ดีกว่าพ่อ

วอชิงตัน-ฮิลลารีเดินหน้าหาเสียงต่อ ไม่สนเสียงเรียกร้องจากสมาชิกพรรคเดโมแครตที่ให้ลาออก เพราะเกรงว่าศึกชิงเก้าอี้ตัวแทนพรรคที่ยืดเยื้อระหว่างฮิลลารี-โอบามา จะกลายเป็นผลดีต่อรีพับลิกัน

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานเมื่อวันอาทิตย์ (30 มี.ค.) ว่า นางฮิลลารี คลินตัน วุฒิสมาชิกรัฐนิวยอร์ก กำลังเผชิญเสียงเรียกร้องจากชาวพรรคเดโมแครต ให้ถอนตัวออกจากการสมัครเป็นตัวแทนพรรคลงชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีปลายปีนี้ แข่งกับ นายบารัก โอบามา วุฒิสมาชิกผิวสีจากรัฐอิลลินอยส์ เพราะเกรงว่า การแข่งขันที่ยืดเยื้อจะส่งผลเสียต่อพรรค และกลายเป็นส่งมอบชัยชนะให้แก่ทางพรรครีพับลิกันแทน

นายแพทริก ลีฮี วุฒิสมาชิกรัฐเวอร์มอนต์ ผู้คร่ำหวอดในวงการ และประกาศตัวว่าสนับสนุนนายโอบามา ได้ออกมาจุดประเด็นเรื่องนี้ โดยกล่าวว่า นางฮิลลารีไม่สามารถรวบรวมคะแนนเดลิเกตได้มากพอที่จะเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครต จึงควรจะถอนตัวออกจากการแข่งขันแล้วหันไปสนับสนุนนายโอบามาแทน ทั้งนี้ เพื่อผลประโยชน์ของทางพรรคเดโมแครตเอง ขณะที่ก่อนหน้านี้หนึ่งสัปดาห์ นายโฮเวิร์ด ดีน แกนนำพรรคเดโมแครตอีกคน ได้ออกมาเตือนคนทั้งคู่ให้สร้างสมานฉันท์กันโดยเร็ว เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะสร้างความแตกแยกในพรรค ซึ่งอาจกลายเป็นการส่งมอบชัยชนะให้วุฒิสมาชิกจอห์น แมคเคน ตัวแทนพรรครีพับลิกันได้

อย่างไรก็ตาม อดีตสุภาพสตรีหมายเลข 1 ไม่สนใจเสียงเรียกร้องดังกล่าว และยังคงเดินหน้าหาเสียงต่อไป โดยกล่าวว่า ผู้มีสิทธิออกเสียงในอีก 9 รัฐ และในเปอร์โตริโกที่ยังไม่ได้เลือกตั้งแบบไพรมารีและคอคัส สมควรได้รับโอกาสเข้ามามีส่วนรวมในกระบวนการเลือกตั้งครั้งนี้ ขณะที่อดีตประธานาธิบดีบิล คลินตัน ได้ขอให้ผู้ที่เรียกร้องให้ภรรยาของตัวเองลาออก "ทำใจเย็นๆ" แล้วปล่อยให้กระบวนการต่างๆ ดำเนินต่อไป เพราะการจะไปตัดสิทธิ์คนในรัฐที่ยังไม่ได้เลือกตัวแทนพรรคเดโมแครตนั้นถือเป็นการไม่ยุติธรรม ทั้งยังกล่าวหานายลีฮีว่า ที่ออกมาเรียกร้องแบบนี้เป็นเพราะเกรงว่านางฮิลลารีจะชนะการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น

ด้าน น.ส.เชลซี คลินตัน บุตรสาวของนางฮิลลารี กล่าวว่า เธอเชื่อว่าผู้เป็นแม่จะเป็นประธานาธิบดีสหรัฐได้ดีกว่า นายบิล คลินตัน ผู้เป็นพ่อ ซึ่งเคยเป็นประธานาธิบดีระหว่างปี 2536-2544 แต่ไม่ได้บอกเหตุผลว่า ทำไมถึงคิดเช่นนั้น

ในส่วนของนายโอบามานั้น กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับความคิดของนายลีฮี และยังไม่ได้คุยกันในเรื่องนี้ สำหรับตัวเองแล้วมองว่า นางฮิลลารีสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ตราบเท่าที่เธอต้องการ และผู้สนับสนุนนางฮิลลารีน่าจะได้สนับสนุนเธอตราบเท่าที่พวกเขาเต็มใจจะทำ หรือสามารถทำได้

ที่มา: นสพ. ดอทคอม


พ.ต.ท.ทักษิณอยู่ไทยสองอาทิตย์เตรียมเดินสายอีสาน-เหนือเพื่อทำบุญ

30 มีนาคม พ.ศ. 2551 19:12:00

“ทักษิณ” เผยอยู่เมืองไทยสองอาทิตย์ มีแผนไปเมืองนอก อ้างไปอีสานเพื่อทำบุญ เผยตั้งมูลนิธิไทยคมเพราะซาบซึ้งและตอบแทนบุญคุณเจ้านายทุกพระองค์

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ที่ห้องฟีนิกซ์ อิมแพค เมืองทองธานี เมื่อเวลา 18.30 น. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าในการซื้อ ดิมิทาร์ เบอร์บาตอฟ นักฟุตบอลจากสโมสรทอตแนม ฮอตสเปอร์สว่า ยังไม่มีความคืบหน้า เรื่องนี้ต้องไปถามนายสเวน โกรัน อีริคสัน ผู้จัดการทีมแมนเชสเตอร์ ซิตี้

เมื่อถามถึงระยะเวลาในการอยู่ประเทศไทย พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า 2 สัปดาห์ และเมื่อถามว่า หลังจากนี้ จะเป็นการเดินทางแบบไป ๆ มา ๆ ใช่หรือไม่ พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า เขาต้องไปเป็นผู้บรรยายหลักที่ดูไบ จัดโดยบิสสิเนส วีค เมื่อถามถึงกรณีที่มาเตรียมต้อนรับนักลงทุนรายใหญ่จากต่างประเทศ พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า จะเป็นการหารือเรื่องเหล็กและเรื่องไบโอดีเซล

เมื่อถามว่า ได้คุยไว้นานหรือยัง พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า ไม่ เขาเป็นผู้ชวนมาลงทุนเอง ส่วนเม็ดเงินที่คาดว่า จะนำมาลงทุนในไทยนั้น ยังตอบไม่ได้ แต่เขาเป็นเศรษฐีระดับโลก

เมื่อถามว่า มีข่าวจะเดินทางไปภาคอีสานกำหนดวันเวลาหรือยัง พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า ตอนนี้ ถ้าจะเดินทางไปไหนก็ไปทำบุญ ไม่มีอะไร และเมื่อถามย้ำว่า วันที่ 11 เม.ย. จะเดินทางไปเชียงใหม่แน่นอนใช่หรือไม่ พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า ไปทำบุญ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากเสร็จพิธี บรรดาแฟนคลับทักษิณ ซึ่งติดตามการเดินทางกลับ ตั้งแต่สนามบินจนถึงอิมแพคเมืองทองธานี โดยพ.ต.ท.ทักษิณ ได้หยุดทักทายแจกรายเซ็นต์ ซึ่งนางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้กล่าวกับบรรดาแฟนคลับว่า โอกาสหน้าจะจัดคอฟฟี่เบรกให้กับแฟนคลับ ส่วนการคุ้มกันอดีตนายกนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบกว่า 100 นายกระจายการคุ้ยกันทักษิณ และคนในครอบครัวอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะในช่วงการเดินทางนั้น ได้มีรถนำขบวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติหลายสิบคันตามประกบ

ทั้งนี้ อดีตนายกฯมีกำหนดการรับประทานอาหารเย็นพร้อมครอบครัวที่โรงแรมโอเรียลเตล ส่วนสถานที่พักผ่อนนั้นมีรายงานว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะพักที่บ้านจันทร์ส่องหล้า

สำหรับ บรรยากาศการมาเป็นประธานในพิธีปิดโครงการเด็กไทยคมไปแมนฯซิตี้ ณ ห้องฟีนิกซ์ อิมแพค เมืองทองธานี โดยเยาวชนไทย 123 คนที่เข้าโครงการและผ่านการคัดเลือกไปแมนฯซิตี้ 15 คน เพื่อฝึกซ้อมกับสโมสรแมนฯซิตี้ระหว่างวันที่ 22 เม.ย. -1 พ.ค.นั้น พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวปิดงานว่า วันนี้เป็นครั้งแรก ที่มาทำงานเกี่ยวกับสาธารณกุศลหลังจากตกงานเกือบสองปี หลังจากที่เขาซื้อสโมสรแมนฯซิตี้แล้ว ก็นึกถึงมูลนิธิ และอยากให้ทั้งสองอย่างนี้ ทำงานร่วมกัน เขาคิดถึงเยาวชนไทย ที่มีใจรักกีฬา เพราะกีฬาคือหัวใจสำคัญของสุขภาพกายและจิต

"เมื่อเราอยู่ในการแข่งขัน การเคารพกฎกติกา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย คือสิ่งสำคัญ
และเป็นหัวใจของทุกด้าน กีฬาจึงเป็นสิ่งปลูกฝังที่ดีที่สุด เพราะทำให้คนเป็นคนดี
มีวินัย ทำงานเป็นทีมได้"


พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า เขาและครอบครัวที่ตั้งมูลนิธินี้ ก็เพราะด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่เสด็จมาเปิดสถานีไทยคม และสมเด็จพระเทพพระรัตราชสุดาฯ เสด็จทอดพระเนตรการปล่อยดาวเทียมไทยคม 1 ที่เฟรนซ์เกียนาฯ และมูลนิธิก็ได้ทำงานการกุศลครั้งแรก คือการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เพื่อเยาวชนและพยายามทำทุกอย่างด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และจะทำทุกอย่างถวายเจ้านายทุกพระองค์ และมูลนิธินี้จะช่วยงานสาธารณกุศาลให้สังคมไทยในทุกด้านต่อไป

พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า ตอนที่อยู่อังกฤษ ได้ไปอิมพีเรียลคอลเลจ และพบศาตราจารย์คนหนึ่ง ที่เก่งด้านสื่อสารโทรคมนาคม ที่ทำไมโครชิพไปฝังหลังหู เพื่อให้คนหูหนวกได้ยิน และยังช่วยคนตาบอดมองเห็นได้ โดยทำเรตินาเทียม เขาจึงเชิญมาบรรรยายในไทย เพื่อช่วยเหลือคนไทย ฉะนั้นการเดินทางไปต่างประเทศ หากไปเฉย ๆ มันก็ไม่ได้อะไร แต่หากไปเรียนรู้ และเห็นอะไรมากมายนั้น มันจะเป็นประโยชน์ เพราะโลกข้างหน้า แข่งขันด้วยปัญญา ที่ต้องกล้าคิดกล้าทำกล้าแสดงออก

พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า เขาขอให้เยาวชนที่ไม่ได้ไปแมนฯซิตี้ เอาประสบการณ์ตรงนี้ไปใช้ในการดำรงชีวิต เพราะเรามีประสบการณ์แล้วก็ได้เปรียบคนอื่น เพราะประสบการณ์ทุกอย่าง ไม่ว่าโง่ ฉลาด ดี เลว มันให้ประโยชน์กับตัวเราในการพัฒนาตัวเอง เพราะปัญญาต้องสู้ด้วยปัญญา


Thai ruling party moves to amend army-backed charter

Thailand's ruling party is planning broad changes to the military-backed constitution, but appears divided over whether to lift an amnesty for the junta, party officials said Wednesday.

The People Power Party (PPP) has put together a team to draft amendments to the 2007 charter, which was approved at referendum last August while the country was still under military rule following a September 2006 putsch.

"We will try to amend four or five sections," said the team's leader Chusak Sirinil, a minister to the Prime Minister's Office.

"We will do it as soon as possible, but it might take time because the language of the charter is quite complicated."

The PPP, which swept to power in December elections, has already announced that it intends to strip the election commission of its power to seek the dissolution of political parties.

Party spokesman Kudeb Saikrajang told AFP that they would also push to amend article 309, which grants amnesty to members of the junta which overthrew prime minister Thaksin Shinawatra and ripped up the 1997 constitution.

But Foreign Minister Noppadon Pattama said that changing the article -- which also forbids the prosecution of any anti-corruption bodies set up by the junta -- could fuel unrest.

"We should make amendments to the undemocratic sections -- changing section 309 will raise conflict and should not be touched. The country needs to move forward," he told reporters.

Chusak said they had not yet reached a conclusion on article 309, or on any amendments to the constitution that might reverse a five-year politics ban imposed on Thaksin and 110 of his allies by an army-installed tribunal.

Chusak told reporters they were also looking at changing a section which bans senators, MPs and their families holding positions in state companies, and introducing a clause demanding junta-appointed bodies reveal their assets.

Prime Minister Samak Sudaravej had earlier indicated he would only seek to amend the constitution after two years.

The People's Alliance for Democracy, which led street protests against Thaksin when he was in office, said it was too early to change the constitution, but a poll showed the PPP's move had popular support.

A survey of 3,426 people across Thailand by Bangkok's Assumption University found that nearly 60 percent of those polled supported amending the charter to make it more fair towards all sectors of society.


การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ ”ประสงค์ร้าย” ควรถือเป็นวาระเร่งด่วน

พรรคพลังประชาชนเป็นพรรคที่ได้รับฉันทานุมัติจากประชาชนเสียงข้างมากอย่างท่วมท้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ที่ผ่านมาและเมื่อตอนหาเสียงก็ได้ให้สัญญากับประชาชนไว้ว่า “หากพรรคพลังประชาชนได้รับเลือกเข้ามาเป็นรัฐบาลจะทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” และนี่คือ 1 ในเหตุผลหลักทั้ง 12 ข้อที่ผู้เขียนในฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตยคนหนึ่งตัดสินใจเลือกพรรคพลังประชาชนเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินเพราะเห็นว่าในยามที่ประเทศไทยตกอยู่ในสถานการณ์รัฐประหารก็มีเพียงพรรคพลังประชาชน(ซึ่งประกอบไปด้วย สส. และ สมาชิกพรรค ทรท. เก่าเป็นจำนวนมาก) เพียงพรรคเดียวเท่านั้นที่แสดงออกอย่างแข็งขันว่าไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารและไม่รับร่างรธน. ฉบับประสงค์ร้าย 2550

แม้ในตอนนี้ประเทศไทยจะผ่านพ้นสถานการณ์รัฐประหารและมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับ “ประสงค์ร้าย” อย่างสมบูรณ์แบบเรียบร้อยแล้วก็ตาม แต่สำหรับผู้เขียนแล้วการเลือกตั้งที่ผ่านมาเป็นเพียงบันไดก้าวแรกที่นำประชาธิปไตยกลับคืนสู่ประเทศไทยเพื่อให้ประเทศพ้นจากสภาวะของรัฐบาลที่เป็นผลพวงจากการยึดอำนาจเท่านั้นแต่การเลือกตั้งภายใต้ รธน. ฉบับปี 2550 ยังไม่ได้เป็นเครื่องบ่งบอกว่าจะนำระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงและงอกงามกลับคืนสู่ประเทศไทยอย่างแท้จริงเพราะการสร้างประชาธิปไตยที่เข้มแข็งด้วยรัฐธรรมนูญที่มาจากผลผลิตของการรัฐประหารย่อมไม่มีทางเกิดขึ้นได้ ดังคำกล่าวที่ว่า

ดอกผลที่มาจากต้นไม้ที่เป็นพิษ(fruit of the poisonous
tree)ย่อมเป็นพิษเสมอฉันใดก็ฉันนั้น


ดังนั้นผู้เขียนจึงเห็นด้วยอย่างยิ่งกับข้อเรียกร้องที่แนบท้ายถ้อยแถลงการณ์ของอาจารย์นิติ มธ. ทั้ง 5 ท่านที่กล่าวว่า

ขอเรียกร้องให้บรรดาพรรคการเมืองทุกพรรคการเมืองร่วมมือกันในอันที่จะดำเนินการแก้ไขกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองให้เป็นไปตามหลักกฎหมายที่นานาอารยะประเทศนับถือ
และไม่ควรจะจำกัดการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเฉพาะประเด็นนี้เพียงประเด็นเดียว
ยิ่งไปกว่านั้นขอยืนยันว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งมีความชอบธรรมในทางประชาธิปไตยที่จะดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามหลักการที่ถูกต้อง


