Spiga

'เสียงเพรียกจากมาตุภูมิ' แด่...อดีตนายกฯทักษิณ



เหลืออีกเพียงแค่ 2 วันเท่านั้นที่อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตรจะเดินทางกลับถึงประเทศไทย มาตุภูมิที่ท่านต้องจำใจจาก

เป็นระยะเวลากว่า 18 เดือนที่อดีตนายกฯทักษิณต้องเดินทางรอนแรมอยู่ในต่างประเทศนับตั้งแต่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) เข้าทำการปฏิวัติรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งภายใต้การนำของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ที่ผ่านมาเป็นรัฐประหารที่อดีตนายกฯทักษิณและประชาชนไทยผู้รักประชาธิปไตยทั้งหลายไม่เคยคาดคิดว่ามันจะเกิดขึ้นได้อีกในโลกศตวรรษที่ 21

กว่า 1 ปีเศษภายใต้สถานการณ์รัฐประหารที่ผ่านมาประเทศไทยได้สูญเสียหลายๆสิ่งไปมากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องพัฒนาการทางด้านการเมืองที่ถอยหลังไปอีกสิบปี ไม่จะเป็นการสูญเสียโอกาสในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียทางด้านการสร้างความมีส่วนร่วมในสังคมของประชาชน และความสมานฉันท์จะไม่มีทางเกิดขึ้นตราบใดที่คนในสังคมบางส่วนไม่เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นด้วยกติกาเดียวกัน

ผู้เขียนรู้สึกปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งที่พรรคพลังประชาชนที่ได้รับการสนับสนุนจากอดีตนายกฯทักษิณ และภายใต้การนำของคุณสมัคร สุนทรเวชได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ที่ผ่านมาได้ที่นั่งในสภาฯไปเกือบครึ่งแต่ในความดีใจก็มีความผิดหวังอยู่บ้างที่ พรรคพลังประชาชนไม่สามารถได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดแบบ win outright marjority จนสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวให้สำเร็จได้

แต่การที่พรรคพลังประชาชนทีมสำรองได้รับคะแนนเสียงแบบทิ้งห่างอันดับสอง(สัดส่วน+เขต)อย่างพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) กว่า 60 ที่นั่งในการเลือกตั้งภายใต้เงาปืนแบบนี้ก็ถือว่ายอดเยี่ยมมากแล้วค่ะ เพราะตัวจริงอีก 100 กว่าคนที่ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองไป 5 ปีก็ไม่ได้ลงแข่งขันในสนามเลือกตั้งใหญ่ที่ผ่านมา

การเลือกตั้งที่ผ่านมาจึงถือว่าเป็นบันไดก้าวแรกในการต่อสู้เพื่อให้ได้ประชาธิปไตยที่เป็นของปวงชนจริงๆกลับคืนมาหลังจากที่ รธน.40และรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งถูกโค่นล้มลง

แต่ในขณะที่ประเทศสูญเสียโอกาสทั้งในด้านสังคม การเมือง เศรษฐกิจจากการทำรัฐประหารก็มีการก่อกำเนิดของแนวรบพลังประชาชนขึ้นมาใหม่ทั้งในโลกแห่งความจริงและในโลกอินเตอร์เนตและเป็นแนวรบที่จะรอวันเติบใหญ่แข็งแกร่งขึ้นตามลำดับในยุคศตวรรษที่21ยุคที่หลายประเทศต้องล่องไปตามคลื่นโลกาภิวัตร เพราะหากทวนคลื่นแล้วอาจจมดิ่งลงสู่ก้นมหาสมุทรได้

ผู้เขียนเองในฐานะที่ได้มีโอกาสตวัดปลายนิ้วบนคีย์บอร์ดต่อสู้กับขบวนการโค่นล้มทักษิณและรัฐประหารในช่วง 2 ปีเศษที่ผ่านมาตั้งแต่เกิดปรากฏการณ์ "ลูกแกะหลงทาง" ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ก็ให้รู้สึกไม่เหนื่อยเปล่าที่ในที่สุดแล้วพลังเผด็จการกลับพ่ายแพ้อย่างราบคาบให้แก่พลังประชาชนบนสังเวียนการต่อสู้ครั้งนี้ด้วยกติกาที่ตนเป็นผู้กำหนดขึ้นเอง แม้การต่อสู้เผด็จการเอาความถูกต้องกลับคืนสู่สังคมไทยในครั้งนี้จะเป็นเพียงการต่อสู้ทางตัวอักษรผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนตก็ตามแต่ผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาก็เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่าความคิดของเรามิได้ถูกโดดเดี่ยวจากโลกเสรีประชาธิปไตยแต่เป็นการเดินไปด้วยกันกับประชาคมโลก

จากที่เคยแต่ขีดเขียนเกี่ยวกับการเมืองระหว่างประเทศในช่วงหลายปีที่ผ่านมาและเฝ้ามองการเมืองไทยแบบห่างๆ

จากที่ไม่เคยให้ความสนใจการเมืองไทยมากนักเพราะเบื่อการเมืองที่ขาดการสร้างสรรผลงาน

จากที่ไม่เคยให้ความสำคัญกับนักการเมืองไทยเท่าไหร่เพราะหลายคนดีแต่ตีสำนวนโวหาร ผลงานไม่เป็นที่ประจักษ์ นึกถึงแต่ความอยู่รอดของตัวเองและพรรคแต่ไม่มีจิตใจรับใช้ประชาชนแบบทุ่มเทและยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ก็ต้องหันกลับมามองการเมืองไทยใหม่เมื่อถนนสายการเมืองสายนี้มีนายกรัฐมนตรีที่ชื่อ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตรและรัฐบาลพรรคไทยรักไทยก้าวเข้ามาบริหารประเทศ

อาจกล่าวได้ว่าท่านนายกฯทักษิณได้พลิกโฉมการเมืองไทยและเปลี่ยนพฤติกรรมของนักการเมืองไทยขึ้นมาใหม่ จากการเมืองที่เคยให้ความสำคัญแต่กับตัวบุคคลก็มาเน้นที่นโยบายและอุดมการณ์ของพรรคเป็นสำคัญ จากที่ไม่เคยมีรัฐบาลพรรคเดียวในเมืองไทยก็มีให้เห็นแล้วแถมเป็นรัฐบาลชุดแรกที่อยู่ครบเทอม (4 ปี) เรียกว่าการเมืองไทยยุค "ระบอบทักษิณ" เป็นยุคที่ "ฟ้าสีทองผ่องอำไพ" ทำการเมืองไทยให้งดงามเป็นประวัติศาสตร์ที่ต้องจดจำและจารึกไว้จริงๆค่ะ

ตลอดชีวิตของผู้เขียนที่ไม่เคยเสียน้ำตาให้กับนักการเมืองไทยคนไหนแต่ก็ต้องมาเสียน้ำตาให้กับพ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตรนักการเมืองผู้เป็นสัตบุรุษผู้นี้เป็นท่านแรกเมื่อครั้งที่ชีวิตการเมืองของท่านถูกมรสุมร้ายอมาตยาธิปไตยถาโถมพัดเข้าใส่และผู้เขียนเชื่อว่าหากพรรคพลังประชาชนยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางมีจุดยืนที่มั่นคงในหลักการที่ถูกต้องตลอดไปแล้วพรรคพลังประชาชนจะกลายเป็นพรรคที่ประชาชนรู้สึกเป็นเจ้าของได้อย่างสนิทใจและเป็นสถาบันการเมืองที่เติบใหญ่อย่างแข็งแกร่งได้ในอนาคตค่ะ

ในวันนี้ผู้เขียนจึงอยากจะขอมอบ บทเพลง "เสียงเพรียกจากมาตุภูมิ" ให้กับ อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในยามที่ท่านกำลังจะได้กลับคืนสู่มาตุภูมิหลังจากที่ต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างแดนช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา

"เสียงเพรียกจากมาตุภูมิ" บทเพลงในอดีตจากจิตร ภูมิศักดิ์ที่สะท้อนถึงความรักต่อมาตุภูมิของจิตรนั้นยิ่งใหญ่เหนือสิ่งอื่นใด

เช่นเดียวกับอดีตนายกฯทักษิณในตอนนี้ต่างกันแค่บุรุษหนึ่งเดินทางรอนแรมอยู่ในป่า บุรุษอีกท่านเดินอยู่ท่ามกลางป่าคอนกรีตของมหานครลอนดอน

นี่คือความรักความศรัทธาของสองบุรุษที่ทำให้เขายืนหยัดอยู่ได้อย่างทรนงเพื่อที่วันหนึ่งจะได้มีโอกาสกลับสู่มาตุภูมิอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี

MV ชุดนี้ทางทีมงาน thaksin.wordpress.com ได้จัดทำขึ้นราวเดือนพฤษภาคมปีที่แล้วเพื่อประมวลเหตุการณ์วิกฤติการณ์การเมืองไทยตั้งแต่สมัยที่ ดร. ทักษิณ ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทยและถูกยึดอำนาจการปกครองในเวลาต่อมาทำให้ท่านต้องลี้ภัยการเมืองอยู่ในต่างประเทศร่วม 18 เดือนแต่เสียงเพรียกจากมาตุภูมิ เสียงร่ำร้องจากประชาชนที่ยังรักและศรัทธาในตัวท่านต้องการเห็นท่านกลับคืนสู่แผ่นดินไทยอีกครั้งมิได้แผ่วเบาลงแต่อย่างใด ... จากวันนั้นจนถึงวันนี้

MV เสียงเพรียกจากมาตุภูมิ บทเพลงและสไลด์โชว์ชุดนี้ขอมอบให้แด่ …อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร นายกฯที่สามารถเข้าไปนั่งอยู่ในหัวใจมหาชนได้อย่างสง่างามและวีรบุรุษของชาวรากหญ้าผู้นี้ค่ะ



' ไฮ-ทักษิณ' ระบุอดีตนายกฯทักษิณเดินทางกลับถึงไทยในวันที่28 กพ.นี้แน่นอน



Former Thai Prime Minister Thaksin Shinawatra is due to return from exile on Thursday, 18 months after he was ousted in a bloodless 2006 coup, a website run by his supporters said on Monday.

An advertisement on www.Hi-thaksin.Org urged his supporters to welcome “Prime Minister Thaksin Shinawatra: The One We Love & Miss For Years” At Bangkok airport at 0200 GMT on February 28.

ในที่สุดวันที่พวกเราทุกคนรอคอยก็มาถึง

วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ นี้ เวลา 09.00 น. นายกฯทักษิณ ชินวัตร จะเดินทางกลับมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิ

ผมได้รับ Mail แจ้งข่าวนี้จากสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัวชินวัตร ผู้ซึ่งเคยเป็นช่องทางการสื่อสารระหว่าง นายกฯทักษิณ ชินวัตร กับ Hi-thaksin ในช่วงต้นๆ ที่เราติดต่อขอให้ท่านส่งคลิปวิดีโอ มาให้พวกเราได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร ได้ยินได้ฟังสุ้มเสียงของท่าน ได้รู้ได้เห็นความคิด ความอ่าน และความเป็นอยู่ของท่าน ในต่างประเทศ

วินาทีที่เปิด Mail แจ้งข่าวชิ้นนี้ ผมมีอาการหัวใจเต้นแรง และดีใจเหลือประมาณ ที่ได้รับข่าวดีที่เชื่อว่าพวกเราซึ่งเป็นคนรักทักษิณ ชื่นชมศรัทธาการทำงานของท่าน และเฝ้ารอการเดินทางกลับบ้านของท่านมานานนับปี จะได้สมหวังกับการรอคอยเสียที

นับจากวันนี้ไปถึง 28 กุมภาพันธ์ ก็เหลือเวลาอีกเพียงแค่ 2 วันเท่านั้น ไม่นานเกินไป ไม่กระชั้นเกินไป ที่พวกเราจะเตรียมตัวไปต้อนรับนายกฯทักษิณ ของเรา

1 ปีเศษนับแต่ท่านจากประเทศไทย จากพวกเราไปเมื่อต้นเดือนกันยายน 2549 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ นี้ จะเป็นวันแรกที่ท่านจะกลับมายืนบนผืนแผ่นดินไทยอีกครั้ง หลังจากที่พวกเราประชาชนได้ร่วมกันแสดงพลังโค่นล้มเผด็จการคมช. ไปด้วยมือของเรา เมื่อวันที่ 23 ธันวา คม ที่ผ่านมา

1 ปีเศษที่เราเฝ้ารอด้วยความกระวนกระวายใจ ด้วยความห่วงใจ ด้วยความรักและคิดถึง เหลืออีกเพียง 2 วันเท่านั้น ที่การรอคอยของเราจะสิ้นสุดลง ด้วยความสุข สมหวัง ดังที่เราคาดหมายไว้

1 ปีเศษที่เรามารวมตัวกันที่นี่ ที่เวปไซต์ Hi-thaksin และร่วมกันสร้างเวปไซต์นี้ให้เป็นชุมชนคนรักทักษิณ ที่มีพลังแห่งความรักอันยิ่งใหญ่ส่งไปให้แก่คนที่เรารัก อย่างไม่เสื่อมคลาย วันนี้ ถึงเวลาแล้วที่เราจะได้พิสูจน์หัวใจของคนรักทักษิณ ว่ายิ่งใหญ่ และอบอุ่น จริงดังที่พวกเราพร่ำพูดกันในเวปไซต์นี้หรือไม่

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ นี้ เวลา 09.00 น. ที่สนามบินสุวรรณภูมิ จะเป็นวันที่พวกเราคนรักทักษิณ จะได้แสดงความรักของพวกเราให้เป็นที่ประจักษ์แก่คนทั้งประเทศ และคนทั้งโลก ว่า ความรัก ความผูกพันที่พวกเรามีต่อนายกฯทักษิณ ชินวัตร นั้นหนักแน่นและจริงใจต่อกันเพียงใด

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ นี้ เวลา 09.00 น. ที่สนามบินสุวรรณภูมิ จะเป็นการแสดงพลังของประชาชนที่นิยมศรัทธานายกฯทักษิณ ชินวัตร เพื่อเป็นเกราะคุ้มครองชีวิต และรักษาความปลอดภัยแก่คนที่เรารัก เพื่อให้กลุ่มคนที่มุงหมายปองร้ายได้ประจักษ์ และสยบยอมต่อพลังของประชาชน ในที่สุด

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ นี้ เวลา 09.00 น. ที่สนามบินสุวรรณภูมิ จะเป็นวันที่พวกเราคนรักทักษิณ จะได้อิ่มเอมหัวใจกันเสียที

แล้วพบกันวันที่ 28 กุมภาพันธ์ นี้ เวลา 09.00 น. ที่สนามบินสุวรรณภูมิ นะครับ

ผมจะรอทุกท่านที่สนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อร่วมกันต้อนรับนายกฯทักษิณ ชินวัตร กลับคืนสู่แผ่นดินไทย กลับมาอยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร่วมกันกับพวกเรา อีกคราครั้งหนึ่ง


ที่มา: Hi-thaksin


Deposed Thai Prime Minister Thaksin Shinawatra 'poised' to return Thursday

Deposed Thai Prime Minister Thaksin Shinawatra 'poised' to return Thursday: lawyer


The Associated PressPublished: February 26, 2008

BANGKOK, Thailand: Deposed Thai Prime Minister Thaksin Shinawatra will return to Thailand from 17 months of exile abroad Thursday to fight corruption charges, a pro-Thaksin Web site and one of his lawyers said.

The Web site, http://www.hi-thaksin.net/ , posted a picture Tuesday of the deposed prime minister with his right hand raised giving the victory sign, along with his son and a crowd of supporters, superimposed over an image of Bangkok's international airport.

It urged supporters to greet Thaksin at the airport at 9 a.m. Thursday.


Welcome home Prime Minister Thaksin Shinawatra, whom we love, miss and have
been waiting to return for over a year, the Web site said in Thai.


The chief of Thaksin's legal defense team, Pichit Chuenban, confirmed Thaksin is "poised to return." He said Thaksin will surrender to police when he arrives and seek his release on bail.

Thaksin was ousted in a September 2006 military coup for alleged corruption and abuse of power. His diplomatic passport, which was revoked after the coup, was returned to him last week and opened the door for his return.

Thaksin and his wife Pojaman face corruption and conflict of interest charges in connection with her purchase of prime Bangkok real estate from a state agency in 2003, while he was prime minister. Pojaman returned in January and was released on bail pending trial.

Thaksin also faces separate charges of concealing assets. Rakkiat Wattapong, the Supreme Court secretary general, Monday said Thaksin would be detained when he arrives in Thailand.

Thaksin was abroad at the time he was ousted, and now lives mostly in London. After his allies won the December elections and formed a new government, Thaksin said he planned to return.

Those involved in toppling Thaksin attempted unsuccessfully to dismantle his political legacy. After the coup, Thaksin's Thai Rak Thai party was disbanded by court order. He and his party's 110 executive members were barred from holding public office for five years.

The People's Alliance for Democracy, which spearheaded months of demonstrations demanding Thaksin step down before the coup, said the group had no problem with Thaksin returning to face corruption charges.

But it said it will fight any attempt by the new government to intervene with the judiciary to clear the former leader.


PAD is warning this government the political crisis will be worse than in 2006
if it continues to whitewash the charges against Thaksin, PAD spokesman
Suriyasai Takasila said.



Thousands will take to the streets again if Thaksin returns and does not face
trial in court in accordance with the law.



Cuba After Fidel

Can the society he ruined get back on its feet?
by Duncan Currie
03/03/2008, Volume 013, Issue 24

In January 1959, during the early days of the Cuban revolution, Fidel Castro declared, "Behind me come others more radical than me." It was a reference to the hardcore Stalinists such as his younger brother, Raúl, and also a warning of what might ensue should Fidel be assassinated. Today, however, Raúl is thought to be the more pragmatic of the two Castros--more willing to liberalize the economy and to pursue normalized relations with the United States.

Despite what you may have read, the post-Fidel era did not begin last week when the dictator's retirement was made official. It began about 19 months ago, in the summer of 2006, when Fidel was hospitalized and the 76-year-old Raúl became Cuba's interim president. He has forged a collective leadership and preserved stability on the island. Raúl is likely to be "elected" president at the February 24 Cuban National Assembly gathering, though there has been some speculation that Carlos Lage, the 56-year-old vice president, might become the formal chief executive and that the younger Castro would keep a separate leadership title. The nature of a Raúl-led regime is shrouded by uncertainty. But the factors that will determine the future of post-Fidel Cuba, and of U.S. policy toward Cuba, are obvious.

The military. Raúl has headed the Cuban military for decades. Brian Latell, who spent three decades following Cuba as a CIA officer, argued in his 2005 book, After Fidel, that "Raúl was his brother's one truly indispensable ally" and that his "brilliant, steady leadership of the Cuban armed forces secured the revolution." Post-Fidel Cuba has essentially been run by a civil-military committee and that won't soon change. "Civilian elites, individually or in any conceivable alliances, will be unable to challenge the military as long as it remains united," Latell wrote. "The Communist Party and popular organizations are hollow shells that have been allowed by the Castros to fade in importance." According to Jaime Suchlicki, a Cuba expert at the University of Miami, the Cuban military now "controls more than 50 percent of the economy," including a large portion of the tourism industry. They are the real power brokers.

Latell made another crucial point: A Tiananmen Square-type incident could cleave apart the military and topple the regime. "Even if the survival of the revolution were at stake, many troop commanders would probably be unwilling to fire indiscriminately on protesting civilians." If ordered to do so, some of the elite paramilitary forces might carry out a massacre, Latell added. "But that could be the surest formula for civil war, pitting loyalist and dissident commanders and units against each other."

China. While Fidel has disavowed the Chinese economic model, Raúl is said to favor it. The Wall Street Journal reported in November 2006 that "Raúl has traveled to China a number of times to study Beijing's economic policies, and in 2003 he invited the leading economic adviser to China's then-premier Zhu Rongji, who played a leading role in opening up China to foreign trade and investment, to give a series of lectures in Cuba." Raúl also supported the modest free-market initiatives devised by Lage in the early 1990s.

China is cranking up its investment in Cuba and boosting bilateral ties. There seems little doubt that Cuba's new leaders will seek to borrow from the Chinese blueprint and mix political repression with expanded economic freedoms. But they will do so warily, and probably through piecemeal reforms (starting with agriculture).

Helms-Burton. If Cuba embraced the Chinese model, would America scrap its embargo? The 1996 Helms-Burton Act stipulates that before the U.S. embargo can be lifted or diplomatic recognition granted, the Cuban government must not include Fidel or Raúl Castro, and it must meet a series of democratic benchmarks, such as legalizing all political activity, releasing all political prisoners, abolishing certain state security forces, and pledging to hold free elections. "It's an all-or-nothing approach," complains a former Bush administration official. "There's no room in U.S. policy for an incremental transition."

Peter Orr, a retired Foreign Service officer who served as Cuba coordinator at the U.S. Agency for International Development under President Clinton, disagrees. "There is nothing in Helms-Burton that impedes an incremental strategy," Orr told me via email. "Yes, the bar to formal diplomatic recognition and direct assistance to the Cuban government has been codified at a fairly high level that is not going to be met in the near term following Fidel Castro's demise. But the same Helms-Burton legislation authorized the president to take steps to promote democratic change in Cuba, including but not limited to providing assistance to the Cuban people and promoting information flows and people-to-people engagements that would further democratic change."

Even under Helms-Burton, "the president has a wide degree of discretion to make the determination of what constitutes a step that will promote democratic change"--and nothing bars U.S and Cuban officials from talking or negotiating.

Venezuela. In recent years, Venezuelan president Hugo Chávez has lavished Cuba with petroleum largesse. In 2006, according to Jorge Piñón and his colleagues at the University of Miami's Cuba Transition Project, "the market value of Venezuela's crude oil and refined products exports to Cuba amounted to over $3.3 billion." In 2007, they reckon, Venezuelan oil subsidies to Cuba might well have eclipsed $4 billion.

Chávez and Fidel get on famously, but Raúl has remained more distant from the Venezuelan leader. "The bulk of evidence suggests that the two men have little in common and are more rivals than allies," notes Latell. Many Cuban military officers are said to be dismissive of the buffoonish Chávez and resentful of their dependence on Venezuelan oil. For that matter, Chávez has been weakened at home: He lost a December referendum on constitutional reform and has alienated many onetime supporters. If the future of Venezuelan aid to Cuba is uncertain, the consequences of its withdrawal are clearer. If Caracas withdrew those subsidies, says the former Bush administration official, "there would be a crisis [in Cuba] as big as the one that attended the fall of the Soviet Union."

Migration. Once Fidel dies, "I don't think Raúl can keep it together," a senior Bush administration official told me late last year, noting that things could get "very bloody." Raúl has dodgy health, no charisma, and a reputation for brutality--not exactly the makings of a transformative figure. If the regime loses control and violence engulfs the island, it could spur a massive migration to Florida.

The 1980 Mariel boatlift brought around 125,000 Cubans to American shores; the 1994 balsero frenzy saw nearly 40,000 Cubans intercepted by the U.S. Coast Guard. Any major post-Fidel instability could trigger another huge exodus. "It could be bigger than Mariel," Latell told me.

"I would like to think that a U.S. president would put promoting democratic change in Cuba above concerns about uncontrolled immigration, but I don't believe any administration in recent times has and I'm skeptical that even Fidel's death will change that," says Orr. "Even in the absence of gradual political change, economic progress in Cuba becomes imperative if an immigration crisis is to be avoided, if and when sudden political change occurs. This logic suggests that a successful implementation of the Chinese model in Cuba would serve U.S. interests of minimizing the risk of an illegal immigration crisis."

Fidel Castro's 49-year tyranny hasn't just ruined the Cuban economy; it has also ruined Cuban society, producing generations of Cubans who have learned to "succeed" in life by lying, spying, cheating, and stealing. Trying to fashion a market-oriented, democratic culture out of the wreckage of five decades of bloodstained totalitarianism will not be easy, no matter who is in charge.

If post-Fidel Cuba adopts the Chinese economic model, as expected, the lot of ordinary Cubans will improve. But the road to full-blown democracy will likely be slow, fitful, and deeply frustrating to Cubans on both sides of the Florida Strait, who have waited half a century for their homeland's long national nightmare to end.

Duncan Currie is managing editor of the American.