หากต้องการจะแก้ รธน. ทั้งทีก็ไม่ควรจำกัดกรอบการแก้ไขเฉพาะมาตรา237 ซึ่งเป็นกฏหมายเอาผิดแบบเหมาเข่งที่วางอยู่บนสมมติฐาน “เชื่อได้ว่า” เพียงมาตราเดียวแต่ควรจะครอบคลุมไปถึงการแก้ไขทั้งหมดพร้อมกันไปเลยโดยเฉพาะมาตราที่มีเนื้อหาไม่เป็นประชาธิปไตยด้วย เป็นต้นว่า

-ในส่วนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎร มาตรา 93 ที่ลดจำนวน สส. จาก 500 คน เหลือ 480 คนที่บัญญัติไว้ว่าสภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 480 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คนและสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจำนวน 80 คน

ในส่วนของ ส.ส.ระบบแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่กำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิเลือกผู้สมัครได้ตามจำนวนส.ส.ที่พึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น ตรงนี้สร้างความไม่เท่าเทียมกันในการลงคะแนนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละเขตเพราะผู้มีสิทธิแต่ละคนมีสิทธิเลือกผู้สมัครได้ในจำนวนที่ไม่เท่ากัน บางเขตเลือกตั้งอาจเลือกได้ 1 คนหรือ 2 คนหรือ 3 คนแล้วแต่กรณี

ส่วนส.ส.ระบบสัดส่วนจำนวน 80 คนซึ่งมาจากการเลือกบัญชีรายชื่อโดยแบ่งเป็น 8 กลุ่มจังหวัด กลุ่มละ 10 คนนั้นก็แปลความหมายเป็นอื่นไปไม่ได้นอกเสียจากต้องการไม่ให้พรรคหนึ่งพรรคใดยึดครองที่นั่งของ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อได้เป็นจำนวนมากเป็นการแก้กติกาให้พรรคการเมืองอ่อนแอลงเพื่อกำจัดพรรคการเมืองอย่างพรรคไทยรักไทยในอดีตหรือพรรคพลังประชาชนในปัจจุบันไม่ให้ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อมากจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้สำเร็จนั่นเอง

-ในส่วนที่ 3 วุฒิสภา มาตรา 111 ที่ระบุว่าวุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวนรวม 150 คนซึ่งมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละ 1 คนรวมเป็น 76 คน และมาจากการสรรหาจากภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคเอกชน 74 คน

การลดจำนวน สว. จาก 200 คน เหลือ 150 คน เท่ากับเป็นการตัดสิทธิประชาชนชาวไทยในการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกโดยแท้ เพราะวุฒิสมาชิกส่วนหนึ่งจะมาจากการแต่งตั้งโดยกลุ่มบุคคลที่มิได้เป็นผู้แทนของประชาชน พูดกันตรงๆก็คือเป็น สว.ที่มาจากการ “ลากตั้ง” นั่นเอง

และยังมีการเพิ่มบทบาทที่ขัดกับหลักการในระบอบประชาธิปไตยให้แก่วุฒิสมาชิกและสถาบันตุลาการในการคัดเลือกองค์กรอิสระ และให้สิทธิในการถอดถอนนายกรัฐมนตรีผู้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนอีกด้วย

เห็นได้ชัดว่าเนื้อหาในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ลดจำนวน สส. ลงจากเดิม 500 เหลือ 480 และให้ สว. อีก 74 คนมาจากการลากตั้ง คือความต้องการลดบทบาททางการเมืองของประชาชนและผู้แทนราษฎรในการตัดสินใจเรื่องที่มีความสำคัญระดับประเทศ

-บทเฉพาะกาล มาตรา 309 ที่ “นิรโทษกรรม” ให้กับการกระทำทุกอย่างที่เกิดขึ้นจากรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 แม้การกระทำเหล่านั้นจะขัดกับหลักนิติรัฐและขัดต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มาตรา 309 นี่เองที่ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับ2550 ไร้ซึ่งความเป็นประชาธิปไตยเพราะมีบทบัญญัติที่รับรองให้การล้มล้างระบอบประชาธิปไตยโดยการใช้กำลังเป็นสิ่งที่ถูกต้องและชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 2550 ทุกประการ บทบัญญัติว่าด้วยการนิรโทษกรรมมาตรา 309 นี้ได้ทำลายหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญลงอย่างสิ้นเชิง กลายเป็นกฎหมาย "เกือบสูงสุด" ของประเทศไปโดยปริยาย

และอีกหลายมาตราในหมวดแรกๆของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่ควรแก้ไขและผู้เขียนเห็นว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งยวดกว่ามาตราทีมีเนื้อหาไม่เป็นประชาธิปไตยที่กล่าวมาข้างต้นเสียอีกหากต้องการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทยให้เข้มแข็งต่อไป แต่ด้วยการที่กฏหมายไทยและลักษณะของคนในสังคมไทยยังไม่เปิดกว้างพอต่อการวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ บางมาตราจึงยังถูกทหารใช้เป็นเงื่อนไขในการทำรัฐประหารต่อไป

ที่อ้างกันว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านการออกเสียงประชามติได้รับการสนับสนุนจากประชาชนเสียงข้างมากจึงยังไม่ควรแก้ไขนั้น เป็นการกล่าวอ้างที่จงใจลืมข้อเท็จจริงไปว่า กระบวนการออกเสียงประชามติรับ-ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาเป็นกระบวนการที่ถูกจัดทำขึ้นภายใต้บรรยากาศที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและกระทำการโดยใช้กฏที่ถูกร่างขึ้นมาโดยกลุ่มคนเพียงกลุ่มเดียว กลุ่มคนที่ได้อำนาจมาอย่างมิชอบ

ในเมื่อนักรัฐประหารและพวกอำมาตย์อ้างว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้รับความเห็นชอบจากประชาชนจึงไม่ควรแก้ไข มาในวันนี้ประเทศไทยมี สส. และ สว.บางส่วนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งจึงยิ่งมีความชอบธรรมสูงสุดในทางประชาธิปไตยที่จะดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามหลักการที่ถูกต้อง มากกว่าบุคคลหรือองค์กรใดที่ถูกแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหารเสียด้วยซ้ำ

จริงๆแล้วตั้งแต่พรรคพลังประชาชนได้รับการเลือกตั้งเข้ามาในสภามากถึง 232 ที่นั่งทั้งที่ถูกจับใส่กุญแจมือควรให้ความสำคัญกับการแก้กฏหมายรัฐธรรมนูญฉบับประสงค์ร้ายก่อนเป็นลำดับแรกเลย มันมีความสำคัญยิ่งกว่าการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ที่ท่านนายกฯสมัครแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเสียอีก หากตัวท่านนายกฯสมัครเองยังรู้สึกว่าปัญหาการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศ การแก้ไขรธน. ยิ่งต้องถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนให้กลับคืนมาโดยเร็ว

แม้ตอนนี้ประเทศไทยจะมีประชาธิปไตยเรียบร้อยแล้วแต่หากการเมืองยังไม่มีเสถียรภาพ การยุบพรรคการเมืองเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันทั้งที่ในประเทศที่มีประชาธิปไตยอย่างเข้มแข็งพรรคการเมืองถือว่าเป็นสมบัติของประชาชน จะทำให้การดำเนินนโยบายต่างๆ ทำได้ยากมากขึ้น กลายเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจทั้งในและต่างประเทศในที่สุด

ในวันนี้นักการเมืองอย่างพวกท่านได้รับความยินยอมจากประชาชนให้เข้ามาทำงานการเมืองดังที่สัญญาไว้กับประชาชนเรียบร้อยแล้ว พวกท่านควรใช้โอกาสนี้แสดงให้ประชาชนเห็นว่าพวกท่านเป็นตัวแทนของประชาชนจริงๆ ที่พร้อมปกป้องสิทธิทางการเมืองและเสรีภาพในการรวมตัวกันเพื่อสร้างเจตจำนงทางการเมืองของประชาชนด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประสงค์ร้ายที่มุ่งลดอำนาจประชาชนหยิบยื่นอำนาจให้กับกลุ่มอภิชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน อย่างมิชักช้า

อย่ารีรออยู่เลยค่ะ อำนาจอธิปไตยที่ประชาชนมอบให้อยู่ในมือพวกท่านแล้ว


5 อาจารย์นิติมธ.ออกแถลงการณ์ค้านการยุบพรรคสนับสนุนการแก้ไขรธน.ฉบับ"ประสงค์ร้าย"

24 มี.ค.51 คณาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 5 คน ออกแถลงการณ์ เรื่อง การตีความกฎหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองและการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยระบุไม่เห็นด้วยกับการตีความรัฐธรรมนูญ มาตรา 297 เพื่อยุบพรรคการเมือง เพราะเท่ากับความผิดของบุคคลคนเดียวนำไปสู่การยุบพรรคการเมืองที่ประกอบไปด้วยสมาชิกจำนวนมากซึ่งไม่ได้ทำผิด การเอาผิดกับบุคคลซึ่งไม่ได้กระทำขัดต่อหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลอย่างร้ายแรง

นอกจากนี้ในทางปฏิบัติที่เคยเกิดขึ้นแล้ว ยังมีผลเสมือนว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้มีอำนาจยุบพรรคการเมืองนั้นเองในทางความเป็นจริง เพราะการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก่อนประกาศผลการเลือกตั้งเป็นอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยศาลฎีกาได้ตีความรับรองไว้ว่าการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นที่สุดไม่อาจถูกตรวจสอบได้

แถลงการณ์ระบุว่า กลไกดังกล่าวแม้ว่าอาจจะเกิดจากความหวังดีของผู้ร่างรัฐธรรมนูญและผู้ร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่จะขจัดการทุจริตการเลือกตั้ง แต่เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกจุดและรุนแรงเกินสมควรกว่าเหตุ การดำเนินการกับผู้ทุจริตการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่จะต้องกระทำ แต่ต้องดำเนินการกับบุคคลนั้น ไม่ใช่กับพรรคการเมืองหรือบุคคลอื่นที่ไม่ได้กระทำความผิดด้วย มิพักต้องกล่าวว่าการออกแบบกลไกในลักษณะเช่นนี้เป็นการมอบอำนาจให้กับคณะกรรมการการเลือกตั้งอย่างมาก

“คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดังมีรายนามตอนท้าย ขอเรียกร้องให้บรรดาพรรคการเมืองทุกพรรคการเมืองร่วมมือกันในอันที่จะดำเนินการแก้ไขกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองให้เป็นไปตามหลักกฎหมายที่นานาอารยะประเทศนับถือ และไม่ควรจะจำกัดการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเฉพาะประเด็นนี้เพียงประเด็นเดียว ยิ่งไปกว่านั้นขอยืนยันว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งมีความชอบธรรมในทางประชาธิปไตยที่จะดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามหลักการที่ถูกต้อง การกล่าวอ้างว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านการออกเสียงประชามติ จึงไม่ควรแก้ไขหรือยังไม่ควรแก้ไขนั้น เป็นการกล่าวอ้างที่จงใจละเลยบริบทของการออกเสียงประชามติที่ประชาชนจำนวนมากถูกบีบบังคับโดยเทคนิคทางกฎหมายให้ต้องยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปก่อน เพื่อให้ประเทศพ้นจากสภาวะของรัฐบาลที่เป็นผลพวงจากการยึดอำนาจ และละเลยข้อเท็จจริงที่ว่ามีประชาชนออกเสียงไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้กว่าสิบล้านเสียง” แถลงการณ์ระบุ

ทั้งนี้ คณาจารย์ทั้ง 5 คน ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์, รองศาสตราจารย์ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช, อาจารย์ ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล, อาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล, อาจารย์ธีระ สุธีวรางกูร

ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีบทบาทให้ข้อคิดเห็นด้านกฎหมายหลายเรื่อง อาทิ

อาจารย์นิติ มธ. แถลงประณามการรัฐประหารและเรียกร้องให้กลับสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยเร็วที่สุด

6 คณาจารย์นิติ มธ. ออกแถลงการณ์ปฏิเสธร่างฯ 50 ด้วยเหตุ 26 ประการพร้อม 4 ข้อเสนอหากมหาชนไม่รับร่างฯ

“คำวินิจฉัยกลาง” ของ 5 อาจารย์นิติฯ มธ. ต่อ “คำวินิจฉัยกรณียุบพรรคของตุลาการรัฐธรรมนูญ”

รายละเอียดแถลงการณ์ มีดังนี้

แถลงการณ์ เรื่อง การตีความกฎหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองและการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

ตามที่ปรากฏข้อถกเถียงเกี่ยวกับการตีความกฎหมายอยู่ในขณะนี้ว่าในกรณีที่กรรมการบริหารพรรคการเมืองกระทำความผิดตามกฎหมายเลือกตั้งและถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง การกระทำของกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้นจะส่งผลให้ต้องดำเนินการยุบพรรคการเมืองดังกล่าวและต้องเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคคนอื่นที่ไม่ได้รู้เห็นเป็นใจกับการกระทำความผิดนั้นด้วยหรือไม่นั้น คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดังมีรายนามตอนท้ายเห็นว่าโดยที่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับการตีความรัฐธรรมนูญซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และอาจก่อให้เกิดวิกฤติทางการเมืองตามมาได้ จึงเห็นสมควรที่จะได้แสดงทัศนะทางกฎหมายให้สาธารณชนได้รับทราบไว้ดังต่อไปนี้

๑. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๓๗ บัญญัติว่า

“ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดกระทำการ ก่อ หรือสนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา หรือระเบียบหรือประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลดังกล่าวตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

ถ้าการกระทำของบุคคลดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าหัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ใดมีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย หรือทราบถึงการกระทำนั้นแล้ว มิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ตามมาตรา ๖๘ และในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองดังกล่าวมีกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง”

บทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นได้รับการบัญญัติซ้ำไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๐๓ วรรคสอง โดยมีถ้อยคำที่คล้ายคลึงกัน แต่มาตราดังกล่าวบัญญัติเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งว่า

“..ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง เพื่อเสนอคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ยุบพรรคการเมืองนั้น ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้นมีกำหนดห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง”

๒. พรรคการเมืองนับเป็นสถาบันทางการเมืองที่สำคัญที่สุดสถาบันหนึ่งในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน การรวมตัวกันจัดตั้งพรรคการเมืองเป็นเสรีภาพอันจะขาดเสียมิได้ ตามหลักกฎหมายที่ยอมรับนับถือกันทั่วไปในนานาอารยะประเทศ การยุบพรรคการเมืองจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อเหตุอันจำเป็นที่จะต้องรักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยหรือเป็นกรณีที่เห็นได้ว่าพรรคการเมืองนั้นไม่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่อไปแล้วเท่านั้น เพราะการยุบพรรคการเมืองนอกจากจะทำลายสถาบันทางการเมืองลงแล้วยังมีผลเป็นการทำลายเสรีภาพในการรวมตัวกันเพื่อสร้างเจตจำนงทางการเมืองของราษฎรซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยอีกด้วย การตีความกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองจึงไม่สามารถทำได้โดยการอ่านกฎหมายแบบยึดติดกับถ้อยคำเท่านั้น แต่จะต้องคำนึงถึงหลักการอันเป็นรากฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตลอดสิทธิทางการเมืองของปัจเจกบุคคลประกอบด้วยเสมอ


๓. หากพิจารณาจากถ้อยคำที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญประกอบกับความเห็นของอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญบางท่านแล้ว กรณีอาจเห็นไปได้ว่าเมื่อกรรมการบริหารพรรคการเมืองคนหนึ่งกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้งและถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งแล้ว รัฐธรรมนูญให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเท่ากับว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องดำเนินการเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคการเมืองนั้น และเมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติว่าให้ถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการที่ไม่เป็นตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และกรณีนี้เป็นกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่อาจสั่งยกเลิกการกระทำได้ เพราะการกระทำได้เสร็จสิ้นไปแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญก็ย่อมจะต้องวินิจฉัยยุบพรรคการเมืองนั้น และต้องเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้นทุกคนเป็นเวลาห้าปี มีปัญหาว่าความเข้าใจกฎหมายและการตีความกฎหมายในลักษณะเช่นนี้ซึ่งดูเหมือนจะเป็นความเข้าใจในหมู่ของบุคคลที่มีบทบาทชี้นำสังคม ทั้งที่เป็นนักวิชาการและอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการวินิจฉัยเรื่องดังกล่าวเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องหรือไม่