Source: Weekly Standard

Related stories


รายการสนทนาประสาสมัครครั้งที่3

รายการสนทนาประสาสมัคร อาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 08.30-09.30 น




สวัสดีครับ


ผมสมัคร สุนทรเวช ครับ วันนี้มาพูดจาประสาสมัครเหมือนอย่างเคย เริ่มต้นอยากจะเรียนว่าอยากจะขอบพระคุณ นาน ๆ จะมีหนังสือพิมพ์เขาลงข่าวเขียนถึงผมในทางที่ดี ขอบพระคุณหนังสือพิมพ์มติชน คุณเสถียรพงษ์ วรรณปก ท่านเขียนถึงผม อ่านเมื่อตอนเช้านั่งมาในรถ ธรรมดาไม่ค่อยอ่าน เห็นว่ารูปกำลังไหว้พระ ขอบพระคุณจริง ๆ ครับ ท่านเขียนหนังสือ ท่านมีข้อสอบถามมา 3 ข้อ ผมจะพยายามงวดหน้าผมจะพูดเกี่ยวกับงานพระพุทธศาสนาที่ท่านฝากผมไว้ ขอเรียนสั้น ๆ ตรงนี้ พออ่านจบเมื่อสักครู่นี้ก็เรียนไว้แล้ว ใช้เวลาอภิปรายนโยบายรัฐบาล 3 วัน

ถัดไปอยากจะพูดถึงว่าอาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร อาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นอาทิตย์ที่งานหนักหน่อย เพราะวันที่ 18,19,20 กุมภาพันธ์ 3 วัน ไปให้รัฐสภาตรวจสอบ มาทั้งสองสภาเลย ตรวจสอบนโยบาย ก็สนุกเหมือนกัน 40 ชั่วโมงโดยประมาณ 3 วัน ความจริงท่านจะเห็นผมโผล่บ้าง ผมนั่งอยู่ข้างหลัง เพราะมีห้องนายกรัฐมนตรีและมีจอให้ดู เวลาที่หนังสือมาเป็นแฟ้มผมก็นั่งเซ็นข้างหลังและก็ฟังไปดูไป ได้กินข้าวข้างหลังบ้าง ถึงเวลาก็ขึ้นมานั่งบ้าง เพราะให้รู้ว่าอยู่ไปไหนไม่ได้ครับเป็นขบวน ผู้คนเขาก็รู้ว่าไป บางทีผมไป 2 คัน บอกให้ทราบว่า 3 วันอยู่ข้างใน นั่งฟัง จนกระทั่งวันสุดท้ายที่ต้องออกไปงานหน่อย ที่พูดตรงนี้ให้ฟังคือว่าเรื่องทั้งหมดในสภาสุดท้ายก็จบลงเกือบตีหนึ่ง

มอบนโยบายหัวหน้าส่วนราชการ 25 ก.พ.

เสร็จงานวันนั้น วันที่ 21 กุมภาพันธ์ได้พักหนึ่งวัน ก็มีงานตักบาตร ในวังด้วย เรียกว่าได้พักวันหนึ่ง พอถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ก็เริ่มทำงาน ความจริงงานจะเริ่มจริง ๆ วันที่ 25 กุมภาพันธ์คือพรุ่งนี้ครับ จะนัดข้าราชการระดับปลัดกระทรวงมารับฟังนโยบาย คือนโยบายเขียน เขียนแล้วก็เอาไปให้เขาตรวจสอบในสภา จากสภาตอนนี้เอามาให้ข้าราชการ แปลเป็นว่าเขาจะต้องทำอะไรอย่างไร พอทำงานเสร็จวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ก็เริ่มดำเนินงานเลย

ความร่วมมือเศรษฐกิจระหว่างไทยและเขตคันไซ

แต่ก่อนวันที่ 25 กุมภาพันธ์ มีวันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ มีแขกมาเยี่ยม 2 คณะ ทีแรกก็ไม่ได้ดูอะไรอื่น ตั้งใจไว้เลยว่าคณะไหนจะแบ่งปันก้นไป รองนายกรัฐมนตรี 6 คนให้ท่านแบ่งกันรับบ้าง คณะนั้นคณะนี้ มาจากญี่ปุ่นเรียกว่า เขตเศรษฐกิจคันไซ (นายฮิโระชิ ชิโมะสุมะ ประธานสมาพันธ์ธุรกิจเขตคันไซ) เขามีคันโตกับคันไซ มี 9 จังหวัดญี่ปุ่น ยกกันมา 16 คน พอดูว่า เขาก็มีหมายเหตุมาว่าเป็นคณะแรกที่มาฟังความในเรื่องธุรกิจการค้า ผมบอกอย่างนั้นผมก็รับเอง ก็ไปรับเขาได้คุยกันชั่วโมงหนึ่ง เลยได้ทราบว่าเขาคิดกับเราอย่างไร เขาตั้งใจมาดี สนามบินคันไซที่เราได้ยิน เมืองโอซากา เมืองเกียวโต ก็อยู่ย่านนี้ 9 จังหวัด เป็นการแสดงเครื่องหมายที่ดีว่าพอมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว ธุรกิจการค้าก็กลับมาเหมือนเดิม ตอนผมปราศรัยผมก็บอกว่า สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป หันหลัง จีนหันข้าง ญี่ปุ่นหันข้าง ตอนนี้ญี่ปุ่นหันหน้าแล้ว ยกคณะมาเลย ก็รับ

คองเกรสแมนจากสหรัฐฯ มาพบ

เสร็จแล้วก็มีคณะเล็ก ๆ เขาเรียกว่า “คองเกรสแมน” (Congressman) จากสหรัฐอเมริกา ขอมาสนทนา ธรรมดารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอยู่ ก็อาจจะฝากรัฐมนตรีต่างประเทศคุย พออ่านดูเขาก็มีหมายเหตุอีกว่า เป็นคณะแรกที่มา จากพรรค Democrat 4 คน พรรค Republican 2 คน เขาเป็นคณะกรรมาธิการ เขาจะมาฟังความว่า บรรยากาศในประเทศไทยเกี่ยวกับการเมืองหลังจากการเลือกตั้ง และมีรัฐบาลใหม่ ต้องขอเจรจาความเองอีก คือหมายความว่ารับแขกเอง คุยกัน 11.30 น. เลิกคุยอีก 5 นาทีบ่ายโมง ผมก็คุยแล้วไม่ได้ดูนาฬิกา คุยไปเรื่องสบาย ๆ มา 6 คนก็มี 6 ความเห็น 6 คำถาม นั่งคุยและพยายามตอบทุกคำถาม คือเราคุยให้เขาฟังครึ่งทาง และเหมือนตอบคำถามกลายๆ ก็ได้ประโยชน์ครับ เขาก็อยากฟังความของเรา เราก็บอกว่าเราเป็นอย่างไร เขาอยากรู้ต่อไปอีก เราก็คุยกับเขาอธิบายความ ทั้งหมดอยู่ในขอบเขตนะครับ เที่ยวไปลงข่าวกันว่าฝรั่งประหลาดใจว่าสมัครคุยแต่เรื่อง 6 ตุลาคม 2519 ไม่มีหรอกครับเรื่องอย่างนั้น ทำไมถึงต้องเขียนกันอย่างนั้นก็ไม่ทราบได้ ผมก็ทำหน้าที่ของผม พอเสร็จเรียบร้อยแล้วก็คุยกับเขาเป็นที่เข้าใจกัน

นายกฯ เป็นประธานคณะกรรมการ 5 คณะดูแลโครงการใหญ่

วันพรุ่งนี้ (25 ก.พ.) ก็จะประชุมข้าราชการ ตามที่ลำดับความไว้ว่าเราจะดำเนินการอย่างไร เขาเตรียมการว่าผมจะต้องพูดกับข้าราชการ แต่ในขณะเดียวกันเมื่อผมมีโอกาสพูดกับท่านที่เป็นเจ้าของประเทศทั้งหลาย ผมก็ควรจะบอกว่าและผมจะทำอย่างไรเรื่องนี้ จะบอกเลยว่าโครงการที่ใหญ่ ๆ 5 โครงการ คือ โครงการขนส่งมวลชนในเมืองหลวง โครงการรถไฟทั่วประเทศ โครงการเรื่องน้ำ โครงการเรื่องเศรษฐกิจ การแพทย์ มี 5 โครงการใหญ่ จะตั้งใจดำเนินการคือว่าทำเป็นคณะกรรมการ 5 คณะ นายกรัฐมนตรีนั่งเป็นประธานทั้ง 5 คณะ เพื่อจะไม่ได้ปล่อยให้รัฐมนตรีไปดำเนินการโดดเดี่ยว เรื่องที่จะลงมือทำภายใน 1 ปีนี้ ลงมือเลยครับ การลงมือคือทุกเรื่องเขาจะได้มีคณะกรรมการ และจะตามไปดูมีการประชุม และเรื่องที่จะส่งลงไปดู ก็มีเรื่องความเป็นไปได้ เรื่องปฏิบัติการ เป็นอย่างไร คือเริ่มลงมือทำงานเลย เรื่องขนส่งมวลชนก็จะเดินหน้าไป จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างไร เราก็เดินหน้าไปถึงการประมูล ญี่ปุ่นมาเขาบอกว่าท่านทูตขอคุยกับผมก่อน ท่านทูตบอกเลยว่าเรื่องอะไรต่าง ๆ เงินกู้ที่คั่งค้าง ดอกเบี้ยร้อยละ 1.4 เป็นความปรารถนาดี ผมนึกถึงที่ผมเคยรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง เขาถามว่าเลือกตั้งมาแล้วต่อไปจะเป็นอย่างไร ผมบอกว่าบ้านเมืองก็กลับมาสู่สภาพเดิม ผมบอกให้กลับสู่สภาพเดิมก็เริ่มออกเดินทางได้แล้ว มาเรียนให้ทราบไว้ว่าบัดนี้กลับสู่สภาพเดิม เขามาจัดการมาติดต่อมาทำการค้าขาย มีการลงทุน ก็ทยอยกันมาเรื่อย บอกให้ท่านทราบไว้ว่า ถึงเวลาจะได้ทำงานแล้ว กรรมวิธียืดเยื้อเยิ่นเย้อ เลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 กว่าจะเข้ามาสภาได้ 22 มกราคม 2551 กว่าจะเสร็จได้ถวายสัตย์ปฏิญาณ 6 กุมภาพันธ์ มาถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ถึงจะเอานโยบายเข้าสภา วันที่ 22 กุมภาพันธ์ แขกบ้านแขกเมืองมากันแล้วมาเจรจาความ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ก็ไปถึงข้าราชการ หลังจากนั้นแล้วพวกผมก็ลงมือทำงาน ก็เรียนให้ทราบเป็นระยะ ๆ รายการอย่างนี้มีประโยชน์ตรงนี้ครับ ที่มาลำดับความให้ฟังไว้

รัฐบาลยังดำเนินนโยบายปราบปรามยาเสพติด

ทีนี้มีอะไรไหมที่อาทิตย์ที่แล้วพูดจากันแล้ว ไม่ค่อยเป็นที่เข้าใจกัน บางอย่างผมก็ไม่อยากจะพูดเขาตัดประเด็น ถ้าพูดก็ไปพูดกันในสภา ไม่มีปัญหา มีสิทธิที่จะสอบถาม ผมจะตอบให้ แต่เรื่องที่จะต้องสนทนากันคือบางครั้งบางคราวเวลาที่ให้สัมภาษณ์ธรรมดา เขาตอบเขาถาม คนที่นั่งดูเขาบอกเลยครับ คุณสมัครเอาอีกแล้วไปตอบโต้ไปชี้แจง ผมก็บอกว่าโดยสัญชาตญาณของผม คือจะพูดจาถามไปถามมา ผมจะพูดเป็นครั้งสุดท้ายกับท่านผู้ชมที่นั่งอยู่ทั้งหมด คำที่บอกว่านโยบายฆ่าตัดตอน ประหลาดไหมครับ ใช้คำว่านโยบายฆ่าตัดตอน ซึ่งจะพูดกันยาว ๆ แบบนินทากัน นโยบายปราบปรามยาเสพติดอย่างเด็ดขาด แล้วผลจากการปราบปรามนั้น เหตุที่แล้วมานั้นมีการกล่าวหากันว่า รัฐบาลนั้นไปฆ่าตัดตอนผู้คน 2,500 คน ผมถามจริง ๆ ตามสำนวนผมว่าแล้วเป็นไปได้อย่างไร ก็ตรวจสอบไปแล้ว ตำรวจบอกว่ามีที่เขาเรียกว่าวิสามัญฆาตกรรม คือตำรวจไปจับไปยิงแล้วต่อสู้กัน ฆ่ากันตาย 59 ราย ซึ่งทุกรายตำรวจต้องขึ้นศาล นอกเหนือไปกว่านั้น ก็พยายามอธิบายให้ฟังเลยบอกว่า เขาค้ากัน เราตรวจสอบ เราให้ยกนิรโทษกรรมให้คน 6 แสนคน พวกค้าเม็ดสองเม็ด อะไรต่าง ๆ ก็เอาตัวมา แล้วก็สอบย้อนขึ้นไป พอสอบขึ้นไป ใกล้ถึงตัวการก็ฆ่าตัดตอนกัน คำนี้แหละครับขอทำความเข้าใจ พูดอย่างไร

ผมก็ไม่อยากจะไปตำหนิสื่อสารมวลชน แต่ไป ๆ มา ๆ คำว่า “ฆ่าตัดตอน” นั้น กลายเป็นนโยบายซึ่งผมต้องย้อนถามเวลาที่เขาพูดกัน ผมถามว่าทำไมถึงได้เดือดร้อนแทนพวกค้ายาเสพติดกันนัก ก็บอกว่าผู้บริสุทธิ์ถูกฆ่า ผมบอกว่าผู้บริสุทธิ์จะถูกฆ่าได้อย่างไร ถ้าเผื่อตำรวจวิสามัญฆาตกรรม ตำรวจก็ต้องขึ้นศาล และถ้าเขาไปตัดตอนฆ่ากันเอง เราจะต้องไปรับผิดชอบ แล้วจะมาอ้างอย่างนั้นอย่างนี้จะทำอย่างไร ใครจะฆ่าใคร ก็มีกฎหมาย ทุกอย่างทุกคนแม้จะฆ่ากันเองก็ต้องมีกฎหมายเข้าไปถึง ต้องเข้าใจแบบนี้นะครับ มาถามตาย 5,000 เป็นอย่างไร ถ้าถามแบบนี้ก็บอกว่าทำไมจะฆ่าตัดตอนกัน 5,000 ต้องเป็นเรื่องของพวกฆ่าตัดตอน กลายเป็นว่าเอาอีกแล้ว สมัยนายกรัฐมนตรีคนก่อนฆ่าไป 2,500 นายกรัฐมนตรีคนนี้ร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทยจะฆ่า 5,000 ไปกันใหญ่เลย แบบไม่เข้าเรื่องเข้าราวเลย แล้วถามว่าตกลงจะเป็นคนดีไม่ให้มีเรื่องอย่างนี้ ก็ไม่ต้องทำนโยบายปราบยาเสพติด ไม่ได้หรอกครับต้องทำ และมาทำแล้วก็จะเกิดอย่างนี้

คำที่ผมพูดไป กลายเป็นว่าออกไปรายงานข่าวแล้ว เหมือนผมเป็นคนร้าย เป็นคนใจร้าย เป็นคนอะไรต่าง ๆ ผมบอกนโยบายดำเนินการเหมือนเดิมทุกอย่างครบถ้วนหมด ถ้าเผื่อตำรวจไปวิสามัญฆาตกรรม ตำรวจต้องรับผิดชอบขึ้นศาล นอกเหนือไปกว่านั้น ถ้าเขาไปฆ่ากันเอง แล้วเราจะทำอย่างไร คำนี้แหละครับสื่อสารมวลชนไม่ยอมเข้าใจ อะไร ๆ ก็ฆ่าตัดตอน เดี๋ยวนี้ใช้ว่าอย่างไร นโยบายฆ่าตัดตอน ได้อย่างไรครับนโยบายฆ่าตัดตอน ผมต้องพูดกับท่านทั้งหลายที่เป็นเจ้าของประเทศ เรามีนโยบายต้องปราบปรามยาเสพติด ลูกหลานท่านทั้งหลายจะได้ไม่ต้องโดน เกือบ 2 ปียาเสพติดเข้ามาอีก ก็กลับให้อยู่ที่เดิม เท่านั้นแหละครับท่านผู้เป็นเจ้าของประเทศทั้งหลาย ท่านต้องช่วยกันเข้าใจด้วย คำว่าปราบแล้ว ถ้าเผื่อตำรวจเอาไล่จับกัน ต่อสู้กัน อย่างนี้วิสามัญฆาตกรรม ตำรวจต้องรับผิดชอบ ต้องไปขึ้นศาล เรามีหมายครบถ้วน แต่เมื่อสอบไปจะหาถึงตัวใหญ่ เขาก็เกิดตัดตอนกันเอง อย่างนี้ผมเข้าใจว่าท่านประชาชนทั้งประเทศคงจะเข้าใจความหมายนี้ว่า ถ้าเขาไปฆ่ากันเอง แล้วนโยบายนี้จะต้องยุติหรืออย่างไร ชอบพูดกันไปถึงสหประชาชาติ ไปอ้างอิงต่าง ๆ คนที่อยู่ไกลทางโน้นก็ไม่ฟังอะไร มันเป็นไปได้ไหม เหมือนกับว่าเราสั่งให้ตำรวจเอาปืนไปไล่ยิง ๆ แล้วบอกว่าเดือนนั้นต้องได้เท่านั้น ไม่มีครับ นโยบายคราวนี้ไม่มีว่าเดือนนั้นต้องฆ่าเท่านั้นเท่านี้ ไม่มีหรอกครับ และไม่ได้ไปสั่งให้ฆ่าด้วย ถามว่าถ้าเขาไล่จับกันอยู่ ยาเสพติดอยู่ในรถ เขาวิ่งไล่กันไป ทางโน้นยิงมาทางนี้ยิงไป แล้วก็เกิดคดีการตายกันขึ้นมา อย่างนี้ตำรวจต้องไปขึ้นศาล ศาลต้องพิจารณา ถ้าเขาไปตัดตอนกันเอง แล้วเราต้องรับผิดชอบ

ผมย้ำนะครับเหมือนกับพูดวนไปวนมาในอ่าง แต่ต้องพูด พอพูดก็บอกว่าเอาอีกแล้วสมัคร พูดจารุนแรงอีกแล้ว ตอบโต้ ผมจะพยายามที่แนะนำมาขอบคุณครับ เพราะเวลามานั่งดูโทรทัศน์แล้ว คนนั้นถามคนนี้ถาม ฟังแล้วผมต้องใช้คำว่าถามโดยไม่มีเหตุผล ผมก็พยายามไปตอบ เขาบอกว่าที่ตอบอย่างนั้นแสดงว่าเราเหมือนคนร้าย ดูสิครับ ถ้าไม่ปรับทุกข์กับท่านวันนี้ จะปรับทุกข์กับใครที่ไหน เอาเท่านี้ครับ เป็นที่เข้าใจกัน เมื่อไรใครใช้คำว่านโยบายฆ่าตัดตอน ขอให้ท่านผู้ชมทั้งหลายได้โปรดเข้าใจด้วยว่า เขาใช้สำนวนผิด เขาใช้สำนวนเหมือนกับว่า ไม่ต้องการให้มีนโยบายปราบปรามยาเสพติดอีกต่อไป เพราะต้องการให้เข้าใจผิด และชวนให้คนในโลกนี้เข้าใจผิดด้วย

สนับสนุนปลูกยูคาลิปตัสบนคันนาเพิ่มผลผลิตข้าว

ถัดไปมีเรื่องอะไรที่จะคุยให้ฟังสำหรับคราวนี้ ก็มีปัญหาว่าท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง) ท่านเรียนกฎหมาย บอกว่าคุณพ่อบังคับให้เรียน แต่ตัวท่านๆ ชอบวิทยาศาสตร์ แล้วก็สนใจ เมื่อเลือกกันแล้วเขาจะทำงานนี้ และท่านยังชอบต้นไม้และศึกษาเรื่องต้นไม้ พอรัฐมนตรีวิทยาศาสตร์ฯ บอกว่า จะปลูกต้นยูคาลิปตัสบนคันนาเพื่อช่วยพัฒนาประเทศ เพื่อช่วยเศรษฐกิจ ท่านก็คิดอย่างนี้ คนที่พูดอย่างนี้ต้องรู้ในสิ่งที่เขาพูด ออกข่าวกันใหญ่ เป็นทำนองเหมือนว่าเอาอีกแล้วรัฐมนตรีไม่รู้หรือว่ายูคาลิปตัสกินดินดูดดิน ทำดินเสียหาย ผมนึกว่าช่างพูดกันจริง มันสำปะหลังก็เป็นอย่างเดียวกัน แต่มันสำปะหลังใส่ปุ๋ย แต่ต้นไม้อย่างนี้ไม่มีใครใส่ปุ๋ย เขาดูแลกันก็สุดแท้แต่ เมื่อเวลาฟังความ รัฐมนตรีที่โดนอย่างนี้ ผมก็ต้องใช้สำนวนผม ต้องแส่เข้าไปดูหน่อย บังเอิญผู้เชี่ยวชาญเรื่องยูคาลิปตัสขอพบผม ขอสนทนา คุยทางโทรศัพท์ได้ไหมครับ ไม่ได้ ต้องพูดเอง มาเลย ผมก็ลงมานัดสามโมงเย็นคุยเกือบสี่โมงเย็น เชี่ยวชาญจริง ๆ เราก็ได้รู้เหมือนกับที่รัฐมนตรีบอกว่า ยูคาลิปตัสเมื่อ 20 ปีก่อน เปลี่ยนพันธุ์ เปลี่ยนแปลงใหม่ และการค้นพบของอาจารย์ท่านนี้มีเหตุผล และท้าได้พิสูจน์ได้ ทางราชการก็รับรอง แปลว่าเขาปลูกพันธุ์ใหม่ เขาปลูกต้นยูคาลิปตัสบนคันนา พอปลูกไปปลูกมา ทีแรกคันนาก็แคบ เขาเห็นแล้วว่าปลูกแล้วข้าวในนาได้มากขึ้น ใบก็เป็นปุ๋ย ก็ค้นพบว่าเมื่อปลูกต้นไม้บนคันนานั้น รากออกไปอยู่ในผืนนา และเมื่อรากถูกไถ ปรากฏว่ารากต้นยูคาลิปตัสเป็นปุ๋ยที่ดีสำหรับต้นข้าว ไม่น่าเชื่อนะครับ ขณะเดียวกันเมื่อไปไถโดนรากมันซึ่งลงไปอยู่ในนา ท่านลองนึกถึงคันนา ต้นไม้อยู่บนคัน และรากออกไปอยู่ในนา เมื่อไถมันก็ตัดราก ตัดรากต้นก็สะดุ้ง ต้นสะดุ้งแล้วเป็นอย่างไร ต้นสะดุ้งไม่ตายหรอกครับ ยิ่งโตใหญ่ โตมากขึ้น และข้างในนาที่ถูกตัดลงไปบนคันนา ก็เป็นปุ๋ย ใบร่วงมาก็เป็นปุ๋ย ข้าวได้มากขึ้น ข้อเท็จจริงเป็นอย่างนี้ คนเป็นรัฐมนตรีเขาเข้าใจ เขารู้พอเขาเห็นอย่างนี้ เขาจึงแนะนำ

ผมจะให้ดูตัวเลขครับ ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ เชื่อไหมครับยูคาลิปตัสที่ปลูกกันเอามาทำกระดาษกัน เดี๋ยวจะบอกว่าเอาไปทำอะไรได้อีก ปลูกยูคาลิปตัสบนเนื้อที่ 1 ไร่ ที่ดอน ๆ ธรรมดา แห้ง ๆ ได้ 300 ต้น 5 ปีตัดยูคาลิปตัสได้ไม้ 2 ตัน ฟังให้ดีนะครับ 1 ไร่ปลูกได้ 300 ต้น ตัดมาแล้ว 5 ปีได้ไม้ยูคาลิปตัส 2 ตัน ทีนี้ที่ปลูกบนคันนา ข้าวก็ปลูกได้ ต้นยูคาลิปตัสอยู่บนคันนา นา 1 ไร่ 40 เมตรคูณ 40 เมตร 1,600 ตารางเมตร ใน 40 เมตร เขาทำคันนาให้โตขึ้นนิดหนึ่ง คือคันนา 1.50 เมตร คันนาธรรมดา 50 เมตร ศอกเดียว เขาทำเป็น 3 เท่า แล้วปลูกต้นสับไปสับมาซ้ายขวา ข้างหนึ่งปลูกได้ 50 ต้น คือ 25 ต้นกับ 25 ต้นคู่กันสลับกัน 40 เมตรปลูกได้ 50 ต้น อีก 40 เมตรปลูกได้อีก 50 ต้น แปลว่าปลูกบนคันนา เป็นตัวแอล ด้านเท่ากันได้ 100 ต้น ปลูกยูคาลิปตัสบนคันนา 100 ต้น สองด้านเท่านั้น 5 ปี ได้ไม้ 5 ตัน ปลูก 300 ต้นเต็มที่เลยได้ 2 ตัน 5 ปีเหมือนกัน แต่ปลูกเป็นตัวแอล ทางนี้ 50 ต้น ทางโน้น 50 ต้น 100 ต้นได้ 5 ตัน มันเจริญเติบโตอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ถ้าแบบนี้คนเป็นรัฐมนตรีเขาไม่ตื่นเต้น เขาต้องตื่นเต้น ตอนที่เริ่มต้นใหม่เกือบ 20 ปีก่อน ตอนกล้ามาใหม่ กล้าต้นละ 3 บาทขึ้นไป 8 บาท เดี๋ยวนี้ลงมาเหลือ 4 บาทแล้ว เขาก็ปลูกกัน การที่คนเป็นรัฐมนตรีจะปรารภว่า ช่วยกันปลูกต้นยูคาลิปตัส เพื่อจะช่วยชาติพัฒนาเศรษฐกิจ ไม้เศรษฐกิจ อย่างนี้ไม่ได้เหรอครับ ต้องได้ครับ ผมคุยวันนั้นสัมภาษณ์แล้วเขาก็ไม่สนใจเท่าไร มาเลยวันนี้ผมจะคุยให้ฟัง