๔. ในทางนิติศาสตร์ การใช้และการตีความกฎหมายไม่ได้มีความหมายเพียงแค่การอ่านถ้อยคำของกฎหมายหรือการสอบถามความเห็นของผู้ร่างกฎหมาย แล้วให้ความหมายของบทกฎหมายนั้นตามถ้อยคำหรือตามความต้องการของผู้ร่างกฎหมายเท่านั้น ถึงแม้ว่าถ้อยคำของบทกฎหมายจะเป็นปฐมบทของการตีความกฎหมายทุกครั้ง แต่การตีความกฎหมายก็ไม่ใช่การยอมตนตกเป็นทาสของถ้อยคำ ถึงแม้ว่าความเห็นของผู้ร่างกฎหมายจะเป็นสิ่งที่ต้องนำมาคำนึงประกอบในการค้นหาความหมายของบทกฎหมาย แต่ความเห็นของผู้ร่างกฎหมายก็ไม่ใช่เครื่องชี้ขาดความหมายของบทกฎหมายบทนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้ร่างกฎหมายได้ร่างกฎหมายขัดแย้งกันเองในกฎหมายฉบับเดียวกัน หรือกรณีที่ผู้ร่างกฎหมายไม่ได้คาดเห็นผลร้ายของการร่างกฎหมายเช่นนั้นขณะร่างกฎหมาย ในการตีความกฎหมาย นอกจากจะต้องพิจารณาถ้อยคำ บริบททางประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมในขณะร่างกฎหมายนั้นแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันและในหลายกรณีอาจสำคัญยิ่งกว่า คือ การพิจารณาระบบกฎหมายทั้งระบบ พิจารณาหลักเกณฑ์อันเป็นเสาหลักที่ยึดโยงระบบกฎหมายนั้นไว้ ตลอดจนพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของบทกฎหมายบทนั้น (ratio legis) หลักเกณฑ์การตีความดังกล่าวมานี้เป็นเครื่องป้องกันไม่ให้เกิดการตีความกฎหมายที่ส่งอันประหลาดและขัดกับสำนึกในเรื่องความยุติธรรม

๕. กล่าวเฉพาะการตีความกฎเกณฑ์เกี่ยวกับกับการยุบพรรคการเมืองที่กล่าวมาข้างต้น หากตีความตามถ้อยคำหรือตีความตามความประสงค์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญบางท่าน ก็เท่ากับว่าการกระทำความผิดของบุคคลเพียงคนเดียวย่อมนำไปสู่การยุบพรรคการเมืองที่ประกอบไปด้วยสมาชิกพรรคการเมืองจำนวนมากได้ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อมีการยุบพรรคการเมืองแล้ว ก็จะต้องเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองทั้งหมด ถึงแม้บุคคลดังกล่าวจะไม่ได้มีส่วนผิดในการกระทำนั้น เท่ากับตีความกฎหมายเอาผิดบุคคลซึ่งไม่ได้กระทำความผิดซึ่งขัดต่อหลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอย่างรุนแรง การตีความกฎหมายในลักษณะเช่นนี้ย่อมฝืนต่อสามัญสำนึกของวิญญูชนทั่วไป และเท่ากับทำให้กฎเกณฑ์ทางกฎหมายในประเทศไทยย้อนยุคกลับไปเหมือนกับกฎเกณฑ์การประหารชีวิตญาติพี่น้องที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด อันเป็นการฝืนพัฒนาการทางกฎหมายของโลกและจะทำให้สถานะทางกฎหมายของประเทศตกต่ำลงในสายตาของนานาอารยะประเทศด้วย หาใช่ความน่าภูมิใจดังที่มีบางท่านกล่าวอ้างไม่

๖. ประเด็นที่ผู้สนับสนุนการตีความกฎหมายเอาผิดกับกรรมการบริหารพรรคการเมืองทุกคนและการให้ยุบพรรคการเมือง แม้กรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้นเพียงคนเดียวเป็นผู้กระทำความผิดอาจหยิบยกขึ้นอ้างก็คือ รัฐธรรมนูญบัญญัติ “ให้ถือว่า” พรรคการเมืองนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ คำว่า “ให้ถือว่า” เท่ากับไม่เปิดช่องให้ผู้ใช้กฎหมายสามารถตีความกฎหมายเป็นอย่างอื่นได้ อันที่จริงแล้วการบัญญัติกฎหมายโดยใช้คำว่า “ให้ถือว่า” เท่ากับผู้ร่างกฎหมายทำตัวเป็นผู้พิพากษาเสียเองแล้ว การบัญญัติกฎหมายโดยใช้ถ้อยคำดังกล่าวจึงต้องกระทำเท่าที่จำเป็นอย่างยิ่งและต้องไม่ขัดต่อหลักเหตุผล เพราะมิฉะนั้นผู้ร่างกฎหมายก็สามารถบัญญัติกฎหมายอย่างไรก็ได้ โดยใช้คำว่า “ให้ถือว่า” เสียทั้งสิ้น บทบัญญัติที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๐๙ เป็นตัวอย่างของความไร้เหตุผลในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะผู้ร่างรัฐธรรมนูญบัญญัติ “ให้ถือว่า” การกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับการใดๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ทั้งๆที่ยังไม่รู้ว่าการกระทำนั้นจริงๆ แล้วชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญหรือไม่ เท่ากับบัญญัติให้การกระทำในอนาคตพ้นไปจากเสียการตรวจสอบในทางตุลาการ ซึ่งขัดกับหลักการแบ่งแยกอำนาจอย่างเห็นได้ชัด

๗. เมื่อผู้ร่างรัฐธรรมนูญบัญญัติรัฐธรรมนูญขึ้นโดยฝ่าฝืนกับหลักเหตุผลเช่นนี้ ในการตีความรัฐธรรมนูญตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผู้ตีความจึงต้องตีความกฎหมายไปในทางแก้ไขให้สอดรับกับหลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้เพราะบทบัญญัติที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญนั้นมีทั้งบทบัญญัติที่เป็นคุณค่าพื้นฐานและบทบัญญัติที่เป็นรายละเอียด บทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญย่อมได้แก่ หลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและหลักราชอาณาจักรที่เป็นรัฐเดี่ยว ซึ่งรัฐธรรมนูญเองก็ได้รับรองไว้ในมาตรา ๒๙๑ ห้ามมิให้เสนอญัตติขอแก้ไขเปลี่ยนแปลง เท่ากับว่ารัฐธรรมนูญได้ยกคุณค่าของเรื่องดังกล่าวนี้ให้สูงกว่าบทบัญญัติอื่นๆ ยิ่งไปกว่านั้น ในมาตรา ๓ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ได้บัญญัติให้ การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม และบทบัญญัติในมาตรา ๒๙ ก็บัญญัติคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลไว้ การจำกัดตัดทอนสิทธิเสรีภาพของบุคคลจะต้องกระทำเท่าที่จำเป็นและจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญของสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้ ซึ่งย่อมหมายว่า การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลจะต้องกระทำตามหลักความพอสมควรแก่เหตุเท่านั้น

๘. เมื่อพิเคราะห์หลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญแล้ว ย่อมจะเห็นได้ว่าบทบัญญัติมาตรา ๒๓๗ ของรัฐธรรมนูญ หากพิจารณาแต่เฉพาะถ้อยคำย่อมขัดกับคุณค่าพื้นฐานในตัวรัฐธรรมนูญเอง ซึ่งหมายความว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญได้บัญญัติรายละเอียดเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองและการเพิกถอนสิทธิกรรมการบริหารพรรคการเมืองไม่ถูกต้องตามหลักการที่ตนเองได้ประกาศไว้ เพราะการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ไม่ได้รู้เห็นกับการกระทำความผิด จะถือว่าเป็นการกระทำตามหลักนิติธรรมไม่ได้ การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ถือว่าการกระทำความผิดตามกฎหมายเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งโดยที่หัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้นรู้เห็นแล้วปล่อยปละละเลยเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และจะต้องดำเนินการยุบพรรคการเมืองนั้น เป็นการบัญญัติรัฐธรรมนูญจำกัดตัดทอนสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรกว่าเหตุจึงขัดกับหลักประชาธิปไตยและหลักการประกันสิทธิและเสรีภาพของบุคคล กรณีที่บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญขัดกันเองเช่นนี้ องค์กรที่มีอำนาจตามกฎหมายย่อมจะต้องตีความบทบัญญัติที่เป็นรายละเอียดให้สอดคล้องกับบทบัญญัติที่เป็นหลักการ โดยจำกัดผลการใช้บังคับของบทบัญญัติที่เป็นรายละเอียดลง โดยอาศัยเหตุผลตามหลักวิชาที่ได้แสดงให้เห็นโดยสังเขปข้างต้น คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดังมีรายนามตอนท้ายจึงมีความเห็นว่า ในกรณีที่กรรมการบริหารพรรคผู้หนึ่งกระทำความผิดตามกฎหมายเลือกตั้งแล้วถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง โดยที่หัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้นไม่ได้มีส่วนรู้เห็นด้วย ย่อมถือไม่ได้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำของพรรคการเมืองนั้น และเมื่อถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำของพรรคการเมืองเสียแล้ว จึงไม่มีกรณีที่จะต้องวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการที่ไม่เป็นไปวิถีทางตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ และด้วยเหตุดังกล่าวจึงจะดำเนินการยุบพรรคการเมืองนั้นไม่ได้ การใช้และการตีความกฎหมายเช่นนี้ย่อมสอดคล้องกับหลักเหตุผลและหลักการประกันสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๒๙ กล่าวคือ คณะกรรมการการเลือกตั้งในฐานะองค์กรที่ริเริ่มกระบวนการยุบพรรคการเมืองย่อมมีดุลพินิจที่จะพิจารณาได้ว่าการกระทำของบุคคลหรือของพรรคการเมืองนั้นถึงขนาดที่สมควรจะต้องดำเนินการยุบพรรคการเมืองหรือไม่ และหากเป็นกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ใช้ดุลพินิจริเริ่มกระบวนการยุบพรรคการเมืองแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญย่อมมีดุลพินิจในการวินิจฉัยในทำนองเดียวกัน

๙. อนึ่ง นอกเหนือจากเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้ว หากพิจารณากรณีที่เกิดขึ้นกับพรรคการเมืองพรรคหนึ่งซึ่งกรรมการบริหารพรรคการเมืองถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก่อนประกาศผลการเลือกตั้งโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง แล้วจะตีความกฎหมายให้ดำเนินการยุบพรรคการเมืองนั้นโดยอัตโนมัติ ผลในทางกฎหมายก็เสมือนกับว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งจะเป็นผู้มีอำนาจยุบพรรคการเมืองนั้นเองในทางความเป็นจริง เพราะการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก่อนประกาศผลการเลือกตั้งเป็นอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยศาลฎีกาได้ตีความรับรองไว้ว่าการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นที่สุดไม่อาจถูกตรวจสอบได้ (ซึ่งมีปัญหาอย่างยิ่งในทางทฤษฎี) หากยึดติดกับถ้อยคำตามกฎหมายแล้ว เมื่อมีการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง กลไกการยุบพรรคการเมืองจะตามมาทันที และหากไม่ตีความรัฐธรรมนูญตามที่กล่าวมาแล้ว แม้แต่ศาลรัฐธรรมนูญเองก็อาจจะไม่มีดุลพินิจที่จะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้ ทั้งนี้ยังไม่ต้องพิเคราะห์ถึงข้อเท็จจริงในทางการเมืองว่าใครบ้างที่จะมาดำรงตำแหน่งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในระยะเวลาอันใกล้นี้และกฎเกณฑ์การสรรหาบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งดังกล่าวมีความชอบธรรมหรือไม่

๑๐. กลไกทางกฎหมายที่ได้รับการออกแบบไว้โดยผู้ร่างรัฐธรรมนูญและผู้ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้แม้ว่าอาจจะเกิดจากความหวังดีของผู้ร่างรัฐธรรมนูญและผู้ร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่จะขจัดการทุจริตการเลือกตั้ง แต่เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกจุดและรุนแรงเกินสมควรกว่าเหตุ การดำเนินการกับผู้ทุจริตการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่จะต้องกระทำ แต่ต้องดำเนินการกับบุคคลนั้น ไม่ใช่กับพรรคการเมืองหรือบุคคลอื่นที่ไม่ได้กระทำความผิดด้วย มิพักต้องกล่าวว่าการออกแบบกลไกในลักษณะเช่นนี้เป็นการมอบอำนาจให้กับคณะกรรมการการเลือกตั้งอย่างมาก และเมื่อการใช้อำนาจดังกล่าวส่วนหนึ่งปราศจากการตรวจสอบในทางตุลาการ เช่น การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง ผลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ ปัญหามาตรฐานของการวินิจฉัยและความเสมอภาคในการใช้กฎหมาย ตลอดจนความเป็นธรรมต่อบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการนั้น กลไกดังกล่าวนี้จะเป็นกลไกที่กระทบกับประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน และสร้างปัญหาทั้งทางการเมืองและกฎหมายให้กับประเทศ

๑๑. สมควรตั้งเป็นข้อสังเกตไว้ด้วยว่า การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่มีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นผลจากการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ บรรดาบุคคลที่เข้าไปมีส่วนยกร่างรัฐธรรมนูญนั้นแม้บางท่านจะมีความปรารถนาดีต่อบ้านเมือง แต่จากวิกฤติการเมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๙ เป็นต้นมา ทำให้บุคคลเหล่านั้นกลายเป็นฝักฝ่ายทางการเมืองทั้งโดยเปิดเผยและไม่เปิดเผย ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงมีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับหลักการที่ควรจะเป็นหลายมาตรา ดังนั้นการดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนี้ไม่ว่าจะบางส่วนหรือทั้งฉบับจึงเป็นสิ่งที่จะต้องกระทำโดยเร็ว

คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดังมีรายนามตอนท้าย ขอเรียกร้องให้บรรดาพรรคการเมืองทุกพรรคการเมืองร่วมมือกันในอันที่จะดำเนินการแก้ไขกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองให้เป็นไปตามหลักกฎหมายที่นานาอารยะประเทศนับถือ และไม่ควรจะจำกัดการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเฉพาะประเด็นนี้เพียงประเด็นเดียว ยิ่งไปกว่านั้นขอยืนยันว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งมีความชอบธรรมในทางประชาธิปไตยที่จะดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามหลักการที่ถูกต้อง การกล่าวอ้างว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านการออกเสียงประชามติ จึงไม่ควรแก้ไขหรือยังไม่ควรแก้ไขนั้น เป็นการกล่าวอ้างที่จงใจละเลยบริบทของการออกเสียงประชามติที่ประชาชนจำนวนมากถูกบีบบังคับโดยเทคนิคทางกฎหมายให้ต้องยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปก่อน เพื่อให้ประเทศพ้นจากสภาวะของรัฐบาลที่เป็นผลพวงจากการยึดอำนาจ และละเลยข้อเท็จจริงที่ว่ามีประชาชนออกเสียงไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้กว่าสิบล้านเสียง ขอเรียนด้วยว่าคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดังมีรายนามตอนท้ายไม่ประสงค์จะเป็นฝักฝ่ายทางการเมือง แต่การออกแถลงการณ์ฉบับนี้เป็นไปเพราะต้องการให้การปกครองประเทศเป็นไปตามหลักวิชา และมุ่งหวังให้การแก้ปัญหาทางการเมืองและกฎหมายดำเนินไปอย่างสันติและถูกต้องเป็นธรรมอย่างแท้จริง

รองศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์
รองศาสตราจารย์ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช
อาจารย์ ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล
อาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล
อาจารย์ธีระ สุธีวรางกูร

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

๒๔ มีนาคม ๒๕๕๑

ที่มา: ประชาไท


เมื่อกระบอกเสียงของเผด็จการสอนประชาชนว่า “ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง”

ประเทศไทยเมื่อ 2 ขวบปีที่แล้วก่อนที่จะเกิดรัฐประหาร มีการสร้างวาทกรรม “ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง” ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดในหมู่นักสื่อสารมวลชนที่ล้มละลายทางจรรยาบรรณ ปัญญาชนตีสองหน้า ราษฎรอาวุโส นักวิชาการที่ทอดทิ้งหลักการและนักการเมืองที่สนับสนุนการใช้มาตรา 7 เพื่อขอรัฐบาลพระราชทานและปลด พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตรนายกฯที่มาจากกประชาชนออกจากตำแหน่ง พวกเขากล่าวว่าการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 ที่ผ่านมาเป็นแค่ “กระบวนการฟอกตัว” ของ พ.ต.ท.ทักษิณเพราะ “ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง” เท่านั้น