ปลูกไม้ตะกูทำเฟอร์นิเจอร์

ทีนี้คุยเรื่องต้นไม้ต้นนี้ต้นเดียว ก็ยังมีอีกต้นหนึ่งชื่อต้นตะกู แถวนครปฐมก็มี เขาเรียกเจ้าพ่อวังตะกู ต้นตะกูเป็นไม้ประหลาด เพาะขึ้นมาจากเมล็ดเหมือนกัน ต้นไม้ขึ้นมามีใบใหญ่เหมือนใบสัก ต้นไม้คล้ายต้นสัก แต่โตเร็วมาก 1 ปีสูง 7-8 เมตร และขึ้นตรงชะลูดเหมือนต้นสัก ถ้าเผื่อต้นไม้อายุ 10 ปี เอาเด็กไปโอบ 2-3 คนโอบรอบ ดูแล้วไม่น่าเชื่อ เขาถ่ายรูปมาด้วยครับ เขาบอกว่าเนื้อคล้ายไม้สัก และมอดไม่กินเหมือนไม้สัก มีความทนทานเอาไปทำเครื่องมือ เฟอร์นิเจอร์ ใช้แทนไม้สัก ปลูกไม้เอาเนื้อ เพราะฉะนั้น เรื่องนี้เรียนให้ทราบว่าเมื่อเราเข้ามามีต้นไม้ ต้นไม้นี้ออกข่าวเมื่อเดือนพฤศจิกายนเมื่อปีที่แล้ว 3 เดือนเท่านั้นเอง ผมก็เอามาช่วยคุยให้ เพราะอะไร ใครมีที่ ใครจะปลูก ปลูกได้ตั้งแต่เหนือจรดใต้ ปลูกได้ทุกดิน ดีและทนทาน คล้ายไม้สักแต่ราคาไม่แพง แล้วโตเร็วมาก ไม้สักต้องใช้ 30 ปีถึงตัด 40 ปียิ่งดี นี่ 10 ปีตัดไม้ ตัดไม้เท่ากับต้นซุง เท่ากับไม้สัก ต้น 1 ปีสูง 7-8 เมตร

ขอให้ภาคภูมิใจกับธุรกิจอัญมณีของไทย

ถัดไปมีเรื่องเพชร พลอย ท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์) บอกมา พอท่านไปได้ตัวเลขมา สนทนาเจอผม ท่านก็จูงมือมานั่งคุยเลย เอากระดาษให้ดูน่าตื่นเต้น ปีหนึ่งค้าขายกันอย่างนี้ 180,000 กว่าล้านบาท ไม่น่าเชื่อ ปีนี้จะทำถึง 200,000 ล้าน ถามว่าบ้านเมืองเรามีวัตถุดิบจะเอามาทำอย่างนั้น ไม่มีหรอกครับ หมด แต่ว่าคนไทยเกิดมีความเก่ง เก่งในการที่ว่าเอาวัตถุดิบมาก้อนเล็กก้อนโตก้อนใหญ่จากต่างประเทศทั่วโลก ไปหาซื้อกันมา แล้วเอาเข้ามา เขาเอามาเผา อุณหภูมิการเผาเป็นความลับของประเทศไทย ของคนไทย แล้วไม่ให้ใครที่ไหน เพราะฉะนั้น ตัววัตถุดิบทั้งหลายที่เป็นก้อน จะมาถูกเผาในประเทศไทย กลายเป็นว่าเราเป็นศูนย์กลางอัญมณีของโลก มีโรงเรียนอยู่แถวสีลม และเขาก็ทำกรรมวิธีกัน ที่ต้องมาบอกวันนี้ ไม่ได้โฆษณาสินค้า โฆษณาให้ฟังว่างานแสดงอัญมณีและเครื่องประดับจะมีวันที่ 27 กุมภาพันธ์ -3 มีนาคม อยากจะเชิญชวนไปชม ไม่ต้องซื้อหรอกครับ ไปชมให้มีความตื่นเต้นว่า บ้านเมืองของเราธุรกิจอัญมณี ปีกลายปี 185,000 ล้านบาท เขามาออกร้านกัน 111 ประเทศ ออกบู้ธ 3,000 กว่าบู้ธ ต่างชาติจะมาร่วมงานนี้อย่างน้อย ๆ 30,000 คน คนไทยจะไปดูเท่าไรไม่ทราบได้ เขาว่าธุรกิจการค้าที่เขาจะค้าขายกันในงวดที่เปิดงานประมาณ 25,000 ล้าน เป็นเรื่องที่เรียกว่าน่าตื่นเต้น ฝีมือของเราการจะทำอะไร เขามีโรงเรียน เจียระไนมาแล้วจะทำแบบไหน ของเราเก่งครับ

อย่างกับพลอยแดง ทับทิม ของเรา ถ้าไปเมืองจันทบุรี ทุกวันนี้ยังมีคนรุมกันแน่นตามถนนต่าง ๆ เขาเอาอะไรให้ใครต่อใคร ตัวที่เขาตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ กองเหมือนของไม่มีราคา แต่บัดนี้กลายเป็นของมีราคาอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะว่าแต่ก่อนนี้เขาเรียกว่าผูกขาด ถ้าใครทำแบบนั้นไม่ได้ ต่อมาเรื่องจะทำแบบที่จะเอาพลอยมาตกแต่งเครื่องประดับ เขาบอกว่าหมดการผูกขาด ถ้าท่านไปตามโรงแรมมีร้านจิวเวอรี่ต่าง ๆ แหวนต่าง ๆ เขาเอาทับทิมมาเจียระไนเป็นเส้น ๆ ชิ้น ๆ แล้วเรียงปะ ๆ บางทีก็เอาสี่เหลี่ยมปะ ๆ คือเอาชิ้นเล็กมาต่อให้เป็นอันใหญ่ เป็นพืดสีแดง และเพชรสีขาว ศิลปะอันนี้แหละครับ ฝรั่งทำ ไทยก็เลียนแบบ วัสดุไทยก็ทำ ไทยก็มีฝีมือ และพวกเศษทั้งหลายที่กอบกันมาอยู่ในประเทศไทยครับ ฉะนั้น ที่เรียกว่า เพชรดีมณีแดง เขียวใสแสงมรกต เหลืองใสสดบุษราคัม แดงแก่ก่ำโกเมนเอก สีหมอกเมฆนิลกาฬ มุกดาหารหมอกมัว แดงสลัวเพทาย สังวาลสายไพฑูรย์ 9 อันนี้มีครบถ้วนหมดครับ

คุณธวัชชัย อนามพงษ์ พรรคประชาธิปัตย์ เอามาวันนั้น ผมยังเห็นอยู่ คือไม่รู้ว่าจริงปลอมอย่างไร คุณธวัชชัยบอกว่ามูลค่า 25,000 ล้าน แต่ว่าทำไมพกไปสภาได้ ก็ไม่ทราบได้ นี่แหละครับ คนที่เอาใจใส่อย่างนี้จริง เขาจะเอาของจริงไปแสดง วันนั้นดูแล้วเลยไม่ทันถามรายละเอียด ธรรมดาก็คุ้นเคยกันมาก่อน อยากจะบอกแต่เพียงว่าของอย่างนี้ การทำฝีมือ การเผาอยู่ในเทคโนโลยีของคนไทย การจัดต่าง ๆ โรงเรียนต่าง ๆ เป็นความน่าภาคภูมิใจนะครับ แน่นอนกินไม่ได้หรอกครับ แต่ทำเงินให้บ้านเมืองนี้ได้ เอามาบอกแล้วจะให้ใครไปซื้อไหม ไม่ใช่ครับ บอกให้เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจว่า ธุรกิจอย่างนี้เป็นธุรกิจที่เป็นหน้าเป็นตาของบ้านเมือง ทำเงินเข้าบ้านเมือง ทำงาน ได้ฝีมือ ที่ไปบอกว่าต้องไปถ่ายทอดเทคโนโลยี ไทยก็เหมือนกันครับ คนไทยก็ไม่ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ใครเหมือนกัน รู้เลยว่าต้องเผาอุณหภูมิเท่าไร เขาตกลงกันอย่างนี้ เขายอมรับสิ่งที่จัดการทำกันมาอย่างนี้ อย่างซื้อขายเพชรรัสเซียเป็นอย่างไร พลอยของเราก็ดังครับ ต้องเอามาบอกไว้ ว่าง ๆ นะครับ วันที่ 27 กุมภาพันธ์เขาเปิดงานถึงวันที่ 3 มีนาคม ที่เมืองทองธานี นี่เป็น

เรื่องที่จะคุยให้ฟังวันนี้ วันนี้เขาจะถามว่าจะพูดเรื่องอะไร ผมก็กลายเป็นภาระต้องหา คืออะไรที่กระทบกระทั่งกับคณะรัฐมนตรี ก็จะเอาเรื่องมาช่วยอธิบายแทนเขา คุยกับเขามา หาผู้เชี่ยวชาญและคุยให้ฟัง เพื่อให้เกิดความเข้าใจว่าเวลาท่านรัฐมนตรีพูดอะไรออกไป สื่อสารมวลชนวิพากษ์วิจารณ์ จะทำให้เข้าใจผิด ผมนี่แหละครับจะทำให้เข้าใจ ถูกหรือไม่ถูกไม่รู้นะครับ แต่ผมเข้าใจแล้วมาถ่ายทอดให้ท่านผู้ชมที่บ้านได้เข้าใจด้วย บ้านเมืองต้องการสิ่งนี้นะครับ ต้องการความเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น และจะทำอะไร และตรงไปตรงมาอย่างไร ต่อไปนี้ผมจะได้คุยในสิ่งที่ผมยกประเด็นไว้วันนี้

เปรียบเทียบราคาพืชผักที่สูงขึ้นกว่าในอดีต

ทีนี้จะคุยให้ฟังนิดหนึ่งว่าเมื่อ 15 ปีก่อน เมื่อเวลาที่แตงกวาออกจากสระบุรีกิโลกรัมละ 5 บาท แต่ว่าถ้าไปตลาดบางกะปิ จะกิโลกรัมละ 14 บาท แพงกว่า 9 บาท แต่ถ้ามาตลาด อ.ต.ก. เขาคัดลูกเล็กออก เขาคัดเอาลูกโตมาขาย เขาขายกิโลกรัมละ 25 บาท เห็นไหมครับ เราเป็นคนบริโภคเราต้องรู้ว่าขับรถเก๋งไปซื้อ อ.ต.ก. 25 บาท แต่ว่าถ้าขี่มอเตอร์ไซค์ไปซื้อที่ตลาดบางกะปิ ตลาดบางกะปิมี marketing เขามีความคิดอ่านในการขายที่ อ.ต.ก. ทำไม่ได้ครับ อ.ต.ก. คนซื้อซื้อเป็นกิโลกรัม ซื้อครึ่งกิโลกรัมอย่างน้อย เขาชั่งขายกันอย่างนั้น แต่ว่าทางตลาดบางกะปิเริ่มต้น ท่านฟังให้ดีครับ แตงกวา 5 บาทนั้น เขาขายอยู่บนแผง 14 บาท เหตุการณ์นี้ 10 กว่าปีแล้ว แล้วเขามีคนที่ไปขายกองข้าง ๆ คือบนแผงเสียค่าแผง ข้าง ๆ ไม่เสียค่าแผง เขาขาย 12 บาท ข้างล่างขาย 12 บาท ข้างบนขาย 14 บาท แตกต่างกัน แต่คนข้างล่างเขาทำอย่างไรรู้ไหม เขาจะมีกะละมัง มีกระบะพลาสติกสำหรับไปแบ่ง คือคนจนแถวบางกะปิซื้อแตงกวาทีละกิโลกรัมไม่ได้ เขาใส่ 3 แผ่น เอากิโลกรัมมาใส่ 3 อัน โปรดดูให้ดีครับ 1 กิโลกรัมขายทั้งกิโลกรัมข้างล่าง 10 บาท แต่ไม่ได้ชั่งกิโลขายเพราะไม่มีใครซื้อ ต้องซื้อเป็นจานซื้อเป็นกระบะ ฉะนั้น 3 จาน ๆ ละ 5 บาท แตงกวาก็ประมาณ 3 ขีดกว่า ๆ คือเอากิโลมาแบ่ง 3 ทอด เห็นไหมครับ แม่ค้าขายข้างล่าง 3 ขีดกว่า ๆ ขาย 5 บาท ก็บ้านที่คนจนเขาก็ซื้อ 5 บาท ไม่ซื้อครึ่งกิโลกรัมด้วย แต่ว่าซื้อ 5 บาท แม่ค้าขาย 3 จานก็ได้ 15 บาท ข้างบนขายทั้งกิโลได้ 14 บาท ข้างล่างทั้งกิโลถ้าใครซื้อเขาขาย 10 บาทเท่านั้น เพราะต้นทุนมา 5 บาท มา อ.ต.ก. เขาคัดเอาลูกเล็กออก เขาจะขายแต่ลูกโต ๆ เขาขาย 25 บาท เรื่องอย่างนี้ก็ต้องแล้วแต่สถานที่ เพราะ อ.ต.ก. เขาคัด แพงกว่าของธรรมดา นี่เล่าเรื่องก่อน ๆ ให้ฟัง

เล่าให้ฟังอีกนิดครับเพราะว่าไปเจอความมหัศจรรย์ของการเปลี่ยนแปลงเมื่อวานนี้ เมื่อ 10 กว่าปีก่อน 15 ปีก่อน มะเขือพวงทั้งถุงจำเป็นสำหรับคนตำน้ำพริก ไม่มีมะเขือพวงไม่สนุก มะเขือพวงถุงหนึ่งแต่ก่อนนี้ 60 บาท 10 กิโลกรัม มะเขือพวงถุง 10 กิโลกรัม 60 บาท เวลานั้น 60 บาทถ้าเข้ามาในเมืองแล้วคนซื้อมะเขือพวงจะไม่มีใครซื้อมะเขือพวงกิโลหรือครึ่งกิโล ไม่มี นอกจากพวกที่ทำแกงขาย ทางบ้านจะซื้อเฉพาะตำน้ำพริกหรือจะซื้อเฉพาะใส่แกง จะซื้อมะเขือพวง 10 บาท เขาก็หยิบมาขยุ้ม 10 บาท เขาซื้อเท่านั้น ขณะที่มะเขือพวงกิโลกรัมละ 6 บาท แม่ค้าจะเอามะเขือพวง 1 กิโลกรัมมาขายขยุ้มละ 10 บาท ๆ ๆ จะขายได้ 10 หน ขายได้ 100 บาทขายปลีก ต้นทุน 6 บาท เพราะทั้งถุงนี้ 60 บาท มี 10 กิโลกรัม เรื่องนั้นผมใช้ข้อมูล ที่เล่าให้ฟังเพราะว่าเป็นเรื่องตื่นเต้นสำหรับผมเองด้วย 10 กว่าปีก่อนเจออย่างนี้ที่สระบุรี เวลานั้นมะเขือพวงซื้อ 10 บาทแล้วครับ เดี๋ยวนี้มะเขือพวงในกรุงเทพฯ ต้องซื้อ 20 บาท 10 บาทแม่ค้าจะหน้างอนะ ถ้าตลาดนางเลิ้งยังขายอยู่ 10 บาท เขาก็หยิบแต่น้อยหน่อย สำหรับตำน้ำพริก 10 บาท เมื่อวานนี้ไป มะเขือพวงที่ตลาดไท ซึ่งเคย 60 บาท เดี๋ยวนี้ราคา 280 บาท แปลว่ามะเขือพวงกิโลกรัมละ 28 บาท แต่ก่อนกิโลกรัมละ 6 บาท พอฟังแล้วผมก็ไม่รู้สึกอะไร ดีใจแทนคนปลูก ดีใจแทนเลยว่าบัดนี้ถุงหนึ่ง 280 บาท กิโลกรัมละ 28 บาท รับมาถึงกรุงเทพฯ เขาขายกิโลกรัมละเท่าไรทราบไหมครับ เขาไม่ขายเป็นกิโลกรัม เราจะไม่มีทางรู้เลย หยิบมา 1 ขยุ้ม 20 บาท ให้หยิบ 5 หนได้ 1 กิโลกรัมก็แล้วกัน ก็แปลว่า 100 บาท ต้นทุน 28 บาท เห็นไหมครับ เราไม่ได้กินมะเขือพวงกันทั้งวัน แต่ยกตัวอย่างว่าเรื่องน่าคิดจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภค

แล้วไปอย่างไรมาอย่างไร มีเรื่องที่เราต้องคิดว่า ตอนนี้ผมจะใช้กระดาษสักนิด เพราะว่าเมื่อทำการบ้านมาแล้วก็ให้ท่านดูว่าที่เขาขายผักกันนี้ แตงร้าน แตงกวา แตงกวาเดี๋ยวนี้ เมื่อก่อน 5 บาทที่ผมคุยไว้ วันนี้ 13 บาท เปลี่ยนแปลงพอสมควร ถุงหนึ่งเคยซื้อ 50 บาท 10 กิโลกรัม 50 บาท แตงกวาเดี๋ยวนี้ 130 บาท แปลว่ากิโลกรัมละ 13 บาท มาดูแตงกวาว่าเข้ามาในเมืองแล้วราคาเท่าไร แตงกวากิโลกรัมละ 13 บาทต้นทุน เวลานี้ขายแตงกวา 35 บาท บางครั้งขาย 40 บาท เห็นไหมครับ ต้นทุน 13 บาทมาถึงตลาด 40 บาท 40 บาทนี่คือ อ.ต.ก. ถ้าไปบางกะปิจะประมาณ 25 บาท แล้ว 25 บาท 1 กิโลกรัมเขาก็ใส่ 3 จาน เดี๋ยวนี้ไม่ใช่จานละ 5 บาทแล้ว แตงกวาเป็นจานละ 10 บาท ขายทั้งกิโลกรัมขาย 20 บาท แต่แบ่งกิโลเป็น 3 อันใส่ 3 จาน เขาก็ขาย 30 บาท จานละ 10 บาท ไปแต่เช้าก็ 10 บาท พอเย็น ๆ เขาจะร้องขาย 3 จาน 25 เขาขายราคาเหมือนยกกิโลกรัม นี่เป็นเรื่องของความเปลี่ยนแปลง

ที่อธิบายให้ฟังอย่างนี้ผมจะยกตัวอย่างนิดหนึ่ง ฟักเขียว 1 ถุง 10 กิโลกรัมราคา 50 บาท ฟักเขียวลูกขนาดกำลังใช้กิโลกรัมละ 5 บาท มาดูที่ตลาดขายเท่าไร ตลาดขาย 20 บาท ต้นทุน 5 บาท แต่มาถึงตลาดขาย 20 บาท ทุกอย่างเป็นลักษณะอย่างนี้หมด ถูกต้อง แน่นอน อย่างกะหล่ำปลี เวลานี้กะกล่ำปลีแพง 15 บาท มาถึงที่ตลาด 28 บาท เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ทุกอย่างจะเป็นอย่างนี้หมด ปัญหาคือว่าเมื่อเล่าให้ฟังอย่างนี้แล้ว คิดว่าอย่างไร ผมต้องคิดให้ฟังว่าเมื่อเวลาที่เรา เราดูฟักทอง เมื่อสมัยก่อนกิโลกรัมละ 6 บาท เดี๋ยวนี้ฟักทองขึ้นมาเท่าไร กิโลกรัม 7 บาท ลูกโต ๆ ที่เห็นเมื่อสักครู่นี้ 8 บาทอย่างเก่ง มาถึงตลาดขายเท่าไร มาถึงตลาดขายกิโลกรัมละ 25 บาท ฟักทองลูกใหญ่หนัก 7 กิโลกรัม 175 บาท ต้นทุนกิโลกรัมละ 7 บาท 7 x 7 = 49 บาท ทั้งลูกซื้อจากตลาดไท ลูกละ 49 บาท แต่มาถึงตลาดทางนี้แล้วกิโลกรัมละ 25 บาทเป็น 175 บาท อย่างนี้แปลว่าการขนส่งสินค้าไปมา ที่เรียกว่า Logistic มะนาว เวลานี้มะนาวเริ่มแพงอีกแล้ว เพราะเหตุว่าร้อน แล้งเข้า ก็ยังพอมีขาย มะนาวไปซื้อที่โน่นขายส่ง 1.25 บาท แต่มาถึงกรุงเทพฯ 3 บาท 3 ใบ 10 บาท เริ่มแพงแล้ว ต่อไปเวลามะนาวแพง แพงจริง ๆ ลูกละ 8 บาท เวลาที่น้อยเกี่ยวกับอุปสงค์อุปทาน ที่เรียก supply demand เพราะฉะนั้นจะเล่าให้ฟังว่า เรื่องเวลานี้ที่คุณมิ่งขวัญฯ (นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์) ท่านกำลังเจรจาความ

หาแนวทางแก้ไขราคาหมูเนื้อแดงที่แพงขึ้น

เวลานี้พอถึงเรื่องหมู คำอธิบายเรื่องหมู ผมฟังเข้าหู แต่ว่าคนบริโภคจะฟังหรือไม่ เวลานี้หมูกิโลกรัมละ 120 บาท แต่ก่อนกิโลกรัมละ 100 บาท ถามว่าทำไม เราต้องคิดถึงเรื่องนี้ ว่าทำไมเนื้อไม่เปลี่ยนแปลง ทำไมแพงหมู เนื้อไม่เปลี่ยน อย่างนี้เราต้องรู้ทันทีว่าต้องมีเฉพาะเรื่อง เขาบอกว่าที่เกิดหมูแพงนี้ เรื่อง supply demand เรื่องเกี่ยวกับเกิดเหตุในการเลี้ยงหมู การเอาลูกหมูไปขาย มีการขาดแคลน พอมันน้อยก็ขายแพง ตั้งราคา ซึ่งราคาซากหมู คือหมูฆ่าเสร็จแล้วตัดเลย เขาขายเฉลี่ยชั่งกิโลมาขายเลย แพงกว่าเดิมเพียง 3 บาท แต่ทำไมเมื่อมาขายเป็นกิโลแล้วถึงเนื้อแดงขึ้นไปกิโลกรัมละ 120 บาท เวลาพูดถึงราคาอะไรต่าง ๆ นั้น ท่านโปรดฟังให้ดี เราต้องมีความเป็นธรรมทั้งผู้ผลิต ทั้งคนกลางและผู้บริโภค เราซื้อหมูมาฆ่ากินโดยตัวเองได้ไหม ไม่ได้ครับ ไก่มาให้ฆ่ายังไม่ฆ่าเลย ตัวเล็กกว่าหมูตั้งเยอะ ฉะนั้นต้องให้มีคนเขาฆ่า ต้องมีคนเขาเลี้ยง มีคนเขาขนมาฆ่า ฆ่าเสร็จแล้วเขาต้องไปที่ตลาด เขามีเขียง จากเขียงนั้นถึงจะถึงเราเป็นผู้บริโภค เพราะฉะนั้นตรงนี้เมื่อเห็นเหตุ เราต้องดูว่าเราควรจะต้องแก้ได้ เราควรจะต้องแก้เหตุได้