คำกล่าวที่ว่าประชาธิปไตยไม่ได้มีแต่การเลือกตั้งเท่านั้นไม่ใช่คำกล่าวที่ผิดแต่ประการใด แต่ทว่าการอ้างความมีจริยธรรม คุณธรรมเหนือผู้อื่นมิได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็งให้เกิดขึ้นในสังคมไทยด้วยเช่นกัน เพราะประชาธิปไตยที่เป็นสากลมิได้เน้นการยึดตัวบุคคลหรือสรรหา “คนดี” มาปกครองบ้านเมืองเหมือนกับแนวคิด "ประชาธิปไตยแบบไทยๆ" ที่บอกว่าถ้าได้คนดีมาบริหารปกครองแล้ว บ้านเมืองจะดีตามไปด้วยแต่ประชาธิปไตยที่เป็นสากลนั้นมุ่งสร้างกลไกหรือระบบต่าง ๆที่เป็นกรอบหรือแนวทางให้ผู้มีอำนาจในระดับต่าง ๆ ปฏิบัติตนให้ถูกต้อง

แม้การเลือกตั้งจะมิได้มีความหมายเท่ากับประชาธิปไตยแต่การเลือกตั้งเป็นสิ่งที่มิอาจขาดเสียได้ในระบอบประชาธิปไตยเพราะการเลือกตั้งเป็นความชอบธรรมสูงสุดในการตัดสินอำนาจทางการเมืองเนื่องจากการเลือกตั้งเป็นกลไกในการเข้าสู่อำนาจที่มีความสัมพันธ์กับระบอบประชาธิปไตย

ช่วงที่มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า “รู้ทันทักษิณ” ซึ่งประกอบไปด้วย ข้าราชการศักดินา นักสื่อสารมวลชน ปัญญาชนตีสองหน้า นักวิชาการที่อิงแอบเผด็จการ และนักการเมืองที่สนับสนุนการใช้มาตรา 7 เพื่อโค่นล้ม ”ระบอบทักษิณ” ระบอบที่รัฐบาลมาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2540 ดูเหมือนว่าคำว่า “การเลือกตั้ง” จะเป็น "ของแสลง" สำหรับพวกเขาอยู่ไม่น้อย เพื่อหาเหตุแห่งความชอบธรรมให้กับการทำรัฐประหารพวกเขากล่าวว่า “ประชาธิปไตยมิใช่มีเพียงแค่การหย่อนบัตรแล้วก็จบเพราะประเทศที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการก็จัดให้มีการเลือกตั้งเช่นกัน”

จริงอยู่ที่ว่าแม้ในประเทศที่เป็นเผด็จการจะจัดให้มีการเลือกตั้งแต่การเลือกตั้งในระบอบเผด็จการกับการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยนั้นมีความต่างกันทั้งรูปแบบและเนื้อหา

การเลือกตั้งนั้นมีหลายแบบ ประเทศประชาธิปไตยสมัยใหม่ทุกประเทศจัดให้มีการเลือกตั้งแต่ไม่ทุกการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตย แม้กระทั่งประเทศที่เป็นเผด็จการขวาจัด(Right-wing dictatorships) ประเทศที่ใช้ระบอบการปกครองแบบสังคมนิยม(Marxist regimes)หรือประเทศที่มีพรรคการเมืองปกครองเพียงพรรคเดียว(single-party governments)ก็จัดให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นเช่นกันเพื่อให้ได้มาซึ่งความชอบด้วยกฏหมายในการปกครองประเทศ แต่การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นภายใต้ระบบแบบนี้ ผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือผู้ท้าชิง(candidate) อาจมีเพียงคนเดียวหรือมีบัญชีรายชือผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเพียงบัญชีรายชือเดียวโดยปราศจากตัวเลือกอื่นๆ การเลือกตั้งในลักษณะอย่างนี้อาจมีการเสนอชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งหลายคนเพื่อวางให้ครบในแต่ละตำแหน่ง แต่ก็ไม่พ้นการใช้วิธีการคุกคามข่มขู่ผู้สมัครรายอื่นเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคที่รัฐเป็นฝ่ายสนับสนุนเท่านั้นจะได้รับเลือกเข้ามา การจัดให้มีการเลือกตั้งอื่นๆอาจมีตัวเลือกให้เลือกอย่างแท้จริงแต่ก็เป็นเพียงภายในพรรคที่ครองอำนาจอยู่แล้ว นั่นคือในรัฐที่ปกครองในระบบเผด็จการหรือในระบบที่มีพรรคการเมืองพรรคเดียวแม้ว่าจะมีการเลือกตั้งแต่ผู้สมัครรับเลือกตั้งถูกกำหนดโดยพรรคการเมืองที่คุมอำนาจรัฐเท่านั้น

การเลือกตั้งที่มีลักษณะแบบนี้ไม่เรียกว่าเป็นการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยแต่เรียกว่าเป็นการเลือกตั้งภายใต้การควบคุมประชาชนเลือกตั้งเพราะรัฐบีบบังคับให้เลือกหรือเลือกตามที่รัฐชี้นำ

กลุ่มคน “รู้ทันทักษิณ” ผู้มีต้นทุนทางสังคมสูงเหล่านี้มิได้ตระหนักถึงความเป็นจริงที่ว่าการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลทักษิณนั้นประชาชนไทยสามารถที่จะลงคะแนนเสียงได้ในบรรยากาศที่
-สังคมมีอิสระเสรีภาพ
-คนไทยมีความเป็นไทมิได้ตกอยู่ภายใต้กฏอัยการศึก
-สื่อสารมวลชนมิได้ถูกครอบงำในการนำเสนอข่าว พรรคร่วมฝ่ายค้านที่ยืนอยู่ตรงข้ามกับรัฐบาลมิได้ถูกจำกัดสิทธิในการลงแข่งขันสมัครรับเลือกตั้ง(แต่พวกเขาเลือกที่จะคว่ำบาตรการเลือกตั้งเอง)
-แต่ละพรรคได้รับสิทธิและโอกาสอย่างเต็มที่ในการรณรงค์หาเสียง
-และไม่มีการส่งทหารลงไปเกาะติดพื้นที่เหมือนอย่างที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติได้กระทำอยู่สมัยยังเรืองอำนาจ

เหล่านี้เรียกว่าเป็นการเลือกตั้งภายใต้บรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตย

เพราะความเป็นประชาธิปไตยที่เข้มแข็งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการเลือกตั้งที่เป็นไปอย่างเสรีและเที่ยงธรรมภายใต้เงื่อนไขที่สังคมมีอิสระเสรีภาพที่ทุกคนในสังคมมีส่วนในอำนาจอธิปไตยเท่าๆ กันเป็นสำคัญ นั่นเพราะความเป็นรัฐเสรีประชาธิปไตยไม่ได้วัดด้วยการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียวแต่วัดได้ด้วยการที่ประชาชนในสังคมมีเสรีภาพและได้รับโอกาสในการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลได้อย่างกว้างขวาง แสดงความคิดเห็นที่แตกต่างในที่สาธารณะได้โดยไม่ถูกจับกุม คุกคามหรือข่มขู่จากเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้ที่กุมอำนาจรัฐ

ดังอมตะพจน์ของอดีตประธานาธิบดีโธมัส เจฟเฟอร์สัน ประธานาธิบดีคนที่ 3 ของสหรัฐอเมริกาที่กล่าวไว้ว่า

"When the government fears the people, you have liberty. When the people fear the government, you have tyranny."

"เมื่อใดที่รัฐเกรงกลัวต่อประชาชน นั่นบ่งบอกว่าคนในสังคมมีเสรีภาพ แต่เมื่อใดก็ตามที่ประชาชนหวาดกลัวต่อรัฐ นั่นหมายความว่ามีทรราชย์ปกครองบ้านเมือง"


คำกล่าวที่ว่า ”ประชาธิปไตยไม่ใช่มีแต่การเลือกตั้ง” ในรอบ 24 เดือนที่ผ่านมาของขบวนการโค่นล้มทักษิณ จึงหาได้มีเป้าหมายมุ่งให้ภาคประชาชนสร้างความเข้มแข็งทางการเมืองจนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมประชาธิปไตยที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าการเลือกตั้งไม่ แต่เป็นวาทกรรมที่มุ่งชักชวนให้ประชาชนปฎิเสธการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย ปฏิเสธผู้นำและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง มุ่งสร้างความเกลียดชังแก่นักการเมืองโดยเฉพาะด้วยการตอกย้ำวลีเดิมๆว่านักการเมืองมีความหมายเท่ากับคอร์รัปชันเท่านั้นหรือนักการเมือง(ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชน) คืออุปสรรคของการสร้างระบอบประชาธิปไตย เพื่อให้ประชาชนเห็นความน่ารังเกียจของนักการเมืองอันนำไปสู่การเกิดวงจรอุบาทว์ที่ไม่สิ้นสุดนั่นคือการเข้ามาจัดการโดยคนขี้ขลาดที่มีปืน


Generation Obama? Perhaps Not.

March 17, 2008
Op-Ed Columnist
Generation Obama? Perhaps Not.
By WILLIAM KRISTOL

In this column, I cite a report that Sen. Obama had attended services at Trinity Church on July 22, 2007. The Obama campaign has provided information showing that Senator Obama did not attend Trinity that day. I regret the error.

Sunday evening, Ben Affleck and Jennifer Garner held a “Generation Obama” fund-raiser at Boston’s Rumor Nightclub. In case you’re not up on the Boston club scene, I should tell you that Rumor “brings together the sexiest and hippest people from around the globe” and “has raised the bar in Boston’s night life” (if Rumor may say so itself). Presumably, Ben and Jennifer raised the bar a notch further on Sunday.

Which is fine. Obama supporters are allowed to have fun. And celebrities are entitled to headline fund-raisers. But one has the sense that elsewhere in this great land the bloom is coming off the Obama rose.

For one thing, it’s becoming clear that Obama has been less than candid in addressing his relationship to his pastor, Jeremiah A. Wright Jr., of Chicago’s Trinity United Church of Christ. For example, Obama claimed Friday that “the statements that Rev. Wright made that are the cause of this controversy were not statements I personally heard him preach while I sat in the pews of Trinity.”

It certainly could be the case that Obama personally didn’t hear Wright’s 2003 sermon when he proclaimed: “The government gives them the drugs, builds bigger prisons, passes a three-strike law and then wants us to sing ‘God Bless America.’ No, no, no, not God bless America, God damn America, that’s in the Bible for killing innocent people. ... God damn America for treating our citizens as less than human.”

But Ronald Kessler, a journalist who has written about Wright’s ministry, claims that Obama was in fact in the pews at Trinity last July 22. That’s when Wright blamed the “arrogance” of the “United States of White America” for much of the world’s suffering, especially the oppression of blacks. In any case, given the apparent frequency of such statements in Wright’s preaching and their centrality to his worldview, the pretense that over all these years Obama had no idea that Wright was saying such things is hard to sustain.

This doesn’t mean that Obama agrees with Wright’s thoroughgoing and conspiracy-heavy anti-Americanism. Rather, Obama seems to have seen, early in his career, the utility of joining a prominent church that would help him establish political roots in the community in which he lives. Now he sees the utility of distancing himself from that church. Obama’s behavior in dealing with Wright is consistent with that of a politician who often voted “present” in the Illinois State Legislature for the sake of his future political viability.

The more you learn about him, the more Obama seems to be a conventionally opportunistic politician, impressively smart and disciplined, who has put together a good political career and a terrific presidential campaign. But there’s not much audacity of hope there. There’s the calculation of ambition, and the construction of artifice, mixed in with a dash of deceit — all covered over with the great conceit that this campaign, and this candidate, are different.

Which brings us back to the “Generation Obama” event. If you go to the Obama campaign Web site and click on “people,” you’ll see 14 categories of people you can choose to hook up with — women, labor, people of faith ... and “Generation Obama.”

What is Generation Obama? It’s a “grass-roots movement led by young activists with a simple goal: electing Barack Obama the next president of the United States of America,” the Web site says, adding that “you and other members can utilize the many talents of our country’s next great generation in support of the campaign in a variety of meaningful ways.”

So in fact, “Generation Obama” is just a fancy name for young activists for Obama. But the (remarkable) conceit is this: The “next great generation” of Americans can appropriately be called “Generation Obama.”

Now I’m actually a believer in the next generation, which one might call the 9/11 generation. Many of its members seem more serious and impressive than we baby boomers were when our elders were foolishly praising us, 40 years ago, as the best-educated, most idealistic generation ever. Many of the best of this young generation are serving their country — either in the military or otherwise. Some are in politics, working for various causes, liberal and conservative, and for various candidates, Democrats and Republicans. But surely there’s something creepy about a campaign claiming them as “Generation Obama.”

With no particular dog in the Democratic fight, many conservatives have tended to think it would be good for the country if Obama were to win the Democratic nomination, freeing us from the dreary prospect of the return of the House of Clinton. Now I wonder. Might the country be better off with the cynicism of the Clintons than the conceit of Obama?

Source: NYT


จอห์น แมคเคน: วีรบุรุษชาวอเมริกัน

Barack Obama: It will light upon you,” [Obama] continued. “You will experience an epiphany. And you will say to yourself, I have to vote for Barack. I have to do it.”

John McCain: I do not seek the presidency on the presumption that I am blessed with such personal greatness that history has anointed me to save my country in its hour of need. I seek the presidency with the humility of a man who cannot forget that my country saved me.”


Quite a clear choice between arrogance/entitlement & duty/service…



Campaign video ล่าสุดชุดนี้ของวุฒิสมาชิก จอห์น แมคเคนถือว่าทำได้ยอดเยี่ยมมากและตั้งใจทำออกมาเพื่อสื่อให้คนอเมริกันคุ้นเคยกับความเป็นวีรบุรุษของเขาสมัยที่เขายังถูกจองจำในฐานะนักโทษสงครามเวียดนาม.

Campaign video อาจมีส่วนเป็นอย่างมากในการเพิ่มภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำของแมคเคนให้ชัดเจนขึ้นในสายตาชาวอเมริกันก่อนที่ผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครตจะมีโอกาสจริงๆในการโจมตีเขา แน่นอนว่าโอกาสดังกล่าวยังไม่อำนวยให้กับผู้สมัครจากพรรคเดโมแคครตได้ถนัดนักจนกว่าจะถึงวันแรงงานถ้าหากโอบามาและฮิลลารี่ยังใช้เวลาไม่กี่เดือนข้างหน้ามุ่งความสนใจไปที่การแย่งชิงจำนวน superdelegate กันอยู่

นอกเหนือจากทำให้คู่ต่อสู้ของเขาโจมตีเขาได้ยากแล้ว โฆษณาชุดนี้ยังวิงวอนไปยังผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่กำลังมองหาวีรบุรุษและ a principled leader แทนที่จะเป็น a legislative checklist มาไว้ใช้ในทำเนียบขาวอีกด้วย เหมือนอย่างที่รูดอล์ฟ จูลิอานีอดีตนายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ก ได้กล่าวสนับสนุนจอห์น แมคเคน ในฐานะเพื่อนสนิทด้วยการยกย่องเขาเป็นวีรบุรุษ และจะร่วมหาเสียงสนับสนุนแมคเคนไปตลอดว่า

“John McCain is the most qualified candidate to be the next commander in chief of the United States, He’s an American hero and America could use heroes in the White House.”

“จอห์น แมคเคน เป็นผู้สมัครที่มีคุณภาพมากที่สุดสำหรับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดของสหรัฐคนต่อไป เขาเป็นวีรบุรุษชาวอเมริกัน และอเมริกา น่าจะมีวีรบุรุษไว้ใช้ในทำเนียบขาว”


ลำดับมาตรการปลดชนวนวิกฤตของธนาคารกลางสหรัฐ

นับจากวิกฤตซับไพรมก่อตัวขึ้นในสหรัฐปี 2550 และส่งผลกระทบไปทั่ว กลายเป็นบททดสอบฝีมือของ เบน เบอร์นันคี ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

ต่อไปนี้คือ เครื่องมือต่างๆ ที่ถูกทยอยนำออกมาใช้ เพื่อป้องกันเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะไม่ให้เดินเข้าสู่ภาวะถดถอยหรือ recession

เครื่องมือดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้น

เฟดใช้เครื่องมือดอกเบี้ยเงินกู้ ทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ชั่วข้ามคืน (federal fund rate) และอัตราส่วนลด (discount rate) เป็นหนึ่งกลไกสำคัญในการบรรเทาปัญหาระบบการเงิน โดยนับจากการประชุมเมื่อวันที่ 18 ก.ย.2550 จนถึงการประชุมวันที่ 30 ม.ค. 2551 คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟดได้ปรับอัตราดอกเบี้ยทั้งสองประเทศลงแล้ว 2.25% และ 2.75% ตามลำดับ โดยช่วงเวลา ดังกล่าวมีการปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมฉุกเฉิน นอกวาระการประชุม 1 ครั้ง เมื่อวันที่ 21 ม.ค.2551 ซึ่งครั้งนั้นเฟดดึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นครั้งเดียวถึง 0.75%

กลไกการเงินพิเศษ

1.กลไกประมูลชั่วคราว (temporary auction facility : TAF) มีการพัฒนากลไกใหม่ๆ ขึ้นมาช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงินในระบบ เสริมกับการอัดฉีดสภาพคล้องผ่านตลาดเปิด (open market) และช่องทาง (discount loan) โดยกลไกใหม่ที่สหรัฐนำมาใช้เรียกว่า กลไกประมูลชั่วคราว (temporary auction facility : TAF) โดยเริ่มใช้เป็นครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคมถึงปัจจุบันมีการประมูลไปแล้ว 6 ครั้ง วงเงินประมูลประมาณ 1.60 แสนล้านดอลลาร์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วธนาคารกลางสหรัฐ ประกาศเพิ่มวงเงินของกลไกสำหรับเดือนมีนาคมเป็น 1 แสนล้านดอลลาร์ จากเดิมที่ประกาศไว้ 6 หมื่นล้านดอลลาร์

2.กลไกตลาดเปิด (open market) และช่องทาง (discount loan) เฟดยังได้ร่วมมือกับธนาคารกลางของแคนาดา สหภาพยุโรป อังกฤษ และสวิตเซอร์แลนด์ อัดฉีดสภาพคล่องอีกกว่า 500 พันล้านดอลลาร์ในยุโรป จากนั้นเมื่อ 7 มี.ค.ที่ผ่านมา เฟดประกาศอัดฉีดสภาพคล่องผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร อีก 1 แสนล้านดอลลาร์

3.กลไก swap currency คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน ประกาศเพิ่มวงเงินในกลไกธุรกรรม สวอปอัตราแลกเปลี่ยนที่ทำกับธนาคารกลางแห่งยุโรป และธนาคารกลางสวิสเป็น 3 หมื่นล้านดอลลาร์ และ 6 พันล้านดอลลาร์ตามลำดับ ขยายระยะเวลาของธุรกรรมประเภทนี้เป็นถึง 30 ก.ย.ปีนี้

4.กลไก term securities lending facility มาตรการก่อนๆ ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ปัญหาเงินตึงตัวลดลง ระบบการเงินมีสภาพคล่องมากขึ้น อย่างไรก็ตามแนวโน้มของวิกฤตสินเชื่อที่ยังไม่จบสิ้นง่ายๆ ส่งผลให้เฟดประกาศกลไกใหม่เมื่อ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา เรียกว่า กลไก term securities lending facility วงเงิน 2 แสนล้านดอลลาร์ โดยเป็นการปล่อยกู้แก่สถาบันการเงินชั้นดีของประเทศ 20 ราย

สาระสำคัญของกลไกใหม่คือเฟดจะรับซื้อตราสารหนี้ อันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินระดับ AAA โดยตรงจากสถาบันการเงินเป้าหมาย โดยชำระเป็นพันธบัตรรัฐบาลประเภทต่างๆ ปัจจุบันเฟดถือครองอยู่ 7.13 แสนล้านดอลลาร์ โดยมีกำหนดระยะเวลาซื้อคืน 28 วัน

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ


McCain's challenge

Senator John McCain, the presumptive Republican nominee for president in this November's US election, arrives in Israel today. A visit so deep into the campaign season shows the importance he attaches to the US-Israel relationship. But so does the sequence; the Israel stop is between Iraq and visits to France and England.

This choice of countries signals the centrality of Israel within US foreign policy: sandwiched between the war America is fighting and the two most important US allies. It is a good opportunity for McCain, either during or after this trip - billed as a fact-finding mission with fellow Senate Armed Services Committee members - to flesh out how he would reshape US foreign policy were he to become president.

It should go without saying that a "stay the course" approach would not be adequate for the next president. While we certainly agree with McCain that the successful US strategic shift in Iraq should continue and be built upon (rather than thrown away, as his opponents seem to suggest) seeking victory in Iraq is not, in itself, a foreign policy.

McCain appears to recognize this. In a speech devoted to foreign policy at the Hudson Institute last September, McCain said, "Prevailing in Iraq and Afghanistan are critical to defeating the threat posed by radical Islamic extremists, but are not the last battle in this global challenge. We are in a long war, a war I am afraid the US government is not adequately prepared to fight." The whole speech is worth reading, as it outlines substantive ways for the US to start winning the war, such as enlarging the army, Marines and Special Forces, recreating a new version of the World War II-era Office of Strategic Services, and working to improve America's image abroad.

"The cold war was won not with a tank battle in the Fulda Gap," McCain argues, "but by winning the hearts and minds of the people that democracy was better than Communism. And so it must be in our struggle with Islamic extremism. We must win this war by convincing the world that freedom is better than rule by terror." All this is useful, as far as it goes. But America's challenge is not so much to convince people that freedom is good. The truth is that people who are deprived of freedom understand what they are missing better than do many free peoples, who often take their freedoms for granted.

What America needs to do even more is convince people that the forces of freedom have what it takes to win. Totalitarian Islamists, after all, do not emphasize that life is better under their rule, but that they are the wave of the future, that they will kill anyone who stands in their way, and that they love death more than life. Though the Islamists have sometimes been able to seem more virtuous than the corrupt secular regimes they have opposed, their main weapon against true advocates of democracy and human rights has been sheer intimidation and violence.

Similarly, on the international scale, the main American weakness is not a lack of firepower or poor public relations, but that the nations of the world see that the West is too intimidated and divided to gather the small fraction of its collective economic, diplomatic and military power necessary to face down one highly vulnerable, openly defiant regime in Iran.

It is this failure that looms largest and that McCain and the other presidential candidates have yet to coherently address. By saying, as early as January 2006, "There's only one thing worse than the United States exercising the military option; that is a nuclear-armed Iran," McCain has taken the critical step of asserting that Iran must be stopped at almost any cost. But he has not shown how he intends to bring along the "hearts and minds" of other democracies into such an effort.

This is something that McCain can and should begin to do in the context of his visits to London and Paris. Although these capitals are the strongest on the Iranian issue, they would be the right place for McCain to call for a completely united front between Europe and the US - by Europe joining the American trade embargo, not by the US joining Europe's overly head in the sand mindset.

The stark truth is that America is not currently winning against Iran, and cannot win unless there is more Western unity behind an effective policy, rather than behind empty rhetoric and weak sanctions. The great challenge facing any presidential candidate is to show how he or she will galvanize Western strength and unity to achieve victory in the war against totalitarian Islamism.

Source: JPost


McCain Visits Iraq

By Cindy Saine
Washington
17 March 2008

Republican presidential candidate Senator John McCain is visiting Iraq, as part of a trip to the Middle East and Europe that highlights his foreign policy and national security experience. In Washington, Democratic candidate Senator Hillary Clinton has given a major speech on the Iraq war, criticizing both McCain and her Democratic rival, Senator Barack Obama. VOA Correspondent Cindy Saine reports from Washington.

Sen. John McCain, (r), addresses reporters during a press conference, as Sen. Joe Lieberman looks on in Baghdad, 17 Mar 2008

Just days ahead of the fifth anniversary of the U.S. invasion of Iraq, Senator McCain is in Baghdad to meet with Iraqi leaders and senior U.S. military officials. He has stressed that he is on a fact-finding mission for the Senate Armed Services Committee, and says he is not there for a photo opportunity for his campaign.

McCain has already clinched the Republican presidential nomination, while his two Democratic rivals remain locked in an extended battle to be their party's candidate for the White House in November.

Senator McCain strongly supported sending additional troops to Iraq last year to improve the security situation so that the Iraqi government would have breathing room for political reconciliation. Speaking to ABC news while in Iraq, he again defended the so-called "surge" of U.S. troops and the Iraqi government, while criticizing Clinton and Obama.

"Senator Obama and Senator Clinton said the surge would never work, it has worked," he said. "Now they say that they [the Iraqi government] can not function politically. They are functioning politically - very poorly, two steps forward and one step back.

Earlier in the presidential campaign, McCain was asked how long U.S. troops would need to remain in Iraq, and he said its possible they could remain for 100 years, if necessary. He tried to explain that comment from Iraq.

"When I said 100 years, it was obviously after the war is over," he said. "After wars are over, we most of the time have a military presence there."

Source: VOA News


แมคเคนเยือนอิรักประเมินผลสำเร็จของการเพิ่มทหารสหรัฐในอิรัก



(17มีค.) วุฒิสมาชิก จอห์น แมคเคน วัย 71 ปีซึ่งจะเป็นตัวแทนพรรครีพับลิกันลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเดินทางถึงกรุงแบกแดดของอิรักโดยไม่ได้แจ้งกำหนดล่วงหน้าแล้วเมื่อวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นจุดหมายแรกของการเยือนภูมิภาคตะวันออกกลางและยุโรปนานหนึ่งสัปดาห์

เขาย้ำว่าการเยือนอิรักเพื่อปฏิบัติภารกิจของวุฒิสมาชิกครั้งนี้เป็นครั้งที่ 8 นับตั้งแต่สหรัฐเปิดฉากสงครามเมื่อเกือบ 5 ปีที่แล้ว โดยเขาไปอิรักพร้อมด้วยวุฒิสมาชิกอีก 2 คนในฐานะสมาชิกคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมาธิการทหารวุฒิสมาชิกเพื่อประเมินความสำเร็จของการส่งทหารเพิ่มไปยังอิรักเมื่อปลายปีที่แล้ว

ตลอดการหาเสียงเลือกตั้ง เขาได้ชูนโยบายอย่างชัดเจนโดยเน้นเรื่องการรักษาความมั่นคงและสนับสนุนการเพิ่มทหารในอิรักซึ่งจะเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการขจัดกลุ่มก่อการร้ายเพื่อให้สามารถถอนทหารสหรัฐออกมาได้อย่างปลอดภัย

นักวิเคราะห์ กล่าวว่า ในการเดินสายเยือนต่างประเทศครั้งนี้ แมคเคนจะได้เข้าพบกับผู้นำอิรักจอร์แดน อิสราเอล ฝรั่งเศส และอังกฤษ ทำให้เป็นที่ชัดเจนว่าเขาจะใช้โอกาสนี้แสดงบทบาทของตัวเองในฐานะผู้นำโลก แสดงความรู้ความสามารถด้านนโยบายต่างประเทศและกิจการทหาร แต่แมคเคนก็ย้ำว่าเขาไม่ได้ไปประเทศเหล่านี้ในฐานะผู้สมัครประธานาธิบดี

ที่มา: คม ชัด ลึก


บุชมั่นใจแมคเคนว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่

บุชมั่นใจแมคเคนว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่ [14 มี.ค. 51 - 03:57]

ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ผู้นำสหรัฐฯ กล่าวระหว่างงานเลี้ยงช่วยระดมทุนหาเสียงให้นักการ เมืองสังกัดพรรครีพับลิกันในกรุงวอชิงตันเมื่อวันพุธ เชื่อมั่นวุฒิสมาชิกจอห์น แมคเคน แห่งรัฐอริโซนา วัย 71 ปี จะคว้าชัยชนะได้ขึ้นนั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่จากการเลือกตั้งในเดือน พ.ย.นี้ หลังนายแมคเคนผ่านการหยั่งเสียงขั้นต้นชิงความเป็นตัวแทนพรรครีพับลิกัน ได้เป็น “ว่าที่” ตัวแทนพรรคขึ้นชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯอย่างแน่นอนแล้ว

ประธานาธิบดีบุชกล่าวถึงนายแมคเคน ระบุรู้จักกันดีมานานหลายปี รู้ถึงศักยภาพความเป็นผู้นำของนายแมคเคน ภาคภูมิใจที่ได้เป็นเพื่อนนายแมคเคนภาคภูมิใจได้เป็นผู้สนับสนุนนายแมคเคน และภาคภูมิใจได้พูดถึงนายแมคเคน ขอแสดงความยินดีล่วงหน้าด้วย ท่านประธานาธิบดี

งานชุมนุมระดมทุนหาเสียงครั้งนี้จัดขึ้นท่าม กลางแขกเหรื่อมากกว่า 2,000 คน รวมทั้งบรรดา นักการเมืองหลายคนของพรรครีพับลิกัน รวมได้เงินบริจาคมากกว่า 8.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ พร้อมกันนี้ ประธานาธิบดีบุชได้เรียกร้องถึงบรรดานักการเมืองพรรครีพับลิกันให้พยายามเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าตัว เพื่อชนะการเลือกตั้ง ส.ส.ในเดือน พ.ย.นี้ให้ได้ที่นั่งมากที่สุด เพราะรัฐสภาเวลานี้พรรคเดโมแครตครองเสียงข้างมากอยู่ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ส่วนนโยบายสำคัญต่อการแข่งขันมากที่สุดคือนโยบายด้านภาษี

ขณะเดียวกัน นายแมคเคนได้เตรียมสรรหาผู้สมัครลงชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีด้วยแล้ว โดยหนึ่งในตัวเลือกสำคัญคือนายมิตต์ รอมนีย์ อดีตผู้ว่าการรัฐแมสซาชูเสตต์ คู่แข่งคนสำคัญซึ่งพ่ายแพ้นายแมคเคนในการชิงความเป็นตัวแทนพรรครีพับลิกัน โดยนายรอมนีย์สนใจลงสมัครชิงเก้าอี้รองประธานาธิบดีด้วย แต่ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายแมคเคน

ฟากนายบารัก โอบามา ผู้ชิงความเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตกับ นางฮิลลารี คลินตัน กล่าวต่อผู้สนับสนุนที่นครชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ระบุการแข่งขันระหว่างเขากับนางฮิลลารี นโยบายคือสิ่งที่ใช้ในการตัดสินใจของผู้เลือก แม้ว่าผลการหยั่งเสียงขั้นต้นในรัฐมิสซิสซิปปีเมื่อ 11 มี.ค. ที่ผ่านมา นายโอบามา ได้คะแนนเสียงจากกลุ่มคนผิวดำมากราว 90 เปอร์เซ็นต์ และได้คะแนนเสียงจากกลุ่มคนผิวขาว 30 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์เชื่อว่าการหยั่งเสียงเลือกตั้งขั้นต้นครั้งใหญ่ในรัฐเพนซิลเวเนียวันที่ 22 เม.ย. นางฮิลลารี คลินตัน จะชนะ.

ที่มา: ไทยรัฐ


Deposed Thai Premier Maintains Rural Popularity

Deposed Thai Premier Maintains Rural Popularity
by Michael Sullivan

Morning Edition, March 12, 2008 · Former Thai Prime Minister Thaksin Shinawatra pleads not guilty to corruption charges after returning from exile. He remains very popular, particularly among Thailand's rural people and urban poor for his financial and social welfare policies.

Deposed Thai Leader Thaksin Returns Home


Former Thai Prime Minister Thaksin Shinawatra returned home in February to two very different greetings.

Thousands of supporters welcomed the telecommunications billionaire with roses when he arrived at the Bangkok airport. They cheered as he knelt and touched his forehead to the ground — a gesture of love for his homeland.

But Thaksin's second stop was Thailand's Supreme Court, where he posted nearly $270, 000 bail on corruption and conflict-of-interest charges. His wife Pojaman, who also faces corruption charges, returned in January and is now free pending trial. Both have said they look forward to a legal process they are confident will exonerate them.

A controversial politician, Thaksin was in exile, mostly in Britain, for the past 17 months. He was deposed by the Thai military in 2006 amid allegations that he and his family had evaded taxes in a nearly $2 billion deal to sell its shares in Thailand's biggest telecommunications company.

A Businessman and Politician with a Police Background

The 58-year-old Thaksin comes from a wealthy family in the northern province of Chiang Mai. He began his career as a member of the Royal Thai Police and studied criminal justice in the United States during the late 1970s.