เริ่มต้นอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้น เป็นอย่างนี้เพราะเนื่องจากว่ามีอุบัติเหตุในการเลี้ยงอะไรต่าง ๆ จังหวะจะโคนเขาว่าจะแพง ถ้ามันจะแพงแล้วมันแพงตรงไหน แพงที่หมูเนื้อแดงกิโลกรัมละ 120 บาท ถามว่าไปกินส่วนอื่นของหมู ส่วนอื่นยังถูกกว่า สามชั้นก็ต้องลงไปถูกกว่า กระดูกก็ยังถูกกว่า แต่เราเอาราคาหมูเนื้อแดงมาตั้ง แล้วบอกว่า 120 จะตายอยู่แล้ว เคยขายอยู่ 100 บัดนี้ขึ้นมาเป็น 120 บาท แปลว่าขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ สินค้าขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์เป็นไปไม่ได้ คนขายหมูต้องอธิบายให้เข้าหูคนบริโภค ผมนี่เข้าหูมาแล้ว ฟังแล้วถึงเอามาคุยได้ว่ามันเกิดอุบัติเหตุในการเลี้ยง ทั้งขบวนการการเลี้ยง ต่อไปถ้าเข้าที่เข้าทางแล้วจะกลับมาสู่ราคาเดิม ความแพงนั้นแพงอยู่แล้ว 100 บาทแพงอยู่แล้ว ต้องแปลว่าหมูเนื้อแดง เนื้ออื่นก็ไม่ถูกไม่แพงอย่างนั้น กระดูกหมูราคากิโลกรัมละ 22 บาท ไปซื้อสามชั้นก็ราคาถูกกว่า ส่วนต่าง ๆ ของหมูนั้นไม่ได้ 120 บาทหมด นี่พูดให้เข้าใจไว้เท่านั้นเอง แล้วจะมาออกรับแทนคนขายหมูด้วย การเจรจาความจะเป็นอย่างไร ถ้าเริ่มต้นบอกว่ามีน้อย ขอดูหน่อยว่ามีน้อยมีอย่างไร

เวลาเห็ดโคนออกใหม่ ๆ กิโลกรัมละ 500 บาท เห็ดโคนออกใหม่ ๆ ออกมาประมาณสัก 2 เดือนอย่างมากไม่เกิน เวลาที่ออกมานานแล้วจะลงมา 300 บาท เป็นเห็ดแพงครับ เห็ดโคนกิโลกรัมละ 500 บาท ออกมาเยอะ ๆ แล้วกิโลกรัมละ 300 บาท ทั้งเดือนก็หมดหายไป แต่เห็ดฟางเห็ดนางฟ้า เห็ดนางโลม เห็ดหูหนูขาว ออกทั้งปี เพราะฉะนั้นใครจะกินเห็ดโคนก็ให้คนมีเงินเขากิน เขาซื้อกันตรงนั้น อร่อยแน่นอน แต่ใครจะกินเห็ดฟางมีขายทั้งปี เห็ดฟางอยู่ที่ตลาดบางกะปิ ขายกิโลกรัมละ 60 - 65 บาท อย่างแพงวันไหนแพงก็ 70 บาท เขาถึงเอาแต่ดอกโตมาใส่ เขาขาย 100 บาทที่ อ.ต.ก. แปลว่าเราต้องรู้ด้วยครับ เอาราคา อ.ต.ก. เป็นฐานก็ไม่ได้ ผมขับรถเก๋งไปซื้อ เขาเสียค่าที่แพง เขาขายกิโลกรัมละ 100 บาทเห็ดฟาง แต่ไปบางกะปิ 60 – 70 บาท อย่างนี้แปลว่าจะกินเห็ด จะใส่เห็ดฟางใช้ได้ เห็ดนางโลมใช้ได้ เห็ดนางฟ้าใช้ได้ เห็ดนางฟ้าภูฏาน มีเห็ดให้เลือกมากมายก่ายกอง เพราะว่าชมรมเห็ดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทำเรื่องนี้ได้สำเร็จ และของเราแม้แต่เห็ดโคนหลวงก็ทำสำเร็จ แต่ว่าไปดูแล้วบางทีก็มี บางทีก็ไม่มี เมื่อเป็นอย่างนี้ เราก็เลยต้องว่า เอาเห็ดมาเป็นมาตรฐาน ถูกต้องครับ บริโภคได้ มังสวิรัตก็กินเห็ดได้ แต่ต้องรู้ว่าเราจะกินเห็ดโคน เห็ดโคนนอกฤดูมีไหม มี อยู่ที่ไหน ในขวด อยู่แถวไหน หลังตลาด อ.ต.ก. ริมตรงทางเข้าต้นโพธิ์ที่เขาเล่นหมากรุกกัน มีร้านค้าเข้าไป มีทุกวัน ขวดละ 600 บาท นับดูสิครับ เก่ง ๆ ประมาณสัก 30 ดอกยาว ๆ ดอกยาวตั้งค่อนคืบ ใส่ขวด 600 บาท ก็ให้คนมีเงินเขากินไป วันไหนจะถูกลอตเตอรี่ก็ไปซื้อกินแล้วกัน ก็เห็ดฟางถูกกว่ากินเห็ดฟาง ผมก็กินเห็ดฟาง นาน ๆ มีคนฝากเห็ดโคนมาให้ก็กิน เพราะเขาฝากมาให้ คือคนกินไม่ต้องซื้อ

อย่างนี้คือเล่าให้ฟังว่าทำไมเรื่องระหว่างผู้ผลิตผู้บริโภค เมื่อผู้ผลิตเขามีปัญหาเรื่องหมู บอกไปกินกระดูกหมู เดี๋ยวโดนด่าอีก กินโครงไก่ก็ว่ากันไป ไม่จบ นี่เป็นเรื่องต้องย้อนหลัง เขาเข้าใจว่าเอาซี่โครงไก่มาต้มแล้วเอามาดูดกิน ทั้ง ๆ ที่คำว่าโครงไก่คือต้มเป็นน้ำซุป ไม่ต้องต้มให้เปื่อย เอาฟักใส่เอาอะไรใส่ อธิบายให้ฟังเข้าใจ ว่าไปซื้อนี้ 20 – 30 บาท แต่ต้มได้ทั้งหม้อ กินทั้งบ้าน ไม่เข้าใจ ยังเยาะเย้ยถากถางอยู่จนวันนี้ ว่าซี่โครงฟักต้มซี่โครงไก่ เป็นอย่างไร ผมจะถามสิเป็นอย่างไร

อธิบายความที่ถูกต้องของเรื่องโครงไก่ต้มฟัก

เมืองจีนกินฟักต้มกระดูกไก่ ต้มกระดูกหมู เนื้อส่งขายหมด ประเทศไทยไปช่วยเมืองจีน ไก่บอยเลอร์ บริษัทเป็นของ ซีพี ออกชื่อเขาหน่อยก็ได้ เขาไปช่วยให้คนจีนได้เลี้ยงไก่แบบที่ไทยเลี้ยง แล้วส่งออก แล้วเอากระดูกไก่กระดูกหมูต้มให้คนกินในโรงงาน ผมไปมาเมื่อ 20 กว่าปีก่อน เดี๋ยวนี้ไม่ต้อง ไม่มีแล้วครับ แต่ว่านั่นคือความถูก แล้วกระดูกหมู กระดูกไก่ รสชาติดี ซื้อหมูสามชั้นไปใส่ ซื้อเนื้อไปใส่ ไปต้ม น้ำรสชาติสู้กระดูกไก่ต้มกระดูกหมูต้มไม่ได้ ดีอย่างนั้นถึงว่า เอาฟักใส่ก็อร่อย เอาหน่อไม้ใส่ก็อร่อย หัวไชเท้าใส่ก็อร่อย อธิบายความจนกระทั่งบัดนี้ซี่โครงไก่ต้มฟัก เรียกซี่โครงไก่ต้มฟักก็เป็นความเชยของคนเรียกแล้ว ต้องเรียกว่าโครงไก่ ทั้งโครงตั้งแต่คอตั้งแต่ตัว ตอนนั้น 3 โครง 1 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 10 บาท ซื้อฟัก 10 บาทเป็น 20 บาท รากผักชีกระเทียมพริกไทยใส่น้ำปลา ต้มได้ทั้งหม้อกินทั้งบ้าน 30 บาทกินทั้งบ้าน ไปซื้อเขาตอนนั้นถุงละ 15 บาท ถุงละ 20 บาท กินได้ 2 คนผัวเมียก็หมดแล้ว

พูดอย่างนี้ พอเรื่องกับข้าวพูดจาคล่องแคล่ว ต้องพูดอย่างนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ราคาระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค นี่ละครับ รัฐบาลผมจะตามไปดูเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม คนปลูกก็ควรจะได้ราคานี้ คนกลางควรจะน้อยหน่อย ไม่ควรจะเอิกเกริก ต้องดูการขนส่งมาตลาด การจะส่งอย่างไร เสร็จเรียบร้อยแล้ว มาพูดให้ฟังจะต้องเป็นข่าว ถูกต้อง จะเป็นข่าวก็ทำได้ แต่ต้องเข้าใจว่ามาพูดให้ฟังเหมือนกับเศษสตางค์

การใช้เศษสตางค์ช่วยทำให้ขึ้นราคาสินค้าอย่างเป็นธรรม

ให้เก็บเหรียญบาท ผมเข้าใจของผมว่าเหรียญบาทคือเศษสตางค์ 5 บาทคือเศษสตางค์ 10 บาทคือเศษสตางค์ คนโรงกษาปณ์เข้าใจว่าเศษสตางค์ต้อง 25 สตางค์ ต้อง 50 สตางค์ ผมก็หลุดไปบอกว่าเรื่อง 25 สตางค์ 50 สตางค์ ให้เขาใช้กันในซูเปอร์มาร์เก็ต แปลว่าอย่างไร แปลว่าราคาสินค้าที่วาง 3.25 บาท 3.50 บาท แปลว่าทศนิยม .25 .50 .75 ในซูเปอร์มาร์เก็ตเขาเสนอขายได้ เพราะเวลานั้นเขากดเครื่อง เห็นไหมเรื่องอย่างนี้ เสร็จแล้วบอกจะไปทำเหรียญ 50 สตางค์ เขามีใช้อยู่พอแล้ว แต่เหรียญบาทอย่าเลิก ผมบอกว่าข้าวแกง 20 บาท ขึ้น 5 เปอร์เซ็นต์คือ 21 บาท แม่ค้าขาย 100 จานต่อวัน แม่ค้าได้เพิ่ม 100 บาท ซื้อของแพงขึ้น 50 บาท เอาไว้อีก 50 บาทซื้อของอื่นแทนของตัวเอง นี่คือความเป็นธรรม ถ้าไม่พอ ตกลงกันได้ 2 บาท จาก 20 บาทเป็น 22 บาท แปลว่าแม่ค้าต้องซื้อของแพงขึ้น ขายได้กำไรวันละ 200 บาท ซื้อของแพง 100 บาท เอาไว้ซื้ออย่างอื่นแพงอีก 100 บาท นี่คือคำอธิบายง่าย ๆ เหรียญ 1 บาท เหรียญ 5 บาท เหรียญ 10 บาท สมมติว่าขึ้นไป 22 บาท เขาให้มา 30 บาทก็ต้องทอน 8 บาท ให้มา 25 บาททอน 3 บาท ต้องการอันนี้ครับ แล้วยังทำได้อยู่ ผมบอกยังไม่สายเกินไปถ้าจะเก็บเหรียญบาทเอาไว้ เล็กที่สุด ทำอย่างนั้น นี่คือคำอธิบาย แล้วเมื่ออธิบายแล้วก็มาอธิบายเรื่องกับข้าววันนี้ ต้องการให้รู้ว่าเป็นเรื่องน่าคิดระหว่างผู้ผลิตถึงผู้บริโภค

เรื่องการเดินทางที่แพงจนเกินเหตุ รัฐบาลผมจะช่วยลงไปดูว่าจะเป็นอย่างไร ผมไม่ต้องลงมือ คุณมิ่งขวัญฯ เขาเข้าใจ เขาจะหยุด เขาช่วยรัฐบาล 4 หน่วยงานที่เขาไม่ขึ้นราคาสินค้า เขาก็ขอบคุณ เขาช่วยคือเขาไม่ขึ้น แต่คนอื่นจะต้องขึ้น ก็จะต้องปรับปรุงให้เขา พวกที่อยากดูจริง ๆ ขายน้ำมันพืชกันหยก ๆ 29 บาท บอกน้ำมันพืชจะไปทำไบโอดีเซล ขึ้นพรวดพราดไปจ่ออยู่ที่ 49 บาท 29 บาทขึ้นไป 49 บาท มันขึ้นไปได้อย่างไร ทำไมขนาดนั้น นี่ละครับที่จะต้องมาตอบคำถาม จะได้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ขอประทานโทษครับ เรื่องนี้บางทีจะต้องคุยต่อ แต่สัญญาไว้ว่าจะตอบคำถาม เมื่อคราวที่แล้วบอกว่ามัวแต่คุยไม่ตอบคำถาม

คำถามมา อยากทราบว่ายูคาลิปตัสพันธุ์อะไรที่ไม่มีผลต่อดินทำให้ดินไม่เสีย ลองไปถามราชการครับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประทานโทษครับ กระทรวงเกษตรฯ คณะวนศาสตร์ จะเป็นคนตอบ แต่รับประกันได้ว่าผมจะมีหน้าที่เอาข้อมูลไปออกให้อ่านกันทางหน้าหนังสือพิมพ์ เรื่องพันธุ์อะไร คนที่เขาปลูกอยู่แล้ว เขาดำเนินการอยู่แล้ว แต่แนะนำให้รู้ว่าปลูกแล้วไม่เสียของ นาก็ทำนาได้ นั่นก็อยู่บนคันดิน ประเด็นเรื่องยูคาลิปตัส ปลูกมา 10 กว่าปี ตัดไม้ขายได้ทุกปี ไร่ละ 5,000 บาท แนะนำให้ปลูกกันตามคันนา ไม่รณรงค์ให้ปลูก ถูกต้องครับ แนะนำปลูกคันนาครับ ปลูกบนดิน 300 ต้นได้ 2 ตัน ปลูกบนคันนา 100 ต้นได้ 5 ตัน ต้องปลูกบนคันนาครับ

ทำประชาพิจารณ์เรื่องปราบยาเสพติดน่าจะได้ผลดีกว่า ไม่ต้องประชาพิจารณ์หรอกครับ พูดให้ท่านฟังให้เข้าใจตรงนี้เท่านั้นเอง นโยบายฆ่าตัดตอน ใครใช้คำนี้แสดงว่าแย่ นโยบายฆ่าตัดตอน นโยบายบ้าอะไรฆ่าตัดตอน จะใช้สำนวนนี้เดี๋ยวว่าเอาอีกแล้ว สมัครเริ่มออกฤทธิ์อีกแล้ว ใช้คำนี้ สำนวนสนทนาต้องแบบนี้ครับ นโยบายปราบปรามยาเสพติดเด็ดขาด เท่านี้ละครับ ตำรวจไปฆ่าเขาตาย ตำรวจต้องขึ้นศาล แต่ผู้ร้ายกลัวจะถึง มันฆ่ากันเอง ถามว่าแล้วเราจะทำอย่างไร ถ้าจะไปออกรับแทน พูดไปซ้ำซาก

ค่าจอดรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ที่สนามบินสุวรรณภูมิราคาแพงมาก ประชาชนเดือดร้อน ผมอยากเรียนครับ สนามบินสุวรรณภูมิคือเขาเป็นสถานที่ที่เขาเรียกเป็น International เพราะฉะนั้นราคาเขาตั้งเอาไว้ เขามีราคาไทยราคาเทศไม่ได้ครับ บะหมี่ชามละ 170 บาท แล้วคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐเท่าไร เอา 30 ไปหาร ประมาณมาถึง 6 เหรียญ 5 เหรียญครึ่ง ก็ราคาสากล บะหมี่ที่แอร์พอร์ตราคา 5 เหรียญครึ่ง ปกติ ฝรั่งกินของเราได้ 6 ชาม ต้องขอความกรุณาครับ ถ้าแพง ถ้าหิวอย่างไรก็ต้องกินครับ เดี๋ยวไปอดตายที่นั่น แต่ว่าถ้าไม่จำเป็น ไม่กิน ผมนาน ๆ ก็กินที 170 บาทถึงได้รู้ราคา ราคาที่นั่นแพงทุกอย่าง เพราะเขาทำสำหรับคนที่เดินทาง ในกระเป๋าเขาไม่ใช่เงินไทย ต้องขอความกรุณาจริง ๆ นี่ไม่ได้ไปออกรับแทน ค่าจอดรถนี้จะตรวจสอบหน่อย เพราะว่าเขาจะคิดเอาทุนคืนค่าสนามบินหรือเขาต้องการจะไม่ให้คนจอดมาก มีนักคิดครับ แพงเพราะไม่ต้องการให้ไปจอดมาก แพงเพราะว่าจะได้ไปหลาย ๆ คนได้รวมกันไป จะไปส่งเพื่อนคนหนึ่งมีเพื่อนตามไป 5 คน รถจอด 5 – 6 คัน อย่างนี้ควรจะคิดว่าต้องจ่ายเท่าไร จะไปคันเดียวกันก็จ่ายคันเดียว นี่ผมช่วยคิดแทนให้ แต่จะรับไปดูให้ว่าแพงอย่างไร พอสมควรไหม ถ้าผมมีความรู้สึก ผมจะมาเล่าให้ฟังด้วย

ไม่สนับสนุนตั้งเขตปกครองพิเศษในจังหวัดภาคใต้ เรื่องนี้พูดกันในห้องเล็ก ๆ ผมไปคุยมาแล้วครับ ไปคุยมาแล้วเลย คุยเสร็จทางนี้ได้ฟังเหรียญข้างเดียว ไปดูเหรียญอีกข้างด้วย คุยมาแล้ว เรื่องนี้ยังไม่ปรากฏในนโยบายอะไรทั้งสิ้น อย่าห่วง ๆ เป็นเรื่องบังเอิญ แล้วท่านผู้พูดท่านก็บอกเลยว่าท่านโอเค ๆ

ดำเนินการเน้นเรื่องการศึกษา การเรียนการสอนของนักเรียนมุสลิม คือว่าทำอย่างไรให้นักเรียนอิสลามในไทยได้เรียนเหมือนกัน ถูกต้องครับ อันนี้เป็นความคิดอ่านของเราเลย เขาก็พูดจาทีบอกว่าเรียนไทยครึ่งเรียนของเขาครึ่ง เขาก็อยากเรียนศาสนามาก เรื่องการเรียนกำลังเจรจาความกันเลย ต้องเรียน เพราะมีปัญหาเรื่องว่า เขาไปตั้งกฎเกณฑ์ไว้ให้นักเรียน นักเรียนต้องหัวละ 10,000 กว่าบาท โรงเรียนพุทธ 5,000 กว่าบาท แล้วโรงเรียนพุทธปิดหมด ไปเข้าโรงเรียนเอกชน เรื่องนี้ได้มาจากข้างใน เรื่องนี้ไม่ปิดบัง เป็นเรื่องจะต้องแก้ไข ถูกไหมครับ เผาโรงเรียน โรงเรียนของเราทั้งนั้น โรงเรียนทางนี้ก็ไปเรียน เราต้องอุดหนุนเขา 10,000 กว่าบาทต่อหัว แต่ถ้าโรงเรียนของเราเองอุดหนุน 5,000 บาทกว่า เรื่องนี้กระทรวงศึกษาธิการต้องดูแลแน่นอน ต้องเป็นความเป็นธรรม และตกลงกันว่าเขาอยากจะได้เรียนคนละครึ่งกัน คือเรียนทางยาวีด้วย เรียนศาสนาด้วย แต่ต้องเรียนวิชาการด้วย เพราะว่าเราจะให้เขาได้มีการศึกษา

เงินกองทุนหมู่บ้าน รูปแบบการสนับสนุนให้รับเงินแบบเก่าหรือว่ามีกฎเกณฑ์อย่างไร ถามทันทีตอบไม่ได้ครับ อาทิตย์หน้าจะมาตอบให้ว่าเขาจะมีกฎเกณฑ์อย่างไร

นโยบายเด็กเรียนมัธยมต้นถึงมัธยมปลายจะเริ่มเมื่อไร ก็ต้องเริ่มทันทีครับ เขาต้องเริ่มต้นทันทีเพราะวันที่ 27 พฤษภาคม โรงเรียนเปิดเทอมใหม่ วันนี้เพิ่งเดือนกุมภาพันธ์ มีเวลา 3 เดือนเขาเตรียมกัน ให้เวลาเขานิดครับ นักศึกษากู้ยืมได้เมื่อไร ต้องพูดได้ทันทีว่าเมื่อถึงเวลาจะเริ่มเรียน ต้องกู้ยืมได้ ไม่นานหรอกครับ แล้วก็ก่อนจะถึง 99 วัน ทำได้ก่อนครับ คนทำก็รู้ว่าทำโอกาสอย่างไร คนประมาณเขาบอกว่าเขาขอภายใน 99 วัน เราต้องทำ ไม่มีปัญหาหรอกครับ ไม่มีถ่วง

ทราบว่ารถไฟไปเชียงราย เรื่องนี้เป็นเรื่องน่าคิด เชียงรายสมัยก่อน อยู่เชียงใหม่จะไปเชียงรายต้องขับรถยาวลงมาที่ลำปาง 90 กว่ากิโลเมตรขับลำปาง จากลำปางขึ้นไปเชียงรายอีก ทั้งหมดแล้วจากเชียงใหม่ไปเชียงราย 375 กิโลเมตร ต้องผ่านพะเยาขึ้นไปทางโน้น เป็นตัว V ต่อไปก็ตัดถนนใหม่ 161 กิโลเมตรจากเชียงใหม่ไปเชียงราย ขวางข้างบนเลย ไปดอยสะเก็ด เมื่อเป็นอย่างนั้นแล้ว ความรู้สึกที่อยากจะรถไฟก็ลดน้อยลง แต่ความรู้สึกเรื่องนี้ขอคุยไว้ให้ฟังนิดหนึ่งครับ เชียงรายเป็นที่ที่เราคิดว่าถ้ารถไฟจะขึ้นไปข้างบน หรือรถไฟจะข้ามทางหนองคาย แล้วเข้าไปทางเวียงจันทน์ก่อน ถ้าติดภูเขาไปไม่มากขึ้นหนทางลำบาก ถ้าเผื่อขึ้นเชียงรายได้ก็จะเลือกขึ้นทางเชียงราย รถไฟที่ว่าเป็นรางมาตรฐาน เพราะเราขึ้นไปเชื่อมกับที่ข้างบน เรื่องรถไฟจะคุยให้ฟังต่างหากอีกวัน เรื่องนี้เอาไว้แค่นี้ก่อน

ทีนี้ถามว่ารถไฟสายสีแดงต่อไปถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิตหรือเปล่า เรื่องสายสีไหนยังไม่ออกในรายละเอียด แต่ว่าวันพรุ่งนี้ข้าราชการจะรับรู้นโยบาย และวันถัดไปเรื่องของรถขนส่งมวลชนกรุงเทพบอกได้แต่เพียงว่าจะต้องเพิ่ม และออกไปเหยียบไปที่ชานเมือง 9 เส้นทางประมาณ 300 กิโลเมตร เวลานี้มี 43 กิโลเมตร ใต้ดินมีอยู่ 20 กิโลเมตร ข้างบนมี 23 กิโลเมตร จะมีอีกประมาณ 300 กิโลเมตร และจะลงมือทำ สายไหนตรงไหน ๆ เริ่มก่อน ก็เตรียมการไว้แล้ว จะไม่ทำให้ชักช้า ได้เริ่มลงมือได้ตอกเข็มแน่นอน ดำเนินการแน่นอน

บัณฑิตปัก์ใต้จำนวนเป็นหมื่น ๆ คน เรียนกันไปแล้วกู้เงินไปเรียน แล้วยังไม่มีงานทำแล้วถึงเวลาจะต้องคืนเงินแล้ว เรื่องนี้ต้องมีนโยบายแน่ ถ้ายังคืนไม่ได้ ก็ยังเอาไม่ได้หรอกครับ ไม่มีใครเค้นคอ ถ้าหากบังคับให้เขาทำก็ต้องแก้ข้อบังคับ ต้องมีเวลา แต่ทว่าผมได้คุยกับทางทหารแล้ว แล้วนี่ก็ไม่ใช่ความลับ อุตสาหกรรมเกิดขึ้นไม่ได้ ประมูลสร้างทาง 4 เลนเข้าไปในยะลา ตกลงเสร็จเรียบร้อยไม่กล้าไปก่อสร้าง ผมก็คิดตรงกันเลยกับท่านผู้บัญชาการทหารบก บอกว่าแล้วทำไมไม่เอาทหารช่าง 111 ไป ท่านบอกกำลังดำเนินการอยู่ งบประมาณยังอยู่เหมือนเดิม บริษัทนั้นจะต้องผ่องถ่ายมา ทหารไปทำครับ จ่ายเงินให้ทหาร เพราะ 111 นี้เคยมาช่วยงานในกรุงเทพฯ เยอะ คราวนี้เขาจะยกไปทำ ยะลาจะได้ถนน 4 เลน ทำโดยทหารช่าง วิธีการ ตั้งโรงงาน ๆ ไม่มีใครกล้าไปทำ ตั้งโรงงานไม่กล้าไปทำ ตกลงกันแล้วครับว่าอุตสาหกรรมทหารยังจะเกิดขึ้น ผมพูดถึง อสร. เลย บอก อสร. ขายให้เอกชนไป ทหารตรงนี้ทำ อสร. ดังนะ โรงงานแบบ อสร. ทหารจะไปทำใหม่ อุตสาหกรรมทหารจะไปทำที่ใน 3 จังหวัดภาคใต้ ต้องลงมือเลยครับ ทหารทำ เอกชนลงทุน 49 เปอร์เซ็นต์ ทหารโดยรัฐบาลลงทุน 51 เปอร์เซ็นต์ ลงมือเลยครับ สร้างไปเฝ้าไป เรื่องอย่างนี้คือเรื่องที่เล่าให้ฟังได้

แล้วก็ขอเรียนว่า ตอบคำถามยังไม่มันเท่าไร แค่นี้เอง แต่ว่า อะไรประสบมาผมคุยวันที่ 22 กุมภาพันธ์ วันนี้วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ได้มาผสมผสานเล่าให้ฟังแล้ว มีความหวังครับ มีวิธีการและเป็นที่เข้าใจกันว่าจะแก้ไขปัญหาอะไร ตรงไหน อย่างไร รายการอย่างนี้ละครับเป็นรายการที่ต้องขอบคุณช่อง 11 ที่เปิดโอกาสให้นายกรัฐมนตรีมาพูดจาประสาสมัคร แล้วก็ได้สื่อความกัน ได้ตอบคำถาม ว่าง ๆ ถ้าเผื่อวันไหนเนื้อหาไม่ดีจะตอบคำถามครึ่งหนึ่งเลย ครึ่งชั่วโมงตอบคำถามเลย วันนี้เวลาหมดส่งสัญญาณแล้ว อาทิตย์หน้าพบกันใหม่ ผมจะบอกให้ฟังไว้ล่วงหน้าว่าจะคุยเรื่องอะไรอย่างไร เนื้อหาจะเป็นอย่างนี้ จริง ๆ ใกล้ ๆ ถ้าเนื้อหาน้อย ก็จะได้คุยเรื่องที่ท่านส่งเข้ามาแล้วผมตอบคำถามไป แต่ว่าจะตอบเท่าที่รู้และตอบได้ทันที เหมือนอย่างที่พูดว่า สร้างทางจะใช้ 111 ทหารราบราชบุรี ทหารช่างราชบุรี เรื่องอุตสาหกรรมใครไม่กล้าลงทุน อุตสาหกรรมทหารจะไปลงทุน ไม่ว่าใครจะว่าอย่างไรลองมาดูสิครับ อสร.เขาทำได้เจริญก้าวหน้า เที่ยวนี้จะทำแบบ อสร. อุตสาหกรรมอาหารกระป๋องอะไรต่าง ๆ อาหารฮาลาล ทหารลงมือครับ ทหารถือ 51 เปอร์เซ็นต์ เอกชนลงทุน 49 เปอร์เซ็นต์ จะลงมือทันที วันนี้ต้องลาก่อนครับ วันอาทิตย์หน้าพบกันใหม่

สวัสดีครับ

ที่มา: กรมประชาสัมพันธ์


Japanese, Indian investors ready to re-invest in Thailand

BANGKOK: Major Japanese and Indian investors are now prepared to resume their investments in Thailand, Suwit Khunkitti, Thailand's deputy prime minister and industry minister, said.