ข่าวฉาวของสปิตเซอร์อาจกระทบเสียงหนุนฮิลลารี

จากกรณีนายเอเลียต สปิตเซอร์ ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ค นักการเมืองที่ถือว่าเป็นดาวรุ่งคนหนึ่งจากพรรคเดโมแครต อดีตอธิบดีกรมอัยการรัฐนิวยอร์คผู้ได้ฉายาว่า “มิสเตอร์คลีน” ลักลอบซื้อบริการทางเพศจากหญิงบริการชั้นสูงผ่าน "The Emperors Club VIP" ซึ่งเจ้าหน้าที่เอฟ บี ไอเชื่อว่าเป็นแก๊งค์ค้าหญิงบริการรายใหญ่ อาจกระทบเสียงหนุนนางฮิลลารี่ คลินตันผู้สมัครชิงตัวแทนพรรคเดโมแครตชิงเก้าอี้ผู้นำสหรัฐเนื่องจากสปิตเซอร์ได้ประกาศก่อนหน้านี้ว่าเขาจะสนับสนุนฮิลลารีในฐานะเป็นซุปเปอร์เดลิเกตในการประชุมใหญ่พรรคเดโมแครตที่จะมีขึ้นในเดือนสิงหาคมนี้

ล่าสุดนายเอเลียต สปิตเซอร์ ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์คได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าการรัฐนิวยอร์คอย่างเป็นทางการแล้วหลังข่าวอื้อฉาวซื้อบริการทางเพศของเขาถูกตีแผ่ต่อสาธารณะชนอเมริกันได้เพียง 2 วันและการลาออกของเขาในครั้งนี้จะมีผลตั้งแต่วันจันทร์ที่ 17 มีนาคมเป็นต้นไป

Federal agents ระบุว่า New York Gov. Eliot Spitzer ได้เรียกใช้บริการทางเพศจากโสเภณีมีระดับในสนนราคาที่สูงอย่างน้อย 8 ครั้งในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาและได้ติดตามพฤติกรรมของเขาอย่างใกล้ชิด 2 ครั้งในปีนี้

แหล่งข่าวระบุว่าการสอบสวนคดีนี้เริ่มขึ้นเมื่อธนาคาร North Fork ในนิวยอร์คได้แจ้งไปยังกรมธนารักษ์เกี่ยวกับการโอนเงินที่เป็นที่น่าสงสัยจากบัญชีธนาคารของนาย Spitzer ซึ่งการสอบสวนดังกล่าวเป็นจุดที่นำเจ้าหน้าที่เอฟ บี ไอไปสู่การจับกุมตัวผู้ต้องสงสัย 4 คนข้อหาเปิดธุรกิจการบริการทางเพศระดับไฮโซในชื่อว่า “ดิ เอ็มเพอเรอร์ส คลับ” และผู้ต้องสงสัยทั้ง 4 คนนี้ถูกตั้งข้อหาในคดีอาญาเรียบร้อยแล้ว

การลักลอบดักฟังสัญญาณการสื่อสารที่สมาชิกผู้ต้องสงสัยมีถึงกันซึ่งได้รับการอนุมัติเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่เอฟ บี ไอเกี่ยวกับหลักฐานทั้งรายชื่อลูกค้า, บัญชีธนาคาร, การจองโรงแรม, ตั๋วเดินทาง, การติดต่อทางโทรศัพท์ พร้อมฝากข้อความ 5,000 สายและจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (อี-เมล์) กว่า 6,000 ราย

ซึ่งในบันทึกคำให้การที่มีการยื่นต่อศาลแห่งรัฐนิวยอร์คเมื่อสัปดาห์ก่อน ระบุว่าสปิตเซอร์มีรหัสแทนตัวว่า "ลูกค้าหมายเลข 9" ในการซื้อบริการทางเพศจาก ดิ เอ็มเพอร์เรอร์ คลับโดยมีการนัดหมายพบกับสาวบริการที่ใช้ชื่อว่า “คริสเต็น” ซึ่งคิดอัตราค่าบริการรายชั่วโมงๆ ละ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐช่วงก่อนวันวาเลนไทน์ที่ผ่านมาถึง 6 ครั้ง โดยให้เธอนั่งรถไฟจากนิวยอร์คไปยังห้องพักหมายเลข 871 ที่โรงแรมเมย์ฟลาวเวอร์ในกรุงวอชิงตันเพื่อให้บริการทางเพศแก่เขาผู้ได้รับฉายาจากชาวนิวยอร์คเกอร์ว่าเป็น “มิสเตอร์คลีน” นักกฎหมายใจซื่อ มือสะอาดของสังคมนิวยอร์กนานร่วม 2 ชม.และได้รับค่าบริการ 4,300 เหรียญสหรัฐฯ (ราว 137,600 บาท) ทั้งนี้สปิตเซอร์ยังได้จ่ายเงินสดจำนวน 4,300 ดอลลาร์ เป็นค่าบริการล่วงหน้าในการนัดหมายครั้งต่อไปให้ด้วย

จากการเปิดเผยของฝ่ายสืบสวนทราบว่าสปิตเซอร์เป็นลูกค้าประจำที่ใช้บริการทางเพศจากคลับชั้นสูงแห่งนี้ มีการประเมินว่าเขาใช้เงินเพื่อการนี้รวมแล้วมากถึง 80,000 ดอลลาร์หรือราว 2.48 ล้านบาท ขณะที่นายจอร์จ ฟ็อกซ์ เพื่อนและผู้สนับสนุนการหาเสียงเลือกตั้งของนายสปิตเซอร์ กล่าวว่าเขารู้สึกผิดหวังและเสียใจที่นายสปิตเซอร์แอบใช้ชื่อเขาในการติดต่อจ้างหญิงบริการโดยนายฟ็อกซ์ยืนยันเขาไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการค้าประเวณี

นักข่าวอาวุโสจากหนังสือพิมพ์นิวยอร์ค เดลี่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่าข่าวอื้อฉาวของนายสปิตเซอร์ได้ส่งผลสะเทือนต่อพรรคเดโมแครตด้วยเนื่องจากสปิตเซอร์ได้ประกาศก่อนหน้านี้ว่าเขาจะสนับสนุนฮิลลารีในฐานะเป็นซุปเปอร์เดลิเกตในการประชุมใหญ่พรรคเดโมแครตที่จะมีขึ้นในเดือนสิงหาคมนี้ นอกจากนี้สปิตเซอร์ถือเป็นนักการเมืองดาวรุ่งของพรรคเดโมแครตด้วย

มีความเป็นไปได้ที่ข่าวอื้อฉาวของสปิตเซอร์จะสร้างความรำคาญใจให้กับนางคลินตันในการรณรงค์หาเสียงของเธอเพราะเธอจะต้องถูกนักข่าวตั้งคำถามตลอดเวลาเกี่ยวพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของสปิตเซอร์ในฐานะเป็นซุปเปอร์เดลิเกตคนหนึ่งที่สนับสนุนเธอในครั้งนี้ ซึ่งทำให้กลุ่มผู้ออกเสียงต้องนึกย้อนไปถึงเมื่อครั้งที่เกิดเรื่องอื้อฉาวอดีตประธานาธิบดี บิล คลินตัน ผู้เป็นสามีของเธอกับนางสาวโมนิก้า ลูวินสกี้ อดีตเจ้าหน้าที่ฝึกงานประจำทำเนียบขาวเหมือนที่ David Letterman พิธีกรรายการทอล์คโชว์แนวตลกเสียดสีได้พูดล้อเลียนถึง Spitzer's excuses 10 อันดับแรกที่กระทบชิ่งไปถึงบิล คลินตันว่า ข้อแก้ตัวของสปิตเซอร์ข้อแรกคือ “ผมคิดว่าบิล คลินตันทำให้เรื่องนี้(ใช้บริการทางเพศ)มันถูกกฏหมายเมื่อหลายปีที่แล้ว”

สปิตเซอร์ได้ชื่อว่าเป็นศัตรูตัวฉกาจของ Wall Street สมัยที่เขาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการรัฐนิวยอร์คเขาได้ดำเนินการฟ้องร้อง ใช้กฏหมายเล่นงานและข่มขู่ big investment firm หลายบริษัท การจบอาชีพนักการเมืองด้วยการทำผิดกฏหมายเสียเองของเขาในครั้งนี้เป็นที่สะใจของนักลงทุนในวอลสตรีทเป็นยิ่งนัก นักธุรกิจย่าน Wall Street และนักวิจารณ์การเมืองฝ่ายขวาบางคนมองว่าบ่อยครั้งที่สปิตเซอร์เป็นผู้บังคับใช้กฏหมายที่ไปไกลเกินกว่ากรอบของกฏหมายและกำหนดกฏระเบียบขึ้นเสียเอง นอกจากนี้เขายังเป็นผู้ต่อต้านแนวความคิดทางการเมืองของฝั่งอนุรักษ์นิยมอย่างสุดโต่งตัวยงอีกด้วย

เมื่อครั้งที่สปิตเซอร์รณรงค์หาเสียงในการชิงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐนิวยอร์คเขาพูดย้ำเสมอว่า “I hate illegal things” แต่ในวันนี้เขากลับกลายมาเป็นผู้ทำผิดกฏหมายเสียเอง โดยปกติแล้วการใช้บริการหญิงบริการไม่ถือว่าผิดกฎหมายระดับรัฐแต่คดีของสปิตเซอร์นั้นถือว่าอยู่ในอำนาจของรัฐบาลกลาง

ข่าวอื้อฉาวของสปิตเซอร์ในครั้งนี้ได้สร้างความผิดหวังและตกตะลึงให้กับทางพรรคเดโมแครตเป็นอย่างมากเพราะ Gov. Spitzer ได้สร้างอาชีพและสร้างสมชื่อเสียงของเขาด้วยการกวาดล้างการทำผิดกฏหมายอย่างแข็งกร้าวและพรีเซ้นท์ตัวเขาเองว่าเป็น crusader ผู้ปราบปรามอาชญากรรมอย่างเข้มงวด พฤติกรรมของเขาในครั้งนี้สร้างความผิดหวังให้กับพวกลิเบอร์รัลที่ชื่นชมในความสามารถของสปิตเซอร์มายาวนาน โดยเขาถูกมองว่าเป็นนักการเมืองดาวรุ่งดวงใหม่ที่เป็นอนาคตอันสดใสของพรรคและเป็นผู้ที่มีศักยภาพมากพอที่จะก้าวไปสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีในอนาคตได้

แม้ฝ่ายลิเบอร์รัลที่สนับสนุนเขาจะมองว่าข่าวอื้อฉาวครั้งนี้ก็เป็นแค่เรื่อง “ส่วนตัว” และมองว่าเขาก็เป็นมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งย่อมมีรัก โลภ โกรธ หลงในตัวเหมือนกับคนอื่นแต่ผู้เขียนคิดว่ามันมีความต่างแน่นอนเพราะ ผู้ว่าฯสปิตเซอร์มีความทะยานอยากในการเสาะแสวงหาอาชีพที่เป็น “ผู้นำในสังคม” เมื่อคุณไฝ่หาความเป็นคนสาธารณะและมีชื่อเสียงในสังคม คุณต้องเผชิญความจริงอย่างหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าอาณาจักรส่วนตัวของคุณจำเป็นต้องหดแคบลง คนธรรมดาในฐานะ private citizens ย่อมดำเนินชีวิตแบบเป็นส่วนตัวได้แต่ผู้ที่เป็นบุคคลสาธารณะของสังคม (Public Figures) ที่เสาะแสวงหาและพอใจกับอำนาจทางสังคมย่อมถูกปกครองหรือตัดสินด้วยกฏที่แตกต่างกัน


จอห์น แมคเคนว่าที่ตัวแทนพรรครีพับลิกันแน่นอนแล้วส่วนฮิลลารี่กับโอบามายังต้องขับเคี่ยวกันต่อ

Ohio, Texas to Clinton, McCain Sweeps

หลังจากที่นางฮิลลารี คลินตัน วุฒิสมาชิกจากรัฐนิวยอร์กพ่ายแพ้รวดถึง 12 รัฐให้กับนาย บารัค ฮุสเซ็น โอบาม่า วุฒิสมาชิกจากรัฐอิลลินอยส์ตั้งแต่หลังศึก Super Tuesday เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เมื่อวันอังคารที่ 4 มี.ค. ที่ผ่านมาซึ่งถือเป็นศึก “ซุปเปอร์ทิวส์เดย์ย่อมๆ” มีการหยั่งเสียงขั้นต้นทั้งหมด 4 รัฐได้แก่ รัฐเวอร์มอนต์, โอไฮโอ, เท็กซัส และโรดไอส์แลนด์ ในวันนี้ฮิลลารีจึงไม่มีทางเลือกอื่นอีกแล้วนอกจากจะต้องชนะให้ได้อย่างน้อยหนึ่งรัฐในถึงจะมีสิทธิลุ้นต่อและต้องชนะที่เพนซิลเวเนียในวันที่ 22 เมษายนที่จะถึงนี้ จึงจะมีโอกาสได้ต่อกรกับนายบารัค โอบามาจนถึงเดือนมิถุนายนและบางที่อาจยาวไปจนถึง ช่วงconvention เลยก็ได้ ในการแข่งขันเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐปลายปีนี้ต่อไป

แต่ฮิลลารีก็ยังไม่ลาโรงไปง่ายๆ เธอสามารถเอาชนะโอบามาในรัฐสำคัญๆที่เธอจำเป็นต้องชนะ อย่าง โอไฮโอและเท็กซัสได้สำเร็จ รวมถึงกวาดชัยชนะในรัฐโรดไอส์แลนด์มาตุนด้วย ส่วนโอบามาได้รับชัยชนะไปในรัฐเวอร์มอนต์ แต่เนื่องจากพรรคเดโมแครตใช้ระบบสัดส่วน มิใช่ระบบ ผู้ชนะกินรวบหรือ Winner-take-all อย่างพรรครีพลับลิกันนางฮิลลารี เลยได้คะแนนคณะผู้แทนการเลือกตั้งตีตื้น โอบามาขึ้นมาอีกไม่มากนัก เคยมีนักวิเคราะห์การเมืองกล่าวไว้ว่าหากเดโมแครตใช้ระบบ Winner-take-all อย่างรีพลับลิกันแล้ว ฮิลลารี่คงสามารถเอาชนะโอบามาไปได้ตั้งแต่ศึกซุปเปอร์ ทิวส์เดย์แล้วเพราะเธอสามารถเก็บชัยชนะได้ในรัฐใหญ่ๆและมีร่ำรวยจำนวน delegate

สรุปผลล่าสุดจนถึงวันอังคารที่ 4 มี.ค. ที่ผ่านมาโอบามาได้จำนวน delegate ไปทั้งสิ้น 1,569 delegates ส่วนฮิลลารีได้ไป 1,462 delegates จากที่ต้องการจำนวน delegate 2,025 delegates ขึ้นไป

อย่างไรก็ตามเริ่มมีเสียงเรียกร้องให้ฮิลลารียอมยกธงขาวถอนตัวออกจากการแข่งขันหากปราชัยในสนามเลือกตั้งครั้งนี้ โดยนายบิล ริชาร์ดสัน ผู้สมัครชิงประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากพรรคเดโมแครตที่ประกาศถอนตัวไปก่อนหน้ากล่าวว่า หลังวันที่ 4 มี.ค. พรรคเดโมแครตควรจะเริ่ม รณรงค์หาเสียงชูตัวแทนพรรคได้แล้ว หากปล่อยให้นางคลินตันและนายโอบามาแข่งกันยืดเยื้อก็รังแต่จะสร้างความเสียหายแก่พรรคและยังทำให้นายจอห์น แมคเคน ว่าที่ตัวแทนพรรครีพับลิกันได้เปรียบ.

แต่ผู้เขียนคิดว่าฮิลลารี่เธอก็มีสิทธิที่จะสู้ต่อไปได้ตราบใดที่โอบามายังไม่สามารถกวาดชัยชนะได้อย่างเด็ดขาด การชิงตัวแทนพรรคในครั้งนี้คงทำให้ฮิลลารี่รู้ซึ้งถึงสัจจธรรมที่เป็นจริงข้อหนึ่งว่าเมื่อตอนที่พรรครีพลับลิกันถูกโจมตีจากเดโมแครตรวมถึงตัวเธอด้วยเหมือนที่เธอเผชิญอยู่ในตอนนี้นั้นเป็นอย่างไร เพราะสื่อลิเบอร์รัลทั้งหลายในตอนนี้ล้วนให้พื้นที่กับโอบาม่ามากกว่าเธอเมื่อเปรียบเทียบแล้ว

ส่วนจอห์น แมคเคนก็ชนะขาดไมค์ ฮัคคาบีแทบทุกรัฐเมื่อวันที่ 4 มีนาคมที่ผ่านมาซึ่งจริงๆแล้วหลังศึกซุปเปอร์ ทิวสเดย์ที่ผ่านมาก็เป็นที่แน่อนอนแล้วว่าจอห์น แมคเคนคือตัวแทนของพรรครีพลับลิกันอย่างไม่เป็นทางการหลังจากที่มิท รอมนีย์ แสดงสปิริตถอนตัวจากการแข่งขันออกไปหลังทราบผล

ผู้เขียนจึงขอลุ้นให้ฮิลลารี่ชนะในรัฐเพนซิลเวเนียก็แล้วกันค่ะ พรรคเดโมแครตจะได้ต่อสู้กันไปนานๆ….คิก คิก ให้คุณปู่จอห์น แมคเคนได้มีเวลาพินิจพิเคราะห์เลือกผู้ที่จะมาเป็นรองประธานาธิบดีอย่างละเอียดถี่ถ้วนรวมไปถึงสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในระหว่างกลุ่มอนุรักษ์นิยมด้วยกันเพราะ conservative grassroots ถือเป็นพลังสำคัญที่จะทำให้รีพับลิกันได้ครองทำเนียบขาวอีกครั้ง

ศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีในครั้งนี้มีสิ่งที่น่าสนใจอยู่อย่างคือ มีการสำรวจในกลุ่มผู้สนับสนุนนางคลินตันว่า บิล คลินตันผู้เป็นสามีของเธอมีส่วนช่วยให้เธอได้รับคะแนนนิยมมากขึ้นหรือน้อยลง ซึ่งผู้สนับสนุนนางคลินตันส่วนใหญ่เห็นว่าการออกมาพูดหาเสียงช่วยนางคลินตันของบิลกลับส่งผลด้านลบให้กับตัวเธอมากกว่า

ส่วนโอบามานั้นจะได้รับความนิยมในคนรุ่นหนุ่มสาวในมหาวิทยาลัยเหมือน มาร์ค ม. 7 นั่นเลยค่ะ โอบามามีความโดดเด่นอยู่ที่ความเป็นคนผิวสี อายุยังน้อยและน้ำเสียงทุ้มๆของเขาเวลาปราศรัย ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ใหม่เพราะอเมริกายังไม่เคยมีประธานาธิบดีคนผิวสี (*แต่อเมริกาในปัจจุบันนี่คนผิวดำนะที่ออกจะเหยียดผิวมากกว่าใครอื่น*) แต่โดยส่วนตัวไม่คิดว่าอเมริกาจะต้อง Change อะไรอีกเพราะที่เป็นอยู่ปัจจุบันก็ถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจและก็ไม่คิดว่าโอบามามีไหวพริบปฎิภานที่โดดเด่นในระดับที่จะเป็นผู้นำได้นอกจากสโลแกน Change and Hope สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับเด็กๆปีหนึ่ง ปีสองในมหาวิทยาลัยเท่านั้น

ความเป็นผู้นำนั้นไม่ใช่มีอยู่ง่ายๆในตัวทุกคนแต่มันจะถูกทดสอบด้วยสถานการณ์ที่บีบคั้นว่าผู้นำคนนั้นมีกึ๋นแค่ไหนที่จะสามารถนำพาประเทศก้าวต่อไปได้พร้อมกับให้ความคุ้มครองต่อประชาชนของตนได้ด้วย

ในความเป็นผู้นำตรงนี้สำหรับผู้เขียนแล้วมองเห็นได้ชัดเจนในตัว จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ประธานาธิบดีคนปัจจุบันเขาเป็นประธานาธิบดีที่ต้องเผชิญกับภัยคุกคามโลกแบบใหม่ตั้งแต่เหตุการณ์ 9-11 และต้องรับมือกับสงครามทั้งในอาฟกานิสถานและอิรัค และสถานการณ์โลกที่อเมริกาในฐานะประเทศมหาอำนาจทางทหารและเศรษฐกิจต้องเผชิญกับการกับเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย การเปลี่ยนแปลงนี้หาใช่หยุดนิ่งอยู่กับที่

สำหรับผู้เขียนแล้วคิดว่าอเมริกาในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา Bush is the right man for the job ค่ะ คนอเมริกันเลือกประธานาธิบดีได้ไม่ผิดและเหมาะสมกับสถานการณ์ด้วย

อีกเรื่องที่ทำให้กลุ่ม antiwar voters ชอบโอบามาอยู่ไม่น้อยก็คือ คนเริ่มเบื่อ The Clintons นั่นเองเห็นว่าจุดยืนของโอบามาที่ต่อต้านสงครามอิรัคตั้งแต่แรกอาจทำให้สู้กับตัวแทนจากรีพลับลิกันได้เพราะนางฮิลลารี่ คลินตันก็เป็นคนหนึ่งที่โหวตสนับสนุนสงครามอิรัคที่ผ่านมา

แต่ผู้เขียนก็ไม่แปลกใจนะที่ฮิลลารี่โหวตสนับสนุนสงครามอิรัคเพราะบิล คลินตันผู้เป็นสามีของเธอยังเคยพูดว่าหากเขาเป็นประธานาธิบดี เขาก็คงจะบุกอิรัคเหมือนบุชและก็เป็นเขาคลินตันผู้นี้แหละที่เชื่อมโยงระหว่างอัลไคด้าและซัดดัม ฮุสเซ็น

คือตอนหาเสียงกันแรกๆนักวิเคราะห์หลายคนก็พูดกันว่าเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้ประเด็นเรื่องเศรษฐกิจจะเป็นประเด็นร้อนที่สุด แต่พอมาถึงตอนนี้ประเด็น National Security และสงครามต่อต้านก่อการร้ายหาด้อยความสำคัญลงไปอย่างที่วิเคราะห์กันไว้แต่แรกรวมไปถึงประเด็นเศรษฐกิจก็ไม่ได้ทำให้เดโมแครตดูโดดเด่นเกินรีพลับลิกันแต่อย่างใด ในช่วง 8 ปีของรัฐบาลบุชนี่จำนวนคนตกงานมีน้อยกว่าสมัยรัฐบาลคลินตันเสียด้วยซ้ำ แม้ตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคชะลอตัวลงแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเศรษฐกิจกำลังเผชิญวิกฤตรุนแรง สถานการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐในขณะนี้แตกต่างกับภาวะถดถอยที่สหรัฐเคยเผชิญในอดีตเป็นอย่างมากเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงจากภาวะถดถอยได้และนายวิลเลียม พูล ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์ได้แสดงความคิดเห็นว่ามาตรการการเงินและการคลังของเฟดในขณะนี้อยู่ในสถานะที่เหมาะสมที่จะรับมือกับเศรษฐกิจในระยะยาวและจะสามารถลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความผันผวนในตลาดการเงินได้

ล่าสุดนี่เฟดได้ทำนายไว้ว่าเศรษฐกิจของอเมริกาจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งหลังของปีนี้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะโตขึ้นอยู่ระหว่าง 1.3 – 2 % อัตราการว่างงานอาจสูงถึง 5 % แต่โดยถัวเฉลี่ยถือว่ายังต่ำกว่าอัตราการว่างงานหลังสงครามโดยปกติที่เกิดขึ้นกัน

Allan Meltzer ศาสตราจารย์ทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองจาก Carnegie Mellon ได้กล่าวว่าในตอนนี้เม็ดเงินหลายพันล้านดอลล่าร์กำลังไหลเข้าสู่ private equity firms ซึ่งตรงนี้แสดงให้เห็นว่าโอกาสในการทำเงินได้ปรากฏขึ้นแล้วและในฤดูร้อนที่จะถึงนี้มาตรการ lower interest rates และ แผนกระตุ้นเศรษฐกิจ (stimulus package)ของรัฐบาลบุชจะเริ่มทำงานและเลี่ยงภาวะถดถอยท่ามกลางความวิตกของทั่วโลกได้

ในประเด็น National Security นั้นในช่วงแรกๆทางเดโมแครตนี่จะไม่ให้ความสำคัญเท่าไหร่(เพราะเป็นจุดอ่อนของเดโมแครตแต่ไหนแต่ไรมาอยู่แล้ว) ฝ่ายสนับสนุนก็เฮโลบอกว่าเลือกตั้งครั้งนี้เป็นเรื่องเศรษฐกิจล้วนๆเลย แต่ตอนนี้ทางเดมเริ่มตื่นกันแล้วค่ะ เพราะตอนนี้ฮิลลารี่ คลินตันเล็งเห็นแล้วว่าจุดอ่อนของโอบามาก็คือเรื่อง National Security นั่นเองที่เขายังอ่อนด้อยประสบการณ์อยู่เลยชี้ให้ชาวเดโมแครตเห็นว่า โอบามาเห็นที่จะสู้แมคเคนไม่ได้แน่ๆหากไปโต้วาทีในประเด็นนี้ที่คนอเมริกันให้ความสำคัญไม่แพ้เศรษฐกิจหรืออาจจะเหนือกว่าด้วยซ้ำ เรื่อง National Security จึงคืออาวุธอันใหม่ที่สำคัญของฮิลลารี่ที่จะใช้โจมตีจุดอ่อนของโอบามา TV spot เกี่ยวกับประธานาธิบดีต้องรับโทรศัพท์ฉุกเฉินในตอน 3 a.m. จึงถูกนำมาฉายอันแสดงถึงความเป็น Commander in Chief ของเธอที่เหนือกว่ามิสเตอร์โอบามานั่นเอง เรียกว่าฮิลลารี่เธอต้องการเน้นนำเรื่อง “experience” มาสยบ “mantra of change” ของโอบามานั่นเอง

ซึ่งโอบามาก็สวนออกไปว่า “3.00 a.m. phone call” TV spot ชุดนี้ของคลินตันออกมาเพื่อกลบเรคคอร์ดของเธอที่โหวตสนับสนุนสงครามอิรัคแต่นักวิเคราะห์หลายคนก็พูดว่า campaign manager ของฮิลลารีคนก่อนที่เธอเพิ่งไล่ออกนั้นไม่ฉลาดเลยที่พยายามใช้กลยุทธ์แก้ตัวเรื่องสงครามอิรัคปล่อยให้โอบามานวดเรื่องนี้ตลอดและไม่เน้นเรื่อง national security credentials ของโอบามา

หลังจากทราบผลการหยั่งเสียงขั้นต้นพิธีกรรายการร่วมที่เป็นผู้หญิงในรายการ Morning Joe ทางช่อง MSNBC ได้ถามตั้งคำถามกับผู้วางแผนหาเสียงให้กับฮิลลารี่ไปในทำนองว่า ดูๆไปแล้วสปอตโฆษณา 3.00 a.m. phone call ของฮิลลารี่ก็เริ่มให้ความสำคัญกับ National Security ไม่ต่างจากรีพลับลิกันเลยนี่ ซึ่งผู้วางแผนหาเสียงให้กับฮิลลารี่ก็ไม่ปฏิเสธและแถมยังบอกด้วยว่า ฮิลลารี่เธอประสบการณ์สูงในเรื่อง National Security ด้วย.

จริงๆนี่น่าตรวจสอบนะว่า ความมีประสพการณ์สูงที่ฮิลลารี่เธออวดอ้างนั้นได้นับความเป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งเป็นประสพการณ์ด้วยรึเปล่า?


The Democrats and Trade

By ROD HUNTER
March 6, 2008; Page A14

Hillary Clinton and Barack Obama both claim to be ready to be president on "day one." But on the campaign trail, both are pandering to organized labor and other antitrade activists on the left.

It is tempting to dismiss this as empty posturing -- important for electioneering but likely to be forgotten after November. But words matter. If one of the Democrats wins the White House, he or she may find that the antitrade tirades delivered carelessly this year will, by next, have unleashed protectionist forces not easily controlled.

Mrs. Clinton is distancing herself from and even dismissing her husband's trade legacy, which includes enacting the North America Free Trade Agreement (Nafta), creating the World Trade Organization (WTO), and negotiating China's admission into it. She is now calling for a "time out" from any new trade pacts. Mr. Obama, unburdened by a record to defend, blames Nafta for shipping jobs abroad and "forc[ing] parents to compete with teenagers for minimum wage jobs at Wal-Mart." He wants to renegotiate Nafta.


It is true that there is a lot of churning as jobs are destroyed, but even more are created as firms enter, exit or are resized in a dynamic economy. Back in 2004, Ben Bernanke, then a Federal Reserve governor, looked at Bureau of Labor Statistics data stretching back a decade and pointed out that about 15 million jobs were lost and 17 million created each year -- an annual net creation of nearly two million jobs. What's more, only about 2.5% of the jobs lost were a result of import competition. The vast majority of jobs lost were caused by changes in consumer tastes, domestic competition, and technology.

It is also true that U.S. manufacturing has been shedding jobs since the late 1970s, with workers increasingly moving into services. But we have seen this process before. In 1900, it took about 40% of the American workforce toiling on the farm to feed the country. Today, thanks to farm mechanization, agricultural chemistry and other innovations, a mere 2.5% of the workforce feeds the nation and exports about third of U.S. farm production.

Trade is not the threat Mrs. Clinton and Mr. Obama allege. It is a central reason why American workers are among the world's most productive and prosperous. An economy open to trade is also an economy free enough to thrive in a changing world.

The U.S. doesn't need a Clintonian trade "time out." It needs to continue expanding opportunities for American workers by doing such things as completing the Doha trade talks, which are bogged down largely over agriculture. Such negotiations are always difficult, and the easier parts of trade liberalization, such as early tariff cuts for manufactured goods, are already in place. Today the WTO has 151 member nations and any one them can block a new trade agreement. Yet a new agreement is possible, and could promote growth in developing countries and expand opportunities for Americans in manufacturing, farming and services, where the U.S. enjoys a competitive advantage.


Trade agreements are also important for noneconomic reasons, because they have foreign policy implications. Take South Korea, a longstanding ally in Asia. Both Mrs. Clinton and Mr. Obama oppose ratifying a trade deal with Seoul. But failing to do so would send a troubling signal -- that the U.S. is uninterested in supporting an ally at a time when our friends in the region are worried about an ascendant China.

Or take Colombia, a vital U.S. ally in Latin America. Mrs. Clinton opposes, and Mr. Obama has declined to embrace, a trade deal with Bogotá. Colombia is a stalwart ally in the drug war and essential to neutralizing Hugo Chávez's Venezuela. Nafta helped spur economic reform, private-sector growth and political stability in Mexico. A trade deal with Colombia could work similar magic in a country where it is desperately needed.

While Mrs. Clinton and Mr. Obama are wrong on the economics and cavalier on foreign policy, they are tapping into popular anxiety about the economy. Rather than trying to shut the world out, however, the next administration needs to pursue the domestic reforms necessary to ensure that American workers can thrive in the knowledge economy. These include shoring up our education system, clearing obstacles to worker mobility by making health care and pensions portable, and replacing the hodgepodge of displaced-worker assistance programs with a single support, training and relocation system. The American worker, not the job, is the national asset.