His remarks were made after Hiroshi Shimozuma, chairman of the Kansai Economic Federation (Kankeiren) of Japan, yesterday asked him earlier in the day about the Thai government's investment policy for 2008 and 2009, as Japanese private investors wanted to invest more in Thailand.

Cooperation in the fields of trade and investment between the two countries would grow significantly thanks to the implementation of the Japan-Thailand Economic Partnership Agreement (JTEPA).

Suwit said his ministry would assign the Board of Investment to cooperate with Japanese Chamber of Commerce and Bangkok-based Japan External Trade Organization (JETRO) to help solve problems for Japanese investors in Thailand.

Japanese investors are keen on investing in steel, vehicles and vehicles spareparts industries in Thailand, he said.

In another meeting with Subramanium Ramadorai, CEO and managing director of Tata Consultancy Services Ltd , a major manufacturer of auto and steel in India, Suwit said the company was interested in investing in steel, auto and information technology businesses in Thailand.

Meanwhile, Prime Minister Samak Sundaravej told a press conference that Japanese ambassador to Thailand Hideaki Kobayashi and Kankeiren chairman Shimozuma had meting with him yesterday.

Samak reported that Japan's ambassador had told him that Japanese investors are now prepared to resume investment in Thailand as this country now has an elected government.

The Tokyo government is prepared to provide a loan at 1. 4 per cent interest for the elevated train running from Bang Yai in Nonthaburi province, passing through Bang Sue to Ratchaburana in the city's Thonburi side, Samak added.

Source: India times


เมื่อ CL กลายเป็นเครื่องมือใช้ต่อรองราคายา

หลังจากที่คนไทยส่วนใหญ่ได้อ่านบทความหรือข่าวที่มีแนวความคิดสนับสนุนการประกาศบังคับใช้ซีแอลของ นพ. มงคล ณ สงขลา ตามหน้าหนังสือพิมพ์มามากแล้ว วันนี้เราลองมาอ่านมุมมองของนายธีระ ฉกาจนโรดม นายกสมาคมผู้วิจัย และผลิตเภสัชภัณฑ์แห่งประเทศไทย หรือ PReMA ที่กล่าวถึงในเรื่องนี้บ้างซึ่งผู้เขียนคิดว่าเป็นมุมมองที่อยู่ในโลกของความเป็นจริงและสมเหตุสมผลเป็นอย่างยิ่ง

ก็ไม่แปลกค่ะที่กลุ่ม NGO ในสหรัฐ และ ฝรั่งเศส จะออกมาเต้นในเรื่องนี้เมื่อมีข่าวว่ารัฐบาลไทยกำลังทบทวนการประกาศบังคับใช้สิทธิโดยรัฐในยามะเร็งหลายตัวที่ประกาศโดยรัฐบาลก่อนหน้า แต่ยังไม่มีผลในเชิงปฏิบัติ เพราะกลุ่ม NGO ในสหรัฐ และ ฝรั่งเศสเหล่านี้มีแนวทางการเมืองแบบ Left wing ideology ที่เป็นปรปักษ์ต่อรัฐบาลบุชซึ่งเป็นฝ่ายขวาอยู่แล้ว ย่อมต้องสนับสนุนกิจกรรมใดๆก็ตามที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ของพวกเขา การประกาศบังคับใช้สิทธิโดยรัฐของกระทรวงสาธารณสุขโดยหมอมงคลจึงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือต่อสู้ทางการเมืองในเวทีโลกของกลุ่ม Left wing นั่นเอง

สัมภาษณ์ ธีระ ฉกาจนโรดม

การบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา (compulsory license หรือ CL) ยารักษาโรคมะเร็ง 3 รายการ ก่อนที่ น.พ.มงคล ณ สงขลา จะหมดวาระการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเพียงไม่กี่วัน ได้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่ผู้เกี่ยวข้องไปทั่ว ไม่ว่าจะเป็นคำสรรเสริญ จากกลุ่มเครือข่ายผู้ป่วย/NGO, ความวิตกกังวลของกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะผู้ดูแลด้านการส่งออกสินค้าไปยังตลาดหลักอย่างสหรัฐ และการกล่าวโทษของบริษัทยาเจ้าของสิทธิบัตร ผู้เสียผลประโยชน์

ในอีกมุมหนึ่ง "ประชาชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์ นายธีระ ฉกาจนโรดม นายกสมาคมผู้วิจัย และผลิตเภสัชภัณฑ์แห่งประเทศไทย หรือ PReMA จะมีทางออกในเรื่องของการบังคับใช้สิทธิ CL นำเข้ายาที่มีสิทธิบัตรได้หรือไม่ ภายใต้โจทย์ ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยารักษาโรคได้ในราคาถูก ขณะที่อีกด้านหนึ่ง บริษัทยาเจ้าของสิทธิบัตรเองก็อยู่ได้ด้วย

- ภาพรวมของการผลิตยาในไทยปัจจุบัน

สมาคม PReMA มีสมาชิกประมาณ 40 บริษัท เราเปิดดำเนินการมาแล้วกว่า 30 ปี สมาชิกเป็นบริษัทยาต่างประเทศ รวมทั้ง โรงงานที่รับผลิตยาที่มีสิทธิบัตรเพื่อจำหน่ายในประเทศไทยด้วย สำหรับภาพรวมตลาดยาในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็น ยาที่ไม่ติดสิทธิบัตร แต่มียาที่ติดสิทธิบัตรอยู่ประมาณ 100 กว่ารายการเท่านั้น และใน 100 กว่ารายการนี้ความจริงผู้ถือสิทธิบัตรจะได้รับการคุ้มครองไม่กี่ปี

เนื่องจากกระบวนการขึ้นทะเบียนยาใหม่ใช้เวลานาน หลังได้รับอนุญาตให้วางจำหน่ายในท้องตลาดเพียง 8-10 ปี ยาตัวนั้นก็หมดความนิยมลงแล้ว

ที่ผ่านมา บริษัทยากับผู้ซื้อสามารถอยู่ร่วมกันได้ มีการเจรจาซื้อขายยาโดยไม่ต้องใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (compulsory license หรือ CL) เหมือนกับที่รัฐบาลชุดที่ผ่านมาใช้อยู่

- การใช้ CL กับระบบสาธารณสุข

ผมว่า CL ควรเป็นวิธีสุดท้ายที่จะนำมาใช้ เพราะ CL ไม่ใช่เครื่องมือที่จะทำให้คนไทยซื้อยาราคาถูกลง การซื้อยาความจริงแล้วเป็นเรื่อง ของรัฐบาลในฐานะผู้จัดหายาให้กับประชาชน มากกว่า เพราะระบบสาธารณสุขของไทยประชาชน ได้รับการคุ้มครองด้านสุขภาพ แบ่งเป็น 3 ระบบ

1)ระบบข้าราชการและครอบครัว รัฐบาลเป็นคนจัดหายาให้ มีประมาณ 5-7 ล้านคน 2)ลูกจ้างที่ได้รับความคุ้มครองจากระบบประกันสังคม เรียกเก็บ 1 ใน 3 จากผู้ได้รับการคุ้มครองและจากธุรกิจอีก 2 ใน 3 ในส่วนนี้มีจำนวนคนที่ได้รับการคุ้มครอง 9 ล้านคน นอกจากต้องการอะไร ที่เกินกว่าสิทธิจึงต้องจ่ายเอง

และ 3)ประชาชนที่เหลืออีก 47-48 ล้านคนที่รัฐบาลได้จัดหาให้ใช้ระบบประกันสุขภาพเดิม 30 บาทรักษาทุกโรค แต่ปัจจุบันไม่ต้องเสียแล้ว

เท่ากับว่า ประชาชนไทยไม่ต้องควักเงินซื้อยาเอง ทั้งยาที่มีสิทธิบัตรและไม่มีสิทธิบัตร แต่การที่รัฐบาลประกาศบังคับใช้ CL ก็เพื่อที่รัฐบาลจะได้ไปซื้อยาที่ราคาถูกมาแทนยาที่เป็นนวัตกรรมภายใต้สิทธิบัตรของเจ้าของยานั้น ที่ผ่านมา น.พ.มงคล (น.พ.มงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข) ไม่เคยชี้แจงกับประชาชนอย่างชัดเจน ข่าวที่ออกมาคือ CL ทำให้ประชาชนได้ใช้ยาถูก แต่คุณภาพไม่เหมือนกัน

ทุกวันนี้ข้าราชการไปรักษาในโรงพยาบาล หรือลูกจ้าง หรือประกัน สปสช. ไปรักษาลิ่มเลือด ก็ได้ ยาพลาวิกซ์ ราคายามันอาจจะสูง แต่เป็น ยาจริง แต่เมื่อรัฐบาลจัดสรรเงินไม่เพียงพอต่อการซื้อยาจริงจึงต้องประกาศ CL เพื่อจะได้ไปซื้อยาเลียนแบบ ที่ราคาถูกกว่า ดังนั้น CL จึงเกิดประโยชน์กับคนที่ทำหน้าที่ซื้อยาให้ประชาชนเท่านั้น

อย่างการประกาศ CL ที่ผ่านมา มีขั้นตอนรัดกุมขนาดไหน ต้องไม่ลืมว่า การประกาศ CL เป็นหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ เพราะกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ดูแลเรื่องสิทธิบัตร ฉะนั้นจึงต้องมีการหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงพาณิชย์-กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงสาธารณสุข ทั้ง 3 กระทรวง มีมติร่วมกันเสียก่อน จึงจะดำเนินการได้

โดยเฉพาะ CL ครั้งหลังสุด (ยามะเร็ง 3 รายการที่ประกาศและกำหนดให้มีการนำเข้า) บริษัทเจ้าของสิทธิบัตร 3 บริษัท คือ ซาโนฟี- โรซ และโนวาตีส เพิ่งได้รับประกาศการบังคับใช้ CL ยามะเร็งของบริษัทตัวเองในวันที่ 31 มกราคม 2551 ทางอีเมล์ แต่หัวหนังสือที่ออกจากกระทรวงสาธารณสุขลงวันที่ 4 มกราคม 2551 หมายความว่า หนังสือแจ้งมันเดินทางช้าไปเกือบเดือน หรือลงวันที่ย้อนหลังกันแน่

ความจริงผมไม่ได้เห็นหนังสือหรือประกาศ CL ยามะเร็ง แต่บริษัทสมาชิกของเราแจ้งให้ทราบว่า ได้รับการแจ้งจากกระทรวงให้ไปเปิดประมูลยา (เทนเดอร์) ซึ่งเป็นยาที่จัดซื้อภายใต้ CL การทำอย่างนี้ทำให้เกิดคำถามถึงความถูกต้อง เพราะ การประกาศ CL ยา 3 รายการแรกเป็นยาเอดส์ 2 ตัว ให้อธิบดีกรมควบคุมโรคประกาศ แต่ยาที่ไม่ใช่โรคติดต่อให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขประกาศ แต่ยามะเร็ง 3 รายการครั้งหลังสุด เราไม่เห็นว่าเป็นการประกาศ CL โดยใคร หมอมงคลใช่หรือไม่

- กระทรวงสาธารณสุข ออก CL อย่างคลุมเครือ

เราต้องการให้ทบทวนก่อนว่า วิธีการอย่างนี้ถูกต้องหรือไม่ ผมว่ามันผิดปกติ รวบรัด เกินไป แรกๆ ผมคิดว่าจะไปขอพบ รมว.สาธารณสุขคนใหม่ (นายไชยา สะสมทรัพย์) แต่พอมีข่าวล็อบบี้ ผมก็ไม่อยากให้มันออกไปอย่างนี้ เราอยากให้เป็นไปตามกระบวนการของประชาธิปไตย

อย่างไรก็ตาม PReMA ยังพยายามทำงานร่วมกับรัฐบาล มีคณะกรรมการทำงานร่วมกัน ยินดีช่วยเหลือในการเข้าถึงยาเพื่อแก้ไขปัญหาการเข้าถึงยาของผู้ป่วย แต่เราต้องคำนึงว่า การดำเนินการทุกอย่างมีข้อดีและข้อเสีย ต้องคำนึงถึงผลกระทบทางลบ โดยเฉพาะภาพลักษณ์ของประเทศ เราไม่ใช่ประเทศปิด ต้องคำนึงถึงกติกาสากลด้วย

- CL กับยารักษาโรคมะเร็ง

จริงอยู่ที่โรคมะเร็งร้ายแรง แต่อาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ CL ก็ได้ รัฐบาลต้องดูว่า การจัดสรรยาให้ผู้ป่วยนั้น ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยคนนั้นใช้ระบบประกันสุขภาพอะไร ใช้กองทุนอะไรรักษา ใครเป็นคนจัดหา และมีงบประมาณเท่าไร เผมชื่อว่า กระทรวงขาดข้อมูลตัวนี้ เราเห็นว่าที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขใช้ปัจจัยราคายาเป็นตัวตั้งแล้วประกาศ CL ตูมออกมา เป็นการใช้วิธีเฉพาะหน้าแก้ปัญหาระยะยาว ผมเข้าใจว่า ถ้ามีการเจรจากันบริษัทยายินดีที่จะลดราคายา และบางบริษัทก็มีโครงการให้ยาฟรีสำหรับผู้ป่วยอยู่แล้ว

- กระบวนการเจรจาต่อรองราคายาที่ผ่านมา

ปกติกระบวนการเจรจาต่อรองราคายามีอยู่แล้วโดยผู้ซื้อกับผู้ขาย แต่กระบวนการต่อรองราคายาระดับประเทศระหว่าง กระทรวงสาธารณสุข และ อุตสาหกรรมยา ผู้ป่วยกับโรงพยาบาลไม่ได้ต่อรองเพราะแพทย์เป็นคนตัดสินเองว่า คนไข้ต้องการยาระดับไหน ซึ่งแต่ละตัวรักษาโรคในกลุ่มเดียวกัน แต่ผลมันต่างกันเท่านั้นเอง

- มองว่า CL เป็นเครื่องมือในการต่อรองราคายา

จะมองอย่างนั้นก็ได้ แต่ระบบที่ใช้มันไม่เป็นสากล การบังคับใช้ CL ต้องเกิดเหตุการณ์ที่เฉียบพลันจริงๆ หากไม่ใช้ CL แล้วจะมียาไม่เพียงพอกับผู้ป่วย นี่เป็นเหตุผลสากลที่อนุญาตให้ใช้ CL ไม่ใช่เพื่อการต่อรองราคาอย่างที่กระทรวงสาธารณสุขใช้อยู่ในปัจจุบัน เพราะการแก้ไขปัญหาระบบสุขภาพต้องดำเนินการในระยะยาว โดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณด้านสุขภาพคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อสัดส่วนอัตราการขยายตัวของ GDP ของไทยอยู่แค่ 3.3% เท่านั้นเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เราจึงต้องพัฒนาจุดนี้ เราต้องลงทุน เป็นประการแรก

ประการที่สอง ต้องพัฒนาจำนวนแพทย์ให้เพียงพอ โดยเฉพาะในชนบท และ สาม เมื่อมีโครงการของ สปสช.แล้ว ผู้ป่วยก็ทะลักเข้ามารักษาจำนวนมาก จนแพทย์ไม่มีเวลาค้นคว้า พัฒนาขีดความสามารถ ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องแก้ไข

- มองอย่างไรที่ไทยใช้ CL ถี่มากใน 1 ปี

การบังคับใช้ CL ถือเป็นการล่วงละเมิดสิทธิบัตรของเจ้าของเขาอยู่แล้ว ทำเหมือนกับไทยไม่เคารพทรัพย์สินของประเทศอื่น แม้ว่าจะไม่มีการนำเข้าจริง แต่เมื่อประกาศ CL ออกไปแล้วก็ถือว่าละเมิดสิทธิไปแล้ว บริษัทยาเจ้าของสิทธิบัตรย่อมได้รับความเสียหายเพราะการวิจัย ยาแต่ละรายการต้องใช้งบประมาณจำนวนมากถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อหนึ่งตัวยา ซึ่งประเด็นนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ยาราคาสูงโดยเฉพาะยาในกลุ่มมะเร็ง-เอดส์-หัวใจ มีการวิจัยอยู่ในงบประมาณ 800-1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ประกอบกับคนป่วยน้อยหารเฉลี่ยราคายาต่อหัวก็สูง

ส่วนการจะไปจำกัดการนำเข้ายาสามัญจากอินเดียทำไม่ได้ เพราะอินเดียมีกฎหมายสิทธิบัตรปี 2005 ฉะนั้น ยาที่เกิดก่อนปีนี้จึงเป็นยาสามัญ เมื่อประเทศเขาไม่มีกฎหมายก็บังคับไม่ได้ แต่เมื่อมีกฎหมายแล้วใช้ได้ แต่กฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง แต่ยาที่จดสิทธิบัตรหลัง 2005 ไม่สามารถผลิตเป็นยาสามัญได้

แต่ถ้าเราประกาศ CL ไปเรื่อยๆ ผมเชื่อว่าบริษัทยาจะไม่นำยาเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เหมือนอย่างกรณีของบริษัทแอบบอต เพราะถึงอย่างไรเมื่อประกาศ CL ไปแล้วก็เหมือนกับคุณเข้าบ้านเขาแล้ว ถึงจะบอกว่าไม่เอาของเขาออกมาก็ไม่ใช่ไม่เสียหาย แต่หากจะไม่นำเข้าเพราะบริษัทยายอมลดราคาลงไปแล้วก็ยกเลิก CL ไปเลย ต่างประเทศจะสรรเสริญคุณ ถึงเวลาจำเป็นฉุกเฉินจริงค่อยประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (CL) ใหม่ก็ได้

- เห็นมีข่าวเรื่องล็อบบี้ออกมา

ไม่ได้ล็อบบี้ แต่อย่างไรก็ตาม สมาคม PReMA มีความยินดีที่นายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุขคนใหม่ มีนโยบายที่จะทบทวนการประกาศใช้ CL ยามะเร็ง 3 รายการ โคซีแท็กเซล-เออร์โลทินิบ และเล็ทโทรโซล ซึ่งอยู่ระหว่างเตรียมประกวดราคานำเข้าอยู่ในขณะนี้ เรายังไม่ออกแถลงการณ์ฉบับที่สอง จนกว่าจะได้รับทราบความชัดเจนจาก รมว.สาธารณสุขก่อน

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ


บทความที่เกี่ยวข้อง


สหรัฐเล็งร้องWTO ระบุการประกาศใช้ CL ของไทยไม่โปร่งใส

21 กุมภาพันธ์ 2551

แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า มีความเป็นไปได้ที่ไทยจะถูกสหรัฐฟ้องร้องต่อองค์การการค้าโลก (WTO) ให้ยกเลิกการบังคับใช้สิทธิภายใต้ยาที่มีสิทธิบัตร (CL)

เนื่องจากสหรัฐเห็นว่าการประกาศใช้ CL ของไทยไม่โปร่งใส ไม่มีการหารือกับเจ้าของสิทธิบัตรก่อน อย่างไรก็ตาม หากสหรัฐฟ้องไทยจริง กระทรวงสาธารณสุขไทยจะต้องเป็นผู้ชี้แจงข้อกล่าวหา ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขยืนยันตลอดว่าได้ดำเนินการประกาศ CL ถูกต้องทุกขั้นตอน

ส่วนการประชุมหารือเพื่อแก้ไขปัญหาการบังคับใช้ CL ซีแอลระหว่าง 3 กระทรวง คือ สาธารณสุข พาณิชย์ และการต่างประเทศ ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะมีการทบทวนหรือดำเนินการต่อ เพราะข้อมูลยังมีความคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า ภายในเดือน ก.พ.นี้ สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) จะเปิดโอกาสให้ประเทศต่างๆ ยื่นคำร้องขอคืนสิทธิกรณีปกติ และขอผ่อนผันไม่ให้ระงับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) โดยของไทยมี 18 รายการ เป็นการยื่นขอคืนสิทธิกรณีปกติ กรณีถูกตัดสิทธิไปแล้ว และมูลค่าการส่งออกต่ำกว่าเพดานที่สหรัฐกำหนด มี 6 รายการ เช่น ลิ้นจี่ ลำไยกระป๋อง เม็ดพลาสติก

ส่วนการขอผ่อนผันไม่ให้ระงับสิทธิ เนื่องจากมีส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐเกิน 50% แต่มูลค่าที่สหรัฐนำเข้าไม่เกินมูลค่าขั้นต่ำ มี 12 รายการ เช่น ดอกกล้วยไม้สด ทุเรียนสด มะละกอแปรรูป ทองแดงบริสุทธิ์ เป็นต้น.

ที่มา: ไทยโพสต์


Thai military dominates appointments to new Senate

Under an army-backed constitution, which was approved in Thailand's first-ever referendum last year, only 76 senators will be elected in polls set for March 2.


The 74 were appointed by a seven-member committee headed by the military-installed chief of the Constitutional Court. Other committee members include top judges and anti-corruption officials.

The ranks of the appointed senators are heavy on retired soldiers and police, as well as lawmakers who served in the parliament chosen by the military after the 2006 coup against then-prime minister Thaksin Shinawatra.

Fourteen of the new senators are soldiers or police generals, and eight are from the former junta's parliament, Election Commission secretary general Suthiphon Thaweechaiyagarn told reporters.

The rest include representatives of different professions, including the media, health care, business and agriculture. Twelve of the appointees are women, he added.

The pro-Thaksin People Power Party, which swept to victory in December polls, has blasted the Senate selection process as undemocratic and vowed to amend the constitution so that all seats will be elected.

Prime Minister Samak Sundaravej, who won office by openly campaigning as a proxy for Thaksin, has said he will work to amend the constitution in the last years of his four-year term.

Thaksin has lived in exile since the coup but has indicated that he will return by May to defend himself against corruption charges filed by army-backed authorities.

Source: Yahoo News!


เปิดรายชื่อ ส.ว.ลากตั้ง 74 คน ทหาร-ตำรวจได้มากสุด



เปิดรายชื่อ ส.ว.ลากตั้ง 74 คน ทหาร-ตำรวจได้มากสุด 14 คน ทั้ง เสธ.อู้, อำนวย เพชรศิริ, สุนทร ซ้ายขวัญ ขณะที่นักธุรกิจติดโผ 8 คน อาทิ บุญชัย โชควัฒนา, ถาวร ลีนุตพงษ์, วรวุฒิ โรจนพานิช, อนุศาสน์ สุวรรณมงคล

ส่วนอดีต สนช.ติดโผ 8 คน ฟากสื่อมวลชน 5 คน เช่น สมชาย แสวงการ, คำนูณ สิทธิสมาน ที่เหลือคละเคล้ากันไป ในบรรดา ส.ว.สรรหา 74 คน แบ่งเป็นสัดส่วน ทหาร-ตำรวจ 13 คน ผู้หญิง 12 คน ผู้พิการ 1 คน อดีต สนช. 8 คน และมีผู้ที่อยู่ในเครือข่ายของกลุ่มพันธมิตร 4 คน

สืบเนื่องจากตามที่คณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ได้รวบรวมรายชื่อบุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภาจากองค์กรภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ และภาคอื่นๆ จำนวน 1,087 องค์กร เสนอต่อคณะ กรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ตามมาตรา 129 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 เพื่อให้คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาพิจารณาสรรหาบุคคลตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นสมาชิกวุฒิสภานั้นคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาได้ดำเนินการพิจารณาสรรหาบุคคลตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 114 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เสร็จสิ้นแล้วเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551 ดังปรากฏรายชื่อบุคคลที่ได้รับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 74 คน เรียงตามลำดับตัวอักษรดังนี้

ภาครัฐ
1.นายจารึก อนุพงษ์ อายุ 62 ปี อดีตรองปลัดกระทรวงคมนาคม (เทศบาลตำบลปากน้ำหลังสวนเสนอชื่อ)2.นายเจตน์ ศิรธรานนท์ อายุ 58 ปี อดีต ผอ.รพ.พระจอมเกล้า จ.เพชรบุรี (กระทรวงสาธารณสุขเสนอชื่อ)
3.นายฐิระวัตร กุลละวณิชย์ อายุ 61 ปี อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย (กรมโยธาธิการและผังเมืองเสนอชื่อ)
4.พล.ร.อ.ณรงค์ ยุทธวงศ์ อายุ 66 ปี อดีต ผบ.สูงสุด (กองทัพเรือเสนอชื่อ)
5.นายพิเชต สุนทรพิพิธ อายุ 67 ปี อดีตผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา (สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอชื่อ)
6.นายไพบูลย์ นิติตะวัน อายุ 54 ปี นักธุรกิจ อดีตที่ปรึกษาสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.เสนอชื่อ)
7.พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช อายุ 60 ปี อดีต ผช.ผบ.ทบ. (สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมเสนอชื่อ)
8.นายสงคราม ชื่นภิบาล อายุ 66 ปี อดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอชื่อ)
9.นายสมบูรณ์ งามลักษณ์ อายุ 61 ปี อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา (จังหวัดนครราชสีมาเสนอชื่อ) 10.พล.ท.สุจินดา สุทธิพงศ์ อายุ 59 ปี ผู้ชำนาญการ กรมราชองครักษ์ (กรมราชองครักษ์เสนอชื่อ)
11.นายสุพจน์ โพธิ์ทองคำ อายุ 67 ปี อดีตผู้ว่าฯชัยภูมิ (จังหวัดชัยภูมิเสนอชื่อ)
12.นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล อายุ 46 ปี นักธุรกิจ กรรมการสภาวัฒนธรรม จ.ปัตตานี (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เสนอชื่อ)
13.พล.อ.อ.อาคม กาญจนหิรัญ อายุ 60 ปี อดีตเจ้ากรมกำลังพลทหาร (กองทัพอากาศเสนอชื่อ)
14.พล.ต.อ.อำนวย เพชรศิริ อายุ 61 ปี อดีตรอง ผบ.ตร. (สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอชื่อ)

ภาควิชาการ
1.รศ.กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล อายุ 59 ปี นักวิจัยสาขาพยาบาลศาสตร์ มูลนิธิพยาบาลศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลเสนอชื่อ)
2.นายคำนูณ สิทธิสมาน อายุ 52 ปี สื่อมวลชน (มูลนิธิส่งเสริมนโยบายศึกษาเสนอชื่อ)
3.นายจำนงค์ สวมประคำ อายุ 65 ปี อดีตเลขาธิการวุฒิสภา (มูลนิธิศิษย์เก่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเสนอชื่อ)
4.นายโชติรัส ชวนิชย์ อายุ 53 ปี อธิการบดีมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย (ม.อีสเทิร์นเอเชียเสนอชื่อ)
5.ศ.เกียรติคุณตรึงใจ บูรณสมภพ อายุ 65 ปี อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร (มหาวิทยาลัยศิลปากรเสนอชื่อ)
6.รศ.ทรงศักดิ์ ศรีอนุชาต อายุ 64 ปี นายกสมาคมพิษวิทยาแห่งประเทศไทย (สมาคมพิษวิทยาแห่งประเทศไทยเสนอชื่อ)
7.นายธนู กุลชล อายุ 66 ปี นักบริหารและจัดการการอุดมศึกษาเอกชน (มหาวิทยาลัยกรุงเทพเสนอชื่อ)
8.นายประสาร มฤคพิทักษ์ อายุ 60 ปี นักฝึกอบรมทางวิชาการ (มูลนิธิ 14 ตุลา เสนอชื่อ)
9.รศ.พรชัย สุนทรพันธุ์ อายุ 65 ปี คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเสนอชื่อ)
10.ศ.ภิชาน นพ.พินิจ กุลละวณิชย์ อายุ 65 ปี อดีตเลขาธิการแพทยสภา (ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยเสนอชื่อ)
11.พล.ต.ท.ยุทธนา ไทยภักดี อายุ 62 ปี อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 (สมาคมโรงเรียนนายร้อยตำรวจเสนอชื่อ)
12.นายวิทวัส บุญญสถิต อายุ 59 ปี นักธุรกิจ (มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีเสนอชื่อ)
13.ศ.นพ.วิรัติ พาณิชย์พงษ์ อายุ 61 ปี กรรมการแพทยสภา (ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทยเสนอชื่อ)
14.ศ.สุกัญญา สุดบรรทัด อายุ 61 ปี คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มูลนิธิพัฒนาการศึกษาเพื่อศีลธรรมเสนอชื่อ)
15.นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย อายุ 55 ปี ทนายความ (เนติบัณฑิตยสภาเสนอชื่อ)

ภาควิชาชีพ
1.พล.ต.ต.เกริก กัลยาณมิตร อายุ 63 ปี ข้าราชการบำนาญ (สมาคมผู้ประกอบวิชาชีพบริหารการศึกษาพิจิตรเสนอชื่อ)
2.นายชลิต แก้วจินดา อายุ 62 ปี วิศวกร เกษตรกรชาวไร้อ้อย (สมาคมชาวไร่อ้อยลูกพระยาพิชัยเสนอชื่อ)3.นายตวง อันทะไชย อายุ 46 ปี นักกฎหมายด้านการศึกษา (สมาคมข้าราชการพลเรือนและบุคลากร กระทรวงศึกษาเสนอชื่อ)
4.ศ.ทัศนา บุญทอง อายุ 65 ปี อดีตนายกสภาการพยาบาล (สภาการพยาบาลเสนอชื่อ)
5.รศ.พญ.พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ อายุ 67 ปี อดีตคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (สมาคมแพทย์สตรีแห่งประเทศไทยเสนอชื่อ)
6.นายรุสดี บินหะยีสะมะแอ อายุ 50 ปี เกษตรกร (ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรนราธิวาส จำกัดเสนอชื่อ)
7.นายไรน่าน อรุณรังษี อายุ 64 ปี ที่ปรึกษาศูนย์วัฒนธรรมสถานทูตอิหร่าน (สมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์ภูธรเสนอชื่อ)
8.นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ อายุ 56 ปี นักธุรกิจ ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย (สมาคมการประมงแห่งประเทศไทยเสนอชื่อ)
9.ศ.ภิชาน วีระ มาวิจักขณ์ อายุ 64 ปี อดีตอธิบดีกรมโรงานอุตสาหกรรม นายกสภาวิศวกร (สภาวิศวกรเสนอชื่อ)
10.นายสมชาย แสวงการ อายุ 46 ปี สื่อมวลชนด้านวิทยุและโทรทัศน์ (มูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิดเสนอชื่อ) 11.นายสมัคร เชวภานันท์ อายุ 59 ปี อุปนายกสภาทนายความ โฆษกสภาทนายความ (สภาทนายความเสนอชื่อ)
12.พล.ร.อ.สุรศักดิ์ ศรีอรุณ อายุ 61 ปี อดีต ผบ.สถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง (สมาคมต่อเรือและซ่อมเรือไทยเสนอชื่อ)
13.นายอนันต์ วรธิติพงศ์ อายุ 53 ปี นายกสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย (สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยเสนอชื่อ)
14.นายอนุรักษ์ นิยมเวช อายุ 43 ปี กรรมการผู้จัดการ บริษัท กฎหมายธุรกิจอนุรักษ์ จำกัด (มูลนิธิสหพันธ์ธุรกิจการออกแบบและก่อสร้างแห่งประเทศไทย เสนอชื่อ)
15.รศ.อัจฉรา เตชฤทธิพิทักษ์ อายุ 60 ปี อดีตประธานสภาอาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (สมาคมพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก เสนอชื่อ)

ภาคเอกชน
1.นายถาวร ลีนุตพงษ์ อายุ 50 ปี กรรมการบริหารบริษัท ยนตรกิจกรุ๊ป จำกัด (สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานบริษัท เอ.ที.พี.อินดัสตรี จำกัด เสนอชื่อ)
2.นายธวัช บวรวนิชยกูร อายุ 52 ปี นักธุรกิจ (สมาคมอัสสัมชัญเสนอชื่อ)
3.นายธีระจิตต์ สถิโรตมวงศ์ อายุ 66 ปี นักธุรกิจ (หอการค้าไทย-นอร์เวย์ เสนอชื่อ)
4.นางนิลวรรณ เพชระบูรณิน อายุ 58 ปี นักบริหารธุรกิจไบโอเทคโนโลยี (สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์เสนอชื่อ)
5.นายบุญชัย โชควัฒนา อายุ 61 ปี นักธุรกิจ (มูลนิธิ ดร.เทียม โชควัฒนา เสนอชื่อ)
6.นายพิชัย อุตมาภินันท์ อายุ 57 ปี อดีตนายกสมาคมการฟอกย้อมพิมพ์และตกแต่งสิ่งทอไทย (สมาคมการฟอกย้อมพิมพ์และตกแต่งสิ่งทอไทยเสนอชื่อ)
7.ร.ท.ภูมิศักดิ์ หงส์หยก อายุ 61 ปี ประธานชมรมอสังหาริมทรัพย์ภูเก็ต (หอการค้าจังหวัดภูเก็ตเสนอชื่อ)
8.นางยุวดี นิ่มสมบุญ อายุ 62 ปี นายกสมาคมคาทอลิกแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษาสภาสตรีแห่งชาติ (สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์เสนอชื่อ)
9.นางรสสุคนธ์ ภูริเดช อายุ 65 ปี ข้าราชการบำนาญกรมสรรพากร (สมาคมแม่ดีเด่นและพ่อตัวอย่างแห่งชาติเสนอชื่อ)
10.นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อายุ 47 ปี ที่ปรึกษาอิสระด้านกฎหมายภาษีอากร นิติบุคคล (สมาคมอาคารชุดเซ็นจูเรียนปาร์คเสนอชื่อ)
11.นายวรินทร์ เทียมจรัส อายุ 59 ปี รองประธานกรรมการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมสภาทนายความ (มูลนิธิเพื่อนช้างเสนอชื่อ)
12.นายวันชัย แสงสุขเอี่ยม อายุ 56 ปี ประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัท ซวิคฟู้ด อินดัสตรี จำกัด (สมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทยเสนอชื่อ)
13.พ.ต.อ.สนธยา แสงเภา อายุ 61 ปี ที่ปรึกษาส่วนงานมวลชนและกิจการพิเศษ สำนักงานเลขาธิการ กอ.รมน. (สมาคมไทยซิกข์รักษาความมั่นคงภายในเสนอชื่อ)
14.นายอโณทัย ฤทธิปัญญาวงศ์ อายุ 63 ปี สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (หอการค้าจังหวัดชลบุรี และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรีเสนอชื่อ)
15.นางอุไร คุณานันทกุล อายุ 63 ปี นักธุรกิจ (สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยเสนอชื่อ)

ภาคอื่นๆ
1.พ.ท.กมล ประจวบเหมาะ อายุ 72 ปี อดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์ (สมาคมนักปกครองแห่งประเทศไทยเสนอชื่อ)
2.พล.อ.เกษมศักดิ์ ปลูกสวัสดิ์ อายุ 62 ปี อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหมและ (สมาคมศิษย์เก่าเซนต์คาเบรียลเสนอชื่อ)
3.พล.อ.อ.ณพฤษภ์ มัณฑะจิตร อายุ 61 ปี อดีต ผช.ผบ.ทอ. (สมาคมสโมสรลูกเสืออากาศเสนอชื่อ)
4.นางทิพย์วัลย์ สมุทรักษ์ อายุ 64 ปี อดีตคณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทยฯเสนอชื่อ)
5.นายประสงค์ นุรักษ์ อายุ 64 ปี นักวิชาการอิสระ (สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจกิจการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเสนอชื่อ)
6.ศ.พิเศษ ประสพสุข บุญเดช อายุ 63 ปี อดีตประธานศาลอุทธรณ์ (มูลนิธิ ศ.อดุล วิเชียรเจริญและศิษย์เสนอชื่อ)
7.ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต อายุ 55 ปี ประธานมูลนิธิวิภาวดีรังสิต (มูลนิธิวิภาวดีรังสิตเสนอชื่อ)
8.นายไพโรจน์ ถัดทะพงษ์ อายุ 61 ปี ข้าราชการบำนาญ ที่ปรึกษาโรงเรียนจุฬาภณราชวิทยาลัย จ.พิษณุโลก (โรงเรียนจุฬาภณราชวิทยาลัยเสนอชื่อ)
9.นายมณเฑียร บุญตัน อายุ 43 ปี นายกสมาคมตาบอดแห่งประเทศไทย (สมาคมตาบอดแห่งประเทศไทยเสนอชื่อ)
10.นายวรวุฒิ โรจนพานิช อายุ 61 ปี อุปนายกสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย กรรมการสภามวยโลก (สมาคมนักเรียนเก่าอำนวยศิลป์เสนอชื่อ)
11.นายแวดือรามา มะมิงจิ อายุ 58 ปี ประธานกรรมการอิสลาม จ.ปัตตานี และกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (มูลนิธิเพื่อการศึกษาโรงเรียนเตรียมศึกษาวิทยาเสนอชื่อ)
12.พล.ต.ต.สุเทพ สุขสงวน อายุ 66 ปี อดีตสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ปี 2516 (มูลนิธิสงเคราะห์ตำรวจตระเวนชายแดนและครอบครัวฯเสนอชื่อ)
13.พล.ต.อ.สุนทร ซ้ายขวัญ อายุ 63 ปี อดีตรอง ผบ.ตร. (สมาคมชาวปักษ์ใต้ฯเสนอชื่อ)
14.ทพ.อนุศักดิ์ คงมาลัย อายุ 52 ปี ผู้บริหารสถานพยาบาลเอกชน ทันตแพทย์ (มูลนิธิศุภมิตรร่วมใจเสนอชื่อ)
15.นายอิทธิพล เรืองวรบูรณ์ อายุ 61 ปี เกษตรกร กำนันยอดเยี่ยมปี 2534 (สมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทยเสนอชื่อ)

หมายเหตุ - เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในฐานะกรรมการสรรหาวุฒิสภา (ส.ว.) แถลงรายชื่อ ส.ว.ทั้ง 74 คน ภายหลัง กกต.ทั้ง 5 คน ลงนามประกาศรับรองตามกฎหมาย

ที่มา: มติชน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


นายกรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา / PM Samak's policy statement

On Monday 18 February 2008, Prime Minister Samak Sundaravej presented his government's policy statement to Parliament. The government policy is expected to receive an endorsement from parliament in a few days after deliberations.

click 'PM Samak's policy statement' to read the government's policy statement:

Source: mfa

นายกรัฐมนตรีแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา ย้ำดำเนินนโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก 19 ข้อ พร้อมวางนโยบายที่จะดำเนินการภายใน 4 ปีอีก 7 นโยบาย

วันนี้ เวลา 09.40 น. ณ อาคารรัฐสภา นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา ดังนี้

ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ

ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 29 มกราคม พุทธศักราช 2551 และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2551 นั้น บัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเรียบร้อยแล้ว โดยยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และครอบคลุมถึงแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามบทบัญญัติในหมวด 5 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คณะรัฐมนตรีจึงขอแถลงนโยบายดังกล่าวต่อที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อให้ทราบถึงเจตนารมณ์ ยุทธศาสตร์ และนโยบายของรัฐบาล ที่มุ่งมั่นที่จะสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงก้าวหน้าในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง และสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้น เพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชนชาวไทยทุกคน
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ

เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะเป็นปีที่ต้องเผชิญกับปัญหาจากเศรษฐกิจโลกที่มีความรุนแรง อย่างน้อยสองประการ คือ ปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพของอสังหาริมทรัพย์ในประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบถึงตลาดเงินและเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในโลก และปัญหาราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและก่อให้เกิดแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อในโลกและในประเทศไทยนอกจากปัญหาเฉพาะหน้าดังกล่าวแล้ว รัฐบาลยังมีภารกิจสำคัญอื่น ๆ ในการวางรากฐานการเจริญเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืน และส่งเสริมภาคการผลิตและบริการให้สามารถปรับตัวไปสู่การผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูงขึ้น เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็นปัญหาโครงสร้างระยะยาวของประเทศ ส่วนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม สังคมไทยจะเริ่มเข้าสู่จุดเริ่มต้นของสังคมผู้สูงอายุในปี 2552 และประชากรไทยตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุอยู่ในภาวะที่ต้องปรับตัวเข้าสู่สังคมฐานความรู้ในยุคโลกาภิวัตน์ ในขณะที่ภาวะโลกร้อน ภัยธรรมชาติ และปัจจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

ในช่วง 4 ปีต่อไป รัฐบาลจะดูแลปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว และมุ่งมั่นที่จะบริหารประเทศ ภายใต้หลักการสำคัญสองประการ ซึ่งรัฐบาลเชื่อมั่นว่าจะสามารถสร้างความยั่งยืนให้แก่เศรษฐกิจและสังคมไทย และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนไทยและต่างประเทศ และประชาคมโลก

ประการแรก คือ การสร้างความสมานฉันท์ให้แก่คนไทยทุกภาคส่วนที่จะต้องร่วมมือกันในการนำพาประเทศให้ผ่านพ้นวิกฤติการณ์ต่าง ๆ และสร้างรากฐานที่มั่นคงสำหรับประเทศในอนาคต การสร้างความสมานฉันท์นี้รวมถึงเรื่องที่สำคัญ คือ การแก้ไขและเยียวยาปัญหาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปสู่แนวทางของการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและสามัคคีของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ และพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศให้เป็นฐานเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ

ประการที่สอง คือ การสร้างความสมดุลและภูมิคุ้มกันให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับนโยบายในทุกด้าน ตั้งแต่การพัฒนาคนให้มีคุณธรรมนำความรู้ การสนับสนุนการออมระยะยาว การส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม การพัฒนาชุมชนให้พึ่งตนเองได้และเชื่อมโยงกับตลาดอย่างเป็นขั้นตอน จนถึงการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน การดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุน และการเพิ่มความสามารถในการใช้ประโยชน์และต่อยอดเทคโนโลยีให้เข้ากับภูมิปัญญาไทยเพื่อนำไปสู่นวัตกรรมและสร้างรายได้ให้แก่ระบบเศรษฐกิจตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวทางหลักในการดำเนินงานของรัฐบาลตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

นอกจากหลักการทั้งสองประการแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้ให้ความสำคัญแก่บทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาประเทศ และกลไกการตรวจสอบการดำเนินงานของภาครัฐ เพื่อให้อยู่ในกรอบแนวทางของการบริหารประเทศตามหลักธรรมาภิบาล รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว และจะยึดเป็นแนวทางในการดำเนินงานของรัฐบาล

ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ

รัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินที่สำคัญ โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่ต้องเริ่มดำเนินการในปีแรก และระยะการบริหารราชการ 4 ปีของรัฐบาล ดังต่อไปนี้

1. นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

รัฐบาลถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วนในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในสังคม ปราบปรามยาเสพติด สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน ฟื้นฟูให้เศรษฐกิจมีความเข้มแข็ง แก้ไขปัญหาความยากจน โดยพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อเพิ่มศักยภาพการหารายได้ ลดรายจ่าย สร้างโอกาสในอาชีพอย่างยั่งยืนให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกร แรงงาน และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญเร่งด่วน โดยมีนโยบายที่สำคัญ คือ

1.1 สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหาวิกฤติของประเทศ และสร้างเสถียรภาพทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง สังคม และเศรษฐกิจ โดยมุ่งถึงประโยชน์สุขของประชาชนส่วนรวมเป็นสำคัญ ซึ่งจะเป็นรากฐานที่มั่นคงในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

1.2 แก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยน้อมนำแนวทางพระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาดำเนินภารกิจในด้านความมั่นคงและด้านการพัฒนา โดยให้มีความสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของพื้นที่ วิถีชีวิต วัฒนธรรม และความเชื่อของประชาชน ตลอดทั้งอำนวยความเป็นธรรมและความยุติธรรม โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สร้างความสมานฉันท์และสันติสุขในพื้นที่โดยเร็วที่สุด

1.3 เร่งรัดแก้ไขปัญหายาเสพติดและปราบปรามผู้มีอิทธิพล โดยยังคงยึดหลักการ “ผู้เสพ คือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษา ส่วนผู้ค้า คือผู้ที่ต้องได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรม” ทั้งนี้ รัฐบาลจะเร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด ลดปริมาณผู้เสพยา และป้องกันมิให้กลุ่มเสี่ยงเข้าไปเป็นเหยื่อของยาเสพติด โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนควบคู่กับมาตรการปราบปรามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม และใช้มาตรการทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมตัดช่องทางการหาเงินทุจริตของผู้มีอิทธิพลในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้ทำลายป่า การค้ามนุษย์ และการเป็นเจ้ามือการพนัน เป็นต้น

1.4 ดำเนินมาตรการในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ โดยดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาท ระดับราคาสินค้าอุปโภคบริโภค และราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต พร้อมทั้งจัดหาสินค้าราคาประหยัดจำหน่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้มีรายได้น้อย

1.5 เพิ่มศักยภาพของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ให้เป็นแหล่งเงินหมุนเวียนในการลงทุน สร้างงานและอาชีพ สร้างรายได้และลดรายจ่ายให้แก่ประชาชนในชุมชนและวิสาหกิจขนาดเล็กในครัวเรือน พัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่มีการบริหารจัดการที่ดี ให้สามารถยกระดับเป็นธนาคารหมู่บ้านและชุมชน

1.6 จัดสรรงบประมาณตามขนาดประชากร (Small Medium Large: SML) ให้ครบทุกหมู่บ้านและชุมชน เพื่อสร้างโอกาสให้ชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาของชุมชนด้วยตนเอง และพัฒนาโครงการที่จะก่อให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืน พัฒนาสินทรัพย์ชุมชน อนุรักษ์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงการใช้ทรัพยากรของรัฐ ท้องถิ่น และจังหวัด อย่างมีประสิทธิภาพ

1.7 สานต่อโครงการธนาคารประชาชน เพื่อกระจายโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย สร้างทางเลือกและลดการพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบ ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีโอกาสในการสร้างงาน สร้างรายได้ด้วยตนเอง

1.8 สนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างโอกาสในการลงทุนและสร้างรายได้ ผ่านสถาบันการเงินของรัฐและธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

1.9 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อให้แต่ละชุมชนสามารถใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาสินค้า โดยรัฐพร้อมที่จะสนับสนุนให้ชุมชนเข้าถึงองค์ความรู้สมัยใหม่ แหล่งเงินทุน และพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการและการตลาด เพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ

1.10 พักหนี้ของเกษตรกรรายย่อยและยากจน ที่ผ่านกระบวนการจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพ เพื่อสร้างโอกาสให้เกษตรกรสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการสร้างรายได้และอาชีพที่มั่นคง

1.11 สร้างระบบประกันความเสี่ยงให้เกษตรกร เพื่อลดความเสี่ยง อันเนื่องมาจากผลกระทบความเสียหายจากภัยธรรมชาติ และสร้างกลไกในการสร้างเสถียรภาพราคาของสินค้าเกษตรที่เป็นธรรม

1.12 ขยายบทบาทของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix-it Center) และสถาบันอาชีวศึกษา เพื่อให้คำแนะนำและถ่ายทอดความรู้ในการใช้ การดูแลรักษาและซ่อมบำรุงเครื่องมืออุปกรณ์การประกอบอาชีพ เครื่องใช้ในครัวเรือน รวมทั้งสร้างเครือข่ายศูนย์ฯ กับชุมชนและวิสาหกิจเพื่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรม ระบบรับรองและตรวจสอบคุณภาพในขั้นต้นของสินค้าชุมชน

1.13 สร้างโอกาสให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยอย่างทั่วถึง เช่น โครงการ “บ้านเอื้ออาทร” “บ้านรัฐสวัสดิการ” และ “ที่อยู่อาศัยของตนเองเป็นครั้งแรก” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ซึ่งสามารถเดินทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑลด้วยระบบขนส่งมวลชนได้อย่างสะดวก

1.14 เร่งรัดการลงทุนที่สำคัญของประเทศ เช่น การพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 9 สาย รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ รถไฟชานเมือง และรถไฟก้างปลาเชื่อมโยงจังหวัดที่ยังไม่มีรถไฟขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้า และการพัฒนาขีดความสามารถของท่าอากาศยานสากล เป็นต้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

1.15 ดำเนินมาตรการลดผลกระทบจากราคาพลังงาน โดยเร่งรัดโครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนจากก๊าซธรรมชาติและผลผลิตทางการเกษตร เช่น แก๊สโซฮอล์ ไบโอดีเซล รวมทั้งเร่งรัดมาตรการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดภาระการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ

1.16 ฟื้นความเชื่อมั่นด้านการลงทุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยประกาศให้ปี 2551 – 2552 เป็น “ปีแห่งการลงทุน” และ “ปีแห่งการท่องเที่ยวไทย”

1.17 วางระบบการถือครองที่ดินและกำหนดแนวเขตการใช้ที่ดินให้ทั่วถึงและเป็นธรรม โดยใช้ข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศ ภายใต้กระบวนการที่ชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อให้ประชาชนมีที่ดินทำกินและประกอบอาชีพอย่างทั่วถึงและพอเพียง

1.18 ขยายพื้นที่ชลประทานและเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน โดยฟื้นฟูและขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติ รวมทั้งพัฒนาแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน โดยดำเนินการก่อสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก เพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างภาคการเกษตร การบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง ทั้งในพื้นที่ชุมชนเมืองและพื้นที่เกษตรกรรม รวมทั้งระบบประปาที่ถูกสุขอนามัย เพื่อการอุปโภคและบริโภคแก่ประชาชนให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ เพิ่มประสิทธิภาพการกระจายน้ำโดยการพัฒนาระบบชลประทานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ชลประทานระบบท่อ

1.19 เร่งรัดมาตรการและโครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติโลกร้อน โดยส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ธุรกิจเอกชน และชุมชน ให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะการปลูกและฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ รวมทั้งสนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือกจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในระดับครัวเรือน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ

ในส่วนของนโยบายที่จะดำเนินการภายในช่วงระยะ 4 ปีของรัฐบาลชุดนี้ รัฐบาลจะดำเนินนโยบายหลักในการบริหารประเทศซึ่งปรากฏตามนโยบายข้อที่ 2 ถึงข้อที่ 8 ดังต่อไปนี้

2. นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต

ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ

รัฐบาลให้ความสำคัญแก่การให้หลักประกันขั้นพื้นฐานของบริการสาธารณะของรัฐภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ การพัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพ การมีสภาพแวดล้อมที่นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงในชีวิต และประชาชนมีความสุข โดยจะดำเนินการ ดังนี้

2.1 นโยบายการศึกษา

2.1.1 ยกระดับคุณภาพการศึกษาของคนไทยอย่างมีบูรณาการและสอดคล้องกันตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงอุดมศึกษาทั้งในและนอกระบบการศึกษา และสร้างระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต

2.1.2 พัฒนาหลักสูตร ปรับระบบการผลิตและพัฒนาครูให้มีคุณภาพและคุณธรรมอย่างทั่วถึง ต่อเนื่อง และก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์

2.1.3 ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียน การสอน และการเรียนรู้อย่างจริงจัง จัดให้มีการเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างกว้างขวาง พร้อมทั้งจัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประกอบการเรียนการสอนให้โรงเรียนอย่างทั่วถึง

2.1.4 ดำเนินการให้บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษา 12 ปีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมทั้งสนับสนุนผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรืออยู่ในสภาวะยากลำบาก ให้ได้รับการศึกษา และเพิ่มโอกาสให้แก่เยาวชนในการศึกษาต่อผ่านกองทุนให้กู้ยืมที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต และเชื่อมโยงกับนโยบายการผลิตบัณฑิตเพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถของประเทศ รวมทั้งต่อยอดให้ทุนการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ

2.1.5 สนับสนุนการผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาคการผลิตและบริการ และเร่งผลิตกำลังคนระดับอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพเพื่อสนับสนุนความสามารถในการแข่งขันของประเทศในสาขาต่าง ๆ เช่น ปิโตรเคมี ซอฟต์แวร์ อาหาร สิ่งทอ บริการสุขภาพและการท่องเที่ยว และการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการ เป็นต้น ด้วยความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการ สถาบันการศึกษา และสถาบันเฉพาะทาง ตลอดจนให้มีการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพตามมาตรฐานสากล

2.1.6 ขยายบทบาทของระบบการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ผ่านองค์กรต่าง ๆ เช่น สำนักงานบริหารจัดการองค์ความรู้ ระบบห้องสมุดสมัยใหม่ หรืออุทยานการเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้แห่งชาติ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ศูนย์พัฒนาด้านกีฬา ดนตรี ศิลปะ ศูนย์บำบัดและพัฒนาศักยภาพของบุคคลออทิสติก เด็กสมาธิสั้น และผู้ด้อยโอกาสอื่น ๆ ศูนย์การเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

2.2 นโยบายแรงงาน

2.2.1 เร่งฝึกอบรมและพัฒนาคนที่ทำงานแล้วและคนที่ถูกเลิกจ้าง เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าสู่ภาคการผลิตและบริการที่มีระดับเทคโนโลยีที่สูงขึ้น

2.2.2 จัดให้มีระบบเตือนภัยและติดตามสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อการจ้างงาน การเลิกจ้างอื่นเนื่องจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ พร้อมทั้งจัดให้มีการจ้างงานใหม่โดยเร็ว

2.2.3 ให้การคุ้มครองแรงงานตามมาตรฐานแรงงานไทย ซึ่งให้ความสำคัญแก่ความปลอดภัยในการทำงานและสวัสดิการแรงงาน พร้อมทั้งจัดระบบการคุ้มครองแก่แรงงานนอกระบบให้ครอบคลุมมากขึ้น

2.3 นโยบายการพัฒนาสุขภาพของประชาชน

2.3.1 เพิ่มคุณภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้อย่างไม่เป็นอุปสรรค พร้อมทั้งปฏิรูประบบบริหารจัดการสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพทั่วถึงและครบวงจร ทั้งการรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสุขภาพ การป้องกันโรค และการส่งเสริมสุขภาพ

2.3.2 จัดให้มีมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและภาวะทุพโภชนาการที่นำไปสู่การเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง หัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิต และอุบัติเหตุจากการจราจร พร้อมทั้งนำมาตรการภาษีการบริโภคสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมาใช้กระตุ้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบุคคลให้ลด ละ และเลิก พฤติกรรมสุ่มเสี่ยงต่อสุขภาพ

2.3.3 ดำเนินการระบบเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคเชิงรุก เพื่อป้องกันปัญหาการป่วยและตายด้วยโรคอุบัติใหม่และระบาดซ้ำในคน พร้อมทั้งสร้างขีดความสามารถในการเฝ้าระวัง วินิจฉัย และดูแลรักษาพยาบาลอย่างเป็นระบบที่ประสานเชื่อมโยงทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

2.3.4 เพิ่มแรงจูงใจและขยายงานอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อเป็นกำลังสำคัญให้ชุมชนในการดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลและการเฝ้าระวังโรคในชุมชน รวมทั้งเชื่อมโยงการดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2.3.5 ส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับมีโอกาสออกกำลังกาย และเล่นกีฬาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและพลานามัยที่ดี รวมทั้งพัฒนาทักษะทางด้านกีฬาสู่ความเป็นเลิศที่จะนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ สร้างนิสัยรักการกีฬาและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เพื่อหลีกเลี่ยงการหมกมุ่นและมั่วสุมกับอบายมุขและยาเสพติด

2.4 นโยบายศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม

2.4.1 อุปถัมภ์ คุ้มครอง และทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ เพื่อให้มีบทบาทสำคัญในการปลูกฝังให้ประชาชนเข้าใจและนำหลักธรรมของศาสนา มาใช้ในการเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต

2.4.2 ฟื้นฟูและสืบสานคุณค่าความหลากหลายของวัฒนธรรมไทยทั้งที่เป็นวิถีชีวิต ประเพณี ค่านิยมที่ดีงาม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการดูแลรักษาแหล่งอุทยานประวัติศาสตร์ โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อการศึกษาเรียนรู้และใช้ประโยชน์ในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตบนพื้นฐานความรู้และความเป็นไทย รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาโบราณสถานให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมระดับโลก

2.4.3 พัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและการนันทนาการ เพื่อส่งเสริมให้ วัยรุ่นไทยเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้อง ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีคุณธรรมเอื้ออาทรต่อผู้อื่น และเกิดการเรียนรู้ศิลปะอย่างสร้างสรรค์ เข้าใจถึงคุณค่า ซาบซึ้งในความสุนทรีย์ของศิลปะ

2.4.4 ขยายบทบาทสภาวัฒนธรรมทุกจังหวัดให้เป็นกลไกเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมที่ครอบคลุมทั้งวิถีชีวิตและสื่อทุกประเภทที่มีผลกระทบต่อการเบี่ยงเบนทางวัฒนธรรม และพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน พร้อมทั้งขจัดสื่อที่เป็นภัยต่อสังคม ขยายสื่อดีเพื่อนำไปสู่การสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมอย่างเท่าทันสถานการณ์

2.5 นโยบายความมั่นคงของชีวิตและสังคม

2.5.1 ประสานเชื่อมโยงการดำเนินงานและใช้ประโยชน์จากกองทุนต่าง ๆ เช่น กองทุนผู้สูงอายุ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กองทุนพัฒนาชุมชน และกองทุนสนับสนุนการวิจัยเพื่อให้เป็นพลังร่วมในการสร้างสรรค์และพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ

2.5.2 สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการพัฒนาให้มีความรู้และจริยธรรม เริ่มตั้งแต่เด็กแรกเกิดและเยาวชนทุกช่วงวัย โดยให้ความสำคัญแก่การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ครอบครัวที่อบอุ่น และสถานศึกษาที่เอาใจใส่ดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดด้วยการปลูกฝังความรู้ที่ทันโลกและคุณค่าที่ดีของวัฒนธรรมไทย สร้างความเข้าใจให้แก่พ่อแม่ถึงวิธีการดูแลบุตรที่ถูกต้องตามระดับการพัฒนาของสมอง

2.5.3 สร้างหลักประกันความมั่นคงและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ให้เด็ก สตรี และคนพิการที่ด้อยโอกาส โดยจะขจัดขบวนการค้ามนุษย์ให้หมดสิ้นไป ขจัดการเลือกปฏิบัติและการละเมิดลิทธิเด็ก สตรี และคนพิการในทุกรูปแบบและอย่างเด็ดขาด รวมทั้งเสริมสร้างสวัสดิการทางสังคมแก่คนพิการและผู้ด้อยโอกาสอย่างเหมาะสม และส่งเสริมความรู้และอาชีพให้สตรีและคนพิการให้สามารถพึ่งพาตนเองได้

2.5.4 เตรียมความพร้อมให้แก่สังคมผู้สูงอายุ โดยยึดหลักการให้ผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี ทั้งร่างกายและจิตใจ โดยสร้างหลักประกันด้านรายได้และระบบการออมในช่วงวัยทำงานที่เพียงพอสำหรับช่วงวัยชรา สร้างพฤติกรรมด้านสุขภาพที่เหมาะสมกับช่วงวัย สนับสนุนครอบครัวให้เข้มแข็งสามารถดูแลสมาชิกได้อย่างมีคุณภาพ ขยายฐานการให้เบี้ยยังชีพแก่คนชราที่ไม่มีรายได้ และส่งเสริมการใช้ประสบการณ์ของผู้สูงอายุในกระบวนการพัฒนาประเทศโดยระบบคลังสมอง

2.5.5 สร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ในสังคมเมือง โดยมีการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ ควบคู่กับการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยสาธารณะและสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด รวมทั้งจัดให้มีบริการขั้นพื้นฐานอย่างเหมาะสม มีโรงเรียนใกล้บ้าน มีการสื่อสารคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

3. นโยบายเศรษฐกิจ
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ

รัฐบาลจะบริหารจัดการเศรษฐกิจให้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีความสมดุลและเข้มแข็ง ทั้งในภาคเศรษฐกิจภายในประเทศและต่างประเทศ มีภูมิคุ้มกันต่อความเสี่ยงต่าง ๆ ที่มีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกทั้งด้านการค้าและการลงทุน รวมทั้งการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยวางโครงสร้างพื้นฐานด้านองค์ความรู้ มีระบบธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและบริการ รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านอุตสาหกรรม การเกษตร ระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการ พลังงาน และระบบโครงข่ายสารสนเทศและการสื่อสาร โดยจะดำเนินการ ดังนี้

3.1 นโยบายการเงินการคลัง

3.1.1 ดำเนินนโยบายการเงินเพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ โดยดูแลเงินเฟ้อและค่าเงินบาทให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและกลไกตลาด ส่งเสริมประสิทธิภาพและความมั่นคงของภาคการเงินในประเทศ และส่งเสริมศักยภาพในการบริหารความเสี่ยงของภาคเอกชน

3.1.2 รักษาวินัยการคลังเพื่อให้เกิดความยั่งยืนทางการคลังในระยะยาว ซึ่งครอบคลุมถึงเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ งบประมาณของท้องถิ่น ฐานะการเงินของรัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ปฏิรูประบบงบประมาณแผ่นดินทั้งระบบ ให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศอย่างบูรณาการ ปรับปรุงระบบภาษีและการจัดเก็บภาษีให้มีความเป็นธรรม มีประสิทธิภาพ และเพียงพอกับรายจ่ายเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต

3.1.3 ส่งเสริมให้มีระบบการออมระยะยาว เพื่อให้มีเงินออมเพียงพอกับการดำรงชีพในยามชรา รวมทั้งเป็นการสร้างฐานเงินออมเพื่อการระดมทุนของประเทศในอนาคต

3.1.4 วางระบบการดูแลและส่งเสริมการเคลื่อนย้ายเงินทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาวให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ ส่งเสริมการลงทุนของไทยในต่างประเทศ ทั้งการลงทุนของผู้ประกอบการและนักลงทุนที่เป็นสถาบัน และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยให้สอดคล้องกับขีดความสามารถในการแข่งขัน เป้าหมายการส่งเสริมศักยภาพของสาขาการผลิตที่จำเป็น และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

3.1.5 ปรับปรุงประสิทธิภาพของตลาดทุนให้ทัดเทียมกับตลาดหลักในภูมิภาคและตลาดโลกทั้งด้านธรรมาภิบาล ราคา และคุณภาพ โดยให้ความสำคัญแก่การปรับปรุงมาตรการสิ่งจูงใจเพื่อสนับสนุนการออมของประเทศ การเพิ่มบทบาทของตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้ในการเป็นแหล่งทุนสำหรับการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ และการจัดให้มีกลไกเพื่อกำกับดูแลการพัฒนาตลาดทุนให้ประสานสอดคล้องกับการพัฒนาตลาดเงิน

3.1.6 พัฒนารัฐวิสาหกิจให้สามารถเป็นกลไกสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาและการลงทุนของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างฐานรายได้และมูลค่าให้แก่ทรัพย์สินของรัฐ มีการบริหารงานอย่างมืออาชีพ ตลอดจนกำกับดูแลการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจภายใต้หลักธรรมาภิบาล ทั้งการจัดทำและแยกบัญชีเชิงสังคม ความโปร่งใส และการวัดประสิทธิภาพของการดำเนินงานในมาตรฐานไม่น้อยกว่าเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมทั้งเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

3.2 นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

3.2.1 ภาคเกษตร

3.2.1.1 เร่งปรับโครงสร้างการผลิตทางการเกษตรให้สอดคล้องกับโอกาสทางการตลาดและการเปลี่ยนแปลงรสนิยมของผู้บริโภค ทั้งที่เป็นตลาดเดิมและตลาดใหม่ โดยกำหนดยุทธศาสตร์ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารของโลก เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของการทำประมง ปศุสัตว์ และพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศให้ครบวงจร รวมทั้งสนับสนุนการผลิตพืชพลังงาน เช่น ปาล์มน้ำมัน อ้อย มันสำปะหลัง เพื่อสนับสนุนนโยบายพลังงานทดแทน และสนับสนุนการผลิตสินค้าใหม่ที่มีโอกาสทางการตลาด เช่น พืชเส้นใย และสมุนไพร เป็นต้น

3.2.1.2 ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าเกษตร โดยการแปรรูปที่ได้คุณภาพและมาตรฐานสากลเพื่อเชื่อมโยงสู่อุตสาหกรรมการเกษตร โดยการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร ความปลอดภัยอาหารตามมาตรฐานสากล รวมทั้งให้มีระบบป้องกันและควบคุมการระบาดของโรค ตลอดจนสนับสนุนการแปรรูปสินค้าเกษตรในชุมชน

3.2.1.3 เร่งรัดการเจรจาข้อตกลงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร เพื่อป้องกันมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี และพัฒนาโครงข่ายระบบการขนส่งสินค้าเกษตรทั้งในพื้นที่ชนบทและเมือง เพื่อขยายตลาดของสินค้าเกษตรและอาหารสู่ตลาดโลก

3.2.1.4 ส่งเสริมการทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ในระดับชุมชนตามแนวพระราชดำริ เพื่อให้ครัวเรือนเกษตรกรมีความมั่นคงทางด้านอาหาร ส่งเสริมการขยายกระบวนการเรียนรู้ระบบเกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร โครงการอาหารกลางวัน และธนาคารโคกระบือตามแนวพระราชดำริ โดยเกษตรกรและชุมชนเป็นผู้กำหนดทิศทางและแนวทางด้วยตนเอง

3.2.1.5 ส่งเสริมและสนับสนุนสถาบันเกษตรกรทั้งในด้านการรวมกลุ่มสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน ตลอดจนสภาเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการวางแนวทางพัฒนาการเกษตรและพัฒนาความสามารถในการแข่งขันด้วยตนเอง

3.2.2 ภาคอุตสาหกรรม

3.2.2.1 พัฒนาประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาค อุตสาหกรรม รวมทั้งสร้างมูลค่าให้กับสินค้าอุตสาหกรรม ด้วยการยกระดับความสามารถ ทักษะแรงงาน การบริหารจัดการของผู้ประกอบการ และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร ระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการภายในกลุ่มอุตสาหกรรม บนพื้นฐานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา

3.2.2.2 พัฒนาและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูงและมีความได้เปรียบ เช่น อาหาร เหล็ก ยานยนต์ ปิโตรเคมี พลังงาน และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ให้เป็นฐานการผลิตในระดับภูมิภาคและระดับโลก ด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือให้สิทธิพิเศษกับอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ รวมทั้งจัดหาและพัฒนาพื้นที่และโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมในระยะ 20 ปีข้างหน้า โดยคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่

3.2.2.3 สร้างสินค้าที่มีคุณภาพและมาตฐานเพื่อเพิ่มมูลค่าและคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่สินที่ผลิตในประเทศไทย โดยสนับสนุนการพัฒนาทักษะฝีมือผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น กลุ่มสินค้าแฟชั่น อัญมณี และเครื่องประดับ และสินค้าอื่น ๆ พร้อมทั้งใช้มาตรการด้านการตลาดและสร้างตราสัญลักษณ์สินค้าของไทยให้เป็นที่นิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ

3.2.2.4 สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งวิสาหกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็ง เพื่อเป็นฐานการผลิตของระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าและศักยภาพในการแข่งขัน ด้วยการสนับสนุนด้านองค์ความรู้และนวัตกรรม รวมถึงการสร้างธรรมาภิบาลในการประกอบการและความรับผิดชอบต่อสังคม

3.2.2.5 ส่งเสริมและขยายบทบาทศูนย์บ่มเพาะสำหรับผู้ประกอบการที่มุ่งสร้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ออกแบบให้มีความเหมาะสมตามศักยภาพในพื้นที่ต่าง ๆ พร้อมทั้งสร้างศูนย์พัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ตลอดจนสนับสนุนให้มีการนำองค์ความรู้และนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

3.2.2.6 จัดตั้งกองทุนพัฒนาความสามารถในการแข่งขันและการลงทุนเพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมให้มีการปรับตัว และสนับสนุนการลงทุนของอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูงและใช้พลังงานน้อย รวมทั้งขยายบทบาทของกองทุนที่มีอยู่ในปัจจุบันให้สามารถสนับสนุนการปรับโครงสร้างของภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.2.3 ภาคการท่องเที่ยวและบริการ

3.2.3.1 เร่งสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว โดยฟื้นฟู พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการท่องเที่ยวให้ยั่งยืน และสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ในเชิงกลุ่มพื้นที่ที่มีศักยภาพ สามารถเชื่อมโยงธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชุมชน รวมถึงการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ควบคู่กับการส่งเสริมตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพ เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มดูแลรักษาสุขภาพ กลุ่มประชุมและแสดงสินค้า และกลุ่มที่มีความสนใจด้านระบบนิเวศ วัฒนธรรมท้องถิ่น แหล่งประวัติศาสตร์และโบราณสถาน เป็นต้น และดูแลให้นักท่องเที่ยวปลอดภัยจากอาชญากรรม การฉ้อฉล และอุบัติเหตุที่เกิดจากความบกพร่องของผู้ประกอบการ

3.2.3.2 พัฒนาธุรกิจบริการที่มีศักยภาพ เพื่อสร้างโอกาสการขยายฐานการผลิตและการตลาดในระดับภูมิภาค เช่น ธุรกิจบริการสุขภาพ ธุรกิจ การประชุมและแสดงสินค้า การศึกษานานาชาติ การก่อสร้าง ธุรกิจภาพยนตร์ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกีฬาและนันทนาการ เป็นต้น โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาความเข้มแข็งของผู้ประกอบการ การเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน มาตรฐานธุรกิจและการพัฒนาบุคลากรให้พร้อมรับการขยายตัวของธุรกิจ และการส่งเสริมด้านการตลาด

3.2.3.3 ส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือของกลุ่มอุตสาหกรรมการค้าและบริการที่เน้นความสำคัญของศักยภาพพื้นที่และเอกลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรม รวมทั้งความสามารถทางด้านบุคลากรเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ธุรกิจบริการด้านสุขภาพและการแพทย์ที่เชื่อมโยงกับการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์

3.2.4 การตลาด การค้า และการลงทุน
3.2.4.1 ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ป้องกันการผูกขาดตัดตอน และคุ้มครองผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการในด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
3.2.4.2 ดำเนินการตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก พร้อมทั้งรักษาส่วนแบ่งในตลาดหลักไม่ให้ลดลง โดยมุ่งเน้นการส่งออกสินค้าที่มีอัตราการขยายตัวสูงในตลาดใหม่

3.2.4.3 ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางด้านการค้าในระบบพหุภาคีและทวิภาคี เพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการขยายตลาดการค้าระหว่างประเทศและการค้าชายแดน

3.2.4.4 ทบทวนการจัดตั้งสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศและปรับปรุงกลไกการบริหารจัดการด้านการค้าของประเทศให้เป็นไปอย่างบูรณาการ โดยเชื่อมโยงกลไกในระดับนโยบายและหน่วยงานปฏิบัติที่มีภารกิจเกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนให้แก่ธุรกิจภาคเอกชนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของ
ตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงไป

3.2.4.5 สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ทั้งในการลงทุนตั้งโรงงานผลิตสินค้า การทำสัญญาสินค้าเกษตรตามข้อตกลง การเปิดสาขา การหาตัวแทนและหุ้นส่วนในต่างประเทศเพื่อสร้างเครือข่ายธุรกิจไทยในต่างประเทศ

3.2.4.6 ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าการลงทุน เพื่อสร้างบรรยากาศการลงทุนที่ดีและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ

3.3 นโยบายโครงสร้างพื้นฐาน และระบบบริหารจัดการขนส่งมวลชน สินค้าและบริการ

3.3.1 พัฒนาบริการโครงสร้างพื้นฐานให้กระจายไปสู่ภูมิภาคอย่างทั่วถึงและเพียงพอ โดยเฉพาะการจัดให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชน ทั้งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค บริการสื่อสารโทรคมนาคม และที่อยู่อาศัย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

3.3.2 พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งและเชื่อมโยงโครงข่ายการบริหารจัดการขนส่งมวลชนสินค้าและบริการ ทั้งพื้นที่ชนบท เมือง และระหว่างประเทศ โดยให้ความสำคัญแก่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการขนส่งระบบรางให้เชื่อมโยงการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เพื่อลดต้นทุนสินค้าและบริการเพื่อการส่งออก

3.3.3 พัฒนาการขนส่งทางน้ำและกิจการพาณิชยนาวี ทั้งภายในและระหว่างประเทศ ตลอดจนพัฒนาท่าเรือน้ำลึกบริเวณพื้นที่ภาคใต้ พัฒนาท่าเรือชุมชน และกองเรือไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงานในภาคขนส่ง เชื่อมโยงประตูการค้าใหม่และสนับสนุนการท่องเที่ยว

3.3.4 พัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานภูมิภาค และอุตสาหกรรมการบินของไทย เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบิน การท่องเที่ยว และการขนส่งสินค้าทางอากาศชั้นนำของเอเชียและโลก

3.4 นโยบายพลังงาน

3.4.1 สร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน ด้วยการจัดหาพลังงานให้เพียงพอต่อการพัฒนาประเทศเพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชน โดยเร่งรัดให้มีการลงทุนสำรวจและพัฒนาพลังงานทั้งจากในประเทศ เขตพื้นที่พัฒนาร่วม และจากประเทศเพื่อนบ้านให้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานกับต่างประเทศ

3.4.2 ส่งเสริมให้มีการกำกับดูแลกิจการพลังงานให้มีราคาพลังงานที่เหมาะสม เป็นธรรม และก่อให้เกิดการแข่งขันลงทุนในธุรกิจพลังงาน โดยมีมาตรฐาน คุณภาพการให้บริการและความปลอดภัยที่ดี

3.4.3 พัฒนาและวิจัยพลังงานทดแทนทุกรูปแบบเพื่อเป็นทางเลือกแก่ประชาชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมในการตัดสินใจพัฒนาพลังงานทางเลือกอื่น ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงและพลังงานที่สอดคล้องกับท้องถิ่น

3.4.4 ส่งเสริมการอนุรักษ์และประหยัดพลังงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมทั้งสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในภาคการผลิต ภาคบริการ และภาคประชาชน โดยมีมาตรการจูงใจที่เหมาะสม

3.4.5 ส่งเสริมการพัฒนา ผลิต และใช้พลังงานควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมกลไกการพัฒนาพลังงานที่สะอาด รวมทั้งให้ความสำคัญกับการจัดการก๊าซเรือนกระจกเพื่อช่วยบรรเทาสภาวะโลกร้อน

3.5 นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ

3.5.1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น โครงข่ายสื่อสารความเร็วสูงให้ทั่วถึง เพียงพอ ในราคาที่เหมาะสม เป็นธรรม และแข่งขันได้ เพื่อเป็นโครงข่ายหลักสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยไปสู่สังคมแห่งภูมิปัญญา ช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเขตเมืองและชนบท และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ

3.5.2 พัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องด้านบริการความรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และจัดให้มีกลไกสนับสนุนแหล่งทุนสำหรับผู้ประกอบธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพได้มาตรฐานและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในภูมิภาค

3.5.3 สนับสนุนการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาระบบบริหารจัดการและบริการภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ การเชื่อมโยงข้อมูล การบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการ การเตือนภัยและความมั่นคงของรัฐ บริการการศึกษาและสาธารณสุข ตลอดจนการพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีอวกาศ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ

4. นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ

รัฐบาลให้ความสำคัญแก่บทบาทของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการสร้างความสุขของประชาชนและสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยให้ความสำคัญแก่การบริหารจัดการอย่างบูรณาการระหว่างมิติของเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเพิ่มการมีบทบาทร่วมของประชาชนและชุมชน โดยจะดำเนินการ ดังนี้

4.1 อนุรักษ์ พัฒนา และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญแก่การใช้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ตลอดจนความปลอดภัยทางชีวภาพเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารและสุขภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่มสู่เศรษฐกิจระดับประเทศและสากลในระยะต่อไป

4.2 เร่งรัดการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ให้มีความสมดุลของการใช้ประโยชน์ การถือครอง และการอนุรักษ์ฐานทรัพยากร ที่ดิน ป่าไม้ สัตว์ป่า ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และทรัพยากรธรณี โดยการใช้ระบบภูมิสารสนเทศ ควบคู่กับการปรับปรุงและบังคับใช้กฎหมายตลอดจนกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด โดยเร่งรัดปราบปรามการทำลายป่า สัตว์ป่า และทรัพยากรธรรมชาติอย่างจริงจัง รวมทั้งการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาประเทศและคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน

4.3 อนุรักษ์ทรัพยากรดินและป่าไม้ โดยการยุติการเผาไร่นาและทำลายหน้าดิน การลดการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร รวมทั้งการฟื้นฟูดินและป้องกันการชะล้างทำลายดิน โดยการปลูกหญ้าแฝกตามแนวพระราชดำริ รวมทั้งมีการกระจายและจัดการกรรมสิทธิ์ที่ดินอย่างเป็นธรรม อนุรักษ์และป้องกันรักษาป่าที่สมบูรณ์ สนับสนุนให้มีการปลูกและฟื้นฟูป่าตามแนวพระราชดำริ สนับสนุนการจัดการป่าชุมชนและส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจในพื้นที่ที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ และการสนับสนุนบทบาทของชุมชนในการบริหารจัดการน้ำ เช่น การทำฝายต้นน้ำลำธารหรือฝายชะลอน้ำตามแนวพระราชดำริ

4.4 จัดให้มีมาตรการป้องกันและพัฒนาระบบข้อมูลและเตือนภัยจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น อุทกภัย ภัยแล้ง ธรณีพิบัติ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และดำเนินมาตรการลดผลกระทบและความเดือดร้อนของประชาชนจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ

4.5 เร่งรัดการควบคุมมลพิษทางอากาศ ขยะ น้ำเสีย กลิ่น และเสียง ที่เกิดจากการผลิตและบริโภค โดยเฉพาะเร่งรัดการสร้างระบบบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากสังคมเมืองและการผลิตในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม การจัดทำระบบกำจัดขยะโดยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการกำจัดขยะและบำบัดน้ำเสีย

4.6 ส่งเสริมให้ภาครัฐและภาคเอกชนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อารอนุรักษ์พลังงาน การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การผลิตวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ การหมุนเวียนการใช้วัตถุดิบและเทคโนโลยีที่สะอาด และการใช้หลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการลดการก่อมลพิษและลดภาระของสังคมตามธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม

4.7 ส่งเสริมการสร้างความตระหนักทางด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมและการปรับพฤติกรรมการผลิตและการบริโภค เพื่อบรรเทาผลจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่จะนำมาสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5. นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ

รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในฐานะที่เป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ และการยกระดับคุณภาพชีวิต โดยรัฐบาลจะดำเนินการ ดังนี้

5.1 ส่งเสริมการนำงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาประเทศ ควบคู่กับการพัฒนาระบบวิจัยและพัฒนาเชิงนวัตกรรมที่มีอยู่ให้สนองความต้องการของภาคการผลิตและบริการ โดยให้ความสำคัญแก่การเชื่อมโยงระหว่างภาคเอกชน สถาบันวิจัย และมหาวิทยาลัย ตลอดจนพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ ซึ่งจะนำไปสู่การวิจัย และพัฒนาต่อยอดและมีการใช้ประโยชน์องค์ความรู้และเทคโนโลยีในเชิงพาณิชย์

5.2 สร้างเสริมความรู้ความคิดของประชาชนทางด้านวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งเร่งผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพและคุณธรรมให้สอดคล้องกับการเจริญเติบโตของภาคการผลิตและบริการ ตลอดจนพัฒนาเส้นทางอาชีพเพื่อรักษาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไว้ในระบบ รวมทั้งจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่สามารถดึงดูดบุคลากรที่มีความรู้ขั้นสูงจากต่างประเทศเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่บุคลากรไทย
5.3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมให้มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการ และสนับสนุนการสร้างทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทยเพื่อป้องกันมิให้ไทยถูกเอาเปรียบทางเทคโนโลยีจากต่างประเทศ โดยพัฒนาระบบการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาให้มีประสิทธิภาพ พัฒนาระบบรับรองมาตรฐานให้ทันสมัย รวมทั้งพัฒนาศูนย์บ่มเพาะธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยี อุทยานวิทยาศาสตร์ และศูนย์แห่งความเป็นเลิศในสาขาเทคโนโลยีที่สำคัญ
5.4 ปรับปรุงระบบการวิจัยของประเทศให้สอดคล้องกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยพัฒนามาตรการจูงใจ และกฎหมายให้เอื้อต่อการลงทุนวิจัยและพัฒนาของภาคธุรกิจเอกชน และส่งเสริมการลงทุนจัดหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมและมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์จากต่างประเทศมาใช้ประโยชน์

6. นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ

รัฐบาลจะดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อตอบสนองผลประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชน โดยจะดำเนินบทบาทเชิงรุกในการส่งเสริมความร่วมมือและขยายความสัมพันธ์อันดีกับนานาประเทศทั้งด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และยึดมั่นในพันธกรณีที่มีอยู่กับต่างประเทศตามสนธิสัญญาและความตกลงต่าง ๆ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี และเคารพกฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งกฎบัตรสหประชาชาติและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน พร้อมกับการสร้างภูมิคุ้มกันและพัฒนาเศรษฐกิจไทยทุกสาขาให้ได้รับประโยชน์จากความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และสานต่อนโยบายทีมประเทศไทย (Team Thailand) เพื่อให้การดำเนินงานด้านต่างประเทศมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีเอกภาพ โดยจะดำเนินการ ดังนี้

6.1 ส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยส่งเสริมความร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน และสื่อมวลชน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีและความใกล้ชิดระหว่างกัน อันจะนำไปสู่การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การส่งเสริมการท่องเที่ยว การขยายการคมนาคมขนส่ง และความร่วมมือด้านอื่น ๆ ภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาค เช่น ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) และความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (BIMSTEC) เป็นต้น

6.2 ส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศในเอเชีย กรอบความร่วมมือเอเชีย และเพิ่มบทบาทในการสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน และผลักดันบทบาทอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศในวาระที่ไทยเป็นประธานอาเซียน

6.3 มีบทบาทที่สร้างสรรค์ในองค์กรระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเวทีสหประชาชาติและองค์กรระดับภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อรักษาสันติภาพ ความมั่นคง ส่งเสริมกระบวนการประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน มนุษยธรรม ตลอดจนร่วมมือในการแก้ไขประเด็นปัญหาข้ามชาติทุกด้านที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของมนุษย์

6.4 กระชับความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับประเทศและกลุ่มประเทศที่มีบทบาทสำคัญของโลก จัดทำข้อตกลงการค้าเสรีในกรอบพหุภาคีและกับประเทศต่าง ๆ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศโดยรวม สร้างกลไกเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถปรับตัวรับผลกระทบและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี

6.5 ดำเนินงานเชิงรุกทางการทูตเพื่อประชาชน วัฒนธรรม และการศึกษา ตลอดจนการแลกเปลี่ยนในระดับประชาชนกับนานาประเทศ พร้อมทั้งส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการกับประเทศกำลังพัฒนา และสานต่อความร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อความเข้าใจอันดีกับองค์กรทางศาสนาอื่น ๆ

6.6 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนไทย ดูแลคนไทยและแรงงานไทยในต่างประเทศ โดยเฉพาะคนไทยที่ประกอบอาชีพและมีถิ่นฐานในต่างประเทศ ส่งเสริมบทบาทของชุมชนชาวไทยในการรักษาเอกลักษณ์และความเป็นไทย

7. นโยบายความมั่นคงของรัฐ

ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ

รัฐบาลจะรักษาความมั่นคงของประเทศ สถาบันพระมหากษัตริย์ และระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ เตรียมความพร้อมในการเผชิญภัยคุกคามทุกรูปแบบ ทั้งภัยธรรมชาติและความขัดแย้งที่อาจส่งผลกระทบถึงประเทศไทย แก้ไขความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้และสร้างการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขสามัคคี สร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแก่ประชาชนในทุกพื้นที่ของประเทศ และต่อต้านภัยสังคมในทุกรูปแบบ โดยจะดำเนินการ ดังนี้

7.1 เทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ดำรงรักษาไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์มิให้ผู้ใดล่วงละเมิดได้ รวมทั้งเสริมสร้างจิตสำนึกประชาชนในชาติให้มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดจนสร้างบรรยากาศให้เกิดความรัก ความสามัคคี และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของคนในชาติ

7.2 เสริมสร้างระบบป้องกันประเทศให้มีความมั่นคง มีศักยภาพในการรักษาเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ และผลประโยชน์ของชาติ โดยมุ่งพัฒนาความทันสมัยของอาวุธยุทโธปกรณ์ และเตรียมความพร้อมของกำลังพลในกองทัพ ตลอดจนการผนึกกำลังประชาชนให้มีส่วนร่วมในการรักษาความมั่นคงของประเทศ พร้อมทั้งให้การสนับสนุนภารกิจในการพัฒนาประเทศและการรักษาสันติภาพภายใต้กรอบกติกาของสหประชาชาติ

7.3 เร่งพัฒนาระบบการจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย และบุคคลที่ยังไม่มีสถานะที่ชัดเจน เน้นการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับขบวนการลักลอบเข้าเมืองที่ผู้มีอิทธิพลให้การสนับสนุน เพื่อลดขนาดและผลกระทบของปัญหาความมั่นคงระยะยาวให้เหลือน้อยที่สุด ควบคู่ไปกับการจัดการแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลที่ไม่มีสถานภาพที่ชัดเจนภายใต้ความสมดุลระหว่างการรักษาความมั่นคงของชาติกับการดูแลสิทธิขั้นพื้นฐาน

7.4 พัฒนาและเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ รวมทั้งมุ่งพัฒนาระบบบริหารจัดการพื้นที่ชายแดนให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ควบคู่กับการรักษาความมั่นคง ตลอดจนการดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และเร่งขจัดเงื่อนไขความไม่เข้าใจกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันทั้งด้านเศรษฐกิจและด้านความมั่นคง

7.5 ปฏิรูประบบข่าวกรองให้เกิดประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคงและการเสริมสร้างผลประโยชน์ของชาติ โดยจัดระบบบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานพลเรือน ตำรวจ ทหาร และให้ความสำคัญแก่ข้อมูลเชิงลึกด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงที่เป็นประโยชน์ต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาของชาติได้อย่างแท้จริง

7.6 พัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติ โดยเน้นการบริหารวิกฤติการณ์ทั้งที่เกิดจากภัยธรรมชาติและภัยที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยมุ่งระดมสรรพกำลังจากทุกภาคส่วนให้สามารถดำเนินงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกัน แก้ไข บรรเทา และฟื้นฟูความเสียหายของชาติที่เกิดจากภัยต่าง ๆ

8. นโยบายการบริหารจัดการที่ดี

ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ

รัฐบาลจะพัฒนาและปรับปรุงระบบการบริหารงานภาครัฐเพื่อให้ส่วนราชการมีความพร้อมและกำลังคนที่มีขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล มีความคุ้มค่า และเกิดความเป็นธรรมในการให้บริการสาธารณะ และจะปรับปรุงกฎหมายและการยุติธรรม สนับสนุนการพัฒนาการเมือง และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินนโยบายสาธารณะ เพื่อให้เกิดการบริหารราชการแผ่นดินที่ดี โดยจะดำเนินการดังต่อไปนี้

8.1 ประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน

8.1.1 ปรับปรุงการให้บริการประชาชน ด้วยการสร้างนวัตกรรมและนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการให้บริการรูปแบบต่าง ๆ เพื่อลดภาระและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน

8.1.2 พัฒนาระบบและกำหนดมาตรการเพื่อดึงดูดผู้มีความรู้ความสามารถเข้ามารับราชการ ด้วยการปรับปรุงระบบค่าตอบแทนและสิ่งจูงใจให้เทียบเคียงหรือแข่งขันได้ในตลาดแรงงาน เพื่อให้ระบบราชการเป็นนายจ้างอันเป็นที่หมายปองของผู้สมัครงาน รวมทั้งสนับสนุนให้มีการเคลื่อนย้ายถ่ายโอนกำลังคนทั้งภายในระบบราชการและระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับภาคส่วนอื่น ๆ

8.1.3 พัฒนาระบบงานและสมรรถนะของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการและการส่งมอบบริการสาธารณะ โดยจะเน้นการพัฒนาข้าราชการในตำแหน่งที่มีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ และสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระบบราชการ รวมทั้งจะวางมาตรการสำหรับประเมินผลการปฏิบัติงานและจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรมตามผลงาน เพื่อให้เกิดขวัญกำลังใจและแรงจูงใจในการพัฒนาผลงาน

8.1.4 พัฒนาคุณภาพชีวิตของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ดีขึ้นเพื่อให้สามารถดำรงชีพอย่างมีศักดิ์ศรี โดยการเพิ่มเงินเดือน ค่าตอบแทน และสวัสดิการให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานและสถานการณ์ค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งปรับปรุงสวัสดิภาพการทำงานและภาระหนี้สิน เพื่อให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีความสมดุลระหว่างการทำงานกับชีวิตส่วนตัว

8.1.5 เสริมสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ และพัฒนาความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ พร้อมทั้งป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างจริงจัง เพื่อให้ภาคราชการเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจแก่ประชาชน

8.1.6 ส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่นอย่างจริงจัง โดยสร้างดุลยภาพระหว่างการกำกับดูแลและความเป็นอิสระของท้องถิ่น โดยไม่กระทบความสามารถในการตัดสินใจดำเนินงานตามความต้องการของท้องถิ่น สร้างความเข้มแข็งและขีดความสามารถในการบริหารจัดการงบประมาณและบุคลากรของท้องถิ่นเพิ่มขึ้น ตลอดจนพึ่งพาตนเองด้วยฐานรายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บเองได้มากขึ้น

8.1.7 สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทในการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่นเพิ่มขึ้น โดยคำนึงถึงความจำเป็นและความเหมาะสมตามศักยภาพของท้องถิ่น รวมทั้งความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนขยายการให้บริการที่ครอบคลุมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เชื่อมโยงและบูรณาการกับแผนชุมชนและแผนระดับต่าง ๆ ในพื้นที่

8.1.8 เร่งรัดดำเนินการถ่ายโอนภารกิจของราชการส่วนกลางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการจัดสรรรายได้ให้ท้องถิ่นแต่ละประเภทอย่างเหมาะสม

8.1.9 สนับสนุนระบบการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการของผู้ว่าราชการจังหวัด ผ่านกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และการจัดทำงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด เพื่อให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดวางยุทธศาสตร์การพัฒนาและทิศทางการพัฒนาพื้นที่ในอนาคตที่สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ศักยภาพของพื้นที่ และความต้องการของประชาชน

8.2 กฎหมายและการยุติธรรม

8.2.1 ดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับใช้กฎหมายอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม และทั่วถึง และส่งเสริมการให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่มีผลกระทบต่อประชาชนและภาคธุรกิจ รวมตลอดถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน

8.2.2 พัฒนากฎหมายให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงและความจำเป็นของสังคม รวมทั้งจัดให้มี “องค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมาย” และ “องค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม” ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อปรับปรุงและพัฒนากฎหมายของประเทศและกระบวนการยุติธรรม

8.2.3 ส่งเสริมและพัฒนาระบบงานยุติธรรมทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันอาชญากรรมและสร้างความเป็นธรรมในสังคม การพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญาให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม การใช้เครื่องมือและหลักวิชาการนิติวิทยาศาสตร์ การส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอำนวยความยุติธรรม เช่น การพัฒนาระบบยุติธรรมชุมชนและยุติธรรมจังหวัด การพัฒนาและจัดให้มีกระบวนการยุติธรรมทางเลือก (ซึ่งเป็นกระบวนการชะลอการลงโทษ เช่น ใช้วิธีการทำงานบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม เป็นต้น) ควบคู่กับกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก รวมทั้งการพัฒนาระบบและวิธีปฏิบัติเพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้เหมาะสมต่อกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม

8.2.4 เสริมสร้างความยุติธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมุ่งพัฒนากฎหมายและระบบงานยุติธรรมที่สอดคล้องกับพื้นที่ วิถีชีวิต และวัฒนธรรมท้องถิ่น บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ขจัดเงื่อนไขความไม่ยุติธรรม และพัฒนาระบบการพิสูจน์การกระทำความผิดที่มีประสิทธิภาพ

8.3 ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากทางราชการและสื่อสาธารณะอื่นได้อย่างกว้างขวาง ถูกต้อง เป็นธรรม และรวดเร็ว

ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ

รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐอย่างจริงจัง โดยรัฐบาลขอชี้แจงว่า การกำหนดนโยบายของรัฐบาลที่ได้กราบเรียนมาแล้วนี้ จะเป็นแนวทางดำเนินการในระยะเวลา 4 ปี ตามความเร่งด่วนของการแก้ไขปัญหาของประเทศ รวมทั้งจะเป็นการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามบทบัญญัติในหมวด 5 ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นอกจากนี้ เพื่อให้รัฐบาลสามารถบริหารราชการแผ่นดินได้ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และดำเนินนโยบายจนบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ได้ รัฐบาลจะดำเนินการปรับปรุงหรือกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐ พัฒนาระบบการบริหารจัดการ เสนอร่างกฎหมาย ตลอดจนดำเนินการทุกประการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดินให้มีประสิทธิภาพ และสามารถบรรลุผลในทางปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาประเทศ โดยถือเป็นนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลนี้ด้วย

ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ

การกำหนดนโยบายบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีตามที่กล่าวมา ได้วางอยู่บนพื้นฐานข้อมูลตามความเป็นจริงของประเทศ และความต่อเนื่องกับเหตุการณ์ที่ผ่านมา ตลอดจนการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมใหม่ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อการแถลงนโยบายนี้เสร็จสิ้นแล้ว รัฐบาลจะได้เร่งดำเนินการให้เป็นรูปธรรม โดยจัดทำรายละเอียดของแผนปฏิบัติการ ประกอบด้วยแผนการบริหารราชการแผ่นดิน แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการต่าง ๆ และแผนการตรากฎหมาย ที่จะใช้เป็นคู่มือและแนวทางการทำงานต่อไป

อนึ่ง รัฐบาลขอเรียนว่า รัฐบาลนี้ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยถือว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นรากฐานสำคัญในการวางระบบการบริหารประเทศให้เกิดความมั่นคงและสร้างเสริมหลักประชาธิปไตยที่ถูกต้องและเหมาะสมเป็นที่ยอมรับของชนในชาติ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ให้ประชาชนออกเสียงลงประชามติให้ความเห็นชอบ แต่โดยที่ยังปรากฏว่ามีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอยู่มาก รัฐบาลนี้จึงจะสนับสนุนให้มีการศึกษาทบทวนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเพื่อดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามหลักประชาธิปไตยอย่างแท้จริงและเป็นประโยชน์ต่อการบริหารประเทศให้ดียิ่งขึ้นในเวลาอันควรต่อไป

รัฐบาลขอให้ความเชื่อมั่นแก่รัฐสภาอันเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินว่า จะบริหารราชการแผ่นดินด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความมุ่งมั่นที่จะบริหารประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า ทัดเทียมอารยประเทศ สร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในสังคมที่มีความสมดุลมากขึ้น และให้คนไทยมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ทั้งนี้ โดยยึดประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยเป็นที่ตั้งอย่างแท้จริง

ขอบคุณครับ