Source: WSJ


พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เปิดแถลงข่าวครั้งแรกหลังจากเดินทางกลับประเทศไทย

"สวัสดีครับ ท่านพี่น้องสื่อมวลชนที่เคารพรัก Good afternoon ladies and gentlemen of the press ขอบคุณนะครับ ที่มาทำข่าวที่ผมเดินทางกลับมาประเทศไทยในวันนี้

ก็มีคำถามมากมาย ผมก็เลยอยากจะขอสรุปให้ฟังคร่าวๆ หลังจากเกิดเหตุการณ์ปฏิวัติในวันที่ 19 กันยายน 2549 ผมมีความรู้สึกว่าอยากจะกลับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 20 เพราะผมเป็นคนมีน้ำใจนักกีฬา เมื่อจบก็คือจบ ผมก็ตั้งใจว่าผมก็อยากจะเดินทางกลับ แต่เมื่อทุกคนบอกว่าอยากให้ผมอยู่สักพักหนึ่ง ผมก็อยู่ แล้วก็ได้มีการโทรศัพท์ติดต่อกับทางฝ่ายของคณะปฏิวัติ ก็ได้บอกให้ทุกคนทราบว่า ผมเป็นคนมีน้ำใจนักกีฬา เมื่อจบแล้วก็จบ อยากให้เขาช่วยสร้างความปรองดองของชาติให้เกิดขึ้น

ผมก็นึกว่าผมจะอยู่สัก 2-3 เดือนอย่างมาก เพราะผมเป็นคนติดบ้าน เป็นคนที่รักประเทศไทย รักผืนแผ่นดินไทย อยากอยู่กับครอบครัวในประเทศไทย ก็เลยนึกว่าจะได้กลับ แต่ในที่สุดเหตุการณ์ก็ยังไม่สามารถยุติลงได้ ผมก็เลยต้องอยู่ อยู่ไปอยู่มาก็ 17 เดือนกว่าๆ เกือบ 18 เดือน ซึ่งก็ถือว่านาน ในวันออกไปก็เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ออกไปประชุม ทั้งประชุมเอเชีย-ยุโรป หรือ อาเซม เสร็จแล้วก็ไปประชุมผู้นำของประเทศผู้ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด หรือ นาม ที่ฮาวานา แล้วก็ไปประชุมสหประชาชาติ เพื่อจะไปช่วยหาเสียงให้กับ ดร.สุรเกียรติ์ ในขณะนั้นที่ต้องการจะส่งให้เป็นเลขาฯ ยูเอ็น ก็ไปด้วยความตั้งใจและทุ่มเท

แต่วันนี้กลับมาถูกกล่าวหา ต้องไปพิมพ์ลายนิ้วมือ เปรียบเสมือนเป็นผู้ต้องหาสำคัญ ซึ่งก็รู้สึกเสียใจ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับผมและครอบครัวนั้นก็เป็นสิ่งที่น่าเสียใจ แต่ว่าผมก็ยังต้องอดขอแสดงความเสียใจกับพี่น้องประชาชน กับเหตุการณ์ของความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นที่ผ่านมา คนที่เหนื่อยและลำบากที่สุดคือประชาชนโดยรวม ซึ่งผมขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

วันนี้ ผมกลับมาเพราะว่าหลังจากที่พี่น้องประชาชนได้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งกันแล้ว หลายคนก็โล่งใจเพราะได้แสดงการตัดสินใจของตัวเองไปแล้ว และเมื่อเหตุการณ์มันคลี่คลายจากการเลือกตั้ง และประชาธิปไตยกลับคืนมาแล้ว ผมจำเป็นที่จะต้องมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ และก็มารักษาชื่อเสียงของผมที่ถูกทำลายอย่างไม่เป็นธรรม

เพราะฉะนั้นผมก็อยากจะกราบเรียนทุกฝ่ายว่า การกลับมาของผมครั้งนี้ ผมไม่ต้องการที่จะยุ่งเกี่ยวกับการเมือง บางคนอาจจะสงสัยว่า นักการเมืองไปมาหาสู่ผม มันเป็นธรรมชาติไม่ใช่หรือ ที่คนไทยเมื่อรู้จักกัน และไม่ได้เจอหน้ากันก็ย่อมต้องมาเจอกัน มาเยี่ยมเยียนกัน มันเป็นวัฒนธรรมของพวกเราไม่ใช่หรือ เพราะฉะนั้นการที่คนเหล่านี้คิดถึงผม เพราะบางคนผมก็มีโอกาสส่งเสริมให้เขาได้ทำงานการเมือง เขาก็คิดถึงผม ก็ไปเยี่ยมไปเยือน แล้วก็ไปรับผมบ้าง อะไรบ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าผมจะกลับเข้าสู่การเมือง

วันนี้ผมขออาศัยเป็นประชาชนคนไทยคนหนึ่ง เพราะต้องการจะใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย ผมไประเหเร่ร่อนมาทั่วโลก ขอยืนยันอีกครั้งว่า ไม่มีแผ่นดินไหนที่จะให้ความอบอุ่นแก่ผมและครอบครัวเท่ากับแผ่นดินไทย เพราะฉะนั้นผมจะขอกลับมาอาศัยอยู่อย่างมีความสุข อย่างมีความอบอุ่น และขอตายในผืนแผ่นดินไทยนี้

ผมก็ขอให้ท่านทั้งหลายที่เป็นห่วงเป็นใยผม ว่าจะมาแข่งขันกันทางการเมืองหรืออะไรนั้น ได้สบายใจได้ว่าผมจะขอใช้ชีวิตอย่างสันติ และสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัว ปีนี้ 59 แล้ว เพราะฉะนั้นชีวิตของคนเรามันก็ไม่ยาวนานมากนัก ถ้าช่วงสุดท้ายจะได้ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคม และได้อยู่กับครอบครัวอย่างมีความสุข เป็นสิ่งที่ทุกคนควรจะปรารถนา และผมก็ปรารถนาเช่นนั้น

เพราะฉะนั้นผมจะขอใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวผม อยู่กับลูกกับเมีย และแน่นอนครับ ก็ขอพักผ่อนบำรุงความสุขให้กับตัวเองบ้างหลังจากที่ตรากตรำทำงานมาทั้งชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเนื้อสร้างตัว ไม่ว่าจะเป็นการทุ่มเทให้กับบ้านเมืองที่ผ่านมา วันนี้ก็ขอกลับมาอยู่บนผืนแผ่นดินไทย คงจะใช้เวลากับการต่อสู้คดี รักษาชื่อเสียงของตัวเองที่ถูกทำลายอย่างไม่เป็นธรรม พร้อมกับการทำงานด้านการกุศล ด้านการกีฬา และด้านการศึกษา สิ่งไหนที่ผมจะทำให้เป็นประโยชน์ต่อพี่น้องคนไทยผมก็จะทำ ในฐานะประชาชนคนหนึ่งเท่านั้น

และนอกจากนั้น ผมต้องขอขอบคุณพี่น้องประชาชนที่เป็นกำลังใจผมมาตลอดเวลา 17 เดือน ก็ยังให้กำลังใจผม ทั้งๆ ที่ผมถูกใส่ร้ายป้ายสี ถูกกล่าวหาต่างๆ นานา ก็ยังให้กำลังใจผมอยู่ และให้โอกาสผมกลับมาในวันนี้ หลายท่านที่ไปรับผมที่สนามบินก็ดี ไปยืนคอยตามจุดต่างๆ ก็ดี ผมต้องขอกราบอภัยมา ณ ที่นี้ที่ไม่ได้ลงไปทักทาย เพราะโดยปกติผมเป็นคนที่ต้องลงไปทักทาย เพราะต้องขอบคุณน้ำใจที่เขายืนตากแดดตากลมรอผม แต่ผมไม่สามารถทำได้เพราะว่าวันนี้ระบบการรักษาความปลอดภัยเขายังไม่ค่อยสบายใจที่จะให้ผมไปเดินเช่นนั้น ฉะนั้นท่านทั้งหลายที่ไปแล้วไม่ได้เจอผมก็ขอกราบอภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

ส่วนพี่น้องสื่อมวลชนหลายคนก็จำหน้าได้ เพราะว่าเคยทำงานร่วมกันมา ทั้งผู้สื่อข่าวต่างประเทศและผู้สื่อข่าวไทย หลายคนก็เป็นลูกหลาน เพิ่งจบใหม่ๆ เข้ามา ก็ขอให้ท่านช่วยกันทำให้ประเทศไทยได้กลับมามีความเชื่อมั่นขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เพราะว่าผมอยากเห็นประเทศไทยยืนได้อย่างเข้มแข็งในภาวะเศรษฐกิจที่มีการผันผวนอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของปัญหาซับไพรม์ที่สหรัฐอเมริกา ปัญหาเรื่องของน้ำมันราคาแพงขึ้นทุกวัน ปัญหาเรื่องของเศรษฐกิจชะลอตัวลงของโลก และปัญหาภายในของเรา

เพราะฉะนั้นวันนี้ขอให้ทุกท่านช่วยกันแก้ปัญหาภายในให้มากที่สุด เพื่อที่เราจะได้เข้มแข็ง เผชิญกับปัจจัยภายนอก และ ทำให้เราสามารถที่จะยืนหยัดอยู่ได้ในการแข่งขัน ก็ขอขอบคุณท่านสื่อมวลชนทั้งหลาย หลายคนก็เป็นห่วงเป็นใย โทรไปให้กำลังใจ ก็ขอขอบคุณอีกครั้ง ขอขอบคุณครับ"

ที่มา: เดลินิวส์


ประมวลภาพต้อนรับอดีตนายกฯทักษิณกลับบ้าน

ประมวลภาพต้อนรับอดีตนายกฯทักษิณกลับบ้านเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ผ่านมา



นิราศร้างห่างไกลไร้ทำเนียบ
เย็นยะเยียบหนาวในใจสับสน
อันโลกใต้กะลาสาละวน
ชีวิตคนพบเพื่อพราก..จากเพื่อเจอ

แลเหลียวหลังเวียงวังดังป่าช้า
ไพรีมายึดพาราตอนคราเผลอ
ไปยูเอ็นเย็นใจให้เผอเรอ
กลับต้องเจอหมู่อมิตรคิดเอาชัย

กําแพงรอบขอบคูก็ดูลึก
ไม่น่าศึกโจรป่าจะมาได้
ยังให้มันข้ามเข้าเอาเวียงชัย
โอ้อย่างไรเหมือนบุรีไม่มีชาย

หรือทักษิณสิ้นเกณฑ์จึงสิ้นยุค
ไพรีรุกรบได้อย่างใจหมาย
ประชาชนมนตรีก็ดูดาย
แถมไปมอบดอกไม้ให้หมู่โจร

จากลอนดอนมาปักกิ่งช็อปปิ้งเกาะ
แล้วเลียบเลาะไปบาหลีพี่สับสน
คนทำดีอับปะรีย์กินสิ้นตัวตน
ต้องเป็นคนไร้แผ่นดินสิ้นรังนอน

สู้ลำบากตรากตรำทำเพื่อชาติ
กษัตริย์ศาสน์ราษฎร์รัฐชัดเจนก่อน
กลับเหยียบย่ำทำร้ายไม่อาทร
นกขมิ้นบินจรให้อ่อนแรง

ก้มลงกราบธรณินทร์ถิ่นกำเนิด
หวังชูเชิดยุติธรรมนำส่องแสง
หวังฟากฟ้ามีตาอย่าระแวง
หวังทุ่มแรงกายใจให้มาตุภูมิฯ

โดย คุณใต้หล้าฟ้าเขียว จากกระดานข่าวราชดำเนิน


เมื่ออดีตนายกรัฐมนตรี พตท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร รัฐบุรุษและสัตบุรุษในหัวใจมหาชนกลับคืนสู่มาตุภูมิ

แม้ตัวผู้เขียนเองในฐานะประชาชนคนไกลบ้านคนหนึ่งที่ยังรักและศรัทธาในตัวอดีตนายกรัฐมนตรี พตท. ดร. ทักษิณ ชินวัตรจะไม่สามารถเดินทางไปรับท่านกลับคืนสู่มาตุภูมิร่วมกับคนไทยอีกหลายพันคนที่ยังคงรักและศรัทธาในตัวท่านอย่างเหนียวแน่น ณ สนามบินสุวรรณภูมิได้ด้วยตนเอง

แต่ในวันนี้ผู้เขียนก็ขอแสดงความยินดีกับ อดีตนายกฯทักษิณเป็นอย่างยิ่งที่ท่านได้มีโอกาสหวนคืนสู่แผ่นดินเกิดที่ท่านรัก หวงแหนและภาคภูมิใจ หวนคืนสู่อ้อมกอดของครอบครัวและประชาชนที่ท่านรักและรักท่านพร้อมกับได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่จากคลื่นมวลมหาประชาชนที่ยังรักท่านมิเสื่อมคลายและเป็นการสัมผัส สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินที่เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของท่านเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ท่านถูกยึดอำนาจยังผลให้ท่านต้องลี้ภัยในต่างแดนนานร่วม 18 เดือน

ภาพที่ท่านก้มลงกราบธรณินทร์แผ่นดินเกิดเมื่อเดินออกมาจากห้อง วี ไอ พี นั้นสะท้อนถึงความรักต่อมาตุภูมิ การกตัญญูต่อแผ่นดินเกิดของอดีตผู้นำไทยพตท. ดร. ทักษิณ ชินวัตรนั้นยิ่งใหญ่เหนือสิ่งอื่นใด

ภาพนี้ล่ะค่ะที่เรียกว่า หนึ่งภาพแทนล้านคำบรรยาย หนึ่งภาพประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่คนไทยจะต้องจดจำมิรู้เลือน

การเป็นผู้นำนั้นว่ายากแล้วแต่การเป็นผู้นำที่สามารถสร้างศรัทธาให้เกิดในหัวในมหาชนได้นั้นยากยิ่งกว่าและเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า

อดีตนายกรัฐมนตรี พตท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร ท่านเป็นผู้นำที่เข้าไปนั่งกลางใจของมหาชนได้เพราะท่านกตัญญูต่อเงินเดือนที่ได้รับจากภาษีอากรของประชาชน ท่านกตัญญูกับการที่ประชาชนให้โอกาสท่านมาแสดงผลงาน มาทำงานให้เป็นที่ประจักษ์ ทั้งหมดนี้นั่นเพราะท่านมีกตัญญูต่อศรัทธาของประชาชนนั่นเอง

จึงสมควรแก่เหตุแล้วที่ในวันนี้ผู้เขียนจะขอเรียก อดีตนายกรัฐมนตรี พตท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร ว่าเป็นนักการเมืองที่เป็น "สัตบุรุษและรัฐบุรุษ" ท่านเป็นสัตบุรุษเพราะท่านเป็นนักการเมืองที่มีธรรมะ นั่นคือเป็นนักการเมืองที่นึกถึงประโยชน์ของประชาชนและสังคมเป็นที่ตั้งมากกว่าประโยชน์ส่วนตน การนึกถึงประโยชน์ของสังคมเป็นสำคัญนั้นจะอยู่บนพื้นฐานของการมีธรรมะ ในขณะเดียวกันท่านก็เป็นรัฐบุรุษด้วยเพราะ "รัฐบุรุษคิดถึงคนรุ่นใหม่เสมอ"

พตท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร จึงเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีเพียงคนแรกและคนเดียวของประเทศไทยที่ถูกมวลมหาประชาชนที่รักและศรัทธาในตัวท่านเรียกท่านว่า "ท่านนายกฯทักษิณ" จนติดปากอยู่เสมอแม้ท่านจะมิได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในปัจจุบันก็ตามเพราะท่านเป็น "นายกฯในดวงใจตลอดกาล" ของประชาชนนั่นเอง

ในราวเดือน เมษายน 2549 ที่ท่านนายกฯทักษิณประกาศเว้นวรรคทางการเมืองจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ขึ้นภายในประเทศ แม้นว่าท่านสมควรจะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพราะพรรคไทยรักไทยได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างท่วมท้นก็ตาม

ในวันนั้นผู้เขียนได้เคยมอบบทเพลงแห่งความหวังและกำลังใจ "You'll Never Walk Alone" นี้ให้กับท่านในยามที่ท่านต้องเจอกับมรสุมร้ายในชีวิต

มาในวันนี้ วันที่ท่านนายกฯทักษิณได้หวนกลับคืนสู่มาตุภูมิ หวนคืนสู่อ้อมกอดของครอบครัวและสู่อ้อมกอดของประชาชนอย่างสง่างามและกลับมากอบกู้เกียรติยศและศักดิ์ศรีของท่านและครอบครัวที่ถูกทำลายโดยคณะรัฐประหารกลับคืนมา จึงอยากจะขอมอบบทเพลงแห่งความหวังและกำลังใจ "You'll Never Walk Alone" ให้กับท่านนายกฯทักษิณ อีกครั้งค่ะ

"You'll Never Walk Alone"

... To PM.Thaksin with Love.
... แด่นายกฯ ทักษิณ ด้วยรักและศรัทธา
... You fight for good future.
... คุณต่อสู้เพื่ออนาคตที่สดใส

... When you walk through a storm.
... ยามที่คุณต้องเดินฝ่าพายุ
... Hold your head up high.
... จงเชิดหน้าของคุณให้แน่วแน่

... And don't be afraid of the dark.
... จงอย่ากลัวความมืด (อุปสรรค)
... At the end of the storm. Is a golden sky.
... สุดปลายทางของพายุ คือท้องฟ้าสีทองผ่องอำไพ

... And the sweet silver song of lark.
... และเสียงร้องไพเราะเสนาะโสตของสกุณี
... Walk on through the wind.
... จงลุยฝ่าพายุต่อไป

... Walk on through the rain.
... จงลุยฝ่าสายฝนต่อไป
... Tho' your dreams be tossed and blown.
... และอย่าโยนความฝันอันบรรเจิดของคุณทิ้งไป

... Walk on, Walk on,
... จงก้าวเดินต่อไป จงมุ่งหน้าฟันฝ่าต่อไป
... With hope in your heart.
... ด้วยหัวใจที่เปี่ยมล้นด้วยความหวัง

... And you'll never walk alone.
... แล้วคุณจะไม่มีวันโดดเดี่ยวเดียวดาย
... You'll never walk alone.
... คุณจะไม่มีวันเปล่าเปลี่ยวตามลำพัง

... God bless you safe and sound all time.
... พระเจ้าทรงอวยพรให้คุณก้าวเดินต่อไป ด้วยความสวัสดีมีโชคชัย

และขอเชิญรับชมวีดีโอคลิป ประมวลภาพเหตุการณ์ อดีตนายกรัฐมนตรี พตท. ดร. ทักษิณ ชินวัตรเดินทางกลับประเทศไทย



(เอื้อเฟื้อไฟล์สำหรับดาวน์โหลดโดยคุณ เกียรติมุข จากพันทิพราชดำเนิน